สรุปเรื่อง งบการเงิน แบบเข้าใจง่ายๆ
สรุปเรื่อง งบการเงิน แบบเข้าใจง่ายๆ /โดย ลงทุนแมน
ตอน งบกำไร-ขาดทุน
ตอน งบกำไร-ขาดทุน
ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ
ประเทศสหรัฐอเมริกามีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ..
ประเทศสหรัฐอเมริกามีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ..
แต่สำหรับ ธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารได้ดีที่สุด อาจจะเรียกว่า ภาษาบัญชี
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารได้ดีที่สุด อาจจะเรียกว่า ภาษาบัญชี
ภาษาทางบัญชีได้เรียบเรียงออกมาเป็นงบการเงินหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไร-ขาดทุน งบกระแสเงินสด
วันนี้ลงทุนแมนขอเลือกงบการเงินที่คนใช้บ่อยที่สุด ก็คือ งบกำไร-ขาดทุน มาสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ
รู้หรือไม่ว่า..
บริษัททุกบริษัทมีหน้าที่จัดทำ งบกำไร-ขาดทุน เพื่อแสดงรายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน ของบริษัท
โดยทั่วไป งบกำไร-ขาดทุนจะเริ่มจาก..
รายได้ (Revenue)
ข้อมูลชุดนี้ใช้แสดงว่าบริษัทมีรายได้เท่าไหร่
ในส่วนนี้หากนำรายได้มาเทียบรายไตรมาส หรือรายปีย้อนหลัง เราสามารถดูแนวโน้มของธุรกิจบริษัทนั้นๆได้เป็นภาพกว้างมากยิ่งขึ้น
ขอยกตัวอย่างเช่น บริษัท บูซิง ที่มีธุรกิจขายบิงซู
ปี 2015 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 100 ล้านบาท
ปี 2016 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 120 ล้านบาท
ปี 2017 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 140 ล้านบาท
ปี 2016 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 120 ล้านบาท
ปี 2017 บริษัท บูซิง จำกัด รายได้ 140 ล้านบาท
ภาพรวมของตัวเลขชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของรายได้
อย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถวิเคราะห์อะไรได้มากจากรายได้เพียงอย่างเดียว..
ต่อมาเป็นส่วนของรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ
ต่อมาเป็นส่วนของรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ
ส่วนแรกคือ ต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold)
สมมติให้ปี 2017 บริษัท บูซิง จำกัด มีต้นทุนขาย 50 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนนี้อาจประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายวัตถุดิบ และค่าแรงงานสำหรับการผลิต
มาถึงตรงนี้ หากเรานำรายได้ 140 ล้านบาท มาหักต้นทุนขาย 50 ล้านบาท ส่วนนี้เราจะเรียกว่ากำไรขั้นต้น (Gross Profit) 90 ล้านบาท
เนื่องจากแต่ละบริษัทมียอดขายและต้นทุนต่างกัน เราอาจเริ่มต้นจากการเทียบบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น
ปี 2017 บริษัท อาฟเตอร์ ยู มี รายได้ 735 ล้านบาท ต้นทุนขาย 244 ล้านบาท
จะคำนวณเป็นกำไรขั้นต้นได้ 491 ล้านบาท
จะคำนวณเป็นกำไรขั้นต้นได้ 491 ล้านบาท
เราสามารถหาอัตราส่วนระหว่าง 2 รายการนี้โดยนำกำไรขั้นต้นมาหารด้วยรายได้ เรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
บริษัท บูซิง แม้ว่าจะมีกำไรขั้นต้น 90 ล้านบาท แต่เมื่อหารด้วยรายได้ 140 ล้านบาท จะทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้น 64% เมื่อเทียบกับ
บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ที่มีกำไรขั้นต้น 491 ล้านบาท หารด้วยรายได้ 735 บาท จะมีอัตรากำไรขั้นต้น 67%
แปลว่า จริงๆ แล้วธุรกิจขนมหวานสองร้านนี้ถ้าเทียบยอดขายแล้วต่างกันกว่า 5 เท่า แต่มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าหากบริษัทที่เราสนใจมีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทนั้นๆ บริหารต้นทุนขายเก่งขึ้นนั่นเอง
ซึ่งเรื่องนี้อาจจะมาจากการประหยัดต่อขนาด Economies of Scale เช่น ถ้าเรามียอดสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมากขึ้น เราจะได้ราคาต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
หรือ ถ้าต้นทุนเท่าเดิม แต่เราสามารถขึ้นราคาขายได้จากความนิยมในแบรนด์ของเรา ก็จะทำให้ อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นได้เช่นกัน
แต่ค่าใช้จ่ายไม่ได้มีแค่ต้นทุนขาย..
และในบางครั้ง ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากกว่าต้นทุนขายเสียอีก
และในบางครั้ง ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากกว่าต้นทุนขายเสียอีก
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็คือ
ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าที่
ค่าใช้จ่ายบริหาร เช่น เงินเดือนผู้บริหารและพนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืม
ภาษี
ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าที่
ค่าใช้จ่ายบริหาร เช่น เงินเดือนผู้บริหารและพนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืม
ภาษี
การนำรายได้มาลบ ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงภาษี จะได้เป็นรายการในบรรทัดสุดท้ายนั่นก็คือ “กำไรสุทธิ”
และถ้าตัวเลขกำไรสุทธิมีค่าติดลบ ก็แปลว่ากิจการของเราขาดทุน นั่นเอง
เราสามารถเปรียบเทียบบริษัทด้วยอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) โดยนำกำไรสุทธิมาหารด้วยรายได้
ตัวอย่างคือ
ปี 2017 บริษัท อาฟเตอร์ ยู มีกำไรสุทธิ 129 ล้านบาท รายได้ 735 ล้านบาท จะมีอัตรากำไรสุทธิ 17.6%
ปี 2017 บริษัท อาฟเตอร์ ยู มีกำไรสุทธิ 129 ล้านบาท รายได้ 735 ล้านบาท จะมีอัตรากำไรสุทธิ 17.6%
ปี 2017 บริษัท บูซิง มีกำไรสุทธิ 29 ล้านบาท รายได้ 140 ล้านบาท จะมีอัตรากำไรสุทธิ 20.7%
โดยอัตรากำไรสุทธิเป็นตัวแปรสำคัญที่เราสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าธุรกิจนี้มีคุณภาพเป็นอย่างไร
ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจที่มีอัตรากำไรสุทธิที่ดีจะอยู่ในธุรกิจที่สามารถบวกกำไรได้สูง ตั้งราคาขายแพงก็มีคนยอมซื้อ หรือเป็นธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันกว่าคู่แข่งมากๆ
แต่สำหรับธุรกิจที่มีอัตรากำไรสุทธิต่ำ จะอยู่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การตั้งราคาต้องเป็นไปตามกลไกตลาด หรือตัวบริษัทเองมีการบริหารจัดการที่ไม่ดี
คำว่าอัตรากำไรสุทธิสูงนี้คือ 20% ขึ้นไป เช่น รายได้ 100 บาท ถ้าเรามีกำไรสุทธิมากกว่า 20 บาท ถือว่าธุรกิจเรามีอัตรากำไรสุทธิที่ดี
สำหรับธุรกิจที่อัตรากำไรสุทธิต่ำ อาจต่ำได้ถึง 1% ของรายได้ เช่น รายได้ 100 บาท เอากำไรแค่ 1 บาท ซึ่งธุรกิจในลักษณะนี้จำเป็นต้องอาศัยการขายในปริมาณที่มากๆ หรือขายหมุนรอบเร็วๆ ในการช่วยเพิ่มกำไรต่อทุนที่มี
ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี การขายสินค้าแบบปริมาณมากในอัตรากำไรสุทธิต่ำ ก็อาจจะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงหลักการเบื้องต้นในการเริ่มอ่านงบกำไร-ขาดทุนขั้นพื้นฐาน
อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำข้อมูลงบกำไร-ขาดทุน มาประยุกต์ใช้ได้มากมายในการวิเคราะห์ธุรกิจ รวมไปถึง ศึกษาการทำธุรกิจของหลายๆ บริษัทไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทย หรือต่างประเทศ
ตัวอย่างเช่นหากเราเทียบงบบริษัท บูซิง ย้อนหลัง 5 ปี เราอาจวิเคราะห์หรือคาดการณ์ได้ว่าธุรกิจของบริษัทนี้ในอนาคตจะเป็นอย่างไร..
หรือนำเรื่องนี้มาต่อยอดกับสินค้าในชีวิตประจำวันของเรา ก็จะทำให้สนุกขึ้น
บางครั้งภาษาพูด ภาษาเขียนที่สวยหรูตามข่าวอาจถูกแต่งแต้มผ่านทั้งความคิดเราและกาลเวลา
แต่ภาษาบัญชีที่ถูกบันทึกเป็นตัวเลข ไม่เคยโกหกใคร..
แต่ภาษาบัญชีที่ถูกบันทึกเป็นตัวเลข ไม่เคยโกหกใคร..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจของบริษัท Apple
ปี 2017 บริษัท Apple มีรายได้ 7.5 ล้านล้านบาท กำไร 1.6 ล้านล้านบาท
แปลว่า Apple มีอัตรากำไรสุทธิ 21% หรือ ทุกๆ รายได้ 100 บาท เป็นกำไรสุทธิ 21 บาทนั่นเอง..
แปลว่า Apple มีอัตรากำไรสุทธิ 21% หรือ ทุกๆ รายได้ 100 บาท เป็นกำไรสุทธิ 21 บาทนั่นเอง..
Tag: งบการเงิน