<ผู้สนับสนุน> สรุปวิชาลงทุนสำหรับมือใหม่
<ผู้สนับสนุน>
สรุปวิชาลงทุนสำหรับมือใหม่ / โดย ลงทุนแมน
ปกติแล้ว ลงทุนแมนจะนำเสนอกรณีศึกษาจากธุรกิจจริง
แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องพื้นฐานการลงทุนเท่าไรนัก
คราวนี้เป็นครั้งแรกที่ลงทุนแมนจะสรุปพื้นฐานการลงทุนทั้งหมด สำหรับนักลงทุนมือใหม่
ถ้าอ่านจบ เราก็น่าจะมีเบสิกที่พร้อมจะก้าวสู่โลกของการลงทุนได้อย่างมั่นใจ..
สรุปวิชาลงทุนสำหรับมือใหม่ / โดย ลงทุนแมน
ปกติแล้ว ลงทุนแมนจะนำเสนอกรณีศึกษาจากธุรกิจจริง
แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องพื้นฐานการลงทุนเท่าไรนัก
คราวนี้เป็นครั้งแรกที่ลงทุนแมนจะสรุปพื้นฐานการลงทุนทั้งหมด สำหรับนักลงทุนมือใหม่
ถ้าอ่านจบ เราก็น่าจะมีเบสิกที่พร้อมจะก้าวสู่โลกของการลงทุนได้อย่างมั่นใจ..
ถ้าเราเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องการลงทุนเลย เงินที่หามาทั้งชีวิตรู้จักแต่การฝากเงินไว้ในธนาคาร ลองอ่านบทความนี้เผื่อจะได้มุมมองที่กว้างขึ้น
จนถึงตอนนี้ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักเงินเฟ้อ ทุกคนน่าจะรู้ว่าราคาสินค้าแพงขึ้นจากตอนเราเป็นเด็ก และก็จะแพงขึ้นอีกในอนาคต ในอดีตเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 3% ต่อปี ถึงแม้ว่าในระยะหลังเงินเฟ้อจะลดต่ำลงเหลือประมาณ 1% ต่อปี แต่ปัจจุบันเงินฝากธนาคารให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.5% ต่อปีซึ่งน้อยกว่าเงินเฟ้อ แปลว่า ถ้าเราฝากธนาคารไปเรื่อยๆ เงินของเราจะซื้อสินค้าได้น้อยลง เพราะราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่า
แล้วจะทำอย่างไรให้เงินเราเพิ่มได้เร็วกว่าราคาสินค้า?
คำตอบที่จะเป็นจุดเริ่มของเรื่องราวทั้งหมด คือ "การลงทุน" ในทรัพย์สินต่างๆ
วันนี้ลงทุนแมนจะมาเล่าเรื่องทรัพย์สิน 4 ประเภท ที่นักลงทุนมือใหม่ทุกคนควรจะรู้
1) เงินฝาก
2) ตราสารหนี้
3) อสังหาริมทรัพย์
4) หุ้น
2) ตราสารหนี้
3) อสังหาริมทรัพย์
4) หุ้น
1) เงินฝาก
ข้อดีของเงินฝากคือ "สภาพคล่อง" เราถอนได้ทุกเวลาที่ต้องการเงินสด แต่ข้อเสียของมันก็คือดอกเบี้ยที่น้อยกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งมีเงินฝากมากไปก็ไม่ดี
ข้อดีของเงินฝากคือ "สภาพคล่อง" เราถอนได้ทุกเวลาที่ต้องการเงินสด แต่ข้อเสียของมันก็คือดอกเบี้ยที่น้อยกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งมีเงินฝากมากไปก็ไม่ดี
เราควรฝากเงินในธนาคารมากเท่าไรถึงเรียกว่าเหมาะสม? ผมคิดว่าคงไม่ได้มีหลักการอะไรตายตัว ทั้งหมดแล้วแต่ความสบายใจของเรา บางคนอาจจะมีหลักการว่าจะฝากเงินธนาคารเป็น 10% ของทรัพย์สินทั้งหมด หรือบางคนอาจบอกว่าฝากเงินเผื่อไว้ให้ใช้จ่ายได้อีก 6 เดือน หรือ 1 ปี ส่วนที่เกินมาจากนี้จะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก
แล้วมีทรัพย์สินอะไรที่น่าจะให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากบ้าง?
2) ตราสารหนี้
นักลงทุนมือใหม่อาจจะ งง กับคำศัพท์นี้ อธิบายให้ง่ายๆ ตราสารหนี้คือการที่เราให้เงินคนอื่นยืมโดยที่มีระยะเวลาคืน (นึกภาพว่าคล้ายเงินฝากประจำ หรือ สลากออมสิน)
นักลงทุนมือใหม่อาจจะ งง กับคำศัพท์นี้ อธิบายให้ง่ายๆ ตราสารหนี้คือการที่เราให้เงินคนอื่นยืมโดยที่มีระยะเวลาคืน (นึกภาพว่าคล้ายเงินฝากประจำ หรือ สลากออมสิน)
แล้วใครมายืมเรา?
คนที่ออกตราสารหนี้ได้นั้น ไม่ใช่ว่าเป็นคนทั่วไปจะออกได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคาร และบริษัทเอกชน ทีนี้ก็คงจะนึกภาพออกว่าความเสี่ยงของตราสารหนี้ จะขึ้นอยู่กับผู้ที่มายืมเราด้วย
ถ้าเป็นรัฐบาลก็คงปลอดภัย แต่ถ้าเป็นบริษัทที่เน่าๆ มายืมเราก็คงเสี่ยงกว่า ความเสี่ยงของผู้ที่มายืมเรา เขาเรียกกันว่า "เครดิตเรตติ้ง"
ถ้าตราสารหนี้ยังไม่ครบอายุ เราจะไม่ได้เงินต้นคืน ยกเว้นว่าเราจะขายตราสารหนี้ต่อให้นักลงทุนคนอื่นในตลาดรอง ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ตลาดรองของตราสารหนี้จะมีแต่นักลงทุนสถาบันที่เป็น ธนาคาร กองทุน หรือ บริษัทหลักทรัพย์ ไม่ได้มีนักลงทุนรายย่อยเหมือนตลาดหุ้น
ดังนั้นถ้าเราต้องการลงทุนในตราสารหนี้ โดยที่จะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ เราสามารถลงทุนได้ในกองทุนรวมตราสารหนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าราคาของกองทุนจะเปลี่ยนไปทุกวันตามราคาตลาดตราสารหนี้ในแต่ละวัน ซึ่งก็อาจจะขาดทุนได้เช่นกัน
ตอนนี้ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นให้ผลตอบแทนประมาณ 1%-2% และ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาวให้ผลตอบแทนประมาณ 2-3% แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาวซึ่งผันผวนมากกว่า อาจจะให้ผลตอบแทนขาดทุนก็ได้ ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก
ถ้ากองทุนรวมตราสารหนี้ไหนให้ผลตอบแทนมากกว่าตัวเลขดังกล่าว พึงระลึกไว้ว่ากองทุนนั้นอาจจะมีส่วนผสมของตราสารหนี้เอกชนอยู่มาก
3) อสังหาริมทรัพย์
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะได้รายรับที่สม่ำเสมอ เพราะผู้เช่าต้องจ่ายค่าเช่าให้เราทุกๆเดือน แต่สิ่งสำคัญคือ อสังหาริมทรัพย์นั้นต้องอยู่ในทำเลที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้มีผู้เช่าอยู่ตลอด เพราะถ้ามีช่วงเว้นว่าง ก็หมายความว่ารายได้ค่าเช่าจะขาดหายไป
แล้วถ้าเรามีเงินไม่มากถึงขนาดที่จะไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเป็นพันล้าน จะทำอย่างไร?
เราสามารถลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้ ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผลจากกองทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีทั้งแบบที่เป็น สิทธิการเช่าที่มีกำหนดอายุ (Leasehold) และแบบเป็นเจ้าของไปตลอด (Freehold)
โดยส่วนใหญ่แล้วอัตราผลตอบเทนเงินปันผลจาก อสังหาริมทรัพย์จะมากกว่า ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ ยกเว้นว่าตราสารหนี้นั้นจะเป็นของบริษัทเอกชนที่เรตติ้งไม่ดี หรือเป็นตราสารหนี้ระยะยาวมากๆ ดอกเบี้ยอาจจะมากพอกัน
ตอนนี้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แบบ Leasehold จะให้ปันผลประมาณ 6% ต่อปี (แต่มีวันหมดอายุ) ซึ่งมากกว่า แบบ Freehold ที่จะให้ปันผลประมาณ 4.5% ต่อปี
แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าเงินต้นของเราจะเท่าเดิมไปตลอด ถ้าเราอยากขายคืนกองทุนอสังหาริมทรัพย์เราอาจจะเจอราคาตลาดที่ผันผวนซึ่งทำให้เราขาดทุนได้เช่นกัน และความผันผวนของราคากองทุนอสังหาริมทรัพย์ปกติแล้วจะมากกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้
4.) หุ้น
ทรัพย์สินประเภทสุดท้ายที่มีความหลากหลายของผลตอบแทนมากที่สุด เราสามารถได้กำไรจากหุ้นเป็น 100% หรือเราอาจจะขาดทุนเป็น 100% ได้เช่นกัน
คำว่าหุ้น นั้น ย่อมาจากหุ้นส่วนบริษัท เจ้าของบริษัทจะมาเสนอขายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไปเป็นครั้งแรก เรียกว่า IPO (Initial Public Offering) หลังจากนั้นผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถขายต่อคนอื่นได้ในตลาดรอง ซึ่งเราเรียกว่าตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้น นั่นเอง
กองทุนรวมตราสารทุน ที่บริหารโดยผู้จัดการกองทุนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ลงทุนในหุ้นได้โดยที่เราไม่ต้องจัดการเอง แต่ก็ต้องยอมรับว่าราคากองทุนรวมตราสารทุนที่จะขายคืนนั้น จะมีความผันผวน และมีโอกาสขาดทุนได้มากที่สุดในบรรดากองทุนรวมทุกประเภท
ตลาดหุ้นทุกตัวในตลาดเมื่อนำมารวมกันคำนวณเป็นดัชนี จะเรียกว่า SET INDEX (Stock Exchange of Thailand Index) ถ้ามอง SET INDEX เป็นรายปีจะมีความผันผวนมาก บางปีอาจจะบวกมากถึง 30% หรือ บางปีอาจจะลบ 30% ก็เป็นไปได้ แต่โดยเฉลี่ยแล้วผลตอบแทนจาก SET INDEX จะได้ประมาณ 7-10% ต่อปี
เราไม่รู้หรอกว่าปีไหนตลาดจะดี หรือไม่ดี ดังนั้นการลงทุนในหุ้นควรมองเป็นระยะยาวมากกว่ามองเป็นปีต่อปี
แล้วเราควรลงในทรัพย์สินไหนดี สัดส่วนเท่าไร?
การเลือกจัดสรรเงินไปในทรัพย์สินต่างๆ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Asset Allocation
ซึ่ง Asset Allocation ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน ไม่ได้มีสูตรตายตัว
บางคนมีอายุน้อย สามารถรับความผันผวนได้มาก หรือลงทุนระยะยาวได้ ก็เลือกลงหุ้น 100% เต็ม
แต่การเลือกลงหุ้น 100% ก็ไม่ใช่การถือหุ้นตัวเดียวทั้ง 100% ของพอร์ต (พอร์ตหมายถึง Portfolio หรือเงินลงทุนของเราทั้งหมด)
เพื่อการกระจายความเสี่ยง อย่างน้อยเราควรมีหุ้น 5 ตัวในพอร์ต แต่ถ้าอยากให้กระจายความเสี่ยงมากขึ้นอีกก็อาจจะมีถึง 10 ตัว หรือ 20 ตัวก็ได้ แต่ถ้ามีมากไปให้ระวังไว้ว่าเราอาจจะเสียเวลาติดตามหุ้นทุกตัวในพอร์ต
การลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่ง บางประเทศอาจจะมีกิจการที่ดีเยี่ยมที่หุ้นไทยไม่มี แต่เราก็ต้องเข้าใจในกิจการนั้นจริงๆ เพราะหุ้นต่างประเทศก็มีหุ้นเน่าได้เหมือนกัน
นอกจากหุ้นแล้ว ถ้าเราเอาสินทรัพย์อื่นมาผสมด้วย ก็จะทำให้ความผันผวนของพอร์ตน้อยลงได้
เช่นบางคนมีอายุแล้ว รับความผันผวนได้น้อย ต้องการรายได้ประจำจากเงินปันผลหรือ ดอกเบี้ยมาใช้จ่าย ก็อาจจะเลือกลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือ ตราสารหนี้ เป็นสัดส่วนที่มากขึ้น
แต่ที่ลงทุนแมนไม่แนะนำเลยคือการเก็บเงินทั้งหมด 100% ฝากไว้ในธนาคาร เพราะสุดท้ายแล้วเงินเราจะค่อยๆหายไปเรื่อยๆจากเงินเฟ้อนั่นเอง
ตัวอย่างของ Asset Allocation ที่น่าจะเป็นดังนี้
คนที่รับความผันผวนได้มาก :
หุ้นไทย 60% หุ้นต่างประเทศ 30% เงินฝาก 10%
หุ้นไทย 60% หุ้นต่างประเทศ 30% เงินฝาก 10%
คนที่รับความผันผวนได้บ้าง :
หุ้นไทย 40% หุ้นต่างประเทศ 20% ตราสารหนี้ 20% กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 10% เงินฝาก 10%
หุ้นไทย 40% หุ้นต่างประเทศ 20% ตราสารหนี้ 20% กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 10% เงินฝาก 10%
คนที่รับความผันผวนได้น้อย :
หุ้นไทย 20% หุ้นต่างประเทศ 10% ตราสารหนี้ 40% กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 20% เงินฝาก 10%
หุ้นไทย 20% หุ้นต่างประเทศ 10% ตราสารหนี้ 40% กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 20% เงินฝาก 10%
คนที่รับความผันผวนไม่ได้เลย :
ตราสารหนี้ 60% กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 30% เงินฝาก 10%
ตราสารหนี้ 60% กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 30% เงินฝาก 10%
บางท่านอาจจะมี Asset Allocation ที่ต่างจากนี้ ขึ้นอยู่กับความสบายใจ และความเข้าใจในสินทรัพย์นั้น
ถ้าเรายังไม่มีความเข้าใจก็อาจจะลงทุนในกองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพมาช่วยบริหารการลงทุนให้เรา ซึ่งปัจจุบันกองทุนรวมก็มีให้เลือกครบในทรัพย์สินทุกประเภท โดยที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะจัดสรรเงินไปลงกองทุนรวมในแต่ละประเภทสินทรัพย์เป็นสัดส่วนเท่าไรตามความเสี่ยงที่เรารับได้
เมื่อท่านอ่านจบถึงตรงนี้ ลงทุนแมนเชื่อว่าท่านจะมีความรู้พื้นฐานด้านการลงทุนที่ไม่น้อยหน้าใคร
โปรดส่งต่อให้คนที่ท่านห่วงใย เพื่อให้เขามีความรู้เรื่องนี้มากขึ้น เพราะจริงๆแล้วเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้ตั้งแต่เด็ก แต่ในโรงเรียนกลับไม่มีสอน (น่าแปลกใจจริงๆ)
เพราะการมีอิสรภาพทางการเงิน จะสามารถทำให้เรากล้าทำตามความฝันของเรา และถ้าเราได้ทำในสิ่งต่างๆที่เราอยากทำ ก็น่าจะทำให้เรามีความสุขในชีวิตในที่สุด
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจการลงทุน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้น หรือซื้อกองไหนดี ต้องการคำแนะนำจากผู้รู้ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนเพิ่มเติมได้จากบริการ ทีเอ็มบี แอดไวซ์เซอรี่ (TMB Advisory)
ที่เตรียมกลยุทธ์การลงทุนด้วยกองทุนเด่นที่คัดสรรมาจาก 8 บลจ.ชั้นนำ มาให้เลือกลงทุน
ที่เตรียมกลยุทธ์การลงทุนด้วยกองทุนเด่นที่คัดสรรมาจาก 8 บลจ.ชั้นนำ มาให้เลือกลงทุน
เลือกรับข่าวสารการลงทุนดีๆ ได้ฟรี! อีกเพียบ เพียงลงทะเบียนที่
https://tmbbank.com/LM/TMBADVISORY/RG
https://tmbbank.com/LM/TMBADVISORY/RG
หรือ ถ้ากำลังมองหาคำแนะนำ ฟรี แบบไม่มีค่าใช้จ่าย นัดหมายใช้บริการ TMB Advisory Room ที่ปรึกษาส่วนตัวด้านการลงทุนได้ที่ https://tmbbank.com/LM/TMBADVISORY
Tag: TMB ADVISORY