“เบรตตัน วูดส์” ระบบที่ทำให้ ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินหลักของโลก

“เบรตตัน วูดส์” ระบบที่ทำให้ ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินหลักของโลก

“เบรตตัน วูดส์” ระบบที่ทำให้ ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินหลักของโลก /โดย ลงทุนแมน
ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางการเงินเบอร์หนึ่งของโลก
จากความเชื่อมั่นใน “ดอลลาร์สหรัฐ” ที่ถูกใช้เป็นสกุลเงินหลัก
ในการค้าขายกันระหว่างประเทศทั่วโลก มายาวนานหลายทศวรรษ
จากข้อมูลของ SWIFT หรือสมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก ธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 40% ของธุรกรรมทั้งหมดเลยทีเดียว
แล้วดอลลาร์สหรัฐก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินหลักของโลกได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1944 สงครามโลกครั้งที่สองใกล้จะสิ้นสุดลง
สงครามโลกครั้งนั้น ได้ส่งผลความเสียหายต่อหลายล้านชีวิต
และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
โดยเฉพาะประเทศในยุโรป อย่างประเทศอังกฤษ มหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลกในขณะนั้น
ก็ได้รับความบอบช้ำอย่างมาก จากการที่ต้องสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปกับการทำสงคราม
เมื่อไปเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งบอบช้ำน้อยกว่ามาก ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วกว่า
ประกอบกับความมั่งคั่ง ณ เวลานั้น ที่ถือครองทองคำสูงถึง 2 ใน 3 ของโลก
ก็ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนที่ประเทศอังกฤษ
กลายเป็นผู้กำหนดกฎระเบียบของโลกใหม่
โดยหนึ่งในเรื่องที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการวางรากฐานใหม่ ก็คือ “ระบบการเงินของโลก”
เพื่อรองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าขายและการทำธุรกรรมระหว่างประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จึงได้มีการจัดประชุมขึ้น เพื่อหารือเรื่องระบบการเงินของโลกใหม่ ที่โรงแรม The Mount Washington
ในเมืองเบรตตัน วูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยมีตัวแทนกว่า 700 คน จาก 44 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุม
โดยมีหัวเรือหลักอย่างคุณ John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ตัวแทนจากฝั่งประเทศอังกฤษ
และคุณ Harry Dexter White รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตัวแทนจากฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา
ร่วมกันกำหนดระบบการเงินของโลกขึ้นมาใหม่
เรียกกันว่า “Bretton Woods System” หรือ “ระบบเบรตตัน วูดส์” โดยมีการเรียกตามชื่อเมืองที่จัดประชุม
จุดประสงค์หลัก ๆ ของระบบเบรตตัน วูดส์ จะเน้นไปที่การลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศให้มีเสถียรภาพ
โดยมีข้อตกลงกันว่า จะให้ทองคำและสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
และให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐผูกกับทองคำเพียงสกุลเดียว
ที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อทองคำ 1 ออนซ์
แล้วให้สกุลเงินของประเทศต่าง ๆ มาผูกกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐด้วยค่าคงที่ อีกที
โดยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถนำสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ มาแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ตามต้องการ
ซึ่งการผูกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกับทองคำเพียงสกุลเดียวไว้แบบนี้
จึงทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น
จนท้ายที่สุดแล้ว ดอลลาร์สหรัฐ ก็ได้ก้าวขึ้นเป็นสกุลเงินหลักของโลก
นอกจากนี้ ได้มีการก่อตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อดูแลและสนับสนุนการทำงานของระบบเบรตตัน วูดส์ อีก 2 แห่ง ได้แก่
1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund (IMF)
เพื่อกำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ให้เป็นไปตามที่ตกลงกัน และสามารถแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนได้ตามที่จำเป็น

รวมถึงเป็นแหล่งเงินสนับสนุนในระยะสั้นให้กับประเทศที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง
2. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา หรือ The International Bank for Reconstruction and Development (IBRD)
เพื่อเป็นแหล่งให้กู้ยืมระยะยาวแก่ประเทศที่ต้องการใช้เงิน เพื่อลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหายจากสงคราม

โดยปัจจุบัน IBRD เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธนาคารโลก หรือ The World Bank Group
ซึ่งการค้าของโลกภายใต้ระบบเบรตตัน วูดส์ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
แต่หลังจากนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากมีการใช้จ่ายในการทำสงครามเวียดนามอย่างมหาศาล เกิดการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงต้องพิมพ์เงินออกมาเพื่อชดเชยการขาดดุลที่เกิดขึ้น
จนทำให้ปริมาณเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในเศรษฐกิจโลกมากกว่าปริมาณทองคำที่มี
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ความเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก็ลดลง ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ไม่อยากถือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอีกต่อไป จึงนำมาแลกเปลี่ยนเป็นทองคำแทน
จนในที่สุด ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงประกาศยกเลิกการผูกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐไว้กับทองคำ และมีการลดค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
จุดนี้เอง นับเป็นการปิดฉากการใช้ระบบเบรตตัน วูดส์ในปี 1971 หรือเป็นระยะเวลาเพียง 27 ปี
นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวที่เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น และใช้กันจนมาถึงในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม จากระบบเบรตตัน วูดส์ ก็ทำให้ดอลลาร์สหรัฐยังถือเป็นสกุลเงินหลักของโลกในการอ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนนับตั้งแต่นั้นมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 2 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.npr.org/sections/money/2019/07/30/746337868/75-years-ago-the-u-s-dollar-became-the-worlds-currency-will-that-last
-https://www.thebalance.com/world-currency-3305931
-https://www.investopedia.com/terms/b/brettonwoodsagreement.asp#:~:text=The%20Bretton%20Woods%20Agreement%20and%20System%20created%20a%20collective%20international,to%20the%20price%20of%20gold.

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon