KBank ลงทุน 1 แสนล้านบาท เพื่อทำลายขีดจำกัดการปล่อยสินเชื่อรายย่อย
KBank ลงทุน 1 แสนล้านบาท เพื่อทำลายขีดจำกัดการปล่อยสินเชื่อรายย่อย
KBank X ลงทุนแมน
KBank X ลงทุนแมน
การเกิดขึ้นของ Startup ในกลุ่มธุรกิจ Fintech ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนโลกการเงิน
ไม่ว่าจะเป็น e-Wallet กระเป๋าเงินออนไลน์, การซื้อขายหุ้นและกองทุนออนไลน์, สินเชื่อออนไลน์
และอีกสารพัดบริการมากมาย โดยมี Smartphone เป็นตัวกลางในการเข้าถึงลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็น e-Wallet กระเป๋าเงินออนไลน์, การซื้อขายหุ้นและกองทุนออนไลน์, สินเชื่อออนไลน์
และอีกสารพัดบริการมากมาย โดยมี Smartphone เป็นตัวกลางในการเข้าถึงลูกค้า
ปรากฏการณ์เหล่านี้ได้เข้ามา Disrupt ธุรกิจธนาคารอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ธนาคาร จึงมีทางเลือก 2 ทาง คือ
ธนาคาร จึงมีทางเลือก 2 ทาง คือ
1. ทำธุรกิจในแบบเดิม ๆ แข่งขันกับกลุ่ม Fintech และธนาคารที่ปรับตัวมาสู่โลกดิจิทัล
2. รวบรวมเทคโนโลยีการเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
2. รวบรวมเทคโนโลยีการเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
แน่นอนว่า.. ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank เลือกคำตอบข้อ 2
ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราจึงได้เห็น KBank กลายเป็นธนาคารที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนอย่างเข้มข้น
โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินหลากหลายบน K PLUS ใน Mobile Banking ของธนาคาร
ที่ได้ทำลายธุรกรรมทางการเงินของธนาคารในแบบดั้งเดิม และทำให้ลูกค้าสะดวกสบายมากขึ้น
โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางการเงินหลากหลายบน K PLUS ใน Mobile Banking ของธนาคาร
ที่ได้ทำลายธุรกรรมทางการเงินของธนาคารในแบบดั้งเดิม และทำให้ลูกค้าสะดวกสบายมากขึ้น
และความเคลื่อนไหวล่าสุดที่เป็น Big Impact ในแวดวงธนาคารเมืองไทย
เมื่อคุณขัตติยา อินทรวิชัย CEO ของ KBank ประกาศลงทุน 1 แสนล้านบาท
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ บริการสินเชื่อให้ลูกค้าที่ยังไม่เคยเข้าถึงบริการธนาคาร
เมื่อคุณขัตติยา อินทรวิชัย CEO ของ KBank ประกาศลงทุน 1 แสนล้านบาท
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ บริการสินเชื่อให้ลูกค้าที่ยังไม่เคยเข้าถึงบริการธนาคาร
ว่าแต่เงินลงทุน 1 แสนล้านบาท จะนำไปใช้ในการลงทุนเทคโนโลยีอะไรบ้าง ?
