สรุปแผนของ EA หยุดธุรกิจประกอบยานยนต์ EV และเพิ่มทุนปรับธุรกิจสู่การฟื้นตัว
หนึ่งในประเด็นสำคัญที่นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้ความสนใจก็คือ การปรับแผนโครงสร้างทางการเงินครั้งใหญ่ของ EA หรือบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
EA ทำอะไรไปแล้วบ้าง และแผนการเดินหน้าต่อไปจะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา EA ได้มีการปรับโครงสร้างภายในกลุ่มบริษัท ทั้งการมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่มีกำไร ได้แก่
การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 60% ของรายได้ และคิดเป็นเกือบทั้งหมดของกำไร
รวมถึงการปรับโครงสร้างธุรกิจที่ขาดทุน โดยได้หยุดธุรกิจการประกอบยานยนต์ไฟฟ้าชั่วคราว และปรับลดขนาดของธุรกิจแบตเตอรี่
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ กระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 เป็นบวกอยู่ที่ 5,610 ล้านบาท
ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ติดลบ 1,726 ล้านบาท
ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ติดลบ 1,726 ล้านบาท
ทำให้กำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 1,852 ล้านบาท
และ EBITDA อยู่ที่ 6,183 ล้านบาท จากรายได้ 14,397 ล้านบาท
และ EBITDA อยู่ที่ 6,183 ล้านบาท จากรายได้ 14,397 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์และธุรกิจแบตเตอรี่ ที่หยุดและลดลงไปชั่วคราวในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานั้น ทาง EA ยังคงมองเห็นศักยภาพในการเติบโตและโอกาสในการทำกำไร
เลยจะมีการปรับโมเดลธุรกิจ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับผู้เล่นขนาดใหญ่ในตลาดโลก ได้แก่
- การลงนามร่วมทุนกับ Chengli Special Automobile Co.,Ltd ผู้ผลิตยานยนต์ประเภทพิเศษรายใหญ่สุดในจีน ที่ผลิตและส่งออกรถประเภทพิเศษมากกว่า 30,000 คันไปใน 30 ประเทศทั่วโลก ในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา
ในข้อตกลงก็คือยานยนต์ประเภทพิเศษ ได้แก่ รถพยาบาล รถขยะ และรถกระเช้า จะถูกประกอบในโรงงานประกอบของ EA ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตในเดือนเมษายน 2568 และจะสร้างรายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาทของการดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2569
- การร่วมทุนกับหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับแนวหน้าของประเทศจีน ซึ่งมีฐานลูกค้าสำคัญอยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป
ข้อตกลงนี้จะเป็นการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เพื่อใช้งานด้านระบบกักเก็บพลังงาน โดยจะขยายกำลังการผลิตจาก 2 กิกะวัตต์ไปเป็น 4 กิกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
การลงนามข้อตกลงร่วมทุนนี้จะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และจะเริ่มจัดเตรียมสถานที่และเครื่องจักรการผลิตในปี 2568
จากแผนการเดินหน้าฟื้นฟูธุรกิจ และสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างทางการเงิน ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจึงมีมติอนุมัติการระดมทุนเพิ่ม 7,400 ล้านบาท ผ่านการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ตั้งแต่วันที่ 17 - 23 มกราคม 2568
โดย EA จะนำเงินที่จะได้จากการเพิ่มทุนไปใช้ชำระเงินกู้ธนาคาร และใช้ในการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด
ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดหนี้สินจาก 58,664 ล้านบาท ลงเหลือ 52,004 ล้านบาท
และจะช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลงได้ ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี
รวมถึงจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนดีขึ้นด้วย
และจะช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลงได้ ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี
รวมถึงจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนดีขึ้นด้วย
และสำหรับผู้ถือหุ้นที่ได้รับสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
จะได้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในอัตรา 1:1 ที่ราคา 2 บาทต่อหุ้น
จะได้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนในอัตรา 1:1 ที่ราคา 2 บาทต่อหุ้น
และหากจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ก็จะได้รับ EA-W1 ในอัตราส่วน 3:1
โดยวอร์แรนต์ 1 ใบ สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ 1 หุ้น ในราคา 4 บาท และมีอายุ 3 ปี
โดยวอร์แรนต์ 1 ใบ สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ 1 หุ้น ในราคา 4 บาท และมีอายุ 3 ปี
ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไปคือ การปรับโครงสร้างธุรกิจ การจับมือกับพาร์ตเนอร์ การระดมทุนเพิ่ม และทิศทางธุรกิจต่อจากนี้ ที่บริษัทกำลังมุ่งไป จะสามารถทำให้บริษัทไปได้ไกลมากแค่ไหนนั่นเอง..
Reference
-เอกสารประชาสัมพันธ์ของบริษัท
-เอกสารประชาสัมพันธ์ของบริษัท
Tag: EA