
Tencent พี่ใหญ่ของ 10 หุ้นเทพเซียนจีน ที่ราคาหุ้น +70% ใน 1 ปี
Tencent พี่ใหญ่ของ 10 หุ้นเทพเซียนจีน ที่ราคาหุ้น +70% ใน 1 ปี /โดย ลงทุนแมน
การมาของ DeepSeek โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models) ที่มีประสิทธิภาพ แต่ต้นทุนต่ำ
การมาของ DeepSeek โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models) ที่มีประสิทธิภาพ แต่ต้นทุนต่ำ
ทำให้เทคโนโลยี AI ฝั่งจีน เป็นที่น่าจับตามองที่สุดในตอนนี้ นำมาโดย หุ้นเทคฯ จีน กลุ่ม China Terrific Ten หรือ 10 ทศเทพจีน
โดยเฉพาะ Tencent ยักษ์ใหญ่เทคฯ เบอร์หนึ่งของจีน
ที่หุ้นปรับตัวขึ้นร้อนแรงกว่า +70% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ที่หุ้นปรับตัวขึ้นร้อนแรงกว่า +70% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
มหาอำนาจรายนี้กำลังทำอะไรอยู่ ?
Tencent ได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Tencent ได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Tencent ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 โดยคุณ Pony Ma
ช่วงแรก Tencent เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแช็ตบนคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า QQ โดยได้รับความนิยมสูงมาก และมีผู้ใช้งานทะลุ 1 ล้านคน ในเวลาเพียง 1 ปี
ก่อนที่ต่อมา การมาถึงของยุคสมาร์ตโฟน ก็ทำให้ Tencent ให้กำเนิด Weixin หรือที่รู้จักกันในชื่อ “WeChat” ซูเปอร์แอปเบอร์หนึ่งของจีน ซึ่งปัจจุบันมีฐานผู้ใช้งานกว่า 1,385 ล้านบัญชี
นอกจากนี้ Tencent ก็ได้ขยายไปยังธุรกิจอื่น ๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น
- ธุรกิจเกม Tencent ได้เปิดตัว QQ Tang ในปี 2004 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Tencent กลายมาเป็นเจ้าแห่งธุรกิจเกมในเวลาต่อมา ภายใต้ชื่อ Tencent Games
ตัวอย่างเกมของ Tencent Games ที่มีชื่อเสียงในวันนี้ ก็คือ Honor of Kings, PUBG MOBILE และ Call of Duty Mobile
- ธุรกิจการเงิน โดยการต่อยอดมาจาก WeChat ให้สามารถใช้จ่ายเงิน รับส่งเงินระหว่างผู้ใช้งาน และยังขยายครอบคลุมไปถึงธุรกิจสินเชื่อและ Wealth Management
- ธุรกิจ Digital Content ครอบคลุมทั้งวิดีโอ, เพลง และบริการข่าวสาร เช่น Tencent Video, Tencent Music
ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ของ Tencent นั้น เน้นสร้างรายได้จากการมีฐานผู้ใช้งาน
ดังนั้น หัวใจสำคัญของ Tencent จึงเป็นการทำให้ผู้ใช้งาน ใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มให้ได้มากที่สุด
รวมถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม แล้วหาวิธีสร้างรายได้
รวมถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์ม แล้วหาวิธีสร้างรายได้
ตรงนี้เอง AI เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการนำข้อมูลผู้ใช้งานมหาศาลมาใช้งาน ทั้งในแง่ของการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ หรือลดต้นทุน และสร้างประสบการณ์ที่ดึงดูดผู้ใช้งาน
ซึ่งที่ผ่านมา Tencent ลงทุนพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง และนำมาใช้ประโยชน์แล้ว ตัวอย่างเช่น
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบโฆษณา ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมถึงช่วยดึงดูดลูกค้า (Advertiser) รายใหม่ ๆ เข้ามา
- เพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลการค้นหา บน WeChat ซึ่งทำให้ Tencent มีรายได้จากการค้นหา (Search Revenue) เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
แล้วผลประกอบการของ Tencent เป็นอย่างไรบ้าง ?
ปี 2022
- รายได้ 2.6 ล้านล้านบาท
- กำไร 0.9 ล้านล้านบาท
- รายได้ 2.6 ล้านล้านบาท
- กำไร 0.9 ล้านล้านบาท
ปี 2023
- รายได้ 2.8 ล้านล้านบาท
- กำไร 0.5 ล้านล้านบาท
- รายได้ 2.8 ล้านล้านบาท
- กำไร 0.5 ล้านล้านบาท
ปี 2024
- รายได้ 3.1 ล้านล้านบาท
- กำไร 0.9 ล้านล้านบาท
- รายได้ 3.1 ล้านล้านบาท
- กำไร 0.9 ล้านล้านบาท
จุดที่น่าสนใจคือ คุณ Pony Ma ได้พูดถึง AI ว่ามีส่วนทำให้รายได้ในปี 2024 ของ Tencent เติบโตขึ้นมาก
และยังคงมุ่งมั่นลงทุนพัฒนาด้าน AI เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทอีกด้วย..
และยังคงมุ่งมั่นลงทุนพัฒนาด้าน AI เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทอีกด้วย..
สำหรับทิศทางธุรกิจต่อจากนี้ของ Tencent
ยังคงลงทุนใน AI เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจเดิม และเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต ด้วย AI
ยังคงลงทุนใน AI เพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจเดิม และเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต ด้วย AI
โดยจะเพิ่มการลงทุน (CAPEX) ในปี 2025 อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น Data Center
ในปีที่ผ่านมา บริษัทใช้งบลงทุนไป 358,000 ล้านบาท
(คิดเป็น 12% ของรายได้รวม) เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าจากปีก่อนหน้า
(คิดเป็น 12% ของรายได้รวม) เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าจากปีก่อนหน้า
และคาดว่าในปี 2025 ตัวเลขนี้ จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
โดยอยู่ในระดับเลขสองหลักต้น ๆ เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด
โดยอยู่ในระดับเลขสองหลักต้น ๆ เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด
ตัวอย่างโปรเจกต์ ที่บริษัทจะลงทุน
- การพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ของตัวเอง (Hunyuan Large Language Model)
- การเพิ่มขีดความสามารถในด้าน AI หลายรูปแบบ (Multimodal AI)
- การมีส่วนร่วมในโครงการโอเพนซอร์สด้าน AI
ที่น่าสนใจคือ Tencent กำลังใช้กลยุทธ์เชิงรุกด้าน AI ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผ่านการพัฒนาโมเดล AI ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และต้นทุนที่ต่ำกว่า
โดย Tencent ได้ร่วมมือกับ DeepSeek โดยได้นำเทคโนโลยีของ DeepSeek มาใช้ใน WeChat และ AI Assistant ของตนเองชื่อ Yuanbao
ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นแอปที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดบน iPhone ในจีน เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
นอกจากนี้ Tencent ยังได้เริ่มรุกตลาดใหม่ เช่น การเปิดตัวชุดเครื่องมือ AI ที่สามารถแปลงข้อความและภาพให้เป็นภาพสามมิติ (3D Visuals) ที่จะนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมเกม, โฆษณา และโลกเสมือนจริง (Metaverse)
ดังนั้นบทต่อไปของ บริษัทที่ใหญ่สุดในแดนมังกรแห่งนี้
ก็คือการบินให้สูงขึ้น ด้วยปีกของเทคโนโลยี AI นั่นเอง..
ก็คือการบินให้สูงขึ้น ด้วยปีกของเทคโนโลยี AI นั่นเอง..
—------------------
Tencent อยู่ใน MEGA10AICHINA
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัทชั้นนำด้าน AI ในจีน กับ MEGA10AICHINA เตรียมเปิดให้จอง IPO เริ่ม 28 มี.ค. นี้ /โดย บลจ.ทาลิส
Tencent อยู่ใน MEGA10AICHINA
ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัทชั้นนำด้าน AI ในจีน กับ MEGA10AICHINA เตรียมเปิดให้จอง IPO เริ่ม 28 มี.ค. นี้ /โดย บลจ.ทาลิส
กองทุนเปิด MEGA10AICHINA มี 2 ชนิด
1) ชนิดสะสมมูลค่า หรือ MEGA10AICHINA-A
2) ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ MEGA10AICHINARMF
1) ชนิดสะสมมูลค่า หรือ MEGA10AICHINA-A
2) ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ MEGA10AICHINARMF
MEGA10AICHINA-A ลงทุนในแบบ Rule-Based Approach มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน และ/หรือ หลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ที่ดำเนินธุรกิจ และ/หรือ กิจกรรมที่มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่า กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่เป็นส่วนประกอบในดัชนี Hang Seng Artificial Intelligence Theme Index
ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาเลือกลงทุนในตราสารทุนของบริษัทข้างต้นจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องจำนวน 10 บริษัท* เช่น
- SMIC (ผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของจีน)
- Li Auto (ผู้ผลิตรถยนต์อัจฉริยะขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และมีแผนที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ Humanoid)
- Kuaishou (แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยมที่ขับเคลื่อนด้วย AI)
- Xiaomi (ผู้ผลิตสมาร์ตโฟน รถยนต์ EV และอุปกรณ์อัจฉริยะรายใหญ่)
- Alibaba (E-Commerce และ Cloud รายใหญ่ที่สุดในจีน ผู้ให้บริการ AI ชื่อ Qwen)
- Tencent (เจ้าของ WeChat แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งาน 1.38 พันล้านคน และมี Ecosystem ที่สมบูรณ์แบบในการแนะนำบริการต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานชาวจีน)
โดยกองทุนจะมีการลงทุนที่ส่งผลให้มี Net Exposure ในตราสารทุนข้างต้นโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในรูปของสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกง (HKD) และไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
MEGA10AICHINARMF จะเข้าไปลงทุนในหน่วยลงทุน MEGA10AICHINA-A (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว ซึ่งบริหารจัดการโดย บลจ.ทาลิส โดยกองทุนจะลงทุนในกองทุนหลักโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 02-0150215, 02-0150216,
02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน
กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา
นอกจากนี้จะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือ เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
นอกจากนี้จะต้องชำระเงินเพิ่ม และ/หรือ เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต