สรุปประเด็นสำคัญ “ทำไมต้อง ลงทุนหุ้นผู้ชนะของโลก ให้ชนะเงินเฟ้อ ?” จากรายการ Talk ลงทุนแมน
สรุปประเด็นสำคัญ “ทำไมต้อง ลงทุนหุ้นผู้ชนะของโลก ให้ชนะเงินเฟ้อ ?” จากรายการ Talk ลงทุนแมน
- เงินสด 100 บาท ในกระเป๋าของเราวันนี้ พอเวลาผ่านไปหลายปี ก็จะด้อยค่าลงเรื่อย ๆ จากเงินเฟ้อ และอาจจะแทบซื้ออะไรไม่ได้เลย
- เงินสด 100 บาท ในกระเป๋าของเราวันนี้ พอเวลาผ่านไปหลายปี ก็จะด้อยค่าลงเรื่อย ๆ จากเงินเฟ้อ และอาจจะแทบซื้ออะไรไม่ได้เลย
ซึ่งทุกคนรู้ดีว่า การลงทุนคือหนึ่งในวิธีเอาชนะเงินเฟ้อ แต่คำถามก็คือ เราจะเลือกลงทุนอย่างไร ให้สร้างผลตอบแทนได้ดี และสามารถชนะเงินเฟ้อได้ในระยะยาว
มาเจาะลึกวิธีการค้นหา “หุ้นผู้ชนะของโลก” ในแบบของคุณธณัฐ เตชะเลิศ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท แอลทีเอ็มเอช จำกัด (มหาชน) พร้อมทางเลือกการลงทุนที่คนไม่มีเวลาก็สามารถใช้ได้จริง
- อธิบายเงินเฟ้อแบบเข้าใจง่าย ก็คือ การที่เงินสด 100 บาทของเราในวันนี้ ซื้อของได้น้อยลงในอนาคต
- ดังนั้น ถ้าเราอยากรักษาอำนาจเงิน ก็ควรเอาเงินไปลงทุนในกิจการที่มีความสามารถในการขึ้นราคาสินค้าและบริการ เพื่อเอากำไรมาทดแทนเงินเฟ้อ โดยต้องเป็นบริษัทที่สามารถทำแบบนี้ได้แน่นอนในระยะยาว
- วิธีดูบริษัทผู้ชนะอย่างแรกก็คือ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาด (Market Cap) มากสุดเป็นอันดับต้น ๆ ของตลาด หรือของดัชนีทั่วโลก เช่น Top 10, Top 50 และ Top 100
ตัวอย่างบริษัท Top 10 ของโลกตอนนี้ คือ หุ้นที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี เช่น Apple, Meta, Nvidia ซึ่งตลาดจะทำหน้าที่บอกเองว่า ใครเป็นผู้ชนะในช่วงเวลานั้น
- แต่ก็จะมีกลุ่มบริษัทที่ตกอันดับไป เหมือนทฤษฎีคัดสรรโดยธรรมชาติของชาร์ล ดาร์วิน โดยใครที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ ก็จะดับลงไป ส่วนใครที่เก่งก็จะขึ้นมาแทน
- อย่างบริษัท Top 10 เมื่อก่อน เคยมีบริษัทพลังงานอย่าง ExxonMobil รวมถึงค้าปลีกสัญชาติอเมริกันอย่าง Walmart แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน ธุรกิจเหล่านี้ก็ตกอันดับลงมา
- แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า บริษัทที่เรากำลังจะลงทุน จะไม่กลายเป็นบริษัทผู้แพ้ที่ตามไม่ทัน ? ก็ให้เราคัดกรองด้วย 5 ลักษณะของบริษัท ที่เป็นผู้ชนะ
ข้อ 1) “สามารถขยายกิจการ และสร้างรายได้ทั่วโลก” ให้ลองนึกถึงสินค้าและบริการที่คนไทยและคนทั่วโลกใช้กัน ซึ่งจะปลอดภัยกว่าสินค้า Local ที่อาจจะขายได้แค่ในประเทศตัวเอง
เช่น Meta, Starbucks และ Netflix ที่คนใช้กันทั่วโลก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทอเมริกันจะทำได้ เพราะอย่างในประเทศไทยก็ไม่ได้มีห้าง Walmart หรือ Costco
ข้อ 2) “การขยายกิจการและสร้างรายได้เพิ่ม โดยต้นทุนไม่เพิ่มตาม” คือ ธุรกิจที่มี Operating Leverage หรือค่าใช้จ่ายคงที่ของกิจการไม่แปรผันไปตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ชนะส่วนใหญ่ของโลก มักจะมีสิ่งนี้
เช่น การที่มีคนใช้ Facebook เพิ่มจาก 1,000 ล้านคน เป็น 2,000 ล้านคน ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนของ Meta เพิ่มขึ้นมาก หรือการที่มีคนสมัครสมาชิก Netflix เพิ่ม ก็ไม่ได้เพิ่มต้นทุนให้บริษัท เพราะมีคลังคอนเทนต์อยู่แล้ว
ข้อ 3) “ธุรกิจที่มี Network Effect สูง” คือ ธุรกิจที่ผู้ใช้งานเดิมมีคุณค่าและช่วยดึงดูดให้ผู้ใช้งานใหม่เข้ามาใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ
เช่น ถ้าเพื่อน ๆ เราไม่ใช้ Facebook เราก็คงไม่ใช้ หรือ Airbnb ที่ถ้ามีโฮสต์มาลิสต์บ้านน้อย ก็คงไม่มีคนเข้ามาใช้งาน รวมถึง Bitcoin ด้วยเช่นกัน ที่มีคุณค่าก็เพราะว่ามีคนใช้เยอะ
ข้อ 4) “ธุรกิจที่ผู้เล่นท้องถิ่นแข่งขันได้ยาก” คือ มีความพิเศษบางอย่าง เช่น เทคโนโลยี หรืออาจจะเป็น Branding ที่บริษัทในท้องถิ่นไม่สามารถแข่งขันได้
เช่น ช่องทีวี Local ในบ้านเรา แข่งขันกับ Netflix ได้ยาก ซึ่งไม่ได้เป็นแค่เรื่องตัวเลือกที่หลากหลายกว่า แต่ยังมีเรื่องภาพลักษณ์ ที่คนเปิด Netflix แล้วดูดีกว่าด้วย
ข้อ 5) “ธุรกิจที่มี Switching Cost สูง” คือ การที่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นได้ยาก เพราะมีต้นทุนในการเปลี่ยน
เช่น คนที่ใช้ Apple แล้วใช้ iCloud เก็บข้อมูลหรือรูปภาพ ก็จะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นยาก หรือคนที่เคยใช้ ChatGPT แล้วไม่อยากเปลี่ยน เพราะไม่มีเครื่องมือที่ฉลาดเท่า
- คำแนะนำสำหรับคนที่อยากลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ แล้วนอนหลับสบายด้วย คือ “ลงทุนในสิ่งที่เรารู้จัก” ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ที่สุด แต่ต้องรู้ว่าทำธุรกิจอะไร จะได้ติดตามได้ว่า จะกลายเป็นบริษัทที่รอดหรือร่วง
- อีกเรื่องคือ Time Frame ถ้าลงทุนในระยะยาว สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะสั้นหรือกลางจะเป็นแค่ Noise โดยลงทุนในบริษัทที่สามารถขึ้นราคาสินค้าและบริการได้ ไม่ว่าจะเป็นสกุลเงินใดก็ตาม และมี 5 ลักษณะตามที่บอกไป นั่นก็คือ บริษัทที่ยอดเยี่ยม
- สำหรับคนที่มีคำถามว่า ลงทุนในหุ้นผู้ชนะตอนนี้ ทันไหม ? Valuation แพงไปหรือเปล่า ? ส่วนตัวคุณธณัฐมองว่า “เวลา” จะทำร้ายคนที่ไม่ลงทุนในกิจการที่ดีและเติบโตได้
เช่น วันนี้ กิจการที่ดี มีรายได้ 100 บาท ผ่านไป กิจการเติบโตขึ้น มีรายได้ 150 บาท ซึ่งได้ Valuation ใหม่ ราคาใหม่ โดยที่ P/E อาจจะเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ แต่เราไม่ได้ลงทุนเพราะมัวแต่รอให้เกิดวิกฤติ
- การที่เรามัวแต่รอวันที่ P/E ตก ระหว่างนั้น กิจการที่ดี ยอด E (Earnings) ก็เติบโตขึ้นแล้ว เราควรเติบโตไปกับ E มากกว่า เลยแนะนำว่าไม่ต้องคาดเดา
ถ้าอยู่ในช่วงราคาที่รับได้ ไม่ใช่ช่วงฟองสบู่ ก็แบ่งมากระจายลงทุน อย่าถือเงินสดทั้งหมด 100% เพราะก็มีเงินเฟ้อ
- โดยในระยะยาว ราคาที่เราเข้าซื้อ ก็จะกลายเป็นราคาเฉลี่ย การเข้าแพงหน่อยหรือถูกหน่อยก็ไม่ต่างกันมาก
- วิธีประเมินมูลค่าเบื้องต้นว่า ราคายังไม่แพงเกินไป สำหรับธุรกิจที่เติบโตได้ดี คือ P/E ไม่เกิน 30 เท่า ซึ่งบริษัทผู้ชนะมักจะไม่มีใครให้ P/E ต่ำกว่านี้ หรือในช่วงวิกฤติอาจจะขาดทุนชั่วคราว พอเวลาผ่านไป ก็จะกลับมาได้
- แต่ก็ต้องรับการขาดทุนในระยะสั้นให้ได้ โดยมีโอกาสที่จะขาดทุนได้ครึ่งนึงหรือ -50% (P/E ลดเหลือ 15 เท่า) ซึ่งถ้าใคร Conservative หน่อย ก็อาจจะเลือกลงทุนหุ้นที่มี P/E ประมาณ 20 เท่า
- ในธุรกิจที่ดีและเติบโต โอกาสขาดทุนมีอยู่แล้ว แต่น้อยกว่า และถ้าธุรกิจดีจริง ๆ มันก็จะกลับมาได้ นั่นเลยทำให้การลงทุนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
- สิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องมี คือ “ความคิดอิสระที่ต่างจากคนอื่น” ในการตัดสินและวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น นี่จะเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ต่างจากคนอื่นได้ ท่ามกลางเหตุการณ์มากมายในตลาด
คำว่าอิสระ ไม่ได้แปลว่า ต้องสวนกระแสเสมอไป และการตามกระแสไม่ได้แปลว่าไม่ดี แต่เราจะต้องตามหรือสวนกระแสแบบมีอิสระในความคิด
- คนส่วนใหญ่ 90% ไม่ค่อยมีเวลาติดตามการลงทุน ส่วนที่เหลือ 10% อาจจะมีเวลาคัดเลือกผู้ชนะ และสามารถใช้อิสระทางความคิด แต่มีเพียง 5% ที่ทำได้สำเร็จจริง ๆ ส่วนอีก 5% อาจจะยังค้นหาตัวเอง และอยู่ในช่วงทดสอบผิดถูก
คำแนะนำในการลงทุนสำหรับคน 95% ที่เหลือ ซึ่งต้องการลงทุนในผู้ชนะของโลกและอยากชนะเงินเฟ้อ มี 2 ทางเลือก คือ การลงทุนในดัชนี และ การลงทุนในกองทุนรวม
- ทางเลือกแรกคือ การลงทุนในดัชนี เช่น ดัชนี S&P 500 ที่สถิติตั้งแต่ปี 1957 มีผลตอบแทนเฉลี่ย 7-10% ต่อปี
หรือถ้าเราไม่ได้อยากลงทุนแค่ในสหรัฐอเมริกา ก็เลือกลงทุนในดัชนี MSCI ACWI ที่มีทั้งหุ้นสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงตลาดเกิดใหม่ อย่างจีน อินเดีย บราซิล แต่อาจจะไม่ใช่ผู้ชนะอย่างแท้จริง เพราะมีการกระจายตัวมากเกินไปถึง 2,650 บริษัท
- อีกทางเลือก ที่โฟกัสมากขึ้น และกระจายตัวน้อยลงก็คือ การลงทุนในกองทุนรวม
เช่น กองทุน MEGAWORLD30 ที่ลงทุนใน 30 บริษัทชั้นนำระดับโลก โดย บลจ.ทาลิส ซึ่งมีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่ทุกคนคุ้นชื่อกันอย่าง Nvidia, Apple, Microsoft, Meta, Novo Nordisk, Tencent, Netflix และ LVMH
สามารถรับชม รายการ TALK ลงทุนแมน ในหัวข้อทำไมต้อง ลงทุนหุ้นผู้ชนะของโลก ให้ชนะเงินเฟ้อ ? ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=ncvOD1Tbnn4
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์