เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิก มีต้นทุนเท่าไร?
เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิก มีต้นทุนเท่าไร? / โดย ลงทุนแมน
การเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับนานาชาติ
ย่อมเป็นโอกาสที่ดีในการแสดงศักยภาพ และดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ
ย่อมเป็นโอกาสที่ดีในการแสดงศักยภาพ และดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขันกีฬา “โอลิมปิก” ที่มีผู้ชมทั่วโลกเฝ้าจับตามอง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การจัดงานดังกล่าว กลับสร้างภาระค่าใช้จ่ายและหนี้สิน ทิ้งไว้ให้กับเจ้าภาพและประชาชนภายในประเทศจำนวนมหาศาล
ตัวอย่างของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
โอลิมปิก เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกๆ 4 ปี
เมื่อปี ค.ศ. 1894 นายปิแอร์ เดอ กูแบร์แต็ง ผู้ให้การศึกษาและนักประวัติศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ต้องการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผ่านการแข่งขันกีฬา
เขาจึงได้ร่วมจัดตั้ง คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) ขึ้นเพื่อจัดงานดังกล่าว โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการแข่งขันกีฬาในสมัยโบราณ ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ ช่วงยุค 800 ปี ก่อนคริสตกาล จนถึง ปี ค.ศ. 400
ต่อมา ในปี 1896 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 จึงได้ถูกจัดขึ้นที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยมีผู้เข้าร่วม 14 ประเทศ และปรากฏว่า เจ้าเหรียญทองตกเป็นของ สหรัฐอเมริกา
จากนั้นโอลิมปิกได้ถูกจัดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 28 ครั้ง โดยถูกยกเลิกไป 3 ครั้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
ทั้งนี้การแข่งขันที่ทุกคนคุ้นเคยจะเรียกว่า โอลิมปิกฤดูร้อน เนื่องจากภายหลังได้มีการจัดแข่งรายการอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ โอลิมปิกฤดูหนาว พาราลิมปิก และโอลิมปิกเยาวชน
โดยประเทศที่คว้าเหรียญทอง โอลิมปิกฤดูร้อน ไปครองได้มากที่สุด รวมทุกยุคสมัย ได้แก่
อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา 1,022 เหรียญ
อันดับ 2 สหภาพโซเวียต 395 เหรียญ
อันดับ 3 สหราชอาณาจักร 263 เหรียญ
อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา 1,022 เหรียญ
อันดับ 2 สหภาพโซเวียต 395 เหรียญ
อันดับ 3 สหราชอาณาจักร 263 เหรียญ
ส่วนประเทศไทย คว้าไปได้ทั้งหมด 9 เหรียญทอง อยู่ในอันดับที่ 54
อย่างไรก็ตาม นอกจากติดตามการแข่งขันกีฬาแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่คนให้ความสนใจ คงหนีไม่พ้นการจัดงานของประเทศเจ้าภาพว่ามีรูปแบบและความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
ซึ่งโอลิมปิกฤดูร้อนนั้น มีเจ้าภาพจัดการแข่งขันมาแล้ว 19 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าภาพมากที่สุด 4 ครั้ง
แล้วการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีต้นทุนเท่าไร?
สำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิก 5 ครั้งหลังสุด มีต้นทุนดังต่อไปนี้
ปี 2000 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
งบประมาณ 1.0 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 2.2 แสนล้านบาท
งบประมาณ 1.0 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 2.2 แสนล้านบาท
ปี 2004 ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ
งบประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 5.0 แสนล้านบาท
งบประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 5.0 แสนล้านบาท
ปี 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน
งบประมาณ 6.3 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
งบประมาณ 6.3 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
ปี 2012 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
งบประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
งบประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
ปี 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
งบประมาณ 4.4 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
งบประมาณ 4.4 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
จะเห็นได้ว่า
ต้นทุนการจัดกีฬาโอลิมปิก เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกินกว่าวงเงินที่ประมาณการไว้ในทุกครั้ง
ต้นทุนการจัดกีฬาโอลิมปิก เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกินกว่าวงเงินที่ประมาณการไว้ในทุกครั้ง
ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทั้งจำนวนประเทศที่เข้าร่วม และชนิดกีฬาที่แข่งขัน
40 ปีที่แล้ว มีผู้เข้าร่วม 81 ประเทศ มีกีฬาแข่งขัน 21 ประเภท
20 ปีที่แล้ว มีผู้เข้าร่วม 199 ประเทศ มีกีฬาแข่งขัน 28 ประเภท
ในครั้งล่าสุด มีผู้เข้าร่วม 204 ประเทศ มีกีฬาแข่งขัน 28 ประเภท
นั่นทำให้ปัจจุบัน ประเทศเจ้าภาพ ต้องทุ่มเม็ดเงินลงทุนสร้างสนามกีฬาหลายแห่ง เพื่อรองรับการแข่งขันกว่า 300 ครั้ง ของนักกีฬากว่า 11,000 ชีวิต ภายใน 2 สัปดาห์
นอกจากนี้ ยังต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ โดยเฉพาะที่พักอาศัย ระบบขนส่ง และการรักษาความปลอดภัย ให้พร้อมสำหรับนักกีฬา ผู้ชม และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเข้ามาอย่างล้นหลามในช่วงเวลานั้น
และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การแข่งกีฬาก็คือ พิธีเปิดและปิดงาน ซึ่งเจ้าภาพก็คงต้องการจัดให้ยิ่งใหญ่ เพื่อแสดงถึงศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย หรือจีน
แต่หลังจากจบงานแล้ว สนามกีฬา รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆ กลับเป็นของที่เกินความจำเป็นของคนในประเทศ เช่น สนามกีฬารังนก ที่ประเทศจีนใช้เป็นสถานที่จัดงานเปิดและปิดกีฬาโอลิมปิก มีค่าบำรุงรักษา ปีละ 320 ล้านบาท และไม่ค่อยมีคนใช้งาน
นั่นจึงทำให้ประเทศเจ้าภาพ มีค่าใช้จ่ายจริงเกินกว่างบประมาณ และเป็นภาระในระยะยาวให้กับคนในประเทศแทน จนเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ ดังเช่นที่ กรีซ หรือ บราซิล เป็นต้น
รวมทั้งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน เพราะเงินส่วนนั้น อาจนำมาพัฒนาประเทศ หรือทำเป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้มากกว่า
และในทางตรงกันข้าม รายได้ที่ได้กลับคืนมาสู่เจ้าภาพนั้น ไม่เพียงพอต่อต้นทุนด้วยซ้ำ โดยรายได้หลักงานโอลิมปิก จะมาจาก ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ค่าสปอนเซอร์ และค่าตั๋วเข้าชม
ปี 2008 ที่จีน สร้างรายได้ 1.7 แสนล้านบาท ขาดทุน 1.2 ล้านล้านบาท
ปี 2012 ที่อังกฤษ สร้างรายได้ 2.5 แสนล้านบาท ขาดทุน 3.2 แสนล้านบาท
ปี 2016 ที่บราซิล สร้างรายได้ 2.9 แสนล้านบาท ขาดทุน 3.4 แสนล้านบาท
ยิ่งไปกว่านั้น ค่าลิขสิทธิ์ทีวีมากกว่าครึ่งหนึ่ง ต้องถูกแบ่งไปให้กับ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ในฐานะผู้ดูแลการจัดการแข่งขันอีกด้วย
ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
ปี 2005-2008 มีรายได้ 1.2 แสนล้านบาท
ปี 2009-2012 มีรายได้ 1.6 แสนล้านบาท
ปี 2013-2016 มีรายได้ 1.8 แสนล้านบาท
ปี 2005-2008 มีรายได้ 1.2 แสนล้านบาท
ปี 2009-2012 มีรายได้ 1.6 แสนล้านบาท
ปี 2013-2016 มีรายได้ 1.8 แสนล้านบาท
รวมทั้งปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น การจ้างงาน การค้าขาย หรือการท่องเที่ยว เป็นเพียงแค่ผลระยะสั้นในช่วงการแข่งขันเท่านั้น ทำให้เจ้าภาพขาดทุนอย่างหนัก
ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการจัดกีฬาโอลิมปิกอย่างแท้จริง ควรเป็นเมืองที่มีปัจจัยพื้นฐานสนามกีฬา และสาธารณูปโภคพร้อมอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนสร้างอะไรเพิ่มมากมาย
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ประเทศต่างๆ จึงถอนตัว และไม่อยากเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในอนาคต
เหลือเพียงแค่สองรายที่พร้อม และทั้งคู่ก็ได้สิทธิ์ไปโดยปริยาย คือ
ปารีส จัดในปี 2024
ลอสแอนเจลิส จัดในปี 2028
ปารีส จัดในปี 2024
ลอสแอนเจลิส จัดในปี 2028
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าจับตามองคือ การเป็นเจ้าภาพของญี่ปุ่นในปี 2020 จะออกมาเป็นอย่างไร
ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในระดับหนึ่ง แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เงินปรับปรุง และเตรียมพร้อมในเรื่องต่างๆ เพื่อรองรับการแข่งขัน
ที่น่าสนใจคือ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลก การลงทุนอะไรสูงไป อาจสร้างภาระให้กับประชาชนในอนาคต
สุดท้ายนี้ เรื่องราวของเจ้าภาพโอลิมปิก อาจให้แง่คิดกับเราว่า
จะคิดการใหญ่ ไม่ใช่เรื่องผิด
แต่เราต้องมีความพร้อม และไม่ทำให้มันเกินตัว
แต่เราต้องมีความพร้อม และไม่ทำให้มันเกินตัว
เพราะถ้าไม่พร้อมแล้ว มันอาจจะเป็นเพียงการลงทุนเพื่อหวังผลระยะสั้น ไม่ต่างจากการจัดงานสังสรรค์
ซึ่งทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา
และคนที่ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ก็คือเจ้าของบ้าน...
----------------------
Soft Power คือสิ่งที่ญี่ปุ่นหวังพึ่งในมหกรรมโตเกียวโอลิมปิก ปี 2020 ที่กำลังจะมาถึง อ่านเรื่องนี้ได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c77cfc8f456b047702c3a85
และคนที่ได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ก็คือเจ้าของบ้าน...
----------------------
Soft Power คือสิ่งที่ญี่ปุ่นหวังพึ่งในมหกรรมโตเกียวโอลิมปิก ปี 2020 ที่กำลังจะมาถึง อ่านเรื่องนี้ได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c77cfc8f456b047702c3a85
ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน ในแอป blockdit โหลดได้ที่ http://www.blockdit.com
สั่งซื้อหนังสือลงทุนแมน 9.0 ได้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือ-ลงทุนแมน-9.0-i.116732911.1933827833
----------------------
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Summer_Olympic_Games
-https://www.cfr.org/backgrounder/economics-hosting-olympic-games
-https://www.topendsports.com/events/summer/countries/number.htm
-https://www.topendsports.com/events/summer/sports/number.htm
-https://www.olympic.org/documents/ioc-annual-report
-https://www.independent.co.uk/news/business/analysis-and-features/rio-2016-olympic-games-richest-ever-usain-bolt-mo-farah-a7171811.html
----------------------
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Summer_Olympic_Games
-https://www.cfr.org/backgrounder/economics-hosting-olympic-games
-https://www.topendsports.com/events/summer/countries/number.htm
-https://www.topendsports.com/events/summer/sports/number.htm
-https://www.olympic.org/documents/ioc-annual-report
-https://www.independent.co.uk/news/business/analysis-and-features/rio-2016-olympic-games-richest-ever-usain-bolt-mo-farah-a7171811.html