สรุป วิกฤติเอเชียใต้ กลุ่มประเทศ ที่ค่าเงินอ่อนยวบ

สรุป วิกฤติเอเชียใต้ กลุ่มประเทศ ที่ค่าเงินอ่อนยวบ

สรุป วิกฤติเอเชียใต้ กลุ่มประเทศ ที่ค่าเงินอ่อนยวบ /โดย ลงทุนแมน
หนึ่งในวิกฤติที่กำลังถูกจับตามองอย่างมากในตอนนี้ คงหนี้ไม่พ้นวิกฤติเศรษฐกิจ
ที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศจากเอเชียใต้ ตั้งแต่ปากีสถาน บังกลาเทศ และตามมาด้วยศรีลังกา
ทำไมวิกฤติของเอเชียใต้ในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมเศรษฐกิจของเอเชียใต้กันก่อน เอเชียใต้ประกอบไปด้วย 8 ประเทศ นั่นก็คือ อินเดีย อัฟกานิสถาน ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์
เอเชียใต้มีประชากรรวมกันประมาณ 2,000 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งโลก
โดยมีขนาดเศรษฐกิจราว 147 ล้านล้านบาท อยู่ในระดับเดียวกันกับ GDP ประเทศเยอรมนีทั้งประเทศ
ปัจจุบัน 3 ประเทศในเอเชียใต้ กำลังเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก โดยเฉพาะในศรีลังกา ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่มีประชากรรวมกันสูงกว่า 419 ล้านคน
แล้วทั้ง 3 ประเทศที่ว่านี้ กำลังเผชิญกับปัญหาอะไร ?
คำตอบก็คือปัญหาหลายอย่างทับซ้อนกัน
ตั้งแต่ผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ลามมาถึงปัญหาเงินเฟ้อ
หากเรามาดูอัตราเงินเฟ้อล่าสุดของ 3 ประเทศนี้
- ศรีลังกา 60.8%
- ปากีสถาน 24.9%
- บังกลาเทศ 7.6%
จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ประเทศนี้ มีระดับเงินเฟ้อสูง
สกุลเงินในประเทศเหล่านี้ จึงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอย่าง ดอลลาร์สหรัฐ
หากเรามาดูการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบัน
- ค่าเงินรูปีศรีลังกา อ่อนค่าลง 48%
- ค่าเงินรูปีปากีสถาน อ่อนค่าลง 21%
- ค่าเงินตากาบังกลาเทศ อ่อนค่าลง 8%
จริง ๆ แล้ว ก็ต้องบอกว่า จุดเริ่มต้นของปัญหารอบนี้ เริ่มมาตั้งแต่วิกฤติโควิด 19
เช่น ในศรีลังกา เกิดโรคระบาดและความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ส่งผลกระทบอย่างหนัก
ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 1 ใน 10 ของ GDP ประเทศ
โดยรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของศรีลังกานั้น ลดลงจากเมื่อปี 2018
ที่ 158,000 ล้านบาท เหลือเพียง 7,000 ล้านบาท ในปี 2021 เรียกได้ว่า หายไปเกือบทั้งหมด
หรือในกรณีของบังกลาเทศ ที่รายได้จากการส่งออกเสื้อ เครื่องนุ่งห่ม คิดเป็นสัดส่วนกว่า 85% ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดนั้น ลดลงอย่างมากในช่วงวิกฤติโควิด 19 เนื่องจากต้องเผชิญกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ที่ชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจ
ในขณะเดียวกัน ปากีสถานก็เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด 19 อย่างรุนแรง
แม้เราจะเห็นว่า GDP ของปากีสถานจะปรับตัวลดลงเพียง 1.3%
แต่ก็ต้องบอกว่าเป็นการติดลบครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 1961 หรือยาวนานถึง 61 ปี ที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการได้ชะลอตัวลงอย่างหนัก รวมไปถึงสินค้าส่งออกอย่าง สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่มีความต้องการลดลงอย่างหนัก คล้ายกับกรณีของบังกลาเทศ
สรุปง่าย ๆ ก็คือ วิกฤติโควิด 19 ได้เข้ามาทำให้กลุ่มธุรกิจหลักของทั้ง 3 ประเทศนี้ ได้รับผลกระทบ และปัจจุบัน ยังไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาอยู่ในระดับเดิมได้ และกำลังถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาเงินเฟ้อ
สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ทำให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในรอบหลายปี
แถมยังนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ และการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ ต้องเร่งปรับดอกเบี้ย จนส่งผลให้ค่าเงินของประเทศเหล่านี้ อ่อนค่าลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา
อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น กลายมาเป็นประชาชนกำลังแบกภาระค่าครองชีพที่กำลังเพิ่มขึ้น
แต่ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ การอ่อนค่าของเงินในประเทศ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศนั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จนยิ่งไปผลักดันให้ราคาสินค้าในประเทศสูงขึ้น และก่อให้เกิดเงินเฟ้อมากขึ้นอีก วนลูปอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
อีกประเด็นคือ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหล่านี้นั้น ร่อยหรอลงอย่างมาก เนื่องจากขาดแคลนรายได้จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รายได้จากการส่งออกสินค้า สวนทางกับรายจ่ายและต้นทุนในการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะราคาพลังงาน ที่ปรับขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
เราลองมาดูเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ของแต่ละประเทศที่ว่ามาในตอนนี้
- ศรีลังกา เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ลดลงจากปี 2019 ที่ 210,000 ล้านบาท
เหลือเพียง 70,000 ล้านบาทในต้นปี 2022
- ปากีสถาน เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เหลือเพียง 274,000 ล้านบาท
ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี ทั้งที่ 1 ปีก่อนหน้า ยังอยู่ที่ประมาณ 1,000,000 ล้านบาท
- บังกลาเทศ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ลดลงต่ำกว่า 1,400,000 ล้านบาท ต่ำสุดในรอบ 2 ปี

ซึ่งการลดลงของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น
ไม่เพียงแต่ทำให้ประเทศมีเงินไม่เพียงพอ ในการชำระค่าสินค้านำเข้า
หรือนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางด้านการเงินของประเทศ
แต่ยังทำให้ธนาคารกลาง ไม่สามารถใช้เงินทุนสำรองเข้ามาบริหารจัดการค่าเงิน เพื่อลดความผันผวนและรักษาสมดุลของเศรษฐกิจได้อย่างที่ต้องการ
ซึ่งมันก็ยิ่งทำให้นักลงทุน ไม่ต้องการถือครองเงินสกุลของประเทศเหล่านี้
ค่าเงินของประเทศเหล่านี้จึงอ่อนค่าลง และวนกลับไปทำให้ต้นทุนสินค้านำเข้า มีราคาสูง
เกิดการขาดแคลนสินค้า และการกักตุนสินค้าต่าง ๆ มากมาย อย่างที่เราเห็น
ไม่ว่าจะเป็นในศรีลังกา ที่เศรษฐกิจของประเทศนั้นล้มละลาย ประชาชนออกมาประท้วงรัฐบาล
ขับไล่ผู้นำจนหนีออกนอกประเทศ หลังจากเกิดปัญหาขาดแคลนพลังงาน และราคาสินค้าแพงขึ้นหลายเท่าตัว
ในปากีสถาน ที่โดนวิกฤติการณ์ขาดแคลนพลังงาน จนเกิดเหตุไฟฟ้าดับในประเทศนานหลายชั่วโมง สร้างความเสียหายให้แก่ภาคธุรกิจ และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนจำนวนมาก
ในบังกลาเทศ ที่ความรุนแรงอาจจะน้อยกว่า เนื่องจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มากกว่าศรีลังกาและปากีสถาน
แต่เงินทุนสำรองที่เหลือนี้ สามารถช่วยให้ประเทศนำเข้าสินค้าได้เพียง 5 เดือน จนล่าสุด บังกลาเทศต้องขอรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เช่นกัน
ซึ่งไม่แปลกที่เหตุการณ์ดังกล่าว จะนำไปสู่ความวุ่นวาย และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนของประเทศเหล่านี้ จำนวนกว่าหลายร้อยล้านคน
วิกฤติในกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ ก็ถือเป็นอีกบทเรียนให้กับหลายประเทศที่ต้องศึกษาไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาสินค้าส่งออกในกลุ่มเดียว เพราะในยามที่มีปัญหา ประเทศก็จะขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง
การกระจายความเสี่ยงในการค้าระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ อย่างน้อยก็เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศของตนเองก้าวพลาด หรือดำเนินรอยตามสิ่งที่ศรีลังกา ปากีสถาน และบังกลาเทศ กำลังเผชิญอยู่ในวันนี้..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/South_Asia
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://www.worldometers.info/population/asia/southern-asia/
-https://blogs.worldbank.org/endpovertyinsouthasia/covid-19-quietens-south-asia-faces-stronger-headwinds-and-shifting-risks
-https://www.worldstopexports.com/bangladeshs-top-10-exports/
-https://www.outlookindia.com/business/sri-lanka-lost-around-10-lakh-taxpayers-since-2019-tax-cuts-finance-minister-sabry-news-195205
-https://tradingeconomics.com/sri-lanka/foreign-exchange-reserves
-https://www.youtube.com/watch?v=j2jwSDXq-HQ
-https://www.reuters.com/business/energy/pakistan-raises-power-prices-amid-energy-crisis-despite-rampant-inflation-2022-07-26/
-https://www.theguardian.com/world/2022/jul/28/bangladesh-to-hold-talks-with-imf-after-applying-for-bailout
-file:///C:/Users/vittaya_c/Downloads/part_1-03_Muhammad_Aamir_Khan.pdf

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon