ไต้หวัน จากเกาะยากจน สู่ผู้ผลิตชิป ที่โลกขาดไม่ได้

ไต้หวัน จากเกาะยากจน สู่ผู้ผลิตชิป ที่โลกขาดไม่ได้

ไต้หวัน จากเกาะยากจน สู่ผู้ผลิตชิป ที่โลกขาดไม่ได้ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเราเจอเกาะเล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยโคลนตม ป่ารกทึบ เราจะทำอะไรบ้างกับเกาะแห่งนี้ ?
หลายคนคงจะตอบว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะเกาะแห่งนี้ดูเหมือนไม่สามารถสร้างประโยชน์อะไรได้มากนัก
เรากำลังพูดถึง “ไต้หวัน” เกาะที่เคยยากจน และเคยถูก
สบประมาทว่าคงพัฒนาอะไรไม่ได้มาก เพราะมีทั้งทรัพยากร พื้นที่ และประชากรที่น้อย
แต่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นเกาะที่ร่ำรวย ซึ่งคนไต้หวันรวยขึ้น 3 เท่า ภายในเวลาไม่ถึงชั่วอายุคน หรือแค่ 40 กว่าปีเท่านั้น
ไต้หวันพัฒนาตัวเองอย่างไร ?
ทำไมถึงพลิกจากเกาะยากจน กลายเป็นเกาะร่ำรวยได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ไต้หวัน เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร หรือไม่ถึง 1 ใน 10 ของพื้นที่ประเทศไทย
แม้ไต้หวันจะมีพื้นที่ไม่มากเท่าไร แต่ด้วยความที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการทำเกษตร
ความดึงดูดนี้ ทำให้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อไต้หวันตกเป็นของญี่ปุ่น กองทัพญี่ปุ่นจึงใช้ไต้หวัน เป็นแหล่งเสบียงอาหารสำคัญ
แถมยังปั้นไต้หวัน ให้มีทั้งท่าเรือ โรงงานอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัย ซึ่งที่ทำไปก็เพื่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเอง
อย่างไรก็ตาม ไต้หวันก็ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้เช่นกัน เพราะในช่วงหลังสงครามสงบลง โครงสร้างพวกนี้ได้
กลายเป็นมรดกให้ไต้หวัน ได้ใช้พัฒนาประเทศต่อ
และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พรรคก๊กมินตั๋งของเจียง ไคเชก พ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในจีนแผ่นดินใหญ่ จึงได้หลบหนีและอพยพมาตั้งรัฐบาลที่เกาะไต้หวัน
ซึ่งปัญหาที่เจียง ไคเชก เจอ นั่นคือคนไต้หวันส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ยากจน ต้องเช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตร ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง
เจียง ไคเชก จึงมีนโยบายปฏิรูปเกษตรกรรมครั้งใหญ่ โดยออกกฎหมายกำหนดเพดานค่าเช่า ไม่เกิน 37% ของมูลค่าผลผลิตทั้งหมด
ซึ่งช่วยให้เกษตรกรส่วนใหญ่ลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้ และกล้าลงทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในฟาร์มของตัวเองมากขึ้น
ผลของนโยบายนี้เอง ทำให้ไต้หวันมีผลผลิตเลี้ยงตัวเองเพียงพอ และสามารถส่งออกอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาล ชา กล้วย ไปยังประเทศอื่นได้
นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมเบา เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า ให้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอีกด้วย
และด้วยค่าแรงที่ถูก จึงดึงดูดให้บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งฐานการผลิต ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศแห่งอุตสาหกรรมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอุตสาหกรรมในประเทศมากขึ้น
แต่ก็ทำได้แค่ผลิตของทั่วไป ผลิตชิ้นส่วน ยังไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง
จนในช่วงปี 1970-1980 ค่าแรงในไต้หวันที่เพิ่มขึ้น เสน่ห์การเป็นฐานการผลิตลดลง เริ่มแข่งขันได้ยากขึ้นบนเวทีโลก
ในตอนนั้น ไต้หวันจึงเริ่มหันมาเปลี่ยนตัวเอง
จากระบบอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก
มาเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ผ่านการสนับสนุนจากภาครัฐ เริ่มตั้งแต่
