คนเยอะ เศรษฐกิจโต ศักยภาพของอาเซียน ที่ไม่แพ้ยุโรป
คนเยอะ เศรษฐกิจโต ศักยภาพของอาเซียน ที่ไม่แพ้ยุโรป /โดย ลงทุนแมน
คำว่าอาเซียน เราได้ยินคำนี้กันมานานหลายสิบปีแล้ว ซึ่งในเริ่มแรกหลายคนวาดภาพไว้เป็นการรวมกลุ่มเพื่อเสริมความแข็งแกร่งภายในภูมิภาค คล้าย ๆ กับสหภาพยุโรป
คำว่าอาเซียน เราได้ยินคำนี้กันมานานหลายสิบปีแล้ว ซึ่งในเริ่มแรกหลายคนวาดภาพไว้เป็นการรวมกลุ่มเพื่อเสริมความแข็งแกร่งภายในภูมิภาค คล้าย ๆ กับสหภาพยุโรป
ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา ก็มีการเปรียบเทียบในหลาย ๆ ด้าน จนเกิดคำถามที่ว่า อาเซียนจะเป็นอย่างสหภาพยุโรป ได้จริงหรือ
แต่วันนี้เราจะพูดถึงด้านที่กลุ่มประเทศอาเซียนมีศักยภาพ ด้วยความแตกต่างและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
ศักยภาพของอาเซียน ที่ไม่แพ้ยุโรป มีอะไรบ้าง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ข้อแรกคือ กลุ่มประเทศอาเซียน มีตลาดที่ใหญ่ เพราะมีประชากรมากถึง 670 ล้านคน ซึ่งมากกว่ากลุ่มยุโรป ที่เมื่อตัดสหราชอาณาจักรที่เพิ่งถอนตัวออกไป ปัจจุบันมีอยู่ 448 ล้านคน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ข้อแรกคือ กลุ่มประเทศอาเซียน มีตลาดที่ใหญ่ เพราะมีประชากรมากถึง 670 ล้านคน ซึ่งมากกว่ากลุ่มยุโรป ที่เมื่อตัดสหราชอาณาจักรที่เพิ่งถอนตัวออกไป ปัจจุบันมีอยู่ 448 ล้านคน
ที่น่าสนใจคือ นอกจากจำนวนจะมากกว่าแล้ว อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ก็ยังมากกว่าอีกด้วย
ปี 2015 ยุโรปมีประชากร 443 ล้านคน
อาเซียนมีประชากร 628 ล้านคน
อาเซียนมีประชากร 628 ล้านคน
ปี 2024 ยุโรปมีประชากร 448 ล้านคน
อาเซียนมีประชากร 672 ล้านคน
อาเซียนมีประชากร 672 ล้านคน
ผ่านไป 10 ปี ประชากรยุโรปเพิ่มขึ้น 5 ล้านคน หรือเพียง 1% เท่านั้น แต่อาเซียนประชากรยังเติบโตเพิ่มกว่า 44 ล้านคน หรือกว่า 6.5%
และเมื่อลองดูค่าเฉลี่ยอายุของประชากรในภูมิภาค ก็จะพบว่าอายุเฉลี่ยของประชากรอาเซียนอยู่ที่ 38 ปี ในขณะที่ประชากรยุโรปมีอายุเฉลี่ยเกือบ 45 ปี
ทั้งตัวเลขจำนวนประชากร และค่าเฉลี่ยอายุ สะท้อนศักยภาพด้านทรัพยากรบุคคล และแนวโน้มด้านกำลังซื้อของอาเซียน ที่ยังช่วยขยายการเติบโตของเศรษฐกิจไปได้อีกมาก
ในขณะที่ยุโรปมีความเสี่ยงและอาจเจอกับปัญหาสังคมสูงวัย และการขาดแคลนวัยแรงงาน เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ คล้าย ๆ กับญี่ปุ่น ที่กำลังเจอปัญหาสภาพสังคมสูงวัย ซึ่งปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยของอายุประชากรที่ 50 ปี
เรื่องต่อมาคือ อาเซียน มีประเทศที่พัฒนาแล้วเพียงประเทศเดียว คือสิงคโปร์ จากชาติสมาชิก 11 ประเทศ
ในขณะที่ยุโรป มีประเทศที่พัฒนาแล้วมากถึง 16 ประเทศ จากชาติสมาชิก 27 ประเทศ
แม้ดูเหมือนยุโรปจะนำไปไกล แต่หากมองในแง่ของการลงทุนแล้ว การที่มีแต่ประเทศกำลังพัฒนา ก็หมายถึงพื้นที่ของการเติบโตและพัฒนาของอาเซียน ยังมีมากกว่ายุโรป
ซึ่งจากสถิติแล้ว อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเติบโตน้อยกว่าประเทศเกิดใหม่หรือประเทศกำลังพัฒนาอย่างมาก
