TRUE กับ DTAC ควบรวมกันไปแล้ว ก็อาจไม่ได้เป็นที่ 1 เพราะอะไร
TRUE กับ DTAC ควบรวมกันไปแล้ว ก็อาจไม่ได้เป็นที่ 1 เพราะอะไร /โดย ลงทุนแมน
การรวมร่างของ TRUE กับ DTAC เพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ร่วมกัน
มีการประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาราว ๆ ถึง 2 ปี ในการผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ
และหากทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ก็จะทำให้บริษัทใหม่แห่งนี้
มีจำนวนผู้ใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์รวมกัน 51.3 ล้านเลขหมาย
ที่เกิดจากฐานลูกค้า TRUE กับ DTAC รวมกัน
เป็นตัวเลขที่มากกว่า AIS ที่มีอยู่ 43.7 ล้านเลขหมาย (ข้อมูลไตรมาส 3 ปี 2564)
แต่จริง ๆ แล้ว การมีจำนวนเลขหมายที่มากกว่า มันกลับไม่ใช่คำตอบว่าใครคือเบอร์หนึ่งในธุรกิจนี้
เพราะขนาดคุณ Sigve Brekke ประธานและซีอีโอกลุ่ม Telenor ที่ถือหุ้นใหญ่สุดของ DTAC
ก็ย้ำว่าถึงควบรวมกันแล้ว AIS ก็ยังเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดเชิงรายได้มากกว่าอยู่ดี
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ด้วยจำนวนลูกค้าที่อยู่ในมือ AIS
ยังสามารถสร้างมูลค่าในเชิงรายได้มากกว่า 2 เครือข่าย
มีการประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาราว ๆ ถึง 2 ปี ในการผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ
และหากทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ก็จะทำให้บริษัทใหม่แห่งนี้
มีจำนวนผู้ใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์รวมกัน 51.3 ล้านเลขหมาย
ที่เกิดจากฐานลูกค้า TRUE กับ DTAC รวมกัน
เป็นตัวเลขที่มากกว่า AIS ที่มีอยู่ 43.7 ล้านเลขหมาย (ข้อมูลไตรมาส 3 ปี 2564)
แต่จริง ๆ แล้ว การมีจำนวนเลขหมายที่มากกว่า มันกลับไม่ใช่คำตอบว่าใครคือเบอร์หนึ่งในธุรกิจนี้
เพราะขนาดคุณ Sigve Brekke ประธานและซีอีโอกลุ่ม Telenor ที่ถือหุ้นใหญ่สุดของ DTAC
ก็ย้ำว่าถึงควบรวมกันแล้ว AIS ก็ยังเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดเชิงรายได้มากกว่าอยู่ดี
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ด้วยจำนวนลูกค้าที่อยู่ในมือ AIS
ยังสามารถสร้างมูลค่าในเชิงรายได้มากกว่า 2 เครือข่าย
และไม่ใช่แค่รายได้ที่มากกว่า แต่มูลค่าบริษัท AIS ก็ยังทิ้งขาด
ปัจจุบันมูลค่าบริษัท AIS อยู่ที่ 639,394 ล้านบาท
ส่วน TRUE 158,832 ล้านบาท และ DTAC 107,143 ล้านบาท
หากคิดแบบง่าย ๆ สมมติเกิดการควบรวมกิจการขึ้นจริง ๆ ในตอนนี้
มูลค่า 2 บริษัทรวมกันจะคิดเป็น 265,975 ล้านบาท
ปัจจุบันมูลค่าบริษัท AIS อยู่ที่ 639,394 ล้านบาท
ส่วน TRUE 158,832 ล้านบาท และ DTAC 107,143 ล้านบาท
หากคิดแบบง่าย ๆ สมมติเกิดการควบรวมกิจการขึ้นจริง ๆ ในตอนนี้
มูลค่า 2 บริษัทรวมกันจะคิดเป็น 265,975 ล้านบาท
จะเห็นว่ามูลค่าบริษัท AIS ก็ยังเป็น 2.4 เท่าของบริษัทที่เกิดจากการควบรวมเลยทีเดียว
แปลว่าการจะจะวัดความเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดนี้ ไม่ใช่แค่ จำนวนเลขหมาย
แต่ยังมีเรื่องผลประกอบการ, รายได้, กำไรสุทธิ, มูลค่าบริษัท ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดเรื่องนี้ได้ด้วย
ความสนุกของเรื่องนี้ มันอยู่ตรงที่ว่าการควบรวมกิจการของ TRUE กับ DTAC
ทางฝั่ง AIS เองก็ดูกังวลและไม่ได้นิ่งนอนใจโดยไม่ได้ทำอะไรเลย
เพราะเมื่อข่าวควบรวมกิจการผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง
AIS ก็ยิงโฆษณาออนไลน์กระหน่ำผ่านทาง Social Media ของตัวเอง
โดยขน Presenter หลายคน เช่น ลิซ่า, แบมแบม, เบลล่า, น้อง ๆ วง BNK48
ที่มีเนื้อหาการสื่อสารถึง สัญญาณเราดีที่สุด, คลื่นเราเยอะที่สุด, ย้ายมาอยู่กับเรานะ
โดยในทวิตเตอร์โฆษณาของ AIS ก็ขึ้นมาเป็นเทรนด์อันดับ 1
พร้อมกับทาง AIS ก็มีการประกาศ โปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50%
แถมใช้ฟรี 1 เดือน ส่วนโปร 5G ลด 25%
เป็นการฉกฉวยโอกาสที่เวลานี้ลูกค้าของทั้ง 2 ค่าย ยัง งง ๆ ว่าจะอยู่ค่ายเดิมหรือจะเปลี่ยนค่ายใหม่ดี
แต่แอ็กชันครั้งนี้ของ AIS กำลังบอกว่า
จำนวนลูกค้าในมือยังเปรียบเสมือนกล่องดวงใจที่ AIS หวงแหนเป็นที่สุด
ที่ตลอดเวลาเกือบ ๆ 30 ปี ทั้ง TRUE และ DTAC พยายามจะแย่งชิงลูกค้า
เพื่อก้าวสู่ความเป็นเบอร์หนึ่ง แต่สุดท้ายก็ทำได้เพียงแค่ผู้ตาม
ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการควบรวมกิจการ TRUE กับ DTAC ที่เป็นเสมือนการสร้างทางด่วนเพื่อไล่ตาม AIS ในแง่ของยอดผู้ใช้งาน
ทีนี้เมื่อในอนาคต จะเหลือผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคมเพียงแค่ 2 ราย
จะส่งผลกระทบหรือผลดีต่อคนไทย ?
หากถามว่ากำแพงใหญ่สุดในธุรกิจนี้ที่ TRUE และ DTAC ต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน
ก็คือผู้ใช้งานส่วนใหญ่ของประเทศมั่นใจและเชื่อว่า AIS คือเครือข่ายสัญญาณที่ดีที่สุด
ทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมไม่ว่าจะเปลี่ยนถ่ายมากี่ยุคกี่สมัยตั้งแต่ 2G จนมาถึง 5G
ต่อให้คู่แข่งพยายามทุกวิถีทาง AIS ก็ยังเป็นเบอร์ 1 ทั้งในแง่รายได้และจำนวนหมายเลขบริการ
เปรียบเสมือนกำแพงที่ TRUE และ DTAC ไม่อาจก้าวข้ามผ่านมันไปได้
สิ่งที่ AIS ควรจะกังวลใจคงไม่ใช่จำนวนฐานลูกค้าของคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น
หากแต่มันคือ Mindset ของผู้บริหารในการทำธุรกิจหลังจากควบรวมบริษัทเสร็จสิ้นต่างหาก
เมื่อคุณ Sigve Brekke ประธานและซีอีโอกลุ่ม Telenor พูดว่า
“ต่อให้ควบรวมกิจการแล้ว AIS ก็ยังเป็นพี่ใหญ่ และเราก็ยังต้องเรียนรู้จาก AIS”
ทางฝั่งคุณ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ย้ำว่าธุรกิจโทรคมนาคมเมืองไทย ถึงจุดที่ไปต่อได้ยากเมื่อทั้ง TRUE และ DTAC มีข้อจำกัด
ที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าต่อกับผู้บริโภคได้ทันตามเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
แปลว่าการจะจะวัดความเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดนี้ ไม่ใช่แค่ จำนวนเลขหมาย
แต่ยังมีเรื่องผลประกอบการ, รายได้, กำไรสุทธิ, มูลค่าบริษัท ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดเรื่องนี้ได้ด้วย
ความสนุกของเรื่องนี้ มันอยู่ตรงที่ว่าการควบรวมกิจการของ TRUE กับ DTAC
ทางฝั่ง AIS เองก็ดูกังวลและไม่ได้นิ่งนอนใจโดยไม่ได้ทำอะไรเลย
เพราะเมื่อข่าวควบรวมกิจการผ่านไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง
AIS ก็ยิงโฆษณาออนไลน์กระหน่ำผ่านทาง Social Media ของตัวเอง
โดยขน Presenter หลายคน เช่น ลิซ่า, แบมแบม, เบลล่า, น้อง ๆ วง BNK48
ที่มีเนื้อหาการสื่อสารถึง สัญญาณเราดีที่สุด, คลื่นเราเยอะที่สุด, ย้ายมาอยู่กับเรานะ
โดยในทวิตเตอร์โฆษณาของ AIS ก็ขึ้นมาเป็นเทรนด์อันดับ 1
พร้อมกับทาง AIS ก็มีการประกาศ โปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50%
แถมใช้ฟรี 1 เดือน ส่วนโปร 5G ลด 25%
เป็นการฉกฉวยโอกาสที่เวลานี้ลูกค้าของทั้ง 2 ค่าย ยัง งง ๆ ว่าจะอยู่ค่ายเดิมหรือจะเปลี่ยนค่ายใหม่ดี
แต่แอ็กชันครั้งนี้ของ AIS กำลังบอกว่า
จำนวนลูกค้าในมือยังเปรียบเสมือนกล่องดวงใจที่ AIS หวงแหนเป็นที่สุด
ที่ตลอดเวลาเกือบ ๆ 30 ปี ทั้ง TRUE และ DTAC พยายามจะแย่งชิงลูกค้า
เพื่อก้าวสู่ความเป็นเบอร์หนึ่ง แต่สุดท้ายก็ทำได้เพียงแค่ผู้ตาม
ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการควบรวมกิจการ TRUE กับ DTAC ที่เป็นเสมือนการสร้างทางด่วนเพื่อไล่ตาม AIS ในแง่ของยอดผู้ใช้งาน
ทีนี้เมื่อในอนาคต จะเหลือผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคมเพียงแค่ 2 ราย
จะส่งผลกระทบหรือผลดีต่อคนไทย ?
หากถามว่ากำแพงใหญ่สุดในธุรกิจนี้ที่ TRUE และ DTAC ต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน
ก็คือผู้ใช้งานส่วนใหญ่ของประเทศมั่นใจและเชื่อว่า AIS คือเครือข่ายสัญญาณที่ดีที่สุด
ทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมไม่ว่าจะเปลี่ยนถ่ายมากี่ยุคกี่สมัยตั้งแต่ 2G จนมาถึง 5G
ต่อให้คู่แข่งพยายามทุกวิถีทาง AIS ก็ยังเป็นเบอร์ 1 ทั้งในแง่รายได้และจำนวนหมายเลขบริการ
เปรียบเสมือนกำแพงที่ TRUE และ DTAC ไม่อาจก้าวข้ามผ่านมันไปได้
สิ่งที่ AIS ควรจะกังวลใจคงไม่ใช่จำนวนฐานลูกค้าของคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น
หากแต่มันคือ Mindset ของผู้บริหารในการทำธุรกิจหลังจากควบรวมบริษัทเสร็จสิ้นต่างหาก
เมื่อคุณ Sigve Brekke ประธานและซีอีโอกลุ่ม Telenor พูดว่า
“ต่อให้ควบรวมกิจการแล้ว AIS ก็ยังเป็นพี่ใหญ่ และเราก็ยังต้องเรียนรู้จาก AIS”
ทางฝั่งคุณ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ย้ำว่าธุรกิจโทรคมนาคมเมืองไทย ถึงจุดที่ไปต่อได้ยากเมื่อทั้ง TRUE และ DTAC มีข้อจำกัด
ที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าต่อกับผู้บริโภคได้ทันตามเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
ในขณะที่ AIS กลับมองต่าง และยังทุ่มเม็ดเงินลงทุนด้านโครงข่าย 30,000 ล้านบาทในปีนี้ และจับมือกับพันธมิตรที่เราได้เห็นข่าวกันเป็นระยะ
ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า แล้วแนวโน้มในอนาคตการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมจะเป็นอย่างไร
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจถึงพื้นฐานธุรกิจนี้กันก่อน
ธุรกิจโทรคมนาคม ถือเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูง โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงข่ายสัญญาณต่าง ๆ
อีกทั้งต้องผ่านการขออนุญาตหลายขั้นตอนเลยทีเดียว
ตรงนี้เองที่เปรียบเสมือนป้อมปราการขนาดใหญ่ ที่จะจำกัดให้มีผู้เล่นเพียงไม่กี่รายในตลาด
แต่ก็ตามมาด้วยข้อดี คือนอกจากคู่แข่งน้อยแล้วนั้น
ธุรกิจนี้มีต้นทุนคงที่ ถึงจะลงทุนมหาศาล แต่ต้นทุนก็ไม่ได้แปรผันตามจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
พูดง่าย ๆ ก็คือ ต่อให้มีผู้ใช้บริการ 10 ล้านเลขหมาย หรือ 50 ล้านเลขหมาย
ต้นทุนธุรกิจก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าไร ก็เลยเป็นเหตุผลให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา
โอเปอเรเตอร์เลือกใช้ข้อดีตรงนี้ มาแข่งขันด้านอัตราค่าบริการเพื่อแย่งชิงลูกค้ามาใช้บริการสัญญาณตัวเอง
ทีนี้เมื่อผู้เล่นใหญ่ในตลาดจาก 3 เหลือ 2 ราย
หลายคนอาจคิดว่าการแข่งขันทางด้านราคาอาจลดน้อยลง
ส่งผลให้อัตราค่าบริการอาจสูงขึ้น ซึ่งก็ติดตามกันต่อไป
แต่ดูเหมือนว่าในอนาคตอันใกล้ธุรกิจโทรคมนาคมจะเปลี่ยนไปที่จะไม่ได้พึ่งพาแค่รายได้ จากการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว
เคยสังเกตบ้างไหมว่าเวลานี้กลุ่ม โอเปอเรเตอร์ มีธุรกิจใหม่ ๆ ที่เราเองคาดไม่ถึง
เช่น TRUE มีธุรกิจใหม่อย่าง TrueFood ที่เป็น Food Delivery
นอกเหนือจาก True Shopping, TrueCoffee และธุรกิจอื่น ๆ
อีกทั้งการควบรวมกิจการกับทาง DTAC ครั้งนี้ ก็มีการจัดตั้ง VC มูลค่าราว 6.6 พันล้านบาท
ที่จะเข้าไปสนับสนุน Startup ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ
นอกเหนือจากการเป็นผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์
ส่วนทางฝั่ง AIS ที่นอกจากมีธุรกิจ Broadband Internet ที่ในเวลา 6 ปี มีลูกค้า 1.7 ล้านราย
ก็ยังมี AIS PLAY อีกทั้งยังมีการนำคลื่น 5G ไปร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม
จนถึงลงทุนผ่าน Startup หลากหลายรูปแบบที่อาจนำมาต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ ๆ ของบริษัท
จนถึงนโยบายล่าสุดของบริษัทที่ AIS จะรุกธุรกิจ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม อย่างจริงจัง
คงพอจะเห็นภาพในอนาคตที่จะเกิดขึ้นที่ โอเปอเรเตอร์ จะมีธุรกิจใหม่ ๆ
ที่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มหลากหลาย เช่น เราอาจเห็น โอเปอเรเตอร์ ทำธุรกิจการเงิน,
ธุรกิจประกัน, ธุรกิจการแพทย์, ธุรกิจยานยนต์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยมีสัญญาณ 5G เป็นตัวเนรมิตที่จะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกินคาดเหล่านี้ได้
โดยจะใช้ข้อได้เปรียบในการมีฐานลูกค้ามหาศาลที่ใช้บริการสัญญาณตัวเอง
ไปต่อยอดเชื่อมโยงไปยังธุรกิจใหม่ ๆ ที่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์ม
เพื่อสร้างฐานลูกค้าให้เติบโตอย่างรวดเร็ว
ซึ่งก็ดูเหมือนว่า AIS จะนำหน้าไปหนึ่งสเต็ป ที่ไปร่วมมือกับธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง SCB เพื่อปล่อยสินเชื่อแล้ว แต่ทาง TRUE กับ DTAC ยังไม่ได้ร่วมมือกับธนาคารใด ๆ เลย
พอเป็นแบบนี้ ทั้ง AIS และบริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE กับ DTAC
ย่อมต้องการฐานลูกค้าที่ใช้บริการสัญญาณตัวเองมากที่สุด เพื่อไปสู่การต่อยอดนั่นเอง
สิ่งที่ตามมานอกจากแข่งขันเรื่อง คุณภาพสัญญาณบริการแล้วนั้น
สงครามด้านราคาก็อาจเป็นอาวุธชิ้นสำคัญเพื่อแย่งชิงลูกค้า
โดยใช้จุดแข็งของธุรกิจบริการสัญญาณโทรศัพท์ ที่มีต้นทุนคงที่
เป็นตัวขับเคลื่อนเกมราคาเหมือนเดิม
เพราะในอนาคตลูกค้า 1 คน สามารถสร้างรายได้ที่ไม่ได้จำกัดแค่ธุรกิจโทรคมนาคม
แต่สามารถไปเพิ่มมูลค่าในธุรกิจใหม่ ๆ ที่หลากหลายของ โอเปอเรเตอร์
เป็นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ทั้งหมดนี้เป็นภาพที่ลงทุนแมน คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนถ้าถามว่าเกมนี้ ใครจะเป็นผู้ชนะ และตำแหน่งเบอร์หนึ่งในตลาดจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
คงยังไม่มีใครตอบได้
เพราะก็ต้องตามดูว่า การควบรวมกิจการของ TRUE กับ DTAC
จะแก้ปัญหาเรื่องความทับซ้อนหลาย ๆ อย่างของทั้ง 2 บริษัทได้ดีแค่ไหน
ทั้งเรื่องโครงข่ายสัญญาณ, พนักงาน, ฐานลูกค้า และอีกสารพัดเรื่องมากมาย
ส่วน AIS จะไม่มีปัญหาความยุ่งยากเหล่านี้
พร้อมกับมีเวลาที่จะไปพัฒนาบริการของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้น การรวมกันของ TRUE กับ DTAC ในครั้งนี้ คงต้องบอกว่า
รวมกันไปแล้ว ก็อาจจะไม่ได้เป็นที่หนึ่งอยู่ดี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-งานแถลงข่าว Equal partnership for Thailand’s digital transformation
-รายการผลประกอบการไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2564 ของแต่ละบริษัท
ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า แล้วแนวโน้มในอนาคตการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมจะเป็นอย่างไร
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจถึงพื้นฐานธุรกิจนี้กันก่อน
ธุรกิจโทรคมนาคม ถือเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูง โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงข่ายสัญญาณต่าง ๆ
อีกทั้งต้องผ่านการขออนุญาตหลายขั้นตอนเลยทีเดียว
ตรงนี้เองที่เปรียบเสมือนป้อมปราการขนาดใหญ่ ที่จะจำกัดให้มีผู้เล่นเพียงไม่กี่รายในตลาด
แต่ก็ตามมาด้วยข้อดี คือนอกจากคู่แข่งน้อยแล้วนั้น
ธุรกิจนี้มีต้นทุนคงที่ ถึงจะลงทุนมหาศาล แต่ต้นทุนก็ไม่ได้แปรผันตามจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
พูดง่าย ๆ ก็คือ ต่อให้มีผู้ใช้บริการ 10 ล้านเลขหมาย หรือ 50 ล้านเลขหมาย
ต้นทุนธุรกิจก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าไร ก็เลยเป็นเหตุผลให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา
โอเปอเรเตอร์เลือกใช้ข้อดีตรงนี้ มาแข่งขันด้านอัตราค่าบริการเพื่อแย่งชิงลูกค้ามาใช้บริการสัญญาณตัวเอง
ทีนี้เมื่อผู้เล่นใหญ่ในตลาดจาก 3 เหลือ 2 ราย
หลายคนอาจคิดว่าการแข่งขันทางด้านราคาอาจลดน้อยลง
ส่งผลให้อัตราค่าบริการอาจสูงขึ้น ซึ่งก็ติดตามกันต่อไป
แต่ดูเหมือนว่าในอนาคตอันใกล้ธุรกิจโทรคมนาคมจะเปลี่ยนไปที่จะไม่ได้พึ่งพาแค่รายได้ จากการให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว
เคยสังเกตบ้างไหมว่าเวลานี้กลุ่ม โอเปอเรเตอร์ มีธุรกิจใหม่ ๆ ที่เราเองคาดไม่ถึง
เช่น TRUE มีธุรกิจใหม่อย่าง TrueFood ที่เป็น Food Delivery
นอกเหนือจาก True Shopping, TrueCoffee และธุรกิจอื่น ๆ
อีกทั้งการควบรวมกิจการกับทาง DTAC ครั้งนี้ ก็มีการจัดตั้ง VC มูลค่าราว 6.6 พันล้านบาท
ที่จะเข้าไปสนับสนุน Startup ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ
นอกเหนือจากการเป็นผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์
ส่วนทางฝั่ง AIS ที่นอกจากมีธุรกิจ Broadband Internet ที่ในเวลา 6 ปี มีลูกค้า 1.7 ล้านราย
ก็ยังมี AIS PLAY อีกทั้งยังมีการนำคลื่น 5G ไปร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในหลายอุตสาหกรรม
จนถึงลงทุนผ่าน Startup หลากหลายรูปแบบที่อาจนำมาต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ ๆ ของบริษัท
จนถึงนโยบายล่าสุดของบริษัทที่ AIS จะรุกธุรกิจ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม อย่างจริงจัง
คงพอจะเห็นภาพในอนาคตที่จะเกิดขึ้นที่ โอเปอเรเตอร์ จะมีธุรกิจใหม่ ๆ
ที่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มหลากหลาย เช่น เราอาจเห็น โอเปอเรเตอร์ ทำธุรกิจการเงิน,
ธุรกิจประกัน, ธุรกิจการแพทย์, ธุรกิจยานยนต์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยมีสัญญาณ 5G เป็นตัวเนรมิตที่จะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกินคาดเหล่านี้ได้
โดยจะใช้ข้อได้เปรียบในการมีฐานลูกค้ามหาศาลที่ใช้บริการสัญญาณตัวเอง
ไปต่อยอดเชื่อมโยงไปยังธุรกิจใหม่ ๆ ที่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์ม
เพื่อสร้างฐานลูกค้าให้เติบโตอย่างรวดเร็ว
ซึ่งก็ดูเหมือนว่า AIS จะนำหน้าไปหนึ่งสเต็ป ที่ไปร่วมมือกับธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง SCB เพื่อปล่อยสินเชื่อแล้ว แต่ทาง TRUE กับ DTAC ยังไม่ได้ร่วมมือกับธนาคารใด ๆ เลย
พอเป็นแบบนี้ ทั้ง AIS และบริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE กับ DTAC
ย่อมต้องการฐานลูกค้าที่ใช้บริการสัญญาณตัวเองมากที่สุด เพื่อไปสู่การต่อยอดนั่นเอง
สิ่งที่ตามมานอกจากแข่งขันเรื่อง คุณภาพสัญญาณบริการแล้วนั้น
สงครามด้านราคาก็อาจเป็นอาวุธชิ้นสำคัญเพื่อแย่งชิงลูกค้า
โดยใช้จุดแข็งของธุรกิจบริการสัญญาณโทรศัพท์ ที่มีต้นทุนคงที่
เป็นตัวขับเคลื่อนเกมราคาเหมือนเดิม
เพราะในอนาคตลูกค้า 1 คน สามารถสร้างรายได้ที่ไม่ได้จำกัดแค่ธุรกิจโทรคมนาคม
แต่สามารถไปเพิ่มมูลค่าในธุรกิจใหม่ ๆ ที่หลากหลายของ โอเปอเรเตอร์
เป็นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ทั้งหมดนี้เป็นภาพที่ลงทุนแมน คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
ส่วนถ้าถามว่าเกมนี้ ใครจะเป็นผู้ชนะ และตำแหน่งเบอร์หนึ่งในตลาดจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
คงยังไม่มีใครตอบได้
เพราะก็ต้องตามดูว่า การควบรวมกิจการของ TRUE กับ DTAC
จะแก้ปัญหาเรื่องความทับซ้อนหลาย ๆ อย่างของทั้ง 2 บริษัทได้ดีแค่ไหน
ทั้งเรื่องโครงข่ายสัญญาณ, พนักงาน, ฐานลูกค้า และอีกสารพัดเรื่องมากมาย
ส่วน AIS จะไม่มีปัญหาความยุ่งยากเหล่านี้
พร้อมกับมีเวลาที่จะไปพัฒนาบริการของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ดังนั้น การรวมกันของ TRUE กับ DTAC ในครั้งนี้ คงต้องบอกว่า
รวมกันไปแล้ว ก็อาจจะไม่ได้เป็นที่หนึ่งอยู่ดี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-งานแถลงข่าว Equal partnership for Thailand’s digital transformation
-รายการผลประกอบการไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2564 ของแต่ละบริษัท