การกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Whatever it takes ของรัฐบาลไทย
การกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Whatever it takes ของรัฐบาลไทย /โดย ลงทุนแมน
วิกฤติ Covid-19 ทำให้ทั้งธนาคารกลางและรัฐบาลของหลายประเทศ นำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้อย่างมากมายมหาศาล ในรูปแบบที่ว่า Whatever it takes หรือ เท่าไรเท่ากัน
วิกฤติ Covid-19 ทำให้ทั้งธนาคารกลางและรัฐบาลของหลายประเทศ นำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้อย่างมากมายมหาศาล ในรูปแบบที่ว่า Whatever it takes หรือ เท่าไรเท่ากัน
โดยทั่วไปแล้ว
นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะมี 2 ประเภท
นั่นก็คือ
1. นโยบายการเงิน
และ 2. นโยบายการคลัง
แล้วตอนนี้ ขีดความสามารถของไทยในเรื่องนี้มีมากแค่ไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูนโยบายของสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และก็เป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 มากที่สุดในโลกเช่นกัน
นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะมี 2 ประเภท
นั่นก็คือ
1. นโยบายการเงิน
และ 2. นโยบายการคลัง
แล้วตอนนี้ ขีดความสามารถของไทยในเรื่องนี้มีมากแค่ไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูนโยบายของสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และก็เป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 มากที่สุดในโลกเช่นกัน
ธนาคารกลางของสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง มาอยู่ที่ 0-0.25% พร้อมทั้งประกาศการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน (QE) กว่า 22 ล้านล้านบาท ก่อนที่จะตามมาด้วยการทำ QE ครั้งที่ 2 โดยไม่จำกัดปริมาณ วัตถุประสงค์ก็เพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำ
ในกรณีนี้ สิ่งที่ธนาคารกลางนำออกมาใช้นั้นเราเรียกว่า “นโยบายการเงิน”
อีกด้านหนึ่ง สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ โหวตอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินหลังวุฒิสภาได้ผ่านร่างงบประมาณอีก 70 ล้านล้านบาท โดยงบกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ เป็นงบที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งในกรณีนี้ นโยบายที่รัฐบาลสหรัฐฯ นำออกมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นเราเรียกว่า “นโยบายการคลัง”
กลับมาที่ประเทศไทยของเรา ก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกับสหรัฐฯ
นั่นคือ การดำเนินนโยบายการเงินจะทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
และการดำเนินนโยบายการคลังจะทำโดยกระทรวงการคลัง
นั่นคือ การดำเนินนโยบายการเงินจะทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
และการดำเนินนโยบายการคลังจะทำโดยกระทรวงการคลัง
ในส่วนของนโยบายการเงินนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึงปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำการลดดอกเบี้ยไปแล้วทั้งหมด 4 ครั้ง
ปี 2562 ธปท. ลดดอกเบี้ยจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทแข็งค่าจนกระทบการส่งออก และภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยชะลอตัว
ปี 2563 ธปท. ลดดอกเบี้ยจำนวน 2 ครั้ง จากผลกระทบของ Covid-19
ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 0.75% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
ถ้ามองอีกมุมคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นเหลือกระสุนสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจอีกไม่มากเท่าไร เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศกำลังเข้าใกล้ 0% เข้าไปทุกที
แน่นอนว่า การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำจะช่วยทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจนั้นลดลง
แต่อย่างไรก็ตาม อีกมุมหนึ่ง ยิ่งอัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้รายได้ของผู้ออมเงินนั้นลดลง
ซึ่งสุดท้ายก็จะไปกระทบกับภาคครัวเรือน
รวมทั้งผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่ต้องการรายได้จากดอกเบี้ย
รวมทั้งผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่ต้องการรายได้จากดอกเบี้ย
ดูเหมือนว่า การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น มีข้อจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ความหวังสุดท้ายที่ต้องรีบเข้ามาช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากวิกฤติไวรัส Covid-19 คือ นโยบายการคลัง..
แต่การดำเนินนโยบายการคลังไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะสามารถใช้จ่ายเงินเท่าไรก็ได้ เนื่องจากต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งหนึ่งในข้อกำหนดนั้นคือ รัฐบาลต้องคงสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ของ GDP
คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ
แล้ววันนี้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยต่อ GDP นั้นอยู่ที่เท่าไร?
แล้ววันนี้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยต่อ GDP นั้นอยู่ที่เท่าไร?
เดือนกุมภาพันธ์ 2563 หนี้สาธารณะของประเทศไทยแบ่งออกเป็น
1. หนี้รัฐบาล จำนวน 5.80 ล้านล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 888,165 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงินฯ จำนวน 327,049 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 8,611 ล้านบาท
1. หนี้รัฐบาล จำนวน 5.80 ล้านล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 888,165 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงินฯ จำนวน 327,049 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 8,611 ล้านบาท
ซึ่งรวมแล้วเท่ากับ 7 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็น 41% ของ GDP ของไทยที่เท่ากับ 17 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็น 41% ของ GDP ของไทยที่เท่ากับ 17 ล้านล้านบาท
นั่นหมายความว่า รัฐบาลสามารถที่จะก่อหนี้สาธารณะได้อีกถึง 3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะของไทยขึ้นถึงระดับ 60% ของ GDP
คำถามต่อไปคือ
แล้วจำนวนหนี้สาธารณะที่สามารถก่อเพิ่มขึ้นได้เพียงพอที่จะบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 ได้หรือไม่?
แล้วจำนวนหนี้สาธารณะที่สามารถก่อเพิ่มขึ้นได้เพียงพอที่จะบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 ได้หรือไม่?
ธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่งมีการคาดการณ์ว่า GDP ไทยจะติดลบ 5.3% ในปี 2563 จากผลกระทบของ Covid-19 นั่นหมายความ มูลค่าเศรษฐกิจไทยอาจจะได้รับผลกระทบประมาณ 9 แสนล้านบาท
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีออกมาตรการเพื่อมาบรรเทาผลกระทบของ Covid-19 อีกครั้ง จำนวนเกือบ 2 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น
1. การออก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทของกระทรวงการคลัง เพื่อนำไปใช้ในงานด้านสาธารณสุข เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 600,000 ล้านบาท และงานฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 400,000 ล้านบาท
2. การออก พ.ร.ก. เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจในการออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SME จำนวน 500,000 ล้านบาท และดูแลเสถียรภาพตลาดการเงินด้วยการจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน จำนวน 400,000 ล้านบาท
ถ้าดูแบบนี้ก็ต้องบอกว่า ตอนนี้ประเทศไทยของเราพยายามอย่างเต็มที่ที่จะใช้ทั้งนโยบายการเงินและการคลังเพื่อจะบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้
ถ้ารัฐบาลสหรัฐฯ กำลังทำทุกวิถีทาง หรือเรียกว่า Whatever it takes
รัฐบาลไทยก็น่าจะเข้าขั้นนั้นไม่ต่างกันแล้ว
รัฐบาลไทยก็น่าจะเข้าขั้นนั้นไม่ต่างกันแล้ว
เพราะมาตรการล่าสุดนี้คิดเป็นสัดส่วนถึง 11% ของ GDP ประเทศไทย มากกว่าการหดตัวลงของ GDP ไทยที่คาดกันว่าจะติดลบ 5.3% ถึง 2 เท่า
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า งบประมาณทั้งหมดนี้จะถูกนำไปใช้แก้ปัญหาได้ตรงจุด ทันเวลา และมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน?
ที่ผ่านมา เราคงเคยได้ยินว่า ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน
เมื่อรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาใช้จ่าย
ทุกครั้งก็จะโดนโจมตีจากฝ่ายการเมืองตรงข้าม
เมื่อรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาใช้จ่าย
ทุกครั้งก็จะโดนโจมตีจากฝ่ายการเมืองตรงข้าม
แต่ในครั้งนี้
ไม่ว่าเราจะอยู่ฝ่ายไหน
ทุกคนคงต้องยอมรับว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้มันจำเป็นจริงๆ
เพราะปัญหา Covid-19 กำลังสร้างความบอบช้ำอย่างหนักต่อประเทศไทยของเรา
ไม่ว่าเราจะอยู่ฝ่ายไหน
ทุกคนคงต้องยอมรับว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้มันจำเป็นจริงๆ
เพราะปัญหา Covid-19 กำลังสร้างความบอบช้ำอย่างหนักต่อประเทศไทยของเรา
และการกระตุ้นในครั้งนี้
คงจะช่วยต่อลมหายใจเฮือกสุดท้าย
ให้กับคนไทยหลายคนในตอนนี้ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
คงจะช่วยต่อลมหายใจเฮือกสุดท้าย
ให้กับคนไทยหลายคนในตอนนี้ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
ดังนั้นในครั้งนี้
ถ้าถามว่า Whatever it takes จำเป็นแค่ไหน?
ก็คงต้องตอบว่า
เราอาจต้องทำอะไรก็ได้ ก่อนที่มัน จะไม่เหลืออะไรให้ทำ..
----------------------
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=223&language=th
-https://www.cnbc.com/2020/03/15/federal-reserve-cuts-rates-to-zero-and-launches-massive-700-billion-quantitative-easing-program.html
-https://techcrunch.com/2020/03/27/cares-act-stimulus-package-covid-19/
-http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/027/1.PDF
-https://www.pdmo.go.th/th/public-debt/debt-outstanding
-http://www2.fpo.go.th/FPO/admin/scripts/getpdf.php?id=2488
-http://www.fpo.go.th/main/getattachment/General-information-public-service/FPO-KM/9057/(39)-ความรู้สู่คนคลัง-กรอบวินัยการเงินการคลัง.pdf.aspx
-https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n2063.aspx
ถ้าถามว่า Whatever it takes จำเป็นแค่ไหน?
ก็คงต้องตอบว่า
เราอาจต้องทำอะไรก็ได้ ก่อนที่มัน จะไม่เหลืออะไรให้ทำ..
----------------------
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์ เจาะลึกแบบ deep content ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=223&language=th
-https://www.cnbc.com/2020/03/15/federal-reserve-cuts-rates-to-zero-and-launches-massive-700-billion-quantitative-easing-program.html
-https://techcrunch.com/2020/03/27/cares-act-stimulus-package-covid-19/
-http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/027/1.PDF
-https://www.pdmo.go.th/th/public-debt/debt-outstanding
-http://www2.fpo.go.th/FPO/admin/scripts/getpdf.php?id=2488
-http://www.fpo.go.th/main/getattachment/General-information-public-service/FPO-KM/9057/(39)-ความรู้สู่คนคลัง-กรอบวินัยการเงินการคลัง.pdf.aspx
-https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n2063.aspx