แล้ว KBank จะขยายฐานสินเชื่อไปยังลูกค้ากลุ่มนี้ ด้วยวิธีไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แล้ว KBank จะขยายฐานสินเชื่อไปยังลูกค้ากลุ่มนี้ ด้วยวิธีไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
คุณขัตติยา เล่าว่า ช่วงที่ผ่านมาเทคโนโลยีการเงินใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ Disrupt ธุรกิจธนาคาร
ทำให้ทาง KBank ต้องรวบรวมเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้กสิกรไทย เป็น “ชาเลนเจอร์แบงก์”
ทำให้ทาง KBank ต้องรวบรวมเอาเทคโนโลยีเหล่านี้ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้กสิกรไทย เป็น “ชาเลนเจอร์แบงก์”
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มบริษัท Fintech ต่างกำลังรุกธุรกิจสินเชื่อออนไลน์ที่จับกลุ่มลูกค้าหลัก
คือ คนที่ไม่มีรายได้ประจำ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการธนาคาร
คือ คนที่ไม่มีรายได้ประจำ และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการธนาคาร
ในอดีตแม้ธนาคารจะรู้ดีว่า นี่คือตลาดสินเชื่อขนาดใหญ่
แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับหนี้เสีย หรือ NPL ในอัตราที่สูงด้วยเช่นกัน
แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับหนี้เสีย หรือ NPL ในอัตราที่สูงด้วยเช่นกัน
แต่เมื่อ KBank มองตัวเองว่าเป็น “ชาเลนเจอร์แบงก์”
ที่นำเทคโนโลยีมากำจัดกระบวนการทำงานที่ยุ่งยาก และทลายข้อจำกัดเดิม ๆ ในอดีตออกไป
ที่นำเทคโนโลยีมากำจัดกระบวนการทำงานที่ยุ่งยาก และทลายข้อจำกัดเดิม ๆ ในอดีตออกไป
อย่างในตลาดสินเชื่อออนไลน์ จะนำเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์สารพัดข้อมูลของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อประเมินได้ว่า ลูกค้าคนไหน มีศักยภาพในการผ่อนชำระ
เพื่อประเมินได้ว่า ลูกค้าคนไหน มีศักยภาพในการผ่อนชำระ
ทำให้หลายเดือนที่ผ่านมา KBank อนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ทำงานอิสระ ที่ไม่มีรายได้ประจำไปแล้ว
เฉลี่ย 1,600 รายต่อวัน โดยมีวงเงินสินเชื่อ 1,500-20,000 บาทต่อคน
เฉลี่ย 1,600 รายต่อวัน โดยมีวงเงินสินเชื่อ 1,500-20,000 บาทต่อคน
ความน่าสนใจต่อมาคือ แทนที่ KBank จะมองว่ากลุ่มธุรกิจ Fintech ที่เข้ามามีบทบาทในตลาดสินเชื่อออนไลน์คือ คู่แข่งของตัวเอง
แต่กลับมองว่าหากคิดจะเติบโตในโลกการเงินดิจิทัล ธนาคารต้องร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ Fintech เพื่อเติบโตไปพร้อมกัน
แต่กลับมองว่าหากคิดจะเติบโตในโลกการเงินดิจิทัล ธนาคารต้องร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ Fintech เพื่อเติบโตไปพร้อมกัน
เหตุผลนี้เอง ทำให้ KBank ร่วมมือกับแอปพลิเคชัน LINE BK
จนกลายเป็นธนาคารแรกในเมืองไทย ที่เปิดบริการสินเชื่อออนไลน์ผ่านทาง Social Media
จนกลายเป็นธนาคารแรกในเมืองไทย ที่เปิดบริการสินเชื่อออนไลน์ผ่านทาง Social Media
อีกทั้งยังทำลายข้อจำกัดเดิม ๆ คือ รู้ผลการอนุมัติภายในเวลา 5 นาที หากเป็นลูกค้าของ KBank อยู่ก่อนแล้ว
ส่วนผู้ขอสินเชื่อที่ไม่เคยมีบัญชีธนาคารจะรู้ผลอนุมัติใน 24 ชั่วโมง
ส่วนผู้ขอสินเชื่อที่ไม่เคยมีบัญชีธนาคารจะรู้ผลอนุมัติใน 24 ชั่วโมง
โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลและอัลกอริทึมของผู้ขอสินเชื่อบน Social Media ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ขอสินเชื่อเท่านั้น
ความเคลื่อนไหวของ KBank ในธุรกิจนี้ ถือเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ทั้ง 2 ฝ่าย..
โดยฝั่ง KBank จะสามารถขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด
โดยที่ตัวเองไม่ต้องลงทุนขยายสาขามากมาย เพื่อเข้าถึงลูกค้าเหมือนอย่างในอดีต
พร้อม ๆ กับการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ ลูกค้าปัจจุบันของ KBank ก็จะได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ ด้วย จากการใช้บริการ ที่จะสะดวก เรียบง่ายมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
โดยที่ตัวเองไม่ต้องลงทุนขยายสาขามากมาย เพื่อเข้าถึงลูกค้าเหมือนอย่างในอดีต
พร้อม ๆ กับการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ ลูกค้าปัจจุบันของ KBank ก็จะได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ ด้วย จากการใช้บริการ ที่จะสะดวก เรียบง่ายมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
ขณะเดียวกันทางฝั่งผู้ขอสินเชื่อ จากเดิมเมื่อต้องการเงินสด ก็มักจะพึ่งพาหนี้นอกระบบที่ต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่แพงเกินจริง และการทวงหนี้ที่โหดร้าย
พอเป็นแบบนี้ทำให้ KBank ตั้งเป้าหมายว่าภายในสิ้นปีนี้ จะสามารถปล่อยสินเชื่อผ่านทาง LINE BK ในกลุ่มคนทั่วไปได้กว่า 2 แสนคน และเจ้าของธุรกิจรายเล็ก ๆ กว่า 6 แสนคน
รวมวงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท
รวมวงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกันในเวลานี้ KBank กำลังเจรจากับธุรกิจร้านค้าปลีกในต่างจังหวัด
เพื่อเสนอการปล่อยสินเชื่อไปยังผู้ประกอบการรายย่อยในต่างจังหวัด โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
เพื่อเสนอการปล่อยสินเชื่อไปยังผู้ประกอบการรายย่อยในต่างจังหวัด โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
และอย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น KBank กำลังรวบรวมสารพัดเทคโนโลยีการเงินให้มาอยู่กับตัวเองให้มากที่สุด
โดยก่อนหน้านี้ลงทุนไปแล้วกว่า 12,700 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเงินหลายรูปแบบที่ใช้ตอบโจทย์ลูกค้า
ส่วนแผนล่าสุดคือ เตรียมเงินลงทุนเพิ่มอีก 22,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีก
ในช่วง 2 ปีข้างหน้าต่อจากนี้
ส่วนแผนล่าสุดคือ เตรียมเงินลงทุนเพิ่มอีก 22,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีก
ในช่วง 2 ปีข้างหน้าต่อจากนี้
นอกจากนี้ KBank ยังเตรียมงบประมาณในการลงทุนซื้อกิจการ และการร่วมมือในเชิงพาณิชย์มูลค่าสูงถึง 30,000 ล้านบาท
โดยจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี 2-5 ดีล ที่จะเกิดขึ้นภายในอีก 12 เดือนข้างหน้าต่อจากนี้
โดยจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี 2-5 ดีล ที่จะเกิดขึ้นภายในอีก 12 เดือนข้างหน้าต่อจากนี้
พูดง่าย ๆ ว่าความเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ถือเป็น Big Move ของ KBank ซึ่งหลายคน อาจจะโฟกัสไปที่เงินลงทุน 1 แสนล้านบาท
แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่ามูลค่าของเงินลงทุนนั้น คือความคิดในการทำธุรกิจของ KBank ต่างหาก
เพราะเมื่อวันนี้ ธุรกิจการเงิน กำลังเผชิญกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มธุรกิจ Fintech
หรือแม้อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ข้ามธุรกิจมาอยู่ในแวดวงการเงินดิจิทัล
เพราะเมื่อวันนี้ ธุรกิจการเงิน กำลังเผชิญกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มธุรกิจ Fintech
หรือแม้อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ข้ามธุรกิจมาอยู่ในแวดวงการเงินดิจิทัล
ทำให้ KBank นอกจากจะลงทุนมหาศาล เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีก้าวเป็น “ธนาคารดิจิทัล” แล้วนั้น
ก็ยังร่วมมือกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งกับธนาคารทางอ้อมในโลกการเงินดิจิทัล
ก็ยังร่วมมือกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งกับธนาคารทางอ้อมในโลกการเงินดิจิทัล
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ KBank รู้ดีว่าคนที่จะ Disrupt ธุรกิจธนาคาร ไม่ใช่คู่แข่งทางธุรกิจ
แต่คือ พฤติกรรมของลูกค้า ที่เปลี่ยนแปลงไปต่างหาก..
แต่คือ พฤติกรรมของลูกค้า ที่เปลี่ยนแปลงไปต่างหาก..
และการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเป็น “ชาเลนเจอร์แบงก์” ที่นำสารพัดเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนธนาคาร
ไปพร้อม ๆ กับการทำลายขีดจำกัดเดิม ๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างสูงสุด
ไปพร้อม ๆ กับการทำลายขีดจำกัดเดิม ๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างสูงสุด
นั่นคือสิ่งที่ KBank เชื่อว่าจะทำให้ตัวเองยั่งยืนได้ ในโลกการเงินยุคดิจิทัล..
Reference
- ข่าวประชาสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย
- ข่าวประชาสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย