ไต้หวัน เสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้า เศรษฐกิจโลก อาจสั่นคลอน
ไต้หวัน เสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้า เศรษฐกิจโลก อาจสั่นคลอน /โดย ลงทุนแมน
100 เมกะวัตต์ชั่วโมง คือปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยต่อวัน ของโรงงานผลิตชิปขนาดใหญ่ หรือเทียบเท่ากับการใช้ไฟฟ้าของบ้านจำนวนถึง 10,000 หลัง
100 เมกะวัตต์ชั่วโมง คือปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ยต่อวัน ของโรงงานผลิตชิปขนาดใหญ่ หรือเทียบเท่ากับการใช้ไฟฟ้าของบ้านจำนวนถึง 10,000 หลัง
ทั้งยังมากกว่าการใช้ไฟฟ้าในโรงงานผลิตยานยนต์หรือโรงกลั่นน้ำมันเสียอีก
ซึ่งไต้หวัน มีโรงงานผลิตชิปจำนวนมาก
ความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างมหาศาลแบบนี้ บวกกับปัญหาเฉพาะตัวของประเทศ
ทำให้ไต้หวัน ประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นแหล่งผลิตชิปสำคัญของโลก เผชิญความเสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างมหาศาลแบบนี้ บวกกับปัญหาเฉพาะตัวของประเทศ
ทำให้ไต้หวัน ประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นแหล่งผลิตชิปสำคัญของโลก เผชิญความเสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้า
ซึ่งอาจลุกลามทำให้เศรษฐกิจโลกถูกสั่นคลอน เพราะอุตสาหกรรมชิป มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลก
เรื่องนี้ส่งผลกระทบมากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
อุตสาหกรรมผลิตชิป มีบทบาทในการขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจไต้หวันและเศรษฐกิจของโลกเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันไต้หวัน ครองส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมชิปโลก สัดส่วนถึง 68% โดยมีผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างบริษัท TSMC ซึ่งมีมูลค่าบริษัท 32 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ของไต้หวันทั้งประเทศที่อยู่ราว 28 ล้านล้านบาทเสียอีก
โดยการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของไต้หวัน ในปี 2566 นั้น ราว 55% ถูกใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิป
ที่น่าสนใจคือ แหล่งพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าในไต้หวันนั้น กว่า 97% ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยหลัก ๆ จะเป็นถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งการพึ่งพาแหล่งพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้า จากภายนอกประเทศ ถือเป็นหนึ่งความเสี่ยงสำคัญของไต้หวัน หากประเทศต้นทางปฏิเสธไม่ส่งออกพลังงานเหล่านี้ให้
มากกว่านั้น ยังมีเรื่องภัยธรรมชาติและสภาพอากาศแปรปรวน
โดยไต้หวันเผชิญกับแผ่นดินไหว และพายุไต้ฝุ่นอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าได้เช่นกัน
ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้าได้เช่นกัน
ทั้งหมดนี้เอง อาจทำให้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้าในไต้หวัน ได้เช่นกัน
ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ไต้หวันเผชิญกับปัญหาไฟฟ้าดับครั้งใหญ่มาแล้วถึง 3 ครั้ง
อย่างช่วงล่าสุดปีที่แล้ว ทางตอนเหนือของไต้หวันเผชิญไฟฟ้าดับหลายครั้ง ภายในระยะเวลา 3 วัน
และย้อนไปในปี 2565 ไต้หวันเกิดเหตุไฟฟ้าดับมาแล้วถึง 313 ครั้ง โดยไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ในปีนั้น ส่งผลกระทบกว่า 5 ล้านครัวเรือน
รวมถึงในปี 2560 ไต้หวันยังเคยเกิดไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนเกือบ 7 ล้านครัวเรือน
ซึ่งแน่นอนว่า ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในไต้หวัน ก็นำไปสู่การหยุดชะงักในอุตสาหกรรมผลิตชิปอีกด้วย
และส่งผลกระทบลามมาถึงเศรษฐกิจโลก ที่เป็นลูกโซ่ต่อไปยังหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องตามมา ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
จนทำให้การผลิตสินค้าเหล่านี้ต้องหยุดชะงัก และมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าแพงขึ้นตามมา
ขยายวงกว้างไปถึงการชะลอตัวของนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพราะบริษัทเทคโนโลยี ต้องชะลอการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ จากการขาดแคลนชิป และความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรม
แล้วเรื่องนี้ พอมีแนวทางการรับมืออย่างไรได้บ้าง ?
- การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า
การลงทุนในแหล่งพลังงานทดแทนที่หลากหลาย เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน
รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพลังงาน
รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพลังงาน
- การกระจายความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมชิปทั่วโลก
ส่งเสริมการลงทุนตั้งฐานการผลิตในประเทศอื่น ๆ
มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือกับวิกฤติในห่วงโซ่อุปทาน
มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือกับวิกฤติในห่วงโซ่อุปทาน
ซึ่ง TSMC เองก็ได้ขยายฐานการผลิต ไปตั้งโรงงานในประเทศอื่นบ้างแล้ว เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม ฐานการผลิตหลัก ที่ผลิตชิปขั้นสูง ยังคงอยู่ที่ไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม ฐานการผลิตหลัก ที่ผลิตชิปขั้นสูง ยังคงอยู่ที่ไต้หวัน
- การพัฒนานวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงาน
เช่น การวิจัยและพัฒนาในกระบวนการผลิตชิป ที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถึงตรงนี้ จะเห็นว่าความเสี่ยงของการขาดแคลนไฟฟ้าในไต้หวัน แม้จะเป็นประเทศเกาะเล็ก ๆ ก็อาจสร้างผลกระทบแผ่ขยายไปทั่วโลก จนทำให้เศรษฐกิจโลกถูกสั่นคลอนได้
แต่อีกมุมหนึ่งก็นับเป็นโอกาสสำคัญในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอุตสาหกรรมชิปของโลก ให้มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น
ในการพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และการสร้างความหลากหลายในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับความท้าทายจากความเสี่ยงขาดแคลนไฟฟ้าของไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามกันต่อไปว่า ทางออกของไต้หวัน จะเป็นอย่างไร เพราะไต้หวันถือเป็นฐานการผลิตชิป
ที่เป็นกระดูกสันหลังเทคโนโลยีของโลก เปรียบเสมือนเส้นเลือดสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ที่เป็นกระดูกสันหลังเทคโนโลยีของโลก เปรียบเสมือนเส้นเลือดสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ซึ่งถ้าเส้นเลือดนี้เป็นอะไรไป ก็อาจเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลก ได้เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
ต่อยอดความมั่งคั่ง พร้อมการเดินทางเหนือระดับ
รับฟรี ของขวัญสุดพิเศษ มูลค่าสูงสุดกว่า 80,000 บาท เพียงมียอดลงทุน และ/หรือ ฝากเงินตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ภายในวันที่ 17 มิ.ย. - 31 ส.ค. 67
╔═══════════╗
ต่อยอดความมั่งคั่ง พร้อมการเดินทางเหนือระดับ
รับฟรี ของขวัญสุดพิเศษ มูลค่าสูงสุดกว่า 80,000 บาท เพียงมียอดลงทุน และ/หรือ ฝากเงินตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ภายในวันที่ 17 มิ.ย. - 31 ส.ค. 67
??รายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม https://www.ttbbank.com/link/fb/mftdbooster
ลงทุนง่าย ๆ ผ่านแอป ttb touch คลิก https://www.ttbbank.com//ttb/touch/mf
ลงทุนง่าย ๆ ผ่านแอป ttb touch คลิก https://www.ttbbank.com//ttb/touch/mf
? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ โทร.1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
╚═══════════╝
╚═══════════╝