
Impossible Trinity กฎที่แหกแล้ว เศรษฐกิจเสียหาย บทเรียนวิกฤติต้มยำกุ้ง 2540
Impossible Trinity กฎที่แหกแล้ว เศรษฐกิจเสียหาย บทเรียนวิกฤติต้มยำกุ้ง 2540 /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า นโยบายทางเศรษฐกิจ 3 อย่างคือ
1. การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
2. การอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี
3. การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
รู้ไหมว่า นโยบายทางเศรษฐกิจ 3 อย่างคือ
1. การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
2. การอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี
3. การกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
ทั้ง 3 อย่างนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมดไม่ได้
โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันได้เพียง 2 อย่าง
และถ้าประเทศไหนฝ่าฝืน จะเกิดผลที่ร้ายแรงตามมา
โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันได้เพียง 2 อย่าง
และถ้าประเทศไหนฝ่าฝืน จะเกิดผลที่ร้ายแรงตามมา
เรื่องนี้เป็นอย่างไร
แล้วเกี่ยวอะไรกับ วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แล้วเกี่ยวอะไรกับ วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ทฤษฎีที่ว่าคือ Impossible Trinity ถูกพัฒนาโดย Robert Mundell และ Marcus Fleming
2 นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังในช่วงระหว่างปี 2503-2506
2 นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังในช่วงระหว่างปี 2503-2506
โดยทั้ง 2 คนบอกว่า นโยบายทางเศรษฐศาสตร์ 3 อย่างจะเกิดขึ้นพร้อมกันได้เพียง 2 อย่าง ภายใต้ 3 คู่เหตุการณ์
- คู่ที่ 1 การใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และการอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี
แต่ธนาคารกลางจะไม่มีอิสระในการกำหนดนโยบายการเงิน
แต่ธนาคารกลางจะไม่มีอิสระในการกำหนดนโยบายการเงิน
หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุด คือ กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปที่ใช้เงินยูโรร่วมกัน โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนมีค่าคงที่ ขณะเดียวกันกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปก็ยังเปิดให้เงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าและออกประเทศอย่างเสรี เพื่อเอื้อต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของกรณีนี้คือ
ประเทศสมาชิกจะไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงินได้อย่างอิสระ เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้จะมีธนาคารกลางยุโรปทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกำหนดนโยบายการเงินให้แก่ประเทศสมาชิก
ประเทศสมาชิกจะไม่สามารถกำหนดนโยบายการเงินได้อย่างอิสระ เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้จะมีธนาคารกลางยุโรปทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกำหนดนโยบายการเงินให้แก่ประเทศสมาชิก
แต่ปัญหาก็คือ “ความแตกต่างกัน” ระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิก
เราลองนึกภาพว่า วิกฤติหนี้ยุโรปกรีซซึ่งมีหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่สูงถึง 158%
ขณะที่ประเทศอย่างเนเธอร์แลนด์ กลับมีหนี้สาธารณะต่อ GDP ประมาณ 43%
ขณะที่ประเทศอย่างเนเธอร์แลนด์ กลับมีหนี้สาธารณะต่อ GDP ประมาณ 43%
คำถามคือ การที่ 2 ประเทศนี้มีสภาพเศรษฐกิจที่ต่างกัน
การนำนโยบายการเงินที่เหมือนกันมาใช้
อาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาที่ถูกต้องมากนัก
การนำนโยบายการเงินที่เหมือนกันมาใช้
อาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาที่ถูกต้องมากนัก
ซึ่งประเด็นนี้ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้ประชาชนในบางประเทศไม่พอใจ เช่น สหราชอาณาจักร จนโหวตให้ประเทศตนเองออกจากสหภาพยุโรป หรือเรียกว่า BREXIT
- คู่ที่ 2 การใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และการกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
แต่เงินทุนจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้แบบเสรี
แต่เงินทุนจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้แบบเสรี
จีนคือหนึ่งในตัวอย่างของประเทศที่ใช้นโยบายเศรษฐกิจคู่นี้ โดยจีนจะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการอย่างเข้มงวด (Managed Float) พร้อมทั้งสามารถกำหนดนโยบายทางการเงินของประเทศได้อย่างอิสระ เช่น ปรับเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้ตามเห็นสมควร
ดังนั้น เราจึงมักได้ยินธนาคารกลางของจีน ประกาศลดค่าเงินหยวน เพื่อช่วยภาคส่งออกของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสงครามการค้ากับสหรัฐฯ
แต่กรณีนี้ จีนต้องมีการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน ซึ่งข้อเสียของกรณีนี้คือ การขาดความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ
ลองนึกภาพว่า ถ้าวันดีคืนดี จีนสั่งห้ามไม่ให้นำเงินออกนอกประเทศจีน นักลงทุนก็คงต่างพากันตกใจที่เงินตัวเองถูกกักไว้ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะทำให้มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และการลงทุนโดยตรง (FDI)
อย่างไรก็ตาม การที่จีนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
มีจุดแข็งเรื่องการผลิต ระบบซัปพลายเชน และอุตสาหกรรมไฮเทค
รวมถึงรัฐบาลจีน ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
มีจุดแข็งเรื่องการผลิต ระบบซัปพลายเชน และอุตสาหกรรมไฮเทค
รวมถึงรัฐบาลจีน ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ก็ทำให้ที่ผ่านมา จีนสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้มากเช่นกัน
- คู่ที่ 3 การอนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี และการกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
แต่อัตราแลกเปลี่ยนต้องเป็นลอยตัว
แต่อัตราแลกเปลี่ยนต้องเป็นลอยตัว
นี่คือนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้า และการลงทุนในระบบทุนนิยม ซึ่งหลายประเทศนิยมใช้
หนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย ที่อนุญาตให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี และการกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ
กรณีของไทยนั้น นอกจากจะมีการอนุญาตให้เงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรีแล้ว ธนาคารกลางยังมีอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินในการปรับเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นไปตามกลไกของตลาด ขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทาน ของสกุลเงินนั้น
ดังนั้น ค่าเงินของประเทศ จะมีความผันผวนสูงกว่า 2 กรณีแรก และในบางครั้งจะสร้างผลกระทบต่อผู้นำเข้าและส่งออก ลองนึกภาพว่า ถ้าเราผลิตสินค้าที่มีต้นทุน แต่ถ้าเราได้รับเงินจากต่างชาติน้อยลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนต่างจากที่คาด ก็ทำให้เราขาดทุนได้เช่นกัน
ซึ่งกรณีของประเทศไทย ที่พึ่งพาการส่งออกและการบริการสูง การแข็งค่าของเงินบาทที่มากและรวดเร็ว จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นภาระของธนาคารกลางในการเข้ามาดูแลจัดการอัตราแลกเปลี่ยน
และทั้งหมดนี้ก็คือ ความหมายของ Impossible Trinity ที่ลงทุนแมนนำมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ
แต่รู้ไหมว่า ในอดีตมีประเทศหนึ่ง ที่เคยนำนโยบายดังกล่าวมาใช้พร้อมกันทั้ง 3 อย่าง นั่นคือ ประเทศไทย และผลที่ตามมาก็คือ วิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 หรือที่เราเรียกว่า ต้มยำกุ้ง
- ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 ประเทศไทยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ด้วยการผูกค่าเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงนั้น ประเทศไทยกำหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ สามารถแลกเป็นเงินไทยได้ 25 บาท ต่อมาภายหลังก็ปรับขึ้นมาเป็น 26 บาท แต่ก็ยังถือว่าเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่
- รัฐบาลไทยในขณะนั้น ต้องการทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคเทียบเท่ากับฮ่องกงในตอนนั้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงมีการจัดตั้ง กิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ขึ้นในปี 2536 เพื่อทำธุรกรรมในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ แล้วนำมาปล่อยกู้ทั้งในและนอกประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานกิจการวิเทศธนกิจขึ้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงมีการจัดตั้ง กิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ขึ้นในปี 2536 เพื่อทำธุรกรรมในการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ แล้วนำมาปล่อยกู้ทั้งในและนอกประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานกิจการวิเทศธนกิจขึ้น
ในตอนแรก การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคเหมือนจะเป็นความคิดที่ดี
เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างร้อนแรง โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี 2536-2539
GDP เติบโตกว่า 10% ต่อปี นักลงทุนต่างชาติจึงอยากปล่อยกู้ให้ เพราะเศรษฐกิจของไทยตอนนั้นฮอตสุด ๆ
เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างร้อนแรง โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี 2536-2539
GDP เติบโตกว่า 10% ต่อปี นักลงทุนต่างชาติจึงอยากปล่อยกู้ให้ เพราะเศรษฐกิจของไทยตอนนั้นฮอตสุด ๆ
แต่แล้วเศรษฐกิจก็ร้อนแรงเกินไป จนเป็นฟองสบู่..
และธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกนโยบายอย่างที่ 3 ที่ท้าทาย Impossible Trinity
นั่นก็คือการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมให้การกู้ยืมมีต้นทุนการเงินที่สูง ป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป
แต่ตามกฎของ Impossible Trinity ถ้าจะให้เงินเข้าออกได้อย่างอิสระ และมีอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ นโยบายการเงินของประเทศ จะต้องอยู่ในระดับเดียวกับต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ
โดยช่วงก่อนวิกฤติการเงิน ปี 2540 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ (MLR) ในประเทศไทย เคยขึ้นไปสูงสุดถึง 13.75% ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศนั้น อยู่ที่ประมาณ 7-8% หรือส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนั้นห่างกันเกือบเท่าตัว
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ไม่เพียงแต่สถาบันการเงินหลายแห่ง แต่ยังรวมไปถึงบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง จึงเร่งกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมาลงทุนหรือมาปล่อยกู้ในประเทศกันอย่างมาก
ที่เป็นแบบนี้เพราะทุกคนเชื่อว่า ค่าเงินบาทที่ถูกกำหนดไว้ที่ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะคงที่ตลอดไป ดังนั้นความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน จึงถูกมองข้ามไปโดยสิ้นเชิง
ช่วงนั้นเงินที่กู้มา ถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก บางส่วนก็นำไปลงทุนในตลาดหุ้น แต่ประเด็นของเรื่องคือ หนี้ต่างประเทศที่กู้มา ในเวลานั้นสูงถึง 3 ล้านล้านบาท ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยในปี 2539 มีอยู่เพียง 1.3 ล้านล้านบาท
ในช่วงปี 2537-2538 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเริ่มขาดดุลมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่เจ้าหนี้ต่างประเทศ เริ่มไม่มั่นใจต่อสภาพเศรษฐกิจไทย และเริ่มเรียกคืนหนี้ที่ปล่อยกู้คืน นั่นหมายถึงคนต้องขายเงินบาท เพื่อไปแลกเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกของตลาดในตอนนั้น เงินบาทต้องอ่อนค่าลง
เมื่อรวมกับการโจมตีค่าเงินจากกองทุน Hedge Fund ทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจ ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากประเทศไทยอย่างหนัก
แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย คงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย จึงนำเงินดอลลาร์สหรัฐในทุนสำรองระหว่างประเทศ มาซื้อเงินบาท
แต่การพยุงเงินบาทไปเรื่อย ๆ หมายถึงทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดลง จนสุดท้ายไม่ไหว ต้องยอมแพ้และประกาศลอยตัวค่าเงินบาท โดยเงินบาทอ่อนค่าไปสูงสุดถึง 56 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ธุรกิจหลายแห่งที่ไปกู้เงินจากต่างประเทศ จึงมีมูลค่าหนี้เมื่อเทียบเป็นเงินไทยเพิ่มขึ้น 2 เท่า และทำให้ธุรกิจจำนวนมากถึงกับล้มละลาย
ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำอย่างรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง และถูกนำมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์วิกฤติครั้งต่อมา และมักจะเจอคำถามอยู่เสมอว่า วิกฤติครั้งนี้รุนแรงเท่ากับวิกฤติต้มยำกุ้งหรือไม่
การเข้าใจเรื่องการเงินและเศรษฐศาสตร์ ทำให้เรารู้ถึงเหตุผล และความเป็นไปของเศรษฐกิจระดับประเทศ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเป็นบทเรียนไม่ให้เราทำสิ่งที่ผิดพลาดอีกครั้ง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเป็นบทเรียนไม่ให้เราทำสิ่งที่ผิดพลาดอีกครั้ง
ถ้าวันนั้น เราเลือกที่จะไม่ฝืน Impossible Trinity โดยให้ค่าเงินบาทลอยตัวตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ควรจะเป็นตั้งแต่แรก ก็อาจจะไม่เกิดเหตุการณ์ที่คนขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนในข้ามคืนเดียวมากขนาดนี้
ถ้าวันนั้น เราไม่กำหนดนโยบายการเงินของตนเอง ที่แตกต่างจากต่างประเทศมาก ก็อาจจะไม่เกิดเหตุการณ์ที่คนกู้เงินจำนวนมากจากต่างประเทศ แล้วเจ้าหนี้ต่างประเทศเรียกคืน
ถ้าวันนั้น เราควบคุมการเข้าออกของเงินไม่ให้เป็นไปอย่างอิสระ ถึงแม้ว่านักลงทุนจะสูญเสียความเชื่อมั่นไปบ้าง แต่เราก็อาจป้องกันการโจมตีค่าเงินได้
สรุปแล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น
คงไม่ได้ผิดที่ใครคนใดคนหนึ่ง
แต่มันก็คือผลของการกระทำของทุกฝ่ายในเวลานั้น นั่นเอง..
คงไม่ได้ผิดที่ใครคนใดคนหนึ่ง
แต่มันก็คือผลของการกระทำของทุกฝ่ายในเวลานั้น นั่นเอง..