MEA กับภารกิจขับเคลื่อน Smart Energy

MEA กับภารกิจขับเคลื่อน Smart Energy

MEA x ลงทุนแมน
MEA กับภารกิจขับเคลื่อน Smart Energy
พ.ศ. 2501 คือปีก่อตั้งของการไฟฟ้านครหลวง หรือ Metropolitan Electricity Authority (MEA)
เท่ากับว่าในปีนี้ MEA มีอายุ 62 ปีแล้ว
ในปัจจุบันโลกกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี
ที่ผลักดันให้ทุกอย่างเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล
ซึ่งจะส่งผลให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
แล้ว MEA ในฐานะผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้าในเขตมหานคร
จะช่วยขับเคลื่อนการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ได้อย่างไร?
เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าของผู้คนมีมากขึ้น
ดังนั้น MEA จึงต้องบริหารจัดการไฟฟ้าอย่างครอบคลุมมีประสิทธิภาพ
และพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับ Demand & Supply
ตอบสนองวิถีชีวิตและการใช้เทคโนโลยีในเมืองมหานคร
หนึ่งในภารกิจสำคัญในตอนนี้ของ MEA
คือการพัฒนาระบบพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
ผ่านการสร้าง “ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ”
หรือที่เรียกว่า “Smart Metro Grid Project”
ถ้าให้อธิบายคำว่า Smart Metro Grid แบบง่าย ๆ ก็คือการเปลี่ยนโครงข่ายไฟฟ้าแบบเดิม ให้เป็นระบบดิจิทัล พร้อมมีการบริหารจัดการระบบที่ทันสมัย โดยหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญของเรื่องนี้ คือ “Smart Meter”
Smart Meter จะมีความแตกต่างจากมิเตอร์ไฟฟ้าแบบดั้งเดิม
คือนอกจากจะทำหน้าที่แค่อ่านค่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าแล้ว
ยังมีคุณสมบัติในการรับส่งข้อมูลได้แบบ สองทาง (Two-Way Communication)
และข้อมูลนั้นจะปรากฏและแสดงผลในทันทีแบบ Real-time
ทำให้ MEA ทราบถึงปริมาณการจ่ายไฟฟ้าไปในแต่ละที่ได้ชัดเจน
และทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
ยกตัวอย่างเช่น หากมีเหตุไฟฟ้าขัดข้องเกิดขึ้น
ระบบ Smart Metro Grid จะทราบพื้นที่บริเวณที่เกิดปัญหาขัดข้องได้ในทันที
หมายความว่า ระบบ Smart Metro Grid
จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่จะทำให้ MEA
สามารถวิเคราะห์ข้อมูล บริหารจัดการ และให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะทำให้การจัดการพลังงานภายในบ้านเรือน อาคารสำนักงาน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
โดยในช่วงแรกของโครงการ
MEA ตั้งเป้าติดตั้ง Smart Meter จำนวน 31,539 ชุด ในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้านำร่อง
เขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
โดยที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้น และเริ่มทดลองใช้ได้ภายในปี พ.ศ. 2565
จากนั้นจึงจะขยายการติดตั้งให้ครอบคลุมผู้ใช้บริการในพื้นที่ทั้งหมดในอนาคต
นอกเหนือจากการจัดการไฟฟ้าในอาคารบ้านเรือนแล้ว
ระบบ Smart Metro Grid ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงพลังงานสะอาด
อย่างเช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ผ่านโซลาร์เซลล์ และ โซลาร์รูฟท็อป
รวมทั้งยังเชื่อมโยงไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า EV ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด
ในการพัฒนาสถานีชาร์จ สำหรับรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า
เพื่อช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้น ทั้งลดมลพิษทางอากาศ
และไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นับได้ว่าเป็นเทรนด์รักษ์โลก รักษ์พลังงาน
ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในอนาคตอันใกล้นี้..
Reference
- เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง: www.mea.or.th

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon