รู้จักกับ Intel และ AMD ผู้ผลิตสมอง ของคอมพิวเตอร์

รู้จักกับ Intel และ AMD ผู้ผลิตสมอง ของคอมพิวเตอร์

รู้จักกับ Intel และ AMD ผู้ผลิตสมอง ของคอมพิวเตอร์ /โดย ลงทุนแมน
ไม่ว่าเราจะซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นไหน แบรนด์อะไร
หนึ่งในสิ่งที่คอมพิวเตอร์เหล่านี้ขาดไม่ได้เลยก็คือ ชิ้นส่วนสำหรับการประมวลผล
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ สมองของคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันในชื่อของ CPU
ปัจจุบัน ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจผลิต CPU ก็คือบริษัท Intel และ AMD
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือผู้ก่อตั้งของทั้ง 2 บริษัทนี้ เคยเป็นอดีตพนักงานบริษัทเดียวกัน
ที่ Fairchild Semiconductor บริษัทผู้บุกเบิก เทคโนโลยีวงจรรวม และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
แล้วเส้นทางของทั้ง 2 บริษัท เป็นอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Intel ก่อตั้งในช่วงกลางปี 1968 หรือ 52 ปีก่อน
โดย Gordon Moore และ Robert Noyce
สำหรับผลิตภัณฑ์ตัวแรกของ Intel ก็คือ 3101 Schottky Bipolar Random Access Memory (RAM)
โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ เราเรียกว่า “แรม” ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์ นั่นเอง
หลังจากคิดค้นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกสำเร็จ Intel ก็ได้ต่อยอดไปเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์อื่นๆ อีกมากมาย และก็ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว
เร็วถึงขนาดที่ว่าในปี 1971 หรือเพียง 3 ปีหลังก่อตั้งธุรกิจ Intel ก็สามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ โดยสามารถระดมทุนได้มากถึง 6.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 207 ล้านบาท และได้คิดค้นนวัตกรรม Microprocessor ตัวแรกของโลก หรือที่เราเรียกกันว่า CPU นั่นเอง..
โดย CPU ของ Intel ก็ได้กลายมาเป็นชิ้นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ยุคใหม่
จนในปี 1992 Intel ได้กลายมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน Semiconductor รายใหญ่ที่สุดในโลก
ในส่วนของ AMD นั้น บริษัทแห่งนี้ได้ก่อตั้งหลังจาก Intel ในปี 1969
โดยอดีตพนักงาน 8 คนที่มาจาก Fairchild Semiconductor เช่นเดียวกัน
ในช่วงแรก AMD ก็ได้เริ่มทำธุรกิจจากการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และก็ได้เริ่มเข้าสู่การเป็นผู้ผลิต CPU เหมือนรุ่นพี่อย่าง Intel
อย่างไรก็ตาม AMD ก็เหมือนเป็นพระรองมาโดยตลอดเพราะว่า นวัตกรรมของ Intel สูงกว่ามาก และก็มีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงกว่า AMD มาก
สิ่งที่ AMD ตัดสินใจทำก็คือ การหันมาโฟกัสที่ตลาดรองลงมา นั่นก็คือ การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รุ่นปานกลาง และขายในราคาที่ต่ำลงมา
นั่นจึงกลายมาเป็นเหตุผลที่ว่าในปี 1997 AMD ได้ทำให้ราคาคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีราคาที่แพงมาก
โดยการแข่งขันของทั้ง 2 บริษัทนี้ก็ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ Intel ก็ยังเป็นผู้นำในตลาด CPU มาโดยตลอด
สะท้อนมาจากส่วนแบ่งการตลาด CPU ในปี 2016
Intel ครองส่วนแบ่ง 70%
AMD ครองส่วนแบ่ง 25%
อื่นๆ อีก 5%

แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมา AMD กำลังเริ่มท้าทาย Intel อีกครั้ง เพราะในปี 2017 บริษัท AMD ก็ได้เปิดตัว CPU รุ่นเรือธงซีรีส์ Ryzen ที่ทางบริษัทเคลมว่ามีคุณภาพเทียบเท่ากับ CPU ที่ดีที่สุดของทาง Intel
ซึ่งก็ดูเหมือนว่า Ryzen จะกลายเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญของ AMD
เพราะหลังการเปิดตัวเมื่อ 3 ปีก่อน ส่วนแบ่งการตลาด CPU ของ AMD ก็ได้เพิ่มสูงขึ้น
จนสามารถขึ้นมาครองส่วนแบ่งได้กว่า 30% ในไตรมาสที่ 3 ในปีที่ผ่านมา
ซึ่งนอกจาก AMD จะแข่งขันในตลาด CPU กับ Intel
อีกธุรกิจที่ AMD เข้าไปร่วมแข่งขันก็คือตลาด GPU
หรือที่เราเรียกกันว่าการ์ดจอ กับบริษัท Nvidia อีกด้วย
แล้วตอนนี้แต่ละบริษัทมีมูลค่ามากแค่ไหน?
Nvidia มูลค่าบริษัท 10.0 ล้านล้านบาท
Intel มูลค่าบริษัท 5.7 ล้านล้านบาท
AMD มูลค่าบริษัท 3.0 ล้านล้านบาท
ที่น่าสนใจก็คือบริษัทเหล่านี้แม้จะเป็นเพียงผู้ผลิตชิ้นส่วน
แต่เมื่อเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องขาดไม่ได้
บริษัทเหล่านี้ก็สามารถมีมูลค่าเป็นล้านล้านบาทได้ เช่นกัน
และยิ่งบริษัทเหล่านี้แข่งขันกันดุเดือดมากเท่าไร
คนที่ได้ประโยชน์มากสุดก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
แต่เป็นผู้บริโภคอย่าง “เรา” ที่จะได้สมองของคอมพิวเตอร์ที่เร็วขึ้น ในราคาที่ถูกลง นั่นเอง..
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon