ญี่ปุ่น ประเทศที่มีหนี้มากสุดในโลก
ญี่ปุ่น ประเทศที่มีหนี้มากสุดในโลก / โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงประเทศที่เป็นหนี้
หลายคนอาจจะนึกถึง กรีซ ที่มีปัญหาการกู้หนี้ยืมสิน จนไม่สามารถใช้คืนได้ และสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินโลก
แต่ทราบหรือไม่ว่า ประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะมากที่สุด กลับเป็นประเทศขนาดใหญ่อย่าง “ญี่ปุ่น” ซึ่งมีมูลค่ามากถึง 253% ของ GDP
เรื่องราวนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หนี้สาธารณะ คือ หนี้สินที่รัฐบาลหรือองค์กรภาครัฐ เป็นผู้กู้ยืม ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนี้ของประเทศ
โดยปกติ รัฐบาล จะมีรายได้จากการเก็บภาษี แต่ถ้าหากมีแผนใช้จ่ายมากกว่า ก็ต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล และออกพันธบัตรเพื่อกู้ยืมเงิน มาชดเชยส่วนต่างดังกล่าว
มีหลายประเทศที่ใช้งบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งหากบริหารจัดการสภาพคล่อง และสัดส่วนหนี้ให้เหมาะสม ก็จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศได้
แต่หากใช้จ่ายเกินตัว ก็จะกลายเป็นการก่อหนี้ ที่นำมาซึ่งความเสี่ยงทางการเงิน
ประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงที่สุด
อันดับ 5 โปรตุเกส 126%
อันดับ 4 อิตาลี 132%
อันดับ 3 เลบานอน 149%
อันดับ 2 กรีซ 179%
อันดับ 1 ญี่ปุ่น 253%
อันดับ 5 โปรตุเกส 126%
อันดับ 4 อิตาลี 132%
อันดับ 3 เลบานอน 149%
อันดับ 2 กรีซ 179%
อันดับ 1 ญี่ปุ่น 253%
เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีมูลค่า 152 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก สหรัฐอเมริกาและจีน
แต่ประเทศกลับมีหนี้สาธารณะ 253% ของ GDP หรือราว 385 ล้านล้านบาท ซึ่งเท่ากับมูลค่า GDP จีนทั้งประเทศ และสูงกว่าเศรษฐกิจไทยถึง 27 เท่า
ตอนนี้ ญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เท่ากับว่า หากเราเกิดมาในประเทศนี้ เราจะเป็นหนี้ทางอ้อมทันที 3 ล้านบาท
เพราะอะไร ญี่ปุ่น ถึงมีหนี้สาธารณะมาก?
ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปี 1980
ในเวลานั้นทั้งดัชนีตลาดหุ้น และราคาอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นพุ่งทะยานถึงขีดสุด
แต่สุดท้ายฟองสบู่ลูกใหญ่ที่สะสมมานาน ก็แตกลงตั้งแต่ปี 1989
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงต้องใช้นโยบายแบบขาดดุล กู้เงินเพื่ออัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งลงทุนในสาธารณูปโภคต่างๆ ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งปัจจุบันนี้ส่งผลให้หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นสูงขึ้นเรื่อยมา
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่น
ปี 1987 อยู่ที่ 73%
ปี 1997 อยู่ที่ 101%
ปี 2007 อยู่ที่ 183%
ปี 2017 อยู่ที่ 253%
ปี 1987 อยู่ที่ 73%
ปี 1997 อยู่ที่ 101%
ปี 2007 อยู่ที่ 183%
ปี 2017 อยู่ที่ 253%
ทำให้ปัจจุบันญี่ปุ่นมีหนี้สะสม จนสูงกว่าภาษีที่เก็บได้ถึง 15 เท่า
แล้วถ้าหนี้มีมากขนาดนี้ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายดอกเบี้ย?
