KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ
KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ? /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงแบรนด์ไก่ทอด หลายคนคงนึกถึง KFC
KFC เป็นแบรนด์ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
และเป็นหนึ่งในร้านอาหารจานด่วนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
KFC เป็นแบรนด์ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
และเป็นหนึ่งในร้านอาหารจานด่วนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า KFC ในประเทศไทย มีใครเป็นเจ้าของบ้าง
และแต่ละรายมีผลประกอบการเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่า KFC ย่อมาจาก “Kentucky Fried Chicken”
ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 90 ปีที่แล้ว
โดยพันเอกฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์
ชายผู้ผ่านความล้มเหลวมาเกือบทุกเรื่องในชีวิต
แต่เรื่องเดียวที่เขาทำสำเร็จคือ “ทอดไก่ขาย”
จนสุดท้ายแบรนด์ไก่ทอดของเขาก็โด่งดังไปทั่วโลก
และแต่ละรายมีผลประกอบการเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่า KFC ย่อมาจาก “Kentucky Fried Chicken”
ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 90 ปีที่แล้ว
โดยพันเอกฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์
ชายผู้ผ่านความล้มเหลวมาเกือบทุกเรื่องในชีวิต
แต่เรื่องเดียวที่เขาทำสำเร็จคือ “ทอดไก่ขาย”
จนสุดท้ายแบรนด์ไก่ทอดของเขาก็โด่งดังไปทั่วโลก
ปี พ.ศ. 2562 KFC มีสาขาทั่วโลกกว่า 22,621 สาขา
กระจายอยู่ใน 150 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
กระจายอยู่ใน 150 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
ปัจจุบัน KFC เป็นแบรนด์ในเครือ บริษัท “Yum! Brands” หนึ่งในบริษัทเจ้าของแบรนด์อาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
สำหรับในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน (Quick Service Restaurant) มูลค่าตลาดกว่า 31,200 ล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากที่สุดในบรรดาธุรกิจร้านอาหารรูปแบบต่างๆ
และแน่นอนว่า KFC ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง ในธุรกิจร้านอาหารจานด่วนของไทย
โดย KFC ในประเทศไทย มี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) หรือ ยัม! ประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารแบรนด์ ทำการตลาด และโปรโมชัน
ต้องบอกก่อนว่า ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา
บริษัท Yum! Brands มีนโยบายจะให้ร้านอาหารในเครือเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด
จึงทำให้ร้าน KFC ในประเทศไทย จะมี ยัม! ประเทศไทย บริหารแบรนด์และทำการตลาดให้
ส่วนหน้าที่การบริหารจัดการร้าน จะเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับสิทธิ์การจัดจำหน่าย หรือที่เรียกว่า “แฟรนไชซี” เป็นผู้ดำเนินการ
บริษัท Yum! Brands มีนโยบายจะให้ร้านอาหารในเครือเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด
จึงทำให้ร้าน KFC ในประเทศไทย จะมี ยัม! ประเทศไทย บริหารแบรนด์และทำการตลาดให้
ส่วนหน้าที่การบริหารจัดการร้าน จะเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับสิทธิ์การจัดจำหน่าย หรือที่เรียกว่า “แฟรนไชซี” เป็นผู้ดำเนินการ
โดยแฟรนไชซี จะต้องทำตามข้อตกลงที่ทำไว้กับ ยัม! ประเทศไทย ทั้งรูปแบบสาขา การปรับปรุงร้าน เมนูอาหาร และเครื่องดื่มที่จำหน่ายในร้าน ทุกอย่างต้องผ่านการยินยอมและอนุมัติจาก ยัม! ประเทศไทย ทั้งสิ้น
ซึ่งแฟรนไชซีของแบรนด์ KFC ในประเทศไทยตอนนี้ มีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ
1. บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
2. บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
3. บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
1. บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
2. บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
3. บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
KFC เข้ามาเปิดสาขาแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 หรือ 35 ปีที่แล้ว ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ซึ่งเป็นการนำเข้ามาของ เครือเซ็นทรัล ที่เป็นเจ้าแรกที่ได้สิทธิ์เป็นแฟรนไชซีแบรนด์ KFC
ซึ่งปัจจุบัน KFC ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานของเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) บริษัทในเครือเซ็นทรัล
ผลประกอบการของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 681 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 681 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ไม่ได้ขายแค่ไก่ทอด KFC เท่านั้น
แต่ยังมีแบรนด์อาหารอื่นๆ ในพอร์ตอีก เช่น Mister Donut, Auntie Anne’s รวมทั้งร้านอาหารไทยและร้านอาหารญี่ปุ่น รวมกว่า 15 แบรนด์
แต่ยังมีแบรนด์อาหารอื่นๆ ในพอร์ตอีก เช่น Mister Donut, Auntie Anne’s รวมทั้งร้านอาหารไทยและร้านอาหารญี่ปุ่น รวมกว่า 15 แบรนด์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ยัม! ประเทศไทย ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ KFC ให้กับแฟรนไชซีรายที่ 2
คือ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
คือ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
โดย RD เป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนของผู้ลงทุนทั้งไทยและอาเซียน และได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญี่ปุ่น
ผลประกอบการของบริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 4,067 ล้านบาท ขาดทุน 93 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 4,370 ล้านบาท ขาดทุน 127 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 4,067 ล้านบาท ขาดทุน 93 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 4,370 ล้านบาท ขาดทุน 127 ล้านบาท
และในปลายปี พ.ศ. 2560 ยัม! ประเทศไทย ก็มีแฟรนไชซีเพิ่มมาอีกหนึ่งราย
บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ
ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ
ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
ผลประกอบการของบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 6,117 ล้านบาท กำไร 169 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 7,745 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 6,117 ล้านบาท กำไร 169 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 7,745 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท
โดยข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2562 KFC ในประเทศไทยมีทั้งหมด 826 สาขา แบ่งเป็น
เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) 283 สาขา
เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) 207 สาขา
คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) 336 สาขา
เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) 283 สาขา
เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) 207 สาขา
คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) 336 สาขา
จากข้อมูลผลประกอบการสองปีที่ผ่านมา
จะเห็นว่า KFC ภายใต้การดำเนินงานของ เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) ยังขาดทุนอยู่เมื่อเทียบกับแฟรนไชซีอีก 2 ราย
จะเห็นว่า KFC ภายใต้การดำเนินงานของ เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) ยังขาดทุนอยู่เมื่อเทียบกับแฟรนไชซีอีก 2 ราย
ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนสาขาที่น้อยกว่า ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ที่น้อยกว่าแฟรนไชซีอีกสองเจ้า
สรุปแล้ว ถ้าถามว่า KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ?
ก็ต้องตอบว่า ถ้าในมุมของการเป็นเจ้าของแบรนด์ ผู้ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ KFC ในไทย ก็คือ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ Yum! ประเทศไทย
ส่วนถ้าเป็นในแง่ของการเป็นเจ้าของสิทธิ์ในการบริหารร้าน KFC หรือที่เรียกว่า แฟรนไชซี ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG), เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) และ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (QSA) นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ Yum! Brands คือ บริษัทร้านอาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)
โดยในปี พ.ศ. 2562 Yum! Brands มีรายได้ 175,000 ล้านบาท และกำไร 40,500 ล้านบาท
ปัจจุบัน Yum! Brands มีมูลค่าบริษัทประมาณ 950,000 ล้านบาท ซึ่งถ้า Yum! Brands จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย ก็จะมีมูลค่าเป็นอันดับต้นๆ ของตลาดเลยทีเดียว..
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yum!_Brands
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-http://www.rdthailand.com/about/th
-https://foa.co.th/brand/kfc/pages/about_en.html
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892602
-https://finance.yahoo.com/quote/YUM/
----------------------
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yum!_Brands
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-http://www.rdthailand.com/about/th
-https://foa.co.th/brand/kfc/pages/about_en.html
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892602
-https://finance.yahoo.com/quote/YUM/