
ธุรกิจฟาร์มสิงคโปร์ ใช้พื้นที่ เท่าร้านกาแฟ ผลิตผักขายทั่วเกาะ
ธุรกิจฟาร์มสิงคโปร์ ใช้พื้นที่ เท่าร้านกาแฟ ผลิตผักขายทั่วเกาะ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเรามีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว ขนาดเท่าร้านกาแฟ 1 ร้าน หรือราว 300 ตารางเมตร
ถ้าเรามีพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว ขนาดเท่าร้านกาแฟ 1 ร้าน หรือราว 300 ตารางเมตร
ใน 1 ปี ถ้าเราวนปลูกผัก 5-6 รอบต่อปี จะปลูกผักบุ้งจีน ได้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน หรือผักกวางตุ้ง ก็จะได้ประมาณ 4-5 ตัน
แต่รู้หรือไม่ว่า ในเกาะเล็ก ๆ อย่างสิงคโปร์ มีบริษัทที่ชื่อว่า Artisan Green ที่ใช้พื้นที่แค่ 300 ตารางเมตร สามารถปลูกผักได้ถึงปีละ 12 ตัน แล้วส่งวางจำหน่ายตามร้านค้าทั่วสิงคโปร์
Artisan Green ทำฟาร์มอย่างไร ถึงใช้พื้นที่นิดเดียว แต่ให้ผลผลิตจำนวนมาก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เรารู้ดีว่า สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กมาก เพราะมีพื้นที่แค่ 724 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตของไทยกว่าเท่าตัวนิดหน่อย
ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมของสิงคโปร์ กลับเล็กกว่านั้นอีก เพราะมีพื้นที่เพียง 6 ตารางกิโลเมตร เท่ากับสนามบินดอนเมืองของไทยเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าพึ่งพาการผลิตอาหารในประเทศ คนสิงคโปร์ก็คงไม่มีอาหารให้กินเพียงพอ ทำให้สิงคโปร์ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ
ซึ่งปัจจุบัน อาหารกว่า 90% ที่คนสิงคโปร์กินอยู่ในทุกวัน
มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศแทบทั้งหมด
มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศแทบทั้งหมด
ถึงแม้จะมีข้อจำกัดแค่ไหน แต่บรรดาฟาร์มเกษตรกรรมในสิงคโปร์ ก็พยายามทำลายข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ ด้วยการทำให้ผลิตพืชจำนวนมากได้ ในพื้นที่แค่นิดเดียว
และหนึ่งในฟาร์มผักที่ใช้พื้นที่แค่นิดเดียว แต่ปลูกผักออกมาได้จำนวนมาก มีชื่อว่า Artisan Green..
Artisan Green เป็นไอเดียฟาร์มผักตั้งต้นของคุณ
Ray Poh ที่มองว่าสิงคโปร์ยังขาดความมั่นคงทางอาหาร
เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าสูงมาก
Ray Poh ที่มองว่าสิงคโปร์ยังขาดความมั่นคงทางอาหาร
เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าสูงมาก
เขาจึงเริ่มต้นทำฟาร์มผักในปี 2018 ด้วยพื้นที่ราว 300 ตารางเมตร เพื่อให้สอดคล้องกับเกาะสิงคโปร์ ที่มีพื้นที่น้อย
โดยนำเทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดิน หรือไฮโดรพอนิกส์ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถทำแปลงเพาะปลูกซ้อนกันหลายชั้นเพื่อประหยัดพื้นที่ได้
โดยนำเทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดิน หรือไฮโดรพอนิกส์ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถทำแปลงเพาะปลูกซ้อนกันหลายชั้นเพื่อประหยัดพื้นที่ได้
ผักที่ปลูก ก็จะเป็นชนิดที่เหมาะกับการปลูกพืชไร้ดิน เช่น ผักกาดหอม, โหระพา, ผักชี, ผักโขม และสะระแหน่
แต่เคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ฟาร์มผักนี้ผลิตได้จำนวนมาก
ไม่ได้มาจากการปลูกพืชไร้ดินแค่อย่างเดียว
ไม่ได้มาจากการปลูกพืชไร้ดินแค่อย่างเดียว
เพราะฟาร์มผัก Artisan Green มีการควบคุมการให้แสง, แร่ธาตุที่จำเป็น และปริมาณน้ำที่เหมาะสม ผ่านการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ในแต่ละผักที่ปลูกโดยเฉพาะ
ซึ่งเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ มาจากการร่วมมือกับ Siemens
บริษัทด้านวิศวกรรมพลังงานจากเยอรมนี ที่เชี่ยวชาญเรื่องระบบการควบคุมแสงและอุณหภูมิอยู่แล้ว
บริษัทด้านวิศวกรรมพลังงานจากเยอรมนี ที่เชี่ยวชาญเรื่องระบบการควบคุมแสงและอุณหภูมิอยู่แล้ว
เมื่อผสมกับเทคโนโลยีการปลูกผักของ Artisan Green จึงทำให้บริษัทสามารถผลิตผักได้จำนวนมาก จนสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตลงได้อีกด้วย
ทำให้ปัจจุบัน ฟาร์มผักแห่งนี้ผลิตผักได้เดือนละ 1 ตัน
ในพื้นที่เพียง 300 ตารางเมตร ซึ่งถือว่าเยอะมาก เมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้จากการปลูกผักแบบทั่ว ๆ ไป
ในพื้นที่เพียง 300 ตารางเมตร ซึ่งถือว่าเยอะมาก เมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้จากการปลูกผักแบบทั่ว ๆ ไป
ซึ่งในอนาคต บริษัทนี้กำลังมีแผนจะสร้างโรงงานใหม่ ในพื้นที่ใหญ่กว่าเดิมราว 5,500 ตารางเมตร ด้วยเป้าหมายใหม่ที่จะผลิตผักได้ 30 ตันต่อเดือน
แล้วฟาร์มผักแห่งนี้ มีโมเดลหารายได้อย่างไร ?
หลังจากที่ได้ผลผลิตออกมาแล้ว Artisan Green จะจัดส่งผลผลิตให้กับเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ
แต่การส่งผักไปตามเครือข่ายเหล่านี้ ก็อาจจะไม่คุ้มทุน
ค่าขนส่งมากนัก
ค่าขนส่งมากนัก
คุณ Ray Poh เลยใช้อีกบริษัทหนึ่งที่เขาก่อตั้งขึ้นมา
ก่อนหน้านี้ที่ชื่อว่า Merchant Brothers ซึ่งทำธุรกิจจัดส่งวัตถุดิบอาหารให้ลูกค้าอยู่แล้ว มาช่วยขนส่งผักเหล่านี้ด้วย
ก่อนหน้านี้ที่ชื่อว่า Merchant Brothers ซึ่งทำธุรกิจจัดส่งวัตถุดิบอาหารให้ลูกค้าอยู่แล้ว มาช่วยขนส่งผักเหล่านี้ด้วย
เพราะบริษัทนี้ก็ส่งเนื้อสัตว์และอาหารอื่น ๆ อยู่แล้ว
การส่งผักไปกับบริษัทนี้ด้วย จึงช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง
ผักแต่ละครั้ง เพราะต้นทุนถูกถัวเฉลี่ยลงนั่นเอง
การส่งผักไปกับบริษัทนี้ด้วย จึงช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง
ผักแต่ละครั้ง เพราะต้นทุนถูกถัวเฉลี่ยลงนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่าราคาผักที่ขายปลีก ถือว่าสูงไม่น้อย เช่น ผักกาด มีราคาราว 200 บาทต่อน้ำหนัก 100 กรัม หรือโหระพาที่ราคา 146 บาทต่อ 15 กรัม
จึงทำให้ผักของ Artisan Green เอง ยังจับฐานลูกค้าในตลาดบน ที่มีกำลังจ่ายไหว
ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า ฟาร์มผักแห่งนี้มี
รายได้มากแค่ไหน และทำกำไรได้หรือยัง
รายได้มากแค่ไหน และทำกำไรได้หรือยัง
แต่ก้าวต่อไปของฟาร์มแห่งนี้ จะใช้ระบบอัตโนมัติในการปลูกผักทั้งหมด ตั้งแต่การให้น้ำ แสง ไปจนถึงแร่ธาตุในฟาร์มแห่งใหม่ที่กำลังสร้างขึ้น
ต้นทุนการปลูกผัก ก็จะยิ่งถูกลงเรื่อย ๆ จนทำให้ลูกค้าร้านอาหารและคนสิงคโปร์ ก็น่าจะได้กินผักในราคาถูกลงจากบริษัทนี้มากขึ้น
น่าติดตามกันต่อไปว่า อนาคตฟาร์มผักแห่งนี้ จะกลายเป็นฟาร์มผักที่ยิ่งใหญ่ จนเลี้ยงคนสิงคโปร์
ได้ทั้งเกาะตลอดปีหรือไม่
ได้ทั้งเกาะตลอดปีหรือไม่
แต่ที่แน่ ๆ บริษัทนี้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสิงคโปร์ เพราะรัฐบาลตั้งเป้าว่า ภายใน 5 ปี อาหารทุกจานของคนสิงคโปร์ ต้องมาจากในประเทศ 30%
ถึงแม้ผักจะยังมีราคาสูง แต่จากการใช้พื้นที่เพียงน้อยนิด เพื่อผลิตผักได้เท่าแปลงผักขนาดใหญ่ ก็ถือเป็นก้าวสำคัญ ของประเทศสิงคโปร์ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ประเทศตัวเอง
เหมือนอย่างที่สิงคโปร์ สร้างความมั่นคงของตัวเอง จากประเทศที่ไม่มีทรัพยากรอะไรมากนัก ยกเว้นทรัพยากรมนุษย์ จนวันนี้ เป็นหนึ่งในฮับการค้า การเงิน ที่สำคัญของโลกไปแล้ว..