- การดึงดูดด้วยมาตรการด้านภาษีในประเทศ ซึ่งหากมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา หรืออบรมพนักงาน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
- สนับสนุนให้ธุรกิจไต้หวันไปร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเพื่อเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ซึ่งธุรกิจร่วมทุนนี้ก็ได้ประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีด้วยเช่นกัน
- จัดตั้งสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
อุตสาหกรรม หรือที่เรียกกันว่า ITRI เพื่อมุ่งเน้นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งผลจากนโยบายการส่งเสริมอย่างชัดเจน ด้วยการทุ่มงบประมาณที่สูงมาก ก็เริ่มออกดอกออกผล
ไต้หวันเริ่มมีแบรนด์เป็นของตัวเอง เช่น ASUS, Acer, HTC, CyberLink และยังมีแบรนด์ในอุตสาหกรรมอื่นอีกมากมาย
และบางธุรกิจไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ก็เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนชิปสำคัญที่โลกขาดไม่ได้ อย่าง TSMC ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดเกินกว่าครึ่งโลก
แม้ในตอนแรก มอร์ริส จาง ผู้ก่อตั้ง TSMC และผู้นำในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ของไต้หวัน จะโดนคัดค้านอย่างหนัก เพราะในช่วงแรก นโยบายไต้หวันต้องการสร้างแบรนด์ของตัวเองมากกว่า
แต่เรื่องนี้เอง TSMC ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า การรับจ้างผลิตอาจมีผลดีมากกว่าการสร้างแบรนด์ของตัวเองเสียอีก
อ่านมาถึงตรงนี้ คงพอเห็นภาพแล้วว่า เศรษฐกิจไต้หวันเริ่มต้นจากเกษตรกรรม จากนั้นจึงเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงาน และในที่สุดก็กลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
ซึ่งการพัฒนาทั้งหมดนี้ สะท้อนไปยังรายได้ต่อหัวของคนไต้หวัน ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ในปี 1980 รายได้ต่อหัว 291,763 บาทต่อปี
- ในปี 2022 รายได้ต่อหัว 1,141,822 บาทต่อปี
เรียกได้ว่า เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 40 กว่าปีเท่านั้น
สำหรับบทเรียนในเรื่องนี้ คงเป็นเรื่องการเพิ่มมูลค่าของสินค้า เพื่อให้หลุดพ้นจากการต้องแข่งขันด้านราคาเพียงอย่างเดียว
เหมือนกรณีของ ไต้หวัน แม้ว่าจะมีข้อจำกัด ด้านทรัพยากร พื้นที่ และประชากรก็ตาม แต่สุดท้ายด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ก็สามารถเปลี่ยนตัวเอง จากเกาะที่ยากจน สู่เกาะที่ร่ำรวย จากการผลิตชิปที่โลกขาดไม่ได้ อย่างในวันนี้..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://youtu.be/tcohB-35FHQ
-https://taiwantoday.tw/news.php
-https://en.wikipedia.org/wiki/Land_reform
-https://www.longtunman.com/32299
-https://www.salika.co/2019/10/08/taiwan-poor-land-to-master-of-technology/
-https://www.exim.go.th/getattachment/
-https://www.bangkokbank.com/-/media/files/international-banking---chinese-customers/news-and-articles/articles/2020/taiwanecondevelopment.pdf
-https://www.bbc.com/future/article/20130918-taiwans-rocky-road-to-innovation
-https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Taiwan
-https://www.csis.org/analysis/why-taiwan-matters-economic-perspective
-https://www.asiafundmanagers.com/us/taiwan-economy/
-https://milkeninstitute.org/sites/default/files/reports-pdf/Recapturing-the-Taiwan-Miracle.pdf
-https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-319-20907-4_11
-https://tradingeconomics.com/taiwan/gdp
-https://www.britannica.com/place/Taiwan/Economy
-https://ourworldindata.org/grapher/maddison-data-gdp-per-capita-in-2011us?tab
-https://statisticstimes.com/economy/country/taiwan-gdp-per-capita.php
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon