สรุปความคิด Ray Dalio ต่อ โคโรนาไวรัส

สรุปความคิด Ray Dalio ต่อ โคโรนาไวรัส

สรุปความคิด Ray Dalio ต่อ โคโรนาไวรัส /โดย ลงทุนแมน
ล่าสุด Ray Dalio ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดในโลก
ได้ออกมาเขียนบทความล่าสุดเรื่อง My Thoughts About the Coronavirus
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังว่า
นักคิดระดับโลกผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง Principles เขามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส (ฝรั่งจะใช้คำว่า Coronavirus ไม่ใช่ COVID-19 เหมือนคนไทย ต่อไปนี้จึงจะขอใช้ทับศัพท์ว่าโคโรนาไวรัส)
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มจาก Ray Dalio บอกว่า เขาไม่อยากจะเดิมพันในสิ่งที่เขาไม่เชี่ยวชาญ เขาจะไม่เดิมพันครั้งใหญ่ในครั้งเดียว
เขาต้องการหาวิธีทำตัวให้เป็นกลาง มากกว่าที่จะหาวิธีเดิมพันในเรื่องที่ยังไม่รู้แน่ชัด ซึ่งเขาเองก็ยอมรับว่าไม่ได้รู้จริงเกี่ยวกับ โคโรนาไวรัส
จนตอนนี้ตัว Ray Dalio เองก็ไม่สามารถบอกได้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร และควรรับมือกับมันอย่างไร
ดังนั้น Ray Dalio ให้หมายเหตุไว้ก่อนเริ่มว่า บทความนี้เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของเขา ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่านเอง
และนี่คือความคิดเห็นของเขา..
จากมุมมองของ Ray Dalio เรื่องนี้มี 3 สิ่งที่เกี่ยวข้องกัน แต่ก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง
1. ไวรัส
2. ผลกระทบของไวรัสที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ
3. ปฏิกิริยาของตลาด
โดยทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจาก “อารมณ์”
ซึ่งอาจเป็นเพราะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจรวมกันทั้งหมด ทำให้ตลาดปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
และตามมาด้วย การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่ผิด
และเรื่องนี้มันอาจไปกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมสลายของอีกอย่างหนึ่ง ซึ่ง Ray Dalio เคยพูดมาแล้วก็คือ
“ความเหลื่อมล้ำของ ความมั่งคั่ง และการปกครอง”
และนั่นจะเป็นจุดจบของวัฏจักรหนี้ครั้งใหญ่ ซึ่งหนี้ทั้งหมดในระบบตอนนี้ อยู่ในระดับที่สูงมาก
และธนาคารกลาง “กำลังหมดแรง” ที่จะกระตุ้นมัน
เริ่มด้วยเรื่องแรก
1) ไวรัส
ตัวไวรัสเองก็เกือบเป็นที่แน่นอนว่า
- มันเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาและก็จะผ่านไป
- สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงทางจิตใจหรืออารมณ์ ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวของตลาดอย่างรวดเร็ว
และไวรัส ก็นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพ ที่ดูเหมือนจะควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ในทั่วโลก
ซึ่งเรื่องทั้งหมด ก็นับเป็นต้นทุนทางด้านมนุษย์ และเศรษฐกิจที่สูงมาก
ถึงแม้วิธีการรับมือ และผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่
(ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดของประเทศนั้นๆ แตกต่างกันด้วย)
โดยการควบคุมไวรัสจะได้ผลดี และมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อ
- ผู้นำของประเทศมีศักยภาพในการตัดสินใจได้ถูกต้องและฉับไว
- ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่ง
- ผู้นำสามารถบังคับให้หน่วยงานต่างๆ ทำได้ตามแผน
- ระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ในการบ่งชี้และรักษาผู้ติดเชื้อได้ดีและรวดเร็ว
เรื่องนี้ผู้นำต้องทำให้ “สังคมห่างกัน” ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ถ้ามีการระบาดเกิดขึ้นในสังคมนั้น (คำว่าสังคมห่างกันก็คือการลดการเจอกันของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกงาน ห้ามบุคคลออกนอกอาคาร หรือการปิดเมือง) และผู้นำต้อง “ถอน” การทำให้สังคมห่างกันโดยเร็วที่สุด ถ้าการระบาดนั้นลดลง
ซึ่ง Ray Dalio เขาเชื่อว่า จีนมีความสามารถในการทำเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ส่วนประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ จะทำได้ดีน้อยกว่าจีน แต่ก็น่าจะถือว่าพอใช้ได้
สำหรับประเทศที่ทำได้แย่ ก็อาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ร้ายแรงตามมากับประเทศนั้น
ดังนั้นประเทศอื่นๆ ที่จัดการเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นได้ไม่ดี ก็จะทำให้โรคแพร่ระบาดไปได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่น เช่น อากาศ ซึ่งประเทศในเขตร้อนจะมีการระบาดของโรคไม่เท่าประเทศในภูมิภาคอื่น
ตอนนี้โรคกำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ รวมถึงตัวเลขผู้เสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน
และในสหรัฐฯ จะมีการตรวจหาผู้ติดเชื้อมากขึ้นใน 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้
ซึ่งจะทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตาม และก็น่าจะทำให้สังคมเกิดความกังวลมากขึ้นไปอีก โดยจะมีคนได้รับผลกระทบจากการทำให้ “สังคมห่างกัน”
ในโรงพยาบาลจะเกิดความตึงเครียดมากขึ้น และโรงพยาบาลจะรับมือกับเคสผู้ป่วยได้ยากลำบากขึ้น
สุดท้ายแล้ว แน่นอนว่าจะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ในเร็วๆ นี้
2) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ปฏิกิริยาของเราต่อเหตุการณ์โรคระบาดจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวในระยะสั้น และตามมาด้วยการฟื้นตัวในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะไม่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
จริงๆ แล้ว โรคระบาดที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่านี้ในประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัดสเปน ก็สามารถนำมายกเป็น worst-case scenario ได้ดี
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราวิตกกังวลมากเกินกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เราอาจสรุปได้ว่าเหตุการณ์ในรอบนี้ก็คงไม่ต่างกัน..
อย่างไรก็ตาม Ray Dalio ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจถดถอยจะไม่เกิดขึ้น เพราะจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่มีต้นตอมาจาก
- ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และการปกครอง
- ความขัดแย้งที่รุนแรง
- หนี้สินจำนวนมากและนโยบายการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- รวมถึงขั้วอำนาจใหม่ที่เกิดขึ้นมาท้าทายขั้วอำนาจเดิม
ซึ่งครั้งสุดท้ายที่เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ก็คือปี 1930 จนกลายเป็นที่มาของสงครามโลกครั้งที่ 2
และถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นก็คือ การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
แน่นอนว่า ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง และการปกครอง จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย
และมันจะถูกนำไปรวมเข้ากับเหตุการณ์โรคระบาดในครั้งนี้ ซึ่งจะเห็นผลใน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขั้นต้น หรือ Super Tuesday
3) ผลกระทบต่อตลาด
ตอนนี้โลกกำลังอยู่ในช่วงกู้หนี้ยืมสินมานานด้วยเงินสดที่ล้นในระบบ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพนักลงทุนส่วนใหญ่จะซื้อหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ด้วยวิธีการกู้ยืมส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้สินทรัพย์นั้นมา
การกู้ยืมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับผลตอบแทนคาดหวังของหุ้นที่มากกว่า
ผลกระทบจากไวรัสจะทำให้รายได้บริษัทลดลง แต่เมื่อเหตุการณ์จบ
รายได้ของบริษัทส่วนใหญ่ ก็จะฟื้นคืนกลับมาเหมือนเดิม
ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบ V หรือ U Shaped
แต่สำหรับบริษัทที่กู้หนี้ยืมสินมาก จะเจอปัญหาและกลับมาไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ตลาดยังแยกไม่ออกว่าบริษัทไหนสามารถอยู่รอด
และบริษัทไหนจะไม่สามารถอยู่รอดได้
ตลาดกลับไปให้ความสนใจแต่เรื่องที่จะมาส่งผลกระทบต่อรายได้ชั่วคราว
แทนที่จะสนใจบริษัทที่กู้หนี้ยืมสินมาก
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ บริษัทที่มีเงินสดมากแต่ได้รับผลกระทบชั่วคราว กลับถูกตลาดลงโทษมากกว่า บริษัทที่ได้รับผลกระทบน้อยแต่มีหนี้สินมาก
ซึ่ง Ray Dailio สนใจที่ตัวหนี้สินของบริษัทมากกว่าผลกระทบชั่วคราว
และดูเหมือนว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ จะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์หายนะในรอบ 100 ปี ที่จะทำให้หลายฝ่ายต้องสั่นคลอนไปตามๆ กัน ทั้งผู้ที่เป็นคนรับประกันความเสี่ยงนี้ และคนที่ไม่สนใจจะปิดความเสี่ยงนี้
เพราะพวกเขาทำเหมือนมันเป็นความเสี่ยงหนึ่งที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง อย่างเช่นพวกบริษัทประกัน หรือพวกที่ขาย Option ป้องกันความเสี่ยงนี้ (เพราะคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นจริง) เพื่อหาโอกาสกินเบี้ยประกันสูงๆ
และตอนนี้ตลาดก็กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากผู้เล่นเหล่านี้ ที่กำลังถูกบีบเรื่องปัญหาด้านกระแสเงินสด มากกว่าจะเป็นการวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน
เรากำลังเห็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ และการเคลื่อนไหวของตลาดที่ดูไม่ค่อยมีเหตุมีผล
ที่น่าสนใจก็คือ หลายบริษัทในเวลานี้ให้กระแสเงินสดสูง และดูน่าสนใจขึ้นมาก ในขณะที่อีกหลายบริษัทกำลังเจอปัญหา และน่าจะล้มหายไป
สำหรับการลดอัตราดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องจะไม่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากนัก หากประชาชนเลือกที่จะอยู่แต่ในบ้าน ไม่จับจ่ายใช้สอยอะไร แม้ว่าจะช่วยให้สินทรัพย์เสี่ยงดูน่าสนใจมากขึ้น แต่ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยก็เข้าใกล้ศูนย์แล้ว
ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ประเทศเหล่านี้ได้หมดแรงที่จะลดดอกเบี้ยอีกต่อไปแล้ว
นั่นแสดงให้เห็นว่า นโยบายทางการเงินเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้
และมีความจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายทางการคลังเข้าช่วย
เพราะฉะนั้น อย่าไปคาดหวังว่าการลดดอกเบี้ยจะช่วยอะไรได้มากนัก เพราะผลของมันได้เกิดขึ้นไปแล้ว
ด้วยการที่ yield ของพันธบัตรต่างๆ ลดลงไปแล้ว และราคาสินทรัพย์อื่นๆ รวมถึงหุ้น ก็สะท้อนเรื่องนี้ไปแล้ว
ดังนั้น สิ่งที่ Ray Dalio คาดหวังสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจในครั้งนี้ ก็คือการดำเนินนโยบายทางการเงินร่วมกับนโยบายทางการคลังให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กับหน่วยงานที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินและสภาพคล่อง
มากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ย และเพิ่มสภาพคล่องแบบเหมารวมกันทั้งหมด
และสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดที่เราควรเป็นห่วงในมุมมองของ Ray Dalio
ก็คือ “ตัวเราเอง และครอบครัว”
ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
การลงทุนที่ดี เราควรประเมินกรณีที่เลวร้ายที่สุด หรือ worst-case scenario
เพื่อเตรียมตัวที่จะรับมือกับมัน ถ้ามันเกิดขึ้น..
สรุปแล้วสิ่งที่ลงทุนแมนได้รู้จาก Ray Dalio ก็คือ เขาเชื่อมั่นว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว แต่ในระหว่างนี้บริษัทที่กู้หนี้ยืมสินมาก จะเจอปัญหาสภาพคล่อง
สำหรับประเทศที่มีประสิทธิภาพในการปกครอง จะสามารถควบคุมโรคนี้ได้มากกว่า และไม่น่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นในระยะยาว
เขาให้ความสำคัญมากๆกับคำว่า ให้สนใจระยะยาว อย่าสนใจ ระยะสั้น
ดังนั้นเขาจึงเลือกที่มองบริษัทที่ไม่มีหนี้สิน ให้กระแสเงินสดดี และมองความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญ
จะเห็นได้ว่าบทความของ Ray Dalio มีแกนเรื่องที่เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผล รวมถึงประสบการณ์ในอดีตมาทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การเรียนรู้เรื่องราวในอดีตจะทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ และสามารถนำประสบการณ์ความรู้มาเชื่อมโยงกัน จะทำให้ภาพในหัวของเราชัดเจนขึ้น
และถ้าเราอยากเข้าใจเหตุการณ์ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกแบบรวบรัดที่สุด ในเวลาน้อยที่สุด หนังสือ "เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี" ที่เพิ่งออกใหม่ของลงทุนแมน จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราไปถึงจุดนั้นได้
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019 โดยเรื่องจะถูกเล่าแบบกระชับ เรียบเรียงสนุก เหมือนเราได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ
หนังสือนี้พิมพ์ครั้งแรกขายหมดภายใน 1 สัปดาห์ พิมพ์ครั้งที่สองขายหมดในสัปดาห์ต่อมา ตอนนี้พิมพ์ครั้งที่ 3 ซึ่งมีของมาอีกจำนวนหนึ่ง
รีบสั่งซื้อก่อนของหมดอีกครั้ง ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท สั่งซื้อได้ที่
ลงทุนแมนรับรองว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นเล่มที่ใช้ไปได้ตลอดชีวิต
โลกทั้ง 1,000 ปีจะถูกย่นย่อ สรุปความให้เหลือ 1 เล่ม
ด้วยถ้อยคำสไตล์ลงทุนแมนที่บรรจงเชื่อมโยงร้อยเรียงขึ้นมา
ถ้าใครได้อ่านแล้วจะสามารถเชื่อมโยง เข้าใจโลกได้ดีขึ้น
เหมาะแก่การซื้อไว้อ่านเอง มอบให้ญาติผู้ใหญ่เป็นของขวัญ ซื้อไปให้ลูกค้า ซื้อให้ลูกหลานอ่าน
ซึ่งตัวลงทุนแมนเองก็น่าจะต้องกลับมาอ่านหนังสือเล่มนี้อีกบ่อยๆ เช่นกัน
ด้วยเนื้อหาที่ต้องใช้พลังในการเขียนมาก
และคงยากที่ลงทุนแมนจะเขียนเนื้อหาแนวนี้อีกครั้ง
ทำให้หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นหนังสือฉบับสมบูรณ์ที่ทุกคนควรมี
สั่งซื้อเลยที่
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
----------------------
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
----------------------
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Reference
-https://www.linkedin.com/pulse/my-thoughts-coronavirus-ray-dalio
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon