Duan Yongping ผู้สร้าง Oppo Vivo Realme ให้มาเป็นคู่แข่งกัน
Duan Yongping ผู้สร้าง Oppo Vivo Realme ให้มาเป็นคู่แข่งกัน /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง “แบรนด์สมาร์ตโฟน” ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในโลก
แน่นอนว่าทุกคนคงนึกถึง Samsung และ Apple
ถ้าพูดถึง “แบรนด์สมาร์ตโฟน” ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในโลก
แน่นอนว่าทุกคนคงนึกถึง Samsung และ Apple
แต่ถ้าเป็นในมุมของ “บริษัท” ผู้ที่ครองส่วนแบ่งตลาดเยอะที่สุด
คำตอบอาจจะไม่ใช่ทั้งบริษัท Samsung Electronics และ Apple
แต่กลับเป็นบริษัทจากประเทศจีน ที่มีชื่อว่า “BBK Electronics”
คำตอบอาจจะไม่ใช่ทั้งบริษัท Samsung Electronics และ Apple
แต่กลับเป็นบริษัทจากประเทศจีน ที่มีชื่อว่า “BBK Electronics”
บริษัท BBK Electronics เป็นเจ้าของสมาร์ตโฟนหลายแบรนด์ที่เราคุ้นเคยกัน ไม่ว่าจะเป็น Oppo Vivo iQOO OnePlus Realme
ทำไม BBK Electronics ต้องมีหลายแบรนด์ในเครือ
แล้วใครคือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
แล้วใครคือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ถ้าเรามาดูส่วนแบ่งการตลาดจำนวนส่งมอบของสมาร์ตโฟนทั่วโลก ในปี 2024
อันดับที่ 1 Samsung 19%
อันดับที่ 2 Apple 18%
อันดับที่ 3 Xiaomi 14%
อันดับที่ 4 Oppo 8%
อันดับที่ 5 Vivo 8%
แบรนด์อื่น ๆ รวมกันอีก 33% (เช่น Realme ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 4%)
อันดับที่ 1 Samsung 19%
อันดับที่ 2 Apple 18%
อันดับที่ 3 Xiaomi 14%
อันดับที่ 4 Oppo 8%
อันดับที่ 5 Vivo 8%
แบรนด์อื่น ๆ รวมกันอีก 33% (เช่น Realme ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 4%)
Oppo Vivo Realme ถ้ารวมยอดการส่งมอบของทั้ง 3 แบรนด์นี้เข้าด้วยกัน BBK จะมีส่วนแบ่งการตลาดราว 20% แซงหน้า Samsung ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในโลก
ซึ่งนี้ยังไม่นับรวมส่วนแบ่งตลาดของแบรนด์ iQOO และ OnePlus
ซึ่งนี้ยังไม่นับรวมส่วนแบ่งตลาดของแบรนด์ iQOO และ OnePlus
โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ BBK ก็คือคุณ “Duan Yongping”
คุณ Duan เกิดที่มณฑลเจียงซี ประเทศจีน ในปี 1961
เขาจบการศึกษาด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไร้สาย เมื่อปี 1978
ก่อนที่จะเรียนต่อปริญญาโทอีก 2 ใบ ในสาขาเศรษฐศาสตร์ วิชาเอกเศรษฐมิติ และ Executive MBA
เขาจบการศึกษาด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไร้สาย เมื่อปี 1978
ก่อนที่จะเรียนต่อปริญญาโทอีก 2 ใบ ในสาขาเศรษฐศาสตร์ วิชาเอกเศรษฐมิติ และ Executive MBA
หลังจากเรียนจบในปี 1989 คุณ Duan ทำงานที่ Zhongshan Yihua Group
โดยเริ่มจากตำแหน่งผู้จัดการโรงงาน ซึ่งภารกิจที่เขาได้รับก็คือ การพลิกฟื้นบริษัท จากที่ขาดทุนอยู่กว่า 2 ล้านหยวน หรือประมาณ 9.5 ล้านบาท ให้กลับมามีกำไร
โดยเริ่มจากตำแหน่งผู้จัดการโรงงาน ซึ่งภารกิจที่เขาได้รับก็คือ การพลิกฟื้นบริษัท จากที่ขาดทุนอยู่กว่า 2 ล้านหยวน หรือประมาณ 9.5 ล้านบาท ให้กลับมามีกำไร
คุณ Duan จึงขอให้ทางบริษัทจัดตั้งบริษัทย่อย โดยใช้ชื่อว่า Subor Electronics และรับตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัทย่อยแห่งนี้
Subor Electronics เริ่มจากผลิตเครื่องเล่นเกมคอนโซล ที่ถอดแบบ Nintendo Famicom มาแบบเป๊ะ ๆ แต่สินค้าที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ เกิดมาจากการต่อยอดเกมคอนโซลอีกทีหนึ่ง
นั่นก็คือ เกมคอนโซลเพื่อการเรียนรู้
นั่นก็คือ เกมคอนโซลเพื่อการเรียนรู้
Subor Electronics ได้ดัดแปลงรูปทรงเครื่อง ให้เป็นคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ที่เสียบแผ่นเกมได้
และตั้งชื่อรุ่นว่า Study Machine ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ไม่มีคำว่าเกมอยู่ในชื่อ
และตั้งชื่อรุ่นว่า Study Machine ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ไม่มีคำว่าเกมอยู่ในชื่อ
นั่นจึงทำให้ Study Machine ได้รับกระแสตอบรับที่ดีแบบถล่มทลายทันทีที่เปิดตัวในปี 1992
เพราะสามารถเจาะตลาดผู้ปกครอง ซึ่งต้องการให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านสื่อในแบบที่เด็กชอบ
เพราะสามารถเจาะตลาดผู้ปกครอง ซึ่งต้องการให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านสื่อในแบบที่เด็กชอบ
และความสำเร็จของ Study Machine ก็ได้ทำให้บริษัทแม่ พลิกกลับมามีกำไรกว่า 1,000 ล้านหยวน ในปี 1995 หรือเพียง 6 ปีหลังจากที่คุณ Duan เริ่มทำงานเท่านั้น
แต่หลังจากสร้างผลงานชิ้นโบแดงให้กับบริษัท คุณ Duan กลับไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเพิ่มเติมเลย นอกจากเงินเดือนที่เท่าเดิม
เขาจึงเจรจาขอแยกบริษัท Subor Electronics ออกมาจากบริษัทแม่ โดยเขาขอเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าได้รับการปฏิเสธ เขาจึงตัดสินใจลาออกจากบริษัท
คุณ Duan ในวัย 34 ปี เลยเริ่มตั้งบริษัทของตัวเอง
และ BBK Electronics จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 1995 ณ มณฑลกวางตุ้ง
และ BBK Electronics จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี 1995 ณ มณฑลกวางตุ้ง
BBK เริ่มจากการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างเช่น ทอล์กกิงดิกต์, โทรศัพท์ตั้งโต๊ะ, เครื่องเล่น VCD และเครื่องเล่นเพลง MP3
หลังจากดำเนินธุรกิจไปได้ 4 ปี BBK ได้แยกออกเป็นบริษัทย่อย 3 บริษัท
เพื่อโฟกัสกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทไปเลย ซึ่งก็ได้แก่
เพื่อโฟกัสกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทไปเลย ซึ่งก็ได้แก่
- Audiovisual Electronics ที่เน้นอุปกรณ์ด้านเสียงและภาพ
- Communication Electronics ที่เน้นอุปกรณ์สื่อสาร
- Education Electronics ที่เน้นอุปกรณ์เพื่อการศึกษา
- Communication Electronics ที่เน้นอุปกรณ์สื่อสาร
- Education Electronics ที่เน้นอุปกรณ์เพื่อการศึกษา
และนี่คือจุดเริ่มต้นของอาณาจักรสมาร์ตโฟนของ BBK ที่ใช้กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ใหม่แทนการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์จากยี่ห้อเดิม
โดยดึงทีมผู้บริหารเดิมไปเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ใหม่ ๆ และบริหารแบบแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง
โดยดึงทีมผู้บริหารเดิมไปเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ใหม่ ๆ และบริหารแบบแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง
บริษัทย่อยแรก Audiovisual Electronics มอบหมายให้คุณ Tony Chen ดูแล
ได้สร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชื่อ “Oppo” ในปี 2004
ก่อนที่จะเริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ Smile Phone ในอีก 4 ปีให้หลัง และเริ่มผลิตสมาร์ตโฟนในปี 2012
ได้สร้างแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชื่อ “Oppo” ในปี 2004
ก่อนที่จะเริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ Smile Phone ในอีก 4 ปีให้หลัง และเริ่มผลิตสมาร์ตโฟนในปี 2012
ปี 2013 คุณ Peter Lau ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องเล่น Blu-ray ของ Audiovisual Electronics
ได้ตั้งบริษัทสมาร์ตโฟนแยกออกมาอีกยี่ห้อซึ่งมีชื่อว่า “OnePlus”
ได้ตั้งบริษัทสมาร์ตโฟนแยกออกมาอีกยี่ห้อซึ่งมีชื่อว่า “OnePlus”
ปี 2018 คุณ Sky Li ซึ่งตอนนั้นเป็น Vice President ของ Oppo
ได้ตั้งบริษัทสมาร์ตโฟนอีกบริษัทที่ชื่อว่า “Realme”
ได้ตั้งบริษัทสมาร์ตโฟนอีกบริษัทที่ชื่อว่า “Realme”
บริษัทย่อยที่สอง Communication Electronics ซึ่งมอบหมายให้คุณ Shen Wei ดูแล
ได้สร้างแบรนด์ “Vivo” ขึ้นในปี 2009 ก่อนที่จะเริ่มวางขายสมาร์ตโฟนตามมาในสองปีถัดมา
และในปี 2019 คุณ Feng Yufei ได้แยกมาก่อตั้งแบรนด์ “iQOO” เพิ่มเติม
ได้สร้างแบรนด์ “Vivo” ขึ้นในปี 2009 ก่อนที่จะเริ่มวางขายสมาร์ตโฟนตามมาในสองปีถัดมา
และในปี 2019 คุณ Feng Yufei ได้แยกมาก่อตั้งแบรนด์ “iQOO” เพิ่มเติม
BBK เลือกใช้กลยุทธ์แบบนี้ เพื่อให้มีสมาร์ตโฟนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า
ทั้งในเรื่องของระดับราคา และฟังก์ชันการใช้งานตามความต้องการ
ทั้งในเรื่องของระดับราคา และฟังก์ชันการใช้งานตามความต้องการ
โดยทำให้แต่ละแบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนไปเลยว่า จุดเด่นคืออะไร
และในตอนแรก จะพยายามไม่ให้ใครรู้ว่าแบรนด์เหล่านี้อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน
อย่างที่ทำให้หลายคนเคยเข้าใจว่า Oppo และ Vivo เป็นคู่แข่งกัน
และในตอนแรก จะพยายามไม่ให้ใครรู้ว่าแบรนด์เหล่านี้อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน
อย่างที่ทำให้หลายคนเคยเข้าใจว่า Oppo และ Vivo เป็นคู่แข่งกัน
-Oppo มีจุดขายคือ กล้องที่ล้ำสมัย มีดิไซน์ที่ตอบโจทย์ความเป็นแฟชั่น และตั้งราคาอยู่ในระดับกลางถึงสูง
-Vivo มีจุดขายคือ กล้องที่มากับชิปประมวลผลพิเศษสำหรับการถ่ายรูป โดยตั้งราคาอยู่ในระดับเดียวกับ Oppo
-OnePlus มีจุดขายคือ สเปกเครื่องที่สูงแบบสมาร์ตโฟนราคาแพง แต่ตั้งราคาต่ำกว่า
-Realme มีจุดขายคือ ดิไซน์ที่ดูทันสมัย แต่เจาะตลาดสมาร์ตโฟนราคาถูกโดยเฉพาะ สร้างขึ้นมาเพื่อสู้กับ Xiaomi
-iQOO สมาร์ตโฟนประสิทธิภาพสูงสำหรับสายเกมมิงและสตรีมมิง
กลยุทธ์ดังกล่าวก็ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม เพราะ BBK Electronics ได้กลายเป็นผู้ชนะ โดยเฉพาะในตลาดขนาดใหญ่ ทั้งจีน อินเดีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และนี่จึงทำให้คุณ Duan และทีมงาน กลายมาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังบริษัทเทคโนโลยี ที่มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ตโฟนทั่วโลกมากที่สุดในปัจจุบัน นั่นเอง
และยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจของคุณ Duan Yongping
คือแม้เขาจะอยู่เบื้องหลังการปลุกปั้นแบรนด์สมาร์ตโฟนให้โด่งดังไปทั่วโลกมาอย่างยาวนาน แต่คุณ Duan กลับแทบไม่ค่อยเปิดเผยตัวตนและชื่อบริษัท BBK Electronics ออกสื่อ
คือแม้เขาจะอยู่เบื้องหลังการปลุกปั้นแบรนด์สมาร์ตโฟนให้โด่งดังไปทั่วโลกมาอย่างยาวนาน แต่คุณ Duan กลับแทบไม่ค่อยเปิดเผยตัวตนและชื่อบริษัท BBK Electronics ออกสื่อ
แต่ชื่อของคุณ Duan ต้องมาโด่งดังไปทั่วโลกเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2006
ในฐานะผู้ชนะการประมูลเพื่อการกุศล สำหรับสิทธิ์เข้าร่วมรับประทานอาหารกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ด้วยราคาประมูลที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ในขณะนั้น ที่คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกว่า 26 ล้านบาท
ในฐานะผู้ชนะการประมูลเพื่อการกุศล สำหรับสิทธิ์เข้าร่วมรับประทานอาหารกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ด้วยราคาประมูลที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ในขณะนั้น ที่คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกว่า 26 ล้านบาท
ซึ่งคนคนหนึ่งที่คุณ Duan พาไปเข้าร่วมรับประทานอาหารกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ด้วย
คือชายที่มีชื่อว่า Colin Huang ที่ถือเป็นเพื่อนในทางธุรกิจคนสำคัญของเขา
คือชายที่มีชื่อว่า Colin Huang ที่ถือเป็นเพื่อนในทางธุรกิจคนสำคัญของเขา
ในตอนนั้น คุณ Colin Huang เป็นวิศวกรอยู่ที่ Google
แต่ในปัจจุบัน คุณ Colin Huang คนนี้ก็ได้กลายเป็นมหาเศรษฐีเบอร์ต้น ๆ ในจีน ซึ่งเขาเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Pinduoduo และ Temu..
แต่ในปัจจุบัน คุณ Colin Huang คนนี้ก็ได้กลายเป็นมหาเศรษฐีเบอร์ต้น ๆ ในจีน ซึ่งเขาเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Pinduoduo และ Temu..