กองทุนช่วยเหลือต้มยำกุ้ง ต่างจากวิกฤติธนาคารสหรัฐปีนี้ อย่างไร ?
กองทุนช่วยเหลือต้มยำกุ้ง ต่างจากวิกฤติธนาคารสหรัฐปีนี้ อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
จากเหตุการณ์ Silicon Valley Bank หรือ SVB
ถูกสั่งปิดไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาดการเงิน และตลาดทุนทั่วโลก
จากเหตุการณ์ Silicon Valley Bank หรือ SVB
ถูกสั่งปิดไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาดการเงิน และตลาดทุนทั่วโลก
ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ที่หุ้นธนาคาร ต่างถูกกระหน่ำเทขายกันยกแผง
เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งก็ใหญ่ถึงขนาดที่ FED ต้องจัดประชุมด่วน และได้ตัดสินใจจัดตั้ง Bank Term Funding Program เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นมา เพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ ไม่ให้ลุกลามเป็นลูกโซ่ ภายใน 2 วัน
เหตุการณ์นี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ธนาคารกลางตั้งกองทุนช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่อง โดยประเทศไทยเอง ก็เคยมีกองทุนช่วยเหลือด้านสภาพคล่องมาแล้วเหมือนกัน ในปี 2540 หรือที่เรารู้จักกันดีว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง
แล้วการแก้ปัญหาของเรา กับสหรัฐอเมริกา เหมือนหรือต่างกันในมุมไหนบ้าง ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
“ต้มยำกุ้ง” กลายเป็นคำอธิบายวิกฤติ ปี 2540 ของไทย ที่ภาวะเศรษฐกิจเจอกับความล้มเหลวอย่างเผ็ดร้อน จากการกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมหาศาล
จากวิกฤติในครั้งนั้น ประเทศไทยต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ถึง 480,000 ล้านบาท เพื่อมาเป็นทุนสำรองในคลัง
แถมยังมีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF ที่ต้องไปกู้ยืมมาอีก 1,140,000 ล้านบาท เพื่อนำมาพยุงกลุ่มสถาบันการเงินไม่ให้ล้ม
โดยกองทุนนี้ จะเข้าไป “ค้ำประกันทั้งเงินฝากและหนี้ของสถาบันการเงินทุกแห่ง”
ซึ่งก็ต้องบอกว่า กว่าจะมีการออกมาตรการเพื่อมาแก้ไขวิกฤติ เราก็ใช้เวลาเป็นปี..
ในขณะที่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา กองทุนช่วยเหลือ SVB ของสหรัฐอเมริกา ผ่านการประชุมฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงแค่ 2 วัน หลังจากข่าวการถูกสั่งปิดตัวลงของธนาคาร ก่อนที่ทางการคลังจะอนุมัติให้กองทุนประกันเงินฝากทั้งหมด
ซึ่งการประกันทั้งหมด จะให้ความคุ้มครอง ทั้งเงินฝากใน SVB ที่เปรียบเสมือนเป็นธนาคารของสตาร์ตอัปจำนวนมาก รวมไปถึง Signature Bank ธนาคารแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจคริปโทเคอร์เรนซี
จากทั้ง 2 เหตุการณ์จะเห็นได้ว่า นโยบายในการแก้ปัญหามีเป้าหมายเหมือนกัน คือ “ความคุ้มครองต่อผู้ฝากเงิน”
แต่สิ่งที่แตกต่างกันชัดเจนที่สุด ก็น่าจะเป็น “ความรวดเร็วของมาตรการช่วยเหลือ”
เนื่องจากโลกทุกวันนี้มีกรณีศึกษาในอดีตเกิดขึ้นมากมาย และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าแต่ก่อน
จึงทำให้ทางการสหรัฐอเมริกา และ FED ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ปล่อยให้บาดแผลเล็ก ๆ ลุกลามจนกลายเป็นเรื่องใหญ่เหมือนวิกฤติในอดีต
ตัวอย่างเช่น การเกิด Bank Run ในปี 2472
ช่วงนั้น ชาวอเมริกัน พากันถอนเงิน เพราะกลัวว่าเงินฝากของตัวเองจะไม่ปลอดภัย หลังตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง
ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้นก็คือ คนในเมือง Nashville รัฐ Tennessee ต้องการถอนเงิน แต่ธนาคารมีเงินไม่พอ เพราะนำเงินไปปล่อยกู้ และลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากเกินไป
พอเคยมีบทเรียนราคาแพงแล้ว มารอบนี้ FED เลือกที่จะตัดไฟตั้งแต่ต้นลม โดยออกนโยบายแทบจะในทันที เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้ผู้ฝากเงินที่ได้รับผลกระทบทุกคนว่าเรายังคุ้มครองอยู่ และผลกระทบที่เกิดกับระบบเศรษฐกิจมีจำกัด ไม่ได้ลามเป็นโดมิโน
สำหรับอีกเรื่องที่แตกต่างกัน
ก็คือ “แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา”
ก็คือ “แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา”
สำหรับมาตรการของ FED นั้น เป็นการนำเงินทุนจากกองทุนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมรับฝากเงิน และการออกตราสารหนี้ภายในประเทศ เข้ามาแก้ไขวิกฤติ
หรือก็คือ นำเงินกองทุนคุ้มครองเงินฝาก ที่มีอยู่แล้ว เข้ามาแก้ไขปัญหา
จุดนี้ก็ต่างจากวิกฤติต้มยำกุ้งของไทย ที่แม้รัฐบาลจะเป็นผู้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา แต่เงินทุนที่นำมาแก้ไขวิกฤตินั้น มาจากหนี้ที่ก่อขึ้นจากทั้ง IMF และ FIDF
ผลที่ตามมาก็คือ ผู้รับผิดชอบในการชำระหนี้
ซึ่งแม้ว่าหนี้ IMF เราจะชำระหมดไปแล้ว
แต่ทุกวันนี้ FIDF ยังไม่หมด และเราในฐานะผู้ฝากเงินก็ยังต้องช่วยกันชำระหนี้ให้กับ FIDF อยู่ในอัตรา 0.46% ต่อปีของเงินทุก ๆ บาทที่เราฝากเงินในธนาคาร..
ซึ่งแม้ว่าหนี้ IMF เราจะชำระหมดไปแล้ว
แต่ทุกวันนี้ FIDF ยังไม่หมด และเราในฐานะผู้ฝากเงินก็ยังต้องช่วยกันชำระหนี้ให้กับ FIDF อยู่ในอัตรา 0.46% ต่อปีของเงินทุก ๆ บาทที่เราฝากเงินในธนาคาร..
References
-https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/InternationalCooperation/Pages/IMF.aspx
-https://www.cnbc.com/2023/03/12/regulators-unveil-plan-to-stem-damage-from-svb-collapse.html
-https://www.history.com/topics/great-depression/bank-run
-https://www.imf.org/en/Topics/special-drawing-right
-https://www.investing.com/news/stock-market-news/fed-to-hold-emergency-meeting-on-monday-amid-svbs-swift-collapse-432SI-3028156
-https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=45243
-https://www.botlc.or.th/item/archive_collection/00000179028
-https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/InternationalCooperation/Pages/IMF.aspx
-https://www.cnbc.com/2023/03/12/regulators-unveil-plan-to-stem-damage-from-svb-collapse.html
-https://www.history.com/topics/great-depression/bank-run
-https://www.imf.org/en/Topics/special-drawing-right
-https://www.investing.com/news/stock-market-news/fed-to-hold-emergency-meeting-on-monday-amid-svbs-swift-collapse-432SI-3028156
-https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=45243
-https://www.botlc.or.th/item/archive_collection/00000179028