คำตอบก็คือ ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินของประเทศญี่ปุ่นต่ำมาก
ปกติแล้ว ผู้ลงทุนมักต้องการผลตอบแทนสูง จากลูกหนี้ที่มีหนี้เยอะ เพราะมีความเสี่ยงทางการเงินสูง
แต่ในกรณีของญี่ปุ่นกลับตรงกันข้าม
ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ลดดอกเบี้ย มาสู่ระดับใกล้ศูนย์ โดยปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ -0.1%
ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ลดดอกเบี้ย มาสู่ระดับใกล้ศูนย์ โดยปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ -0.1%
ที่สามารถทำได้ก็เพราะ เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ เป็นนักลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเอง กองทุนประกันสังคม บำนาญ และประกันต่างๆ เลือกที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตร
เรื่องนี้จึงทำให้ญี่ปุ่นไม่มีความเสี่ยงเรื่องเงินทุนไหลออก และสามารถคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำได้
สัดส่วนผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น
43% ธนาคารกลางญี่ปุ่น
17% ธนาคารในประเทศ
26% กองทุนประกันสังคม บำนาญ และประกันต่างๆ
12% สถาบันต่างประเทศ
1% รายย่อย
43% ธนาคารกลางญี่ปุ่น
17% ธนาคารในประเทศ
26% กองทุนประกันสังคม บำนาญ และประกันต่างๆ
12% สถาบันต่างประเทศ
1% รายย่อย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่กับที่มานาน ในขณะที่รัฐบาลมีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
มีการประเมินว่า ภายใน 20 ปีข้างหน้า ต่อให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับนี้ แนวโน้มรายได้จากภาษี ก็จะไม่เพียงพอต่อการจ่ายดอกเบี้ยที่กู้ยืมมา
จึงทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต
สิ่งที่ญี่ปุ่นต้องทำก็คือ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ภาษีมาใช้คืนหนี้ และลดรายจ่าย เพื่อจำกัดการกู้ยืม
แต่มาตรการกระตุ้นต่างๆ ใช้ไม่ได้ผลกับญี่ปุ่น แม้ว่ารัฐบาลจะกู้ยืมมาลงทุนตลอด แต่ GDP ญี่ปุ่น กลับยังมีมูลค่าอยู่ในระดับเดียวกันกับเมื่อ 30 ปีที่แล้ว จนเรียกกันว่า 3 ทศวรรษที่หายไป
อีกประเด็นที่สำคัญ ญี่ปุ่นได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 1970 ปัจจุบันมีประชากรที่อายุ 65 ขึ้นไป สูงถึง 28% ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง
อีกทั้งการลดรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชน ย่อมส่งผลต่อความนิยมของรัฐบาลโดยตรง
ซึ่งดูเหมือนว่าทางออกล่าสุด ญี่ปุ่นกำลังจะเน้นเรื่องการท่องเที่ยว ให้คนต่างชาติมาเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ
ญี่ปุ่นถือเป็นตัวอย่าง ที่เราควรศึกษา
เพราะประเทศไทยเอง ก็กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ
และญี่ปุ่น อาจจะเป็นภาพอนาคตของเรา ที่เรากำลังเดินไปสู่ทางนั้น
แต่สิ่งที่อาจจะต่างกันก็คือ
โดยเฉลี่ยแล้ว คนญี่ปุ่นมีรายได้ 1.2 ล้านบาทต่อปี มาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว
หรือเรียกได้ว่า รวยก่อนแก่
โดยเฉลี่ยแล้ว คนญี่ปุ่นมีรายได้ 1.2 ล้านบาทต่อปี มาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว
หรือเรียกได้ว่า รวยก่อนแก่
แต่สำหรับคนไทยมีรายได้เพียง 2 แสนบาทต่อปี
หรือเรียกได้ว่า
จะแก่แล้ว แต่ยังไม่รวยเสียที..
----------------------
อ่านเรื่อง Soft Power กำลังทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนไป ได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c77cfc8f456b047702c3a85
หรือเรียกได้ว่า
จะแก่แล้ว แต่ยังไม่รวยเสียที..
----------------------
อ่านเรื่อง Soft Power กำลังทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนไป ได้ที่
https://www.blockdit.com/articles/5c77cfc8f456b047702c3a85
ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆ หลายท่าน ในแอป blockdit โหลดได้ที่ http://www.blockdit.com
สั่งซื้อหนังสือลงทุนแมน 9.0 ได้ที่
Lazada กดรับ voucher ลด 20% (มีจำนวนจำกัด): https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Lazada กดรับ voucher ลด 20% (มีจำนวนจำกัด): https://www.lazada.co.th/products/90-i293980783-s493954943.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือ-ลงทุนแมน-9.0-i.116732911.1933827833
----------------------
----------------------
References
-https://tradingeconomics.com/japan/indicators
-https://www.forbes.com/sites/peterpham/2017/12/11/when-will-japans-debt-crisis-implode/#1d62c8304c6d
-https://www.mof.go.jp/english/jgbs/publication/newsletter/jgb2019_02e.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-http://www.worldometers.info/world-population/japan-population/
-https://tradingeconomics.com/japan/indicators
-https://www.forbes.com/sites/peterpham/2017/12/11/when-will-japans-debt-crisis-implode/#1d62c8304c6d
-https://www.mof.go.jp/english/jgbs/publication/newsletter/jgb2019_02e.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Demographics_of_Japan
-http://www.worldometers.info/world-population/japan-population/