รู้จัก กองทุน Thematic ETF รายแรกของไทย ที่ลงทุนในหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
SET x ลงทุนแมน
ปัจจุบัน ETF ได้กลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ลงทุนในดัชนีหรือกลุ่มธุรกิจ ช่วยกระจายความเสี่ยงโดยใช้เงินน้อย สะดวกต่อการซื้อขาย ซื้อตัวเดียวแต่ได้ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เริ่มต้นลงทุนง่าย ไม่ต้องวิเคราะห์หุ้นรายตัว และมีค่าธรรมเนียมต่ำ
หนึ่งในประเภทของ ETF ที่กำลังได้รับความนิยม นั่นคือ Thematic ETF
หรือกองทุน ETF ที่ลงทุนตามธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ต่าง ๆ
หรือกองทุน ETF ที่ลงทุนตามธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ต่าง ๆ
แล้วความน่าสนใจของ กองทุน Thematic ETF เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กองทุนประเภท Thematic ETF มีเม็ดเงินไหลเข้ามามากกว่า 10 เท่า
สาเหตุที่เป็นแบบนี้ เพราะนักลงทุนสามารถลงทุนธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ ที่มีโอกาสเติบโตมหาศาลในอนาคต แทนที่จะต้องลงทุนหุ้นรวมทั้งตลาด หรืออุตสาหกรรมเช่นเดิม
โดยในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ETF เหล่านี้มีให้เลือกลงทุนมากมายหลากหลายธีม
เช่น พลังงานสะอาด สุขภาพ เกม ฟินเทค เทคโนโลยีบล็อกเชน หรือแม้กระทั่งกัญชาก็ตาม
เช่น พลังงานสะอาด สุขภาพ เกม ฟินเทค เทคโนโลยีบล็อกเชน หรือแม้กระทั่งกัญชาก็ตาม
ยังไม่นับข้อดีอีกหลายอย่างของ ETF ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำกว่ากองทุนรวม
และซื้อขายสะดวกทันทีไม่ต่างจากหุ้นทั่วไป ไม่ต้องรอลุ้นราคาขายอีก 1-2 วัน
และซื้อขายสะดวกทันทีไม่ต่างจากหุ้นทั่วไป ไม่ต้องรอลุ้นราคาขายอีก 1-2 วัน
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก ที่นักลงทุนเริ่มเข้ามาลงทุนใน ETF กันมากขึ้น
แล้วตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มี Thematic ETF อะไรบ้าง ?
ปัจจุบันในไทยมี ETF ทั้งหมด 12 กองทุน โดย Thematic ETF กองทุนแรกของไทย “UHERO” เริ่มเปิดให้ซื้อขายเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการลงทุนในธีมธุรกิจเมกะเทรนด์โลกผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ลงทุนได้ง่ายกว่าเดิม โดยลงทุนได้ทั้ง “บัญชีหุ้น” และ “บัญชีกองทุนรวม”
กองทุนเปิด ยูไนเต็ด ฮีโร่ อีทีเอฟ “UHERO” มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ Global X Video Games & Esports ETF เป็นกองทุนหลักเพียงกองทุนเดียว
โดยมีนโยบายการลงทุนในหุ้นกลุ่มเกมและอีสปอร์ตระดับโลก
เช่น บริษัท Activision Blizzard เจ้าของเกม World of Warcraft และ Overwatch
บริษัท Electronic Arts หรือ EA เจ้าของเกม Apex Legends, FIFA และ The Sims
และบริษัท Nintendo ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกมคอนโซลสุดฮิตอย่าง Nintendo Switch และผู้สร้างตัวการ์ตูน Mario
บริษัท Electronic Arts หรือ EA เจ้าของเกม Apex Legends, FIFA และ The Sims
และบริษัท Nintendo ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกมคอนโซลสุดฮิตอย่าง Nintendo Switch และผู้สร้างตัวการ์ตูน Mario
ความน่าสนใจของเทรนด์กลุ่มเกมและอีสปอร์ตคือ ธุรกิจเหล่านี้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
จากเดิมที่เกมจำกัดเฉพาะแค่เครื่องเล่นเกม เช่น PlayStation หรือ Game Boy
แต่ปัจจุบันมีการขยายมาสู่โทรศัพท์มือถือด้วย
แต่ปัจจุบันมีการขยายมาสู่โทรศัพท์มือถือด้วย
ทำให้ ณ เวลานี้มีผู้เล่นเกมผ่านโทรศัพท์มือถือทั่วโลกกว่า 2,800 ล้านคน
ซึ่งมากกว่าการเล่นผ่านเครื่องเล่นเกมที่มีอยู่ประมาณ 900 ล้านคน
ซึ่งมากกว่าการเล่นผ่านเครื่องเล่นเกมที่มีอยู่ประมาณ 900 ล้านคน
นอกจากนี้ เกมได้ขยับเข้าสู่อุตสาหกรรมบันเทิงและกีฬา
โดยอีสปอร์ตถูกจัดให้เป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมกันไปทั่วโลก
โดยอีสปอร์ตถูกจัดให้เป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมกันไปทั่วโลก
ทำให้ Newzoo บริษัทผู้นำในแง่ของการสำรวจตลาดเกม ประเมินไว้ว่า มูลค่าอุตสาหกรรมรวมจะเติบโตปีละ 8.7% และจะมีมูลค่าราว 7.9 ล้านล้านบาท ในอีก 3 ปีข้างหน้า
จะเห็นได้ว่าโอกาสที่จะได้ลงทุนในหุ้นเมกะเทรนด์โลกเริ่มขยับเข้ามาใกล้ตัวนักลงทุนมากขึ้น
และล่าสุด Thematic ETF ตัวใหม่ที่ชื่อว่า กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โรโบติกส์ & อาร์ติฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ อีทีเอฟ “UBOT” ก็กำลังเปิดจอง IPO ระหว่างวันที่ 4-14 กรกฎาคมนี้ ซึ่งสามารถซื้อได้ทั้งบัญชีหุ้นและบัญชีกองทุนเช่นกัน โดยกองทุนนี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
และล่าสุด Thematic ETF ตัวใหม่ที่ชื่อว่า กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โรโบติกส์ & อาร์ติฟิเชียล อินเทลลิเจนซ์ อีทีเอฟ “UBOT” ก็กำลังเปิดจอง IPO ระหว่างวันที่ 4-14 กรกฎาคมนี้ ซึ่งสามารถซื้อได้ทั้งบัญชีหุ้นและบัญชีกองทุนเช่นกัน โดยกองทุนนี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นกองทุนที่ลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Global X Robotics & Artificial Intelligence ETF เป็นกองทุนหลัก เพียงกองเดียว
กองทุนลงทุนในกลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเหล่านี้
1. Industrial Robots & Automation หรือกลุ่มผู้พัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์หยิบจับชิ้นส่วนในสายงานการผลิต เป็นต้น
หากพูดถึงธุรกิจที่น่าสนใจในกลุ่มธุรกิจนี้คงไม่พ้น FANUC
บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ผู้นำด้านการผลิตหุ่นยนต์อเนกประสงค์ระดับโลก
บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ผู้นำด้านการผลิตหุ่นยนต์อเนกประสงค์ระดับโลก
โดยบริษัทมีการติดตั้ง Factory Automation หรือระบบ Automation ในโรงงานมากกว่า 5 ล้านโรงงานทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2. Artificial Intelligence หรือกลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน เทคโนโลยี หรือผลิตภัณฑ์ ที่ประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล การคาดการณ์ หรือการทำระบบอัตโนมัติ
ตัวอย่างธุรกิจคือ C3 AI ผู้ให้บริการ Enterprise AI Software สำหรับ Digital Transformation
บริษัทนำเสนอ Solution ให้กับผู้พัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์ และมีความยืดหยุ่นสูง สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบการจัดเก็บข้อมูล และโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
อย่างเช่น Microsoft Azure, Amazon Web Services และ Google Cloud
อย่างเช่น Microsoft Azure, Amazon Web Services และ Google Cloud
นอกจากนี้ยังนำเสนอ Solution สำหรับใช้ปัญญาประดิษฐ์ ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้กับภาคธุรกิจด้วย
3. Non-Industrial Robots กลุ่มผู้พัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการประยุกต์ใช้ นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์สำหรับการแพทย์เพื่อช่วยการผ่าตัด หุ่นยนต์เพื่อกิจกรรมทางการเกษตร เป็นต้น
หนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจคือ Intuitive Surgical, Inc. ผู้ผลิต da Vinci หุ่นยนต์ผ่าตัดประจำโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้มีจำนวนการใช้งานหุ่นยนต์นี้ 10 กว่าล้านครั้งทั่วโลก
4. Autonomous Vehicles & Drone หรือกลุ่มธุรกิจผู้พัฒนายานยนต์ไร้คนขับทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงผู้พัฒนาโดรนด้วยเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างธุรกิจที่โดดเด่นคือ NVIDIA บริษัทผลิตการ์ดจออันดับหนึ่งนั่นเอง
รู้หรือไม่ว่า ผลิตภัณฑ์ของ NVIDIA ไม่ได้มีแค่การ์ดจอสำหรับเล่นเกมแบบที่หลายคนเข้าใจ
แต่ยังได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมอื่นอีกด้วย
แต่ยังได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมอื่นอีกด้วย
เช่น Data Center ที่มีลูกค้าเป็นถึง AWS, Google Cloud
หรือรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งมี Benz, Volvo, Audi เป็นลูกค้า
หรือรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งมี Benz, Volvo, Audi เป็นลูกค้า
ถ้าถามว่าธีมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์มีความน่าสนใจอย่างไร ก็ต้องมาดูเทรนด์ใหญ่
1. ประชากรในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีการคาดการณ์ว่า ประชากรในวัยทำงานจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งจากจุดสูงสุดในปี 2060
2. ต้นทุนค่าแรงทั่วโลกกำลังมีแนวโน้มสูงขึ้น
2. ต้นทุนค่าแรงทั่วโลกกำลังมีแนวโน้มสูงขึ้น
เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และจีน ที่มีต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นถึง 44% และ 567%
ขณะที่ต้นทุนการใช้หุ่นยนต์เพื่อการผลิตลดลง 22% นับตั้งแต่ปี 2004
ขณะที่ต้นทุนการใช้หุ่นยนต์เพื่อการผลิตลดลง 22% นับตั้งแต่ปี 2004
3. การเข้าสู่อุตสาหกรรม 5.0 ที่เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล
ปัจจุบันเทรนด์การผลิตไม่ได้เน้นแค่จำนวนอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องมีการปรับสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายด้วย ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอร่วมในการวิเคราะห์
จาก 3 เทรนด์ใหญ่ก็คงทำให้เห็นแล้วว่า ทำไมธีมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ถึงน่าสนใจ
ความน่าสนใจของ UBOT เมื่อเทียบกับกองทุนที่ลงทุนในธีมเดียวกัน
คือมีการกระจายการลงทุนในหลากหลายประเทศมากกว่า
คือมีการกระจายการลงทุนในหลากหลายประเทศมากกว่า
กองทุนส่วนใหญ่มักจะเน้นลงทุนในสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
แต่ UBOT กลับลงทุนในหุ้นประเทศญี่ปุ่น สัดส่วนพอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ในสัดส่วนที่ไม่น้อย
แต่ UBOT กลับลงทุนในหุ้นประเทศญี่ปุ่น สัดส่วนพอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ในสัดส่วนที่ไม่น้อย
รวมถึงมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
จึงไม่ต้องกังวล หรือมาบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเองเลย
จึงไม่ต้องกังวล หรือมาบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเองเลย
อย่างไรก็ดี Thematic ETF เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง
และมีความเสี่ยงระยะสั้นจากต้นทุนที่สูงขึ้น และปัญหา Supply Chain ในปัจจุบัน
และมีความเสี่ยงระยะสั้นจากต้นทุนที่สูงขึ้น และปัญหา Supply Chain ในปัจจุบัน
หลังจากที่อ่านมาทั้งหมด หากเราสนใจซื้อ ETF ต้องทำอย่างไร ?
คำตอบคือ การซื้อ ETF ในปัจจุบันนั้นง่ายและสะดวกเป็นอย่างมาก
เพียงแค่เรามีบัญชีหุ้นที่เปิดกับบริษัทหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์
เพียงแค่เรามีบัญชีหุ้นที่เปิดกับบริษัทหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์
เราก็สามารถเข้าไปเลือกซื้อ ETF ได้เหมือนกับการซื้อหุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยหนึ่งในช่องทางที่นิยมกันมากที่สุด คือแอปพลิเคชัน Streaming
เพียงแค่ Login เข้าโปรแกรม Streaming แล้วไปที่เมนู “Watch” ในหน้า Realtime เลือก “.ETFs” ในแถบเมนู SET จะมีรายชื่อ ETF ขึ้นมาทั้งหมด และกดซื้อขายได้ตามใจชอบ
เพียงแค่ Login เข้าโปรแกรม Streaming แล้วไปที่เมนู “Watch” ในหน้า Realtime เลือก “.ETFs” ในแถบเมนู SET จะมีรายชื่อ ETF ขึ้นมาทั้งหมด และกดซื้อขายได้ตามใจชอบ
สำหรับ UBOT อยู่ระหว่างเปิดจอง IPO วันที่ 4-14 กรกฎาคม 2565 และจะเริ่มเปิดให้ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-2786-2222 และตัวแทนจำหน่ายของ บลจ.
นอกจากนี้ ยังมีธีมอื่น ๆ ที่เป็นโอกาสของการลงทุนในเมกะเทรนด์โลกอีกมากมายที่พร้อมจะให้ได้ลงทุนผ่าน ETF ไทยในอนาคต ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ ETF ได้ที่ http://www.setinvestnow.com/etf
สุดท้ายนี้ หากใครที่ยังไม่มีบัญชีสำหรับลงทุน สามารถดูรายละเอียดการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น และ ETF ได้ที่ https://www.setinvestnow.com/th/open-account-stock-eopen