โดยปี 2024 ประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา มีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยที่ 4.2% ในขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วทำได้เพียง 1.8% เท่านั้น
เนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วมีฐานเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า
การจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว 1% ย่อมยากกว่าประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่า
การจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว 1% ย่อมยากกว่าประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่า
เปรียบเสมือนช้างตัวใหญ่ ที่วิ่งได้ช้ากว่าม้าที่วิ่งได้เร็วกว่า
ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีตลาดที่ค่อนข้างอิ่มตัว ทำให้การเพิ่มการผลิตหรือขยายธุรกิจทำได้ยาก
ต่างจากประเทศกำลังพัฒนา ที่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลาดและกำลังซื้อของผู้บริโภคกำลังขยายตัวดี รวมถึงมักได้รับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น
ทำให้การเพิ่มผลผลิตในประเทศทำได้เร็วกว่า เพราะยังมีช่องว่างในการพัฒนา เช่น การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ การพัฒนาอุตสาหกรรม และการยกระดับแรงงาน
อีกประเด็นที่ต้องพูดถึงคือ ความแตกต่างในหลาย ๆ ด้าน ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ที่ทำให้ชาติในอาเซียนยังคงแยกกันปกครอง และแยกกันบังคับใช้กฎหมายตามบริบทของแต่ละประเทศ โดยไม่ผสมรวมกันจนเกิดปัญหา
เหมือนอย่างที่เราเห็นจากเรื่องที่เกิดขึ้นกับสหราชอาณาจักร ที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่มาจากสหภาพยุโรป ซึ่งบางครั้งไม่สอดคล้องกับความต้องการและผลประโยชน์ของคนในประเทศ
จนสุดท้ายประชาชนในสหราชอาณาจักร เรียกร้องให้ Brexit และได้ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในปี 2020
เรื่องสุดท้ายคือ ถึงแม้แต่ละประเทศจะมีจุดยืนของตัวเองในเวทีโลก แต่โดยรวมแล้วกลุ่มประเทศอาเซียน ยังคงรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจได้ดี โดยที่ไม่เอียงไปข้างใดมากเกินไป
ทำให้ชาติอาเซียนยังคงเนื้อหอม และดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาได้ จากทั้งจีน สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ยุโรปก็ตาม
ซึ่งจากข้อมูลในปี 2023 อาเซียนคือภูมิภาคกำลังพัฒนา ที่ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) มากที่สุด 3 ปีซ้อน โดยมีเงินทุนไหลเข้าเกือบ 8 ล้านล้านบาท ในปี 2023
จะเห็นว่าถึงแม้เราจะไม่ได้เกาะกลุ่มแน่น ถึงขั้นบังคับใช้กฎหมายและเชื่อมต่อพรมแดนกันเหมือนยุโรป
แต่การแยกกันปกครอง ก็ยังสามารถร่วมมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและรักษาผลประโยชน์ของชาติอาเซียนได้ โดยไม่เกิดความขัดแย้ง และไม่จำเป็นต้องเข้าไปแบกรับปัญหาของชาติสมาชิกด้วยกัน
ในขณะเดียวกัน ก็มีอิสระในการจัดสรรทรัพยากร และควบคุมนโยบายการเงิน-เศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาประเทศได้ตามแบบฉบับของตัวเอง
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
╔═══════════╗
ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman