อนาคตธุรกิจ “ก๊าซธรรมชาติ” ประเทศไทย เป็นอย่างไร ?
อนาคตธุรกิจ “ก๊าซธรรมชาติ” ประเทศไทย เป็นอย่างไร ?
ปตท. x ลงทุนแมน
หลังจากประเทศไทยได้สำรวจพบ ทรัพยากรพลังงาน
อย่าง “ก๊าซธรรมชาติ” ที่อ่าวไทยในปี พ.ศ. 2524 หรือกว่า 40 ปีก่อน
ปตท. x ลงทุนแมน
หลังจากประเทศไทยได้สำรวจพบ ทรัพยากรพลังงาน
อย่าง “ก๊าซธรรมชาติ” ที่อ่าวไทยในปี พ.ศ. 2524 หรือกว่า 40 ปีก่อน
หลังจากนั้นมา ก๊าซธรรมชาติ ก็ได้กลายมาเป็นแหล่ง เชื้อเพลิงสำคัญในประเทศ
เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด
เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด
อย่างไรก็ตาม ก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นเชื้อเพลิงพลังงานจากฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัด
ในขณะที่อนาคต ทั่วโลกก็กำลังหันเข้าหาเชื้อเพลิงสะอาดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน
ซึ่งก็น่าจะทำให้แนวโน้มการใช้แหล่งเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติลดลง
ในขณะที่อนาคต ทั่วโลกก็กำลังหันเข้าหาเชื้อเพลิงสะอาดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน
ซึ่งก็น่าจะทำให้แนวโน้มการใช้แหล่งเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติลดลง
แล้วอนาคตของธุรกิจก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมทั้งหมดของก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยกันก่อน
จริงอยู่ว่าเรามีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่อ่าวไทย
แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานทั้งหมดในประเทศของเรา
จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศอีกประมาณ 24%
แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานทั้งหมดในประเทศของเรา
จึงทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศอีกประมาณ 24%
โดยการนำเข้าแบ่งออกเป็นจากประเทศเมียนมา 13%
และที่เหลืออีก 11% เป็นการนำเข้าในรูปแบบ Liquefied Natural Gas (LNG)
หรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เป็นของเหลวขนส่งมาทางเรือ
และที่เหลืออีก 11% เป็นการนำเข้าในรูปแบบ Liquefied Natural Gas (LNG)
หรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เป็นของเหลวขนส่งมาทางเรือ
โดยทั้งหมดที่ประเทศไทยนำเข้ามานั้น ก็จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
อ้างอิงสัดส่วนการใช้งานจากกระทรวงพลังงานล่าสุด ก๊าซธรรมชาติถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด กว่า 57% และรองลงมาคือนำไปแยกส่วนประกอบเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของปิโตรเคมี 23% นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง (NGV) 17% และ 3% ตามลำดับ
อ้างอิงสัดส่วนการใช้งานจากกระทรวงพลังงานล่าสุด ก๊าซธรรมชาติถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด กว่า 57% และรองลงมาคือนำไปแยกส่วนประกอบเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของปิโตรเคมี 23% นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง (NGV) 17% และ 3% ตามลำดับ
สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจ ก๊าซธรรมชาติใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก็คือ ปตท. ที่มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการใช้งานภายในประเทศ
แล้ว ปตท. มีมุมมองต่อเรื่องก๊าซธรรมชาติอย่างไร ?
จริงอยู่ว่าโลกของเรากำลังหันเข้าหาพลังงานหมุนเวียน
แต่ยุคของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน จะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
แต่ยุคของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน จะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
หากเรามาดูการคาดการณ์เกี่ยวกับการใช้พลังงานทั่วโลกในปี พ.ศ. 2583
เราจะใช้พลังงานจากน้ำมัน 27%
ก๊าซธรรมชาติ 26%
พลังงานหมุนเวียน 23%
ถ่านหิน 20%
นิวเคลียร์ 4%
เราจะใช้พลังงานจากน้ำมัน 27%
ก๊าซธรรมชาติ 26%
พลังงานหมุนเวียน 23%
ถ่านหิน 20%
นิวเคลียร์ 4%
เมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมา ที่เราใช้พลังงานจากน้ำมัน และถ่านหินเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด
มาโดยตลอด ซึ่งรวมกันคิดเป็น 58% ของการใช้พลังงานทั้งหมดบนโลก
มาโดยตลอด ซึ่งรวมกันคิดเป็น 58% ของการใช้พลังงานทั้งหมดบนโลก
จะเห็นได้ว่าเราจะใช้น้ำมัน และถ่านหินในสัดส่วนที่น้อยลง
โดยจะหันไปหาพลังงานหมุนเวียน รวมถึงก๊าซธรรมชาติมากขึ้น
โดยจะหันไปหาพลังงานหมุนเวียน รวมถึงก๊าซธรรมชาติมากขึ้น
จุดนี้เองได้สะท้อนให้เห็นว่าก่อนที่โลกของเราจะหันเข้าหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์
“ก๊าซธรรมชาติ” ที่ถือเป็นฟอสซิลที่สะอาดที่สุดจะเป็น “Transition Fuel” หรือพลังงานทางผ่านไปสู่พลังงานสะอาด
“ก๊าซธรรมชาติ” ที่ถือเป็นฟอสซิลที่สะอาดที่สุดจะเป็น “Transition Fuel” หรือพลังงานทางผ่านไปสู่พลังงานสะอาด
โดย ปตท. มองว่ารูปแบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติแบบ LNG จะมีการเติบโตที่ดีขึ้นในอนาคต
แล้วทำไมต้อง LNG ?
จริง ๆ แล้ว การขนส่งก๊าซธรรมชาติแบบดั้งเดิมจะเป็นในลักษณะการขนส่งทางท่อ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากเขตอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้ก๊าซอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอุตสาหกรรมที่อยู่นอกแนวท่อก๊าซ ซึ่งการวางท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติจะมีมูลค่าการลงทุนที่สูง บวกกับมีระยะทางการขนส่งจำกัด
นั่นจึงทำให้การขนส่งในรูปแบบ LNG หรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เป็นของเหลว เป็นที่นิยมมากขึ้น
นอกจากนี้ การอัดก๊าซให้เป็นของเหลวก็ยังทำให้ขนส่งได้มากขึ้น นั่นหมายความว่าการขนส่งรูปแบบนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ในขณะเดียวกัน LNG ก็ยังสามารถขนส่งผ่านทางเรือ รถไฟ หรือผ่านรถยนต์ขนส่งได้ เช่นกัน
สำหรับความเคลื่อนไหวของ ปตท. ในช่วงที่ผ่านมา
ได้เริ่มส่งออก LNG ไปยังเขตอุตสาหกรรมในประเทศจีนผ่านการขนส่งทางเรือ
และเมื่อไม่นานมานี้ ปตท. ได้มีการขนส่ง LNG ไปยังประเทศกัมพูชาผ่านทางรถยนต์
ซึ่งก็ถือเป็นการขนส่งออกชายแดนครั้งแรกของประเทศไทย
ได้เริ่มส่งออก LNG ไปยังเขตอุตสาหกรรมในประเทศจีนผ่านการขนส่งทางเรือ
และเมื่อไม่นานมานี้ ปตท. ได้มีการขนส่ง LNG ไปยังประเทศกัมพูชาผ่านทางรถยนต์
ซึ่งก็ถือเป็นการขนส่งออกชายแดนครั้งแรกของประเทศไทย
ที่น่าสนใจก็คือประเทศกัมพูชา เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ
รวมถึงเป็นประเทศที่อัตราการใช้พลังงานเชื้อเพลิงกำลังขยายตัว
รวมถึงเป็นประเทศที่อัตราการใช้พลังงานเชื้อเพลิงกำลังขยายตัว
นั่นจึงทำให้การขนส่ง LNG จากประเทศไทยที่มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมอยู่แล้ว
ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือต่างประเทศก็น่าจะกลายมาเป็นอีกธุรกิจที่มีพื้นที่ในการเติบโต
ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือต่างประเทศก็น่าจะกลายมาเป็นอีกธุรกิจที่มีพื้นที่ในการเติบโต
เพราะถ้าเรามาดูประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ เราจะตั้งอยู่ท่ามกลางประเทศที่มีความต้องการใช้ LNG คิดเป็นเกินกว่า 6 ใน 10 ของความต้องการใช้ LNG ทั่วโลก
ซึ่งก็ครอบคลุมตั้งแต่ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินเดีย พม่า กัมพูชา และเวียดนาม
บวกกับนโยบายของทางภาครัฐที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวระดับภูมิภาค หรือ Regional LNG Hub ภายในปี พ.ศ. 2565 หรือปีหน้าที่จะถึงนี้
ถึงตรงนี้ ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า..
จากเดิม ที่เราจัดหาก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศเป็นหลักมาโดยตลอด
แต่ในอนาคต เราอยากจะก้าวไปเป็น “ศูนย์กลาง” สำหรับการซื้อขายระดับภูมิภาค
จากเดิม ที่เราจัดหาก๊าซธรรมชาติมาใช้ในประเทศเป็นหลักมาโดยตลอด
แต่ในอนาคต เราอยากจะก้าวไปเป็น “ศูนย์กลาง” สำหรับการซื้อขายระดับภูมิภาค
หากทำได้สำเร็จ ก็มีการคาดการณ์ว่า Regional LNG Hub จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ให้กับประเทศไทยราว 1.65 แสนล้านบาท ในช่วง 10 ปี และยังจะช่วยให้เกิดการจ้างงาน
เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1.6 หมื่นคนต่อปี เลยทีเดียว..
ให้กับประเทศไทยราว 1.65 แสนล้านบาท ในช่วง 10 ปี และยังจะช่วยให้เกิดการจ้างงาน
เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1.6 หมื่นคนต่อปี เลยทีเดียว..