ตำนาน BANDAI
ตำนาน BANDAI / โดย ลงทุนแมน
เรื่องนี้เป็นเรื่องสนุก คนที่คุ้นเคยกับกันดั้มน่าจะชอบ
BANDAI เป็นบริษัทผลิตของเด็กเล่นชื่อดังจากญี่ปุ่น
รู้ไหมว่า บริษัทนี้มีรายได้เป็นแสนล้าน
BANDAI เป็นบริษัทผลิตของเด็กเล่นชื่อดังจากญี่ปุ่น
รู้ไหมว่า บริษัทนี้มีรายได้เป็นแสนล้าน
อะไรทำให้ของเด็กเล่นจากบริษัทนี้ขายดี?
ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
บริษัท BANDAI (บันได) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1950 โดยคุณ Naoharu Yamashina
ในปี 1963 บันไดเริ่มผลิตของเล่นที่มาจาก การ์ตูน ตั้งแต่อนิเมชั่นซีรี่ส์เรื่องแรกของญี่ปุ่นอย่าง ”เจ้าหนูปรมาณู” ออกฉาย ซึ่งเป็นแนวทางหลักจนถึงปัจจุบัน
ในปี 1974 บันไดสร้างสินค้าฮิตระดับตำนานอย่าง “หุ่นเหล็ก (Chogokin)” เป็นสินค้าที่พลิกความเชื่อในวงการของเล่นว่าโลหะเอามาทำตัวละครไม่ได้
และจุดเปลี่ยนที่สำคัญของบริษัทบันไดก็มาถึง
ปี 1979 อนิเมะกันดั้มได้ออกฉายเป็นครั้งแรก
ปี 1980 บันไดออกสินค้าที่เป็นตัวทำเงินอย่างต่อเนื่องยาวนานและมากที่สุดให้บริษัทจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ “กันพลา”
กันพลาย่อมาจาก GUNdam PLAstic Model หรือแปลว่า แบบจำลองพลาสติกของกันดั้ม
กันพลาย่อมาจาก GUNdam PLAstic Model หรือแปลว่า แบบจำลองพลาสติกของกันดั้ม
จุดเด่นของสินค้าจากเรื่องนี้จะเป็นพลาสติก โมเดลที่มีรายละเอียด จุดขยับและให้ทุกตัวอยู่ใน สเกลเดียวกัน ซึ่งทำให้เมื่อมาวางรวมกัน ขนาดของแต่ละตัวก็จะมีสัดส่วนถูกต้อง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
กันพลา สร้างรายได้มหาศาลจนขนาดที่ว่าบันไดออกหุ่นครบทุกตัวที่ออกในเรื่องแล้ว ยังไม่พอต่อความต้องการของลูกค้า
ยุค 80 บันไดมีสินค้าจากอนิเมะที่สร้างจากนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ "โชเน็น จัมป์" ไม่ว่าจะเป็น ดราก้อนบอล, คินนิคุแมน, เซนต์เซย์ย่า ที่ทุกวันนี้หลายๆ คนก็ยังคุ้นเคย
ต้นยุค 90 บันไดเปิดโรงงานเพิ่มในเวียดนามเพื่อผลิตสินค้า Power Rangers รองรับความต้องการของเล่นจากหนังขบวนการ 5 สี ที่ถูกอิมพอร์ทไปฉายที่อเมริกาซึ่งเป็นที่นิยมมาก
ส่วนในเอเซียเราก็มีสินค้าฮิตของบันไดไม่แพ้กันซึ่งก็คือเหล่าสาวน้อย "เซเลอร์ มูน" นั่นเอง
แม้ว่าบันไดจะทำได้ดีมาตลอดแต่ก็มีครั้งที่ผิดพลาดเช่นกัน
ในปี 1996 บันไดร่วมมือกับแอ็ปเปิ้ลออกเครื่องมัลติมีเดียที่ทั้งเล่นเกมและท่องเน็ตได้ ในชื่อ Pippin แต่ด้วยราคาที่สูงถึง 599 เหรียญ และระบบซอฟต์แวร์ที่ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ขายได้ต่ำกว่าเป้ามากจนต้องปิดตัวไปในเวลาเพียงปีเดียว
บันไดขาดทุนไปมากกับการร่วมมือครั้งนี้ แต่ในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดีเกิดขึ้น
ต่อมาในปีเดียวกัน บันไดออกสินค้าใหม่มากู้ความเสียหายอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือ “ทามาก็อตจิ” สัตว์เลี้ยงเสมือนในพวงกุญแจรูปไข่ที่ต้องคอยดูแลราวกับการเลี้ยงลูกด้วยการกดปุ่มต่างๆ เพื่อให้มันฟักออกจากไข่ ทำยอดขายรวมกว่า 7.5 ล้านชิ้น
ในปี 1997 บันได เทคโอเวอร์ ซันไรส์ บริษัทผู้ผลิตอนิเมะกันดั้ม เพื่อความชัวร์ว่าแหล่งทำเงินตัวนี้จะไม่มีวันหลุดไปจากมือ
ในปี 2005 ก็ควบรวมกิจการกับ Namco (นัมโค) อีกยักษ์ใหญ่ในวงการเกมและอาร์เคด กลายเป็นโฮลดิ้งคอมปะนี Bandai Namco (บันไดนัมโค)
