กรณีศึกษา จันทบุรี ส่งออกลำไย เบอร์ 1 ของไทย

กรณีศึกษา จันทบุรี ส่งออกลำไย เบอร์ 1 ของไทย

กรณีศึกษา จันทบุรี ส่งออกลำไย เบอร์ 1 ของไทย /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงแหล่งเพาะปลูกลำไยแล้ว หลายคนก็มักจะนึกถึงจังหวัดทางภาคเหนือ
เพราะเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ และสามารถปลูกได้ดีในบริเวณนั้น เช่น ลำไย จังหวัดลำพูน
แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ส่งออกลำไยเบอร์ 1 ของไทย ไม่ได้มาจากภาคเหนือ
โดยจังหวัดที่มีการปลูกลำไยมากที่สุด คือ “จังหวัดจันทบุรี”
ซึ่งมีผลผลิตกว่า 460,000 ตัน ในปีที่ผ่านมา เลยทีเดียว
จันทบุรีโดดเด่นเรื่องลำไย ได้อย่างไร
แล้วตลาดลำไยในประเทศไทย เติบโตมากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
จันทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออก โดยมีทั้งพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่ราบ และภูเขา ทำให้สภาพดินและสภาพภูมิอากาศ เหมาะสำหรับการปลูกพืชสวน มากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ โดยมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 56% ของทั้งหมด
หากเรามาดู 3 อันดับ พืชที่มีการปลูกมากที่สุดในจันทบุรี จะพบว่า
- ยางพารา 17%
- มังคุด 16%
- ลำไย 14%
จะเห็นได้ว่า ทุเรียนที่เป็นภาพจำหลักของที่นี่ แต่กลับไม่ได้ปลูกกันมากเท่าไรนัก
ซึ่งมีการปลูกเพียง 8% แต่ผลไม้หลักที่น่าสนใจ คือ “ลำไย” ที่เป็นผลไม้หลักของภาคเหนือ
และหากไปดูผลผลิตลำไย 3 อันดับแรกของไทย ในปีที่ผ่านมา จะพบว่า
- จันทบุรี 460,947 ตัน
- เชียงใหม่ 397,852 ตัน
- ลำพูน 335,903 ตัน
แล้วทำไมจันทบุรี จึงสามารถปลูกลำไยได้มากที่สุดในไทย ?
ก็ต้องบอกว่าลำไย เป็นผลไม้ที่ต้องการอุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส
ในช่วงหน้าหนาว ก็ต้องมีอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส เพื่อผลิดอกออกมา
และปริมาณน้ำฝนในพื้นที่นั้น ก็ต้องไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
แม้ภาคเหนือของไทยจะเป็นแหล่งปลูกลำไยชั้นดี เพราะมีอุณหภูมิที่เหมาะสม
แต่จันทบุรี ก็มีข้อได้เปรียบหลายอย่างที่โดดเด่นไม่แพ้กัน
ซึ่งเรื่องแรกเลย คือ “ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม”
เมื่อเทียบกับจังหวัดทางภาคเหนือ ที่พบเจอปัญหาภัยแล้ง แต่จันทบุรีไม่ค่อยเจอปัญหานี้เท่าไรนัก
เพราะมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีสูง ทำให้กระทบต่อการปลูกลำไยค่อนข้างน้อย
ต่อมา คือ “ผลผลิตต่อไร่ที่สูง”
หากไปดูผลผลิตต่อไร่ของ 3 จังหวัดที่มีผลผลิตลำไยมากที่สุด จะพบว่า
- เชียงใหม่ 924 กิโลกรัมต่อไร่
- ลำพูน 1,030 กิโลกรัมต่อไร่
- จันทบุรี 1,563 กิโลกรัมต่อไร่
จะเห็นได้ว่า จันทบุรีมีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด แม้จะมีพื้นที่ปลูกลำไยน้อยกว่าก็ตาม
สะท้อนให้เห็นว่า จันทบุรีมีการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ในขณะที่ลำพูน มีการปลูกลำไย ในพื้นที่เหมาะสมเพียง 52%
และเชียงใหม่ มีการปลูกลำไย ในที่ดินเหมาะสมแค่ 35% เท่านั้น
และอีกเรื่องหนึ่ง คือ โรงคัดผลไม้บรรจุส่งออก ที่มีจำนวนมาก ซึ่งเมื่อส่งออกผลไม้ จะมีพ่อค้าคนกลางที่เรียกว่า “ล้ง” หรือโรงคัดผลไม้บรรจุส่งออก ทำหน้าที่คัดเกรดและรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร
โดยในไทย มีจำนวนล้งที่ส่งออกไปยังจีน ทั้งหมด 1,776 ราย
และรู้หรือไม่ว่า กว่า 40% ของล้งทั้งหมดนี้ อยู่ที่จันทบุรี
ทำให้เมื่อได้ผลผลิตออกมา จึงมีแหล่งระบายสินค้าเป็นจำนวนมาก
ซึ่งในไทย มีการบริโภคลำไยภายในประเทศ เพียง 6% เท่านั้น
ลำไยส่วนมากที่ผลิตออกมา จึงกลายเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ
ถึงตรงนี้ เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมจันทบุรี
จึงกลายเป็นผู้ส่งออกลำไย เบอร์ 1 ของไทย
แล้วในภาพรวม ตลาดส่งออกลำไย เติบโตมากแค่ไหน ?
หากไปดูการส่งออกลำไยทุกชนิด ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง จะพบว่า
- ปี 2562 ปริมาณการส่งออก 761,000 ตัน
- ปี 2563 ปริมาณการส่งออก 632,000 ตัน
- ปี 2564 ปริมาณการส่งออก 801,000 ตัน
จะเห็นได้ว่า แม้ต้องเผชิญกับช่วงโควิด 19 แต่ลำไยไทย ก็สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
สะท้อนได้ว่า ปริมาณความต้องการบริโภคลำไย ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
โดยลำไยไทย มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่

