โอลิมปิก มหกรรมกีฬา ที่เจ้าภาพ ยอมจ่ายหลายแสนล้าน เพื่อขาดทุน
โอลิมปิก มหกรรมกีฬา ที่เจ้าภาพ ยอมจ่ายหลายแสนล้าน เพื่อขาดทุน /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเรามีเพื่อนคนหนึ่ง บอกว่า จัดงานกีฬาให้คนทั่วโลก แล้วมีรายได้หลักแสนล้านบาท เราคงว้าวไม่น้อย
ถ้าเรามีเพื่อนคนหนึ่ง บอกว่า จัดงานกีฬาให้คนทั่วโลก แล้วมีรายได้หลักแสนล้านบาท เราคงว้าวไม่น้อย
แต่ถ้าเพื่อนคนนี้พูดต่อว่า รายได้ตรงนี้ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป
จากที่เราว้าว ก็อาจกลายเป็นตกใจแทน
จากที่เราว้าว ก็อาจกลายเป็นตกใจแทน
นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง กับประเทศเจ้าภาพโอลิมปิก ตั้งแต่โอลิมปิกที่ปักกิ่ง ในปี 2008 จนถึงโตเกียว ในปี 2020
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ International Olympic Committee (IOC) ที่เป็นหน่วยงานดูแลกีฬาตรงนี้ กลับได้กำไรเกือบทุกปีที่มีการจัดงานกีฬาโอลิมปิก
เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร
ทำไมเจ้าภาพโอลิมปิกถึงขาดทุน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
โอลิมปิก เป็นมหกรรมกีฬาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อน
จากชาวกรีกโบราณ ที่มาแข่งขันกีฬาบนเทือกเขา
โอลิมปัส เพื่อบูชาเทพเจ้าซุส
ทำไมเจ้าภาพโอลิมปิกถึงขาดทุน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
โอลิมปิก เป็นมหกรรมกีฬาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อน
จากชาวกรีกโบราณ ที่มาแข่งขันกีฬาบนเทือกเขา
โอลิมปัส เพื่อบูชาเทพเจ้าซุส
แต่หลังจากนั้นโอลิมปิกก็ได้หายไปนาน
จนในปี 1894 ก็ได้กลับมาจัดอีกครั้ง
พร้อมกับมีคณะกรรมการที่ดูแลตรงนี้โดยตรง
จนในปี 1894 ก็ได้กลับมาจัดอีกครั้ง
พร้อมกับมีคณะกรรมการที่ดูแลตรงนี้โดยตรง
คณะนี้มีชื่อว่า คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ซึ่งเป็นคนคอยจัดการแข่งขัน และจัดหารายได้
จากกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นทุก 4 ปี
จากกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นทุก 4 ปี
และความพิเศษของการจัดทุก 4 ปี ก็ต้องเป็นมหกรรมงานกีฬาที่ยิ่งใหญ่ ที่คนทั่วโลกรอคอย
ทำให้แต่ละประเทศต่างอยากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และการยอมรับในเวทีโลก
ทำให้แต่ละประเทศต่างอยากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และการยอมรับในเวทีโลก
ตัวอย่างเช่น ในปี 1964 ญี่ปุ่นกลายเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก เพื่อทำให้โลกเห็นว่า ประเทศตัวเองฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมาได้แล้ว
แต่เมื่อมีหลายประเทศ ต้องการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก
IOC จึงใช้ระบบการประมูล ประเทศไหนประมูลได้มากที่สุด ก็ได้เป็นเจ้าภาพไป
IOC จึงใช้ระบบการประมูล ประเทศไหนประมูลได้มากที่สุด ก็ได้เป็นเจ้าภาพไป
พอเป็นแบบนี้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายก้อนแรกเลย นั่นก็คือ เงินที่ใช้ในการประมูล ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการจัดงานเลยด้วยซ้ำ
และเมื่อได้เป็นเจ้าภาพแล้ว ประเทศที่ประมูลชนะไป ก็ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานไว้รองรับการจัดแข่งขันกีฬา ไล่ตั้งแต่สนามจัดการแข่งขัน ที่พักนักกีฬา ระบบขนส่ง ไปจนถึงระบบรักษาความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ใช้ลงทุนตรงนี้ ก็มักจะเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ตลอด เพราะหากเราไปดูเจ้าภาพโอลิมปิกในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า
- ปี 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน
งบประมาณ 6.3 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
งบประมาณ 6.3 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
- ปี 2012 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
งบประมาณ 1.6 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
งบประมาณ 1.6 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
- ปี 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
งบประมาณ 4.4 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
งบประมาณ 4.4 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
- ปี 2020 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
งบประมาณ 4.6 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.0 แสนล้านบาท
งบประมาณ 4.6 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.0 แสนล้านบาท
จะเห็นได้ว่า งบประมาณที่ตั้งไว้ เกินจากค่าใช้จ่ายจริงไปมาก และโอลิมปิกปี 2024 ที่ปารีสครั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า มียอดใช้จ่ายจริงเกินไป 115%
ปัญหานี้คงไม่เป็นไร ถ้าประเทศเจ้าภาพ
หารายได้เข้ามาชดเชยกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป
แต่ในช่วงที่ผ่านมา เรื่องราวกลับตรงกันข้าม
หารายได้เข้ามาชดเชยกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป
แต่ในช่วงที่ผ่านมา เรื่องราวกลับตรงกันข้าม
- ปี 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน
รายได้ 1.7 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
รายได้ 1.7 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
- ปี 2012 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
รายได้ 2.5 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
รายได้ 2.5 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
- ปี 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
รายได้ 2.9 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
รายได้ 2.9 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
- ปี 2020 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
รายได้ 0.2 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.0 แสนล้านบาท
รายได้ 0.2 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.0 แสนล้านบาท
เท่ากับว่า ประเทศเจ้าภาพขาดทุนมหาศาล เหตุผลหลักมาจากส่วนแบ่งรายได้การจัดกีฬาโอลิมปิก ไม่ได้ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป
ซึ่งรายได้ตรงนี้ มีตั้งแต่การได้สิทธิ์ขายของที่ระลึกในงานกีฬา ส่วนแบ่งค่าตั๋วเข้าชม และค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด จาก IOC บางส่วน
แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ กลับตกเป็นภาระของประเทศเจ้าภาพ มากกว่า IOC เพราะต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอง
และหากไปดูผลการดำเนินงานของ IOC ในปีที่มีการจัดโอลิมปิก จะพบว่า
- ปี 2012
รายได้ 118,889 ล้านบาท
กำไร 30,197 ล้านบาท
รายได้ 118,889 ล้านบาท
กำไร 30,197 ล้านบาท
- ปี 2016
รายได้ 126,133 ล้านบาท
กำไร 23,957 ล้านบาท
รายได้ 126,133 ล้านบาท
กำไร 23,957 ล้านบาท
- ปี 2021 (ปีที่เลื่อนจัดโอลิมปิกโตเกียว)
รายได้ 150,371 ล้านบาท
กำไร 30,487 ล้านบาท
รายได้ 150,371 ล้านบาท
กำไร 30,487 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า IOC แทบจะมีกำไรในทุกปีที่มีการจัดโอลิมปิก สวนทางกับประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกที่ดันขาดทุนแทน
แถมการขาดทุนตรงนี้ ยังมีต่อไปเรื่อย ๆ เพราะบรรดาสนามกีฬาหรือโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างไว้ ก็ต้องมีค่าเสื่อมและซ่อมบำรุงไปตลอด
และนี่ยังไม่รวมการก่อหนี้ ที่เกิดขึ้นของรัฐบาล ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับประเทศบราซิลในปี 2016 จนประเทศติดหนี้มหาศาลและเกิดปัญหาเศรษฐกิจตามมา
แม้ว่าประเทศเจ้าภาพโอลิมปิก ดูจะได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่น้อย จากการจ้างงาน การท่องเที่ยว โรงแรม และร้านอาหาร จากการจัดงานแข่งขันครั้งนี้
แต่เรื่องนี้ ก็มีงานวิจัยจากธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาของยุโรป เปิดเผยว่า การจ้างงานและการท่องเที่ยว มีผลแค่ในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาว กลับไม่มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศเจ้าภาพเลย..
สุดท้ายแล้ว แม้การเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิก จะขาดทุนสูง แต่ประเทศเจ้าภาพ
ก็ได้ภาพลักษณ์ในระดับโลกกลับมาแทน
ก็ได้ภาพลักษณ์ในระดับโลกกลับมาแทน
ซึ่งในโอลิมปิก ปารีส 2024 ครั้งนี้ก็ต้องรอดูว่า ประเทศเจ้าภาพอย่างฝรั่งเศส จะขาดทุนมากแค่ไหน
แต่ครั้งนี้ อาจไม่เหมือนกับครั้งก่อน เพราะโอลิมปิก
ที่ปารีส ใช้เงินทุนสนับสนุนจากภาคเอกชนถึง 30%
ในขณะที่ภาครัฐลงทุนเองเพียง 10% เท่านั้น
ที่ปารีส ใช้เงินทุนสนับสนุนจากภาคเอกชนถึง 30%
ในขณะที่ภาครัฐลงทุนเองเพียง 10% เท่านั้น
ต่างจากการจัดงานโอลิมปิกที่ผ่านมา ที่ภาครัฐเน้นลงทุนเอง จนขาดทุนหนักอย่างมหาศาล
ก็ไม่แน่ว่า โอลิมปิกครั้งนี้ อาจเป็นครั้งที่ไม่ขาดทุน และมีกำไรจากการจัดงาน..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
Tag: โอลิมปิก