ภาษีหุ้นนอก สรุปม้วนเดียวจบ เรื่องใหญ่ วงการตลาดทุนไทย
ข่าวใหญ่ของวงการตลาดทุนไทย ล่าสุดกรมสรรพากร ยืนยันว่าจะมีการเก็บภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้จากต่างประเทศ รวมไปถึงเงินได้จากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ โดยจะเริ่มต้นวันที่ 1 ม.ค. 67
เรื่องนี้ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ และจะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่ลงทุนนอกบ้าง ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
สาเหตุที่เก็บภาษีนี้ กรมสรรพากรให้เหตุผลว่า ต้องจัดเก็บภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น โดยภาษีดังกล่าวจะครอบคลุมทั้ง
- กำไรจากการขายทรัพย์สิน เช่น หุ้นต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ
- คนไทย ทั้งที่มีหน้าที่การงานในต่างประเทศ หรือเป็นพนักงานในบริษัทต่างประเทศ
โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะเสียภาษีเมื่อมีการโอนเงินกลับเข้าประเทศไทย หรือหากมีการเสียภาษีในประเทศต้นทางแล้ว ก็จะสามารถนำมาเก็บไว้ เป็นเครดิตภาษีในบ้านเราได้
ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมสรรพากรได้ยกเว้นภาษี หากเงินได้ที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกโอนกลับประเทศไทย ภายในปีที่เกิดเงินได้
จึงทำให้ก่อนหน้านี้ นักลงทุนที่ลงทุนหุ้นนอกส่วนใหญ่ หากมีกำไรก็จะถือข้ามปี แล้วค่อยโอนเงินกลับมา เพื่อที่จะไม่โดนภาษี
แต่ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป กรมสรรพากรบอกว่า ไม่ว่าจะโอนกลับประเทศไทยปีไหน เงินได้นั้นก็จะต้องถูกคำนวณภาษีด้วย
จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้เป็น “เรื่องใหญ่” ของวงการตลาดทุนไทยเลยทีเดียว
แล้วจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง กับคนที่ซื้อหุ้นนอก นี่คงเป็นคำถามแรกที่ทุกคนสงสัย
คำตอบที่ได้ อาจมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับ
1. ฐานภาษีของแต่ละคน
2. ขนาดเงินที่ลงทุนในต่างประเทศ
3. ความมั่นใจในหุ้นต่างประเทศของแต่ละคน
4. ทางเลือกของรูปแบบการลงทุนที่มีอยู่
1. ฐานภาษีของแต่ละคน
2. ขนาดเงินที่ลงทุนในต่างประเทศ
3. ความมั่นใจในหุ้นต่างประเทศของแต่ละคน
4. ทางเลือกของรูปแบบการลงทุนที่มีอยู่
ตัวอย่างเช่น ถ้าคนนั้นมีฐานภาษีอยู่ในระดับต่ำกว่า 10% และขนาดเงินเล็ก คนนั้นก็จะยังไม่เห็นความสำคัญเรื่องภาษี และเรื่องนี้ก็คงไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับตัวเขา
แต่ถ้านักลงทุนที่มีฐานภาษีสูง และขนาดเงินที่ลงทุนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องใหญ่มาก
เทียบให้เห็นภาพคือ
- ทุก ๆ กำไร 1,000,000 บาท
- ถ้าฐานภาษี ตั้งแต่ 20%-35%
- จะโดนภาษีกินไป 200,000-350,000 บาทเลยทีเดียว
เทียบให้เห็นภาพคือ
- ทุก ๆ กำไร 1,000,000 บาท
- ถ้าฐานภาษี ตั้งแต่ 20%-35%
- จะโดนภาษีกินไป 200,000-350,000 บาทเลยทีเดียว
แน่นอนว่าถ้าคนที่ไม่อยากเสียภาษีก้อนนี้ก็จะเริ่มกังวล
แต่สำหรับคนที่ยังมั่นใจในหุ้นต่างประเทศ ว่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นไทย ก็อาจจะยังคงลงทุนในหุ้นต่างประเทศอยู่ แต่ในขณะเดียวกันอาจหาทางเลือกในรูปแบบการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในรูปแบบเดิม
แล้วมีรูปแบบการลงทุนอะไรบ้าง ที่อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในรูปแบบเดิม ?
ตัวอย่างแรกก็คือ กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ซึ่งผู้ซื้อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่ผู้ซื้อก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนแทน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
ถ้าเราซื้อหุ้นรายตัว แล้วมีฐานภาษี 20%-30% จากกำไร
ถ้าเราได้กำไรจากหุ้นต่างประเทศ 10%-20% ต่อปี เราก็จะมีค่าใช้จ่ายภาษี 2%-6% ต่อปี
ถ้าเราซื้อหุ้นรายตัว แล้วมีฐานภาษี 20%-30% จากกำไร
ถ้าเราได้กำไรจากหุ้นต่างประเทศ 10%-20% ต่อปี เราก็จะมีค่าใช้จ่ายภาษี 2%-6% ต่อปี
นักลงทุนก็จะเปรียบเทียบค่าภาษีนี้ กับค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนต่างประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 1%-2% ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าการซื้อหุ้นรายตัว
ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวงการตลาดทุนไทยก็คือ
เงินลงทุนก้อนใหม่ ๆ ในประเทศไทยที่อยากลงทุนหุ้นนอก ก็อาจไหลไปกองทุนรวมมากขึ้น เมื่อเทียบกับแต่ก่อน
เงินลงทุนก้อนใหม่ ๆ ในประเทศไทยที่อยากลงทุนหุ้นนอก ก็อาจไหลไปกองทุนรวมมากขึ้น เมื่อเทียบกับแต่ก่อน
เพราะดูแล้วก็ราวกับว่า กรมสรรพากรกำลังบีบให้ นักลงทุนรายย่อยเลือกเอาว่าจะจ่ายภาษี หรือจะจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการให้กองทุนรวม ไม่มีอีกแล้วที่จะลงทุนด้วยตัวเอง แล้วไม่เสียภาษี
และบริษัทที่ได้ประโยชน์แบบส้มหล่น ก็คือ ธุรกิจเกี่ยวกับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ เช่น บลจ. และ บลน. ซึ่งอาจรวมไปถึง DR และ DRx ที่เป็นหลักทรัพย์ไทยที่อ้างอิงหุ้นนอก
ในขณะเดียวกัน ผู้ที่เสียประโยชน์ก็น่าจะเป็นกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ที่ให้บริการซื้อขายหุ้นนอกรายตัว รวมถึงกลุ่มกองทุนส่วนบุคคลที่รับดูแลลูกค้ารายใหญ่ ที่ลูกค้าจะมีความกังวลในเรื่องภาษี
ในขณะที่ บริษัทที่ให้บริการทั้งซื้อขายหุ้นนอกและมีกองทุนรวมด้วย ก็อาจเจอภาวะการสลับจากหุ้นนอกรายตัวไปหากองทุนรวมแทน
สำหรับคนที่ทำงานต่างประเทศ
บอกได้เลยว่า หลายคนที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ ได้เงินจากต่างประเทศก็ไม่ต้องกังวลนัก เพราะกฎนี้สามารถยกเว้นภาษีได้ง่าย ๆ เพียงกลับไทยในช่วงครึ่งปีหลัง..
ตีความจากที่กรมสรรพากรบอกเอาไว้ว่า ถ้าเราอยู่ในไทยตั้งแต่ 180 วัน มีรายได้จากต่างประเทศ และนำกลับเข้ามาในปีนั้น จะต้องเสียภาษี ถ้าอยู่ไม่ถึง 180 วัน ก็ไม่ต้องเสียภาษี
เรื่องนี้ก็จะทำให้คนไทยที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ ถ้าจะนำเงินกลับมาในประเทศไทย ก็จะเลือกนำเงินกลับประเทศในช่วงปลายปี แทนที่จะกลับมาไทยช่วงต้นปี ซึ่งคนที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ มีรายได้มาก ๆ ก็คงจะทำแบบนี้ เพื่อให้ได้รับการยกเว้นภาษี
สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ที่ยังอยากซื้อหุ้นรายตัว
เรื่องนี้สามารถบรรเทาภาษีได้โดย การจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อลงทุนต่างประเทศ
เนื่องจากนิติบุคคลเสียภาษี 20%
แต่บุคคลธรรมดามีขั้นบันไดภาษีไปสูงสุดถึง 35%
แต่บุคคลธรรมดามีขั้นบันไดภาษีไปสูงสุดถึง 35%
ตัวอย่างเช่น นาย A มีรายได้รวมกำไรจากการลงทุน 5,000,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี 35%
แต่ถ้านาย A ไปจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ABC เป็นนิติบุคคลขึ้นมา ก็จะเสียภาษีแค่ 20% เท่านั้น (เมื่อรวมภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินปันผล ก็จะคิดเป็นเพียง 28% ซึ่งน้อยกว่าอยู่ดี)
ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยมี “ช่องว่างภาษี” ระหว่าง นิติบุคคล กับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้สูงอยู่
หรือยกตัวอย่างเล่น ๆ ว่า
นักลงทุนรายใหญ่พันล้านที่ต้องการนำเงินก้อนใหญ่กลับประเทศ ก็อาจไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลารวมกันสักครึ่งปี แล้วค่อยนำเงินพันล้านกลับมาในปีนั้น ก็สามารถยกเว้นภาษีได้เช่นกัน
นักลงทุนรายใหญ่พันล้านที่ต้องการนำเงินก้อนใหญ่กลับประเทศ ก็อาจไปอยู่ต่างประเทศเป็นเวลารวมกันสักครึ่งปี แล้วค่อยนำเงินพันล้านกลับมาในปีนั้น ก็สามารถยกเว้นภาษีได้เช่นกัน
นอกจากนั้นการเก็บภาษีจากการลงทุนในต่างประเทศ ก็อาจทำได้ยากมากในเชิงปฏิบัติ
เช่น ถ้าเราโอนเงินไปลงทุนหลายก้อนในต่างประเทศ แต่ละก้อนกำไรขาดทุนต่างกัน จะมีวิธีคิดภาษีอย่างไร
การขาดทุนสามารถหักลบกำไรได้หรือไม่
กำไรที่ได้จากอัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นเงินได้หรือไม่
รายงานที่ส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรจะเป็นรายงานในรูปแบบไหน
เงินปันผลของหุ้นนอกที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะมาหักลบกับภาษีนี้อย่างไร
จะเห็นได้ว่า รายละเอียดที่ยังไม่ชัดเจนเหล่านี้ น่าจะทำให้นักลงทุนไทยที่ลงทุนในต่างประเทศ เกิดความสับสนกันไม่น้อย
พออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็น่าจะเข้าใจภาษีรายได้ต่างประเทศ ผู้ที่ได้และเสียประโยชน์ รวมถึงกรณีต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเบื้องต้น
ซึ่งเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน หรือคนที่ทำธุรกิจในต่างประเทศ ต้องติดตามให้ดี
เพราะดูแล้ว มันยังมีอีกหลายมุม ที่ยังไม่ครอบคลุม แทนที่กรมสรรพากรจะเก็บภาษีได้มากขึ้น ภาพที่เกิดขึ้นจริง คนเหล่านั้นอาจเลือกชะลอการนำเงินกลับมา หรือหาช่องโหว่อื่นแทน
และสุดท้ายกรมสรรพากรต้องทำงานหนักขึ้นในการตรวจเอกสารว้าวุ่น ในขณะที่เก็บภาษีส่วนนี้ได้น้อย อยู่ดี..
References
-https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/news/2566thai/news34_2566.pdf
-https://www.bot.or.th/content/dam/bot/portfolio-investment-abroad/ipdf/
-https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/news/2566thai/news34_2566.pdf
-https://www.bot.or.th/content/dam/bot/portfolio-investment-abroad/ipdf/