หลังการควบรวมกิจการ บันไดได้หันมาให้ความสนใจในการสร้างแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโรงงานในจังหวัดชิซูโอกะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมการผลิตกันพลา, การเปิดบันไดมิวเซียมในบริเวณสำนักงานใหญ่, การสร้างกันดั้มตัวแรกขนาดเท่าตัวจริง (1:1) รวมถึงการเปิดร้าน Gundam Front ที่เขตโอไดบะ
บันไดยังไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้แม้แต่คาแร็คเตอร์จากหนังซูเปอร์ฮีโร่ของฮอลลีวูดก็ไม่สามารถรอดสายตาไปได้
บันไดได้เริ่มเปิดไลน์ผลิตสินค้าจากคาแร็คเตอร์เหล่านี้ทันที และสามารถเปิดตลาดได้อย่างดงามเหนือคู่แข่งคนอื่นๆ
ในช่วงหลังๆ นี้เองต้องยอมรับว่าภาวะตลาดดูจะไม่ค่อยเป็นใจกับบันไดเท่าไหร่นัก เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดลง ทำให้จำนวนเด็กลดน้อยลง ทำให้ต้องเน้นไปที่ตลาดของนักสะสมและของเล่นสำหรับผู้ใหญ่แทน
รายได้ของบันได
ปี 2015 มีรายได้ 61,920 ล้านบาท กำไร 4,980 ล้านบาท
ปี 2016 มีรายได้ 65,670 ล้านบาท กำไร 3,990 ล้านบาท
ปี 2015 มีรายได้ 61,920 ล้านบาท กำไร 4,980 ล้านบาท
ปี 2016 มีรายได้ 65,670 ล้านบาท กำไร 3,990 ล้านบาท
ใครจะไปเชื่อว่าบริษัทผลิตตุ๊กตาเด็กเล่น มีรายได้เป็นหมื่นล้านบาท
สงสัยกันบ้างรึเปล่าว่า แค่บันไดบริษัทเดียวก็รายได้กับกำไรมหาศาล แล้วบันไดซื้อนัมโคไปทำไม?
มาลองดูรายได้ของกลุ่มบันไดนัมโคกันบ้าง
ปี 2015 รายได้ 172,650 ล้านบาท กำไร 14,880 ล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 186,030 ล้านบาท กำไร 18,960 ล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 186,030 ล้านบาท กำไร 18,960 ล้านบาท
สัดส่วนกำไรจากของเล่น 24.9% วีดีโอเกม 63.3% หนังและเพลง 17.0%
สัดส่วนกำไรของเกมค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมากกว่าของเล่นเกือบ 3 เท่า
นัมโคช่วยให้บันไดสามารถพัฒนาจากธุรกิจของเล่นออกไปได้กว้างขึ้น รวมถึงการพัฒนาสินค้าเดิมๆ ให้ดีขึ้น
แทนการที่จะมาค้นหาสินค้าใหม่ๆ ซึ่งอาจจะไม่ทันการ หรือแม้กระทั่งการสร้างคาแร็คเตอร์ใหม่ให้ติดตลาดก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก
ถ้าวันนั้นบันไดหยุดพัฒนาตัวเองแล้วหยุดแค่ธุรกิจของเล่น เราอาจจะไม่ได้เห็นบันได ใหญ่โตถึงทุกวันนี้ก็เป็นได้
เช่นเดียวกันกับธุรกิจของเราแม้ว่าเราจะเคยทำได้ดีในอดีต แต่ใช่ว่าเราทำเหมือนเดิมไปเรื่อยๆ แล้วจะได้ดีในอนาคต
ถ้าเรารู้จักพัฒนา มองหาโอกาสใหม่ๆ เราก็อาจจะสามารถทำได้ดีเหมือนกับบริษัทบันไดที่ไม่เคยหยุดพัฒนา
ทิ้งท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า กันดั้มที่แพงที่สุดในโลกราคาเท่าไหร่ ?
Gundam Fix Platinum Toy Robot มีมูลค่าสูงถึง 7,500,000 บาท สร้างจาก Platinum เกือบทั้งหมดและยังมีเพชร 1.5 กะรัตติดตรงลูกตาอีกด้วย
เรียกได้ว่าต้องขายบ้านเพื่อมาซื้อกันดั้มกันเลยทีเดียว..
----------------------
<ad> หนังสือลงทุนแมน 2.0 เริ่มวางแผงวันนี้
หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
----------------------
----------------------
<ad> หนังสือลงทุนแมน 2.0 เริ่มวางแผงวันนี้
หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
----------------------