- จีน 92%
- เวียดนาม 3%
- ฮ่องกง 2%
และไม่ใช่แค่ลำไยสดหรือลำไยแช่เย็นเท่านั้นที่มีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เพราะเรายังมีการแปรรูปลำไยเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ลำไยแห้ง ซึ่งคนจีนนิยมนำไปใส่ในน้ำชา และลำไยกระป๋อง ที่มีความหวานของน้ำเชื่อม
ทำให้สามารถสร้างมูลค่าให้กับลำไยเพิ่มเติมได้อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ คือเรื่องราวของจันทบุรี จังหวัดที่มีการปลูกลำไยมากที่สุดในประเทศ และกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย
แม้ดูเหมือนว่าอนาคตของลำไยไทย จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ราคาลำไยหน้าสวนกลับตกต่ำ เหลือเพียงราคา 22 บาทต่อกิโลกรัม
ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2561 เคยมีราคาสูงถึง 38 บาทต่อกิโลกรัม
สิ่งที่เป็นประเด็นก็คือ เราส่งออกลำไยสดมากเกินไป ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 80% ของลำไยส่งออกทั้งหมด
ดังนั้นการแปรรูปลำไยมากขึ้น จึงอาจเป็นทางออกสำคัญให้กับเรื่องนี้
ส่วนอีกเรื่องที่เป็นความเสี่ยงก็คือ การพึ่งพาตลาดส่งออกหลักเพียงไม่กี่ราย
อย่างในกรณีของลำไย ที่พึ่งพาชาวจีนกว่า 9 ใน 10 ก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยง
ในวันที่ความต้องการบริโภค ของประเทศปลายทางลดลง
ลำไยไทยก็จะได้รับผลกระทบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นกัน..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.doa.go.th/share/docs/longgan/situatedlonggan.pdf
-https://www.doa.go.th/psco/?page_id=988
-https://www.doa.go.th/psco/wp-content/uploads/2022/07/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/955885
-http://www.lamphun.doae.go.th/?page_id=4098
-https://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx
-https://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/01/
-https://www.tmd.go.th/programs/uploads/yearlySummary/
-http://climate.tmd.go.th/gge/
-http://impexp.oae.go.th/service/report_product_hs.php
-http://impexp.oae.go.th/service/export.php?
-https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/
-https://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/news_detail/TNRPT6102060010008
-https://api.dtn.go.th/files/v3/614426c0ef4140f58030092f/download
-https://agri-map-online.moac.go.th/#
-https://www.ldd.go.th/Agri-Map/Data/E/cti.pdf
-https://mgronline.com/local/detail/9650000072920
-https://www.oae.go.th/view/1/
-http://impexp.oae.go.th/service/export.php

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon