เงินสด = ทรัพย์สินที่ด้อยค่าได้ วิชาการเงิน 101 อ่านจบ เอาไปใช้ได้ทันที

เงินสด = ทรัพย์สินที่ด้อยค่าได้ วิชาการเงิน 101 อ่านจบ เอาไปใช้ได้ทันที

เงินสด = ทรัพย์สินที่ด้อยค่าได้ วิชาการเงิน 101 อ่านจบ เอาไปใช้ได้ทันที
1. เงินสดในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศผลิตขึ้นมา เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. รัฐบาลไม่ได้การันตีว่า เงินสดในระบบจะมีปริมาณเท่าเดิม
3. นักเศรษฐศาสตร์รู้ดีจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในอดีต ว่าการผลิตเงินสดแจกจ่ายให้ประชาชนมากไป จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ หรือแปลว่า เงินด้อยค่าลง และต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นในการซื้อสินค้าชิ้นเดิม
4. แต่นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้มีอำนาจเสมอไป.. รัฐบาลที่ใช้อำนาจเหนือนักเศรษฐศาสตร์ ก็จะพบกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงเกินไป ตัวอย่างประเทศที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ก็คือ เวเนซุเอลา, อาร์เจนตินา, ตุรกี, ซิมบับเว หรือแม้แต่ ประเทศลาว
5. ในโลกยุคปัจจุบัน การผลิตเงินมากเกินไปไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อแบบตรงไปตรงมา มันเกี่ยวกับความต้องการของเงินสกุลนั้น ๆ ด้วย ซึ่งมันเกี่ยวกับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศ, การขาดดุลการค้า, การพึ่งพาสินค้านำเข้าที่จำเป็นจากต่างประเทศ
6. ตัวอย่างเช่น ประเทศที่นำเข้าน้ำมันเยอะ หนี้ต่างประเทศเยอะ ส่งออกได้น้อย ประเทศนั้นก็จะมีเงินเฟ้อสูงได้ เพราะต้องใช้เงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้นในการได้มาซึ่งสินค้าจำเป็นที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เงินกีบของลาว
7. ในขณะเดียวกัน บางรัฐบาลผลิตเงินสดเยอะ แต่ประเทศยังส่งออกสินค้ามาก ก็อาจจะไม่ได้ทำให้เงินเฟ้อสูงเกินไป เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหลักของโลก เช่น น้ำมัน อีกด้วย
8. แต่โดยทั่วไปแล้ว สกุลเงินแทบจะทุกประเทศ จะมีเงินเฟ้อเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เงินเฟ้อต่ำสุด รวมถึงประเทศไทย เงินก็จะเฟ้ออยู่เสมอในทุก ๆ ปี
9. เงินเฟ้อ = เงินด้อยค่าลง
ถ้าเรามีเงินสด 100 บาท ถ้าเงินด้อยค่าไปเรื่อย ๆ ติดต่อกันหลายปี เงิน 100 บาทนั้น อาจจะซื้ออะไรไม่ได้เลยในวันข้างหน้า
10. เงินสด (Cash) ไม่เท่ากับ เงินฝาก (Saving)
แต่บางทีเราเรียกติดปาก เพราะเงินฝากมันเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว จนคล้ายกันมาก
11. เงินฝาก = การเอาเงินสดที่เป็นทรัพย์สินของเราไปให้ธนาคารยืมเงิน โดยธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้เราเพื่อแลกกับการให้ยืม
12. ธนาคารยอมจ่ายดอกเบี้ย เพราะว่าธนาคารสามารถเอาเงินสดนี้ไปปล่อยกู้ต่อได้ แต่ธนาคารก็ต้องรับความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ด้วย
13. การถือเงินฝาก จะดีกว่าเงินสด เพราะอย่างน้อยได้ดอกเบี้ย ดังนั้นถ้าเงินฝากสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในเสี้ยววินาทีแบบในยุคนี้ ไม่มีเหตุผลที่เราจะต้องมีเงินสดเยอะในกระเป๋าสตางค์
14. ถึงตรงนี้คงมีคำถามต่อว่า ทรัพย์สินที่เราถือแล้วช่วยให้ไม่ด้อยค่าลง นอกจากเงินฝากแล้วมีอะไรอีก ?
15. เมื่อใดก็ตามที่เรามีคำถามนี้ แปลว่าเราเริ่มสนใจคำว่า “การลงทุน” แล้ว
ลงทุนแมน จะสรุปให้ฟังว่าจักรวาลของสินทรัพย์การลงทุน มีอะไรบ้าง ?
เอาให้ง่ายที่สุดแบบภาษาชาวบ้าน การลงทุนแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
15.1 การเอาเงินไปให้คนอื่นยืม
ถ้าระยะสั้น ก็เช่น เงินฝาก, ตั๋วเงิน
แต่ถ้าระยะยาวเราจะเรียกว่า ตราสารหนี้
การให้ยืมจะแลกกับการที่เราจะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในรูปของ “ดอกเบี้ย”
15.2 การเอาเงินไปแลกกับทรัพย์สิน
ทรัพย์สินลงทุน เป็นสิ่งที่คนคาดว่าจะไม่ด้อยค่าลง เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดฯ ทองคำ ตราสารทุน (หุ้น) กองทุนรวม หรือแม้แต่ พระเครื่อง คริปโทเคอร์เรนซี
ถ้าเราเอาเงินไปแลกกับทรัพย์สินที่รู้อยู่แน่นอนแล้วว่าจะด้อยค่าลง “จะไม่ถือเป็นการลงทุน” เช่น เอาเงินไปซื้อ รถยนต์ เสื้อผ้า
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเอาทรัพย์สินที่รู้ว่าจะด้อยค่าลง ไปใช้เป็นเครื่องมือในการหาเงิน ก็อาจถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการลงทุนทำธุรกิจได้เช่นกัน เช่น ซื้อรถมาส่งสินค้า
16. สรุปผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์
16.1 เงินสด ไม่ให้ผลตอบแทนอะไรเลย แต่ถ้าเราคาดว่าเงินเฟ้ออยู่ที่ 2% ต่อปี ผลตอบแทนที่แท้จริงก็จะ -2% ต่อปี
16.2 การลงทุนที่ เอาเงินไปให้คนอื่นยืม
- เงินฝากออมทรัพย์ ให้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี แต่ให้ผลตอบแทนที่แท้จริงหลังหักเงินเฟ้อที่ -1.5% ต่อปี
- ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ให้ดอกเบี้ย 3% ถึง 7% ต่อปี ตามแต่ Rating ความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่แท้จริงหลังหักเงินเฟ้อที่ 1% ถึง 5% ต่อปี
ถ้าหุ้นกู้ต้องดู Rating ควรลงทุนระดับ A ขึ้นไป และมีอายุการถือครอง
- หรือแม้แต่ กองทุนรวมวายุภักษ์ ที่ขายกันอยู่ตอนนี้ ซึ่งลงทุนแมนถือว่าเป็น Structured Note ที่คล้ายเอาเงินไปให้กองทุนรวมวายุภักษ์ยืม และจะจ่ายดอกเบี้ยให้ 3% ถึง 9% ต่อปี จึงให้ผลตอบแทนที่แท้จริงหลังหักเงินเฟ้ออาจอยู่ที่ 1% ถึง 7% ต่อปี โดยกองทุนรวมวายุภักษ์ มีอายุในการฝาก 10 ปี ซึ่งสามารถขายคืนในตลาดรอง ที่ราคารับซื้ออาจไม่เท่าเดิม
16.3 การลงทุนที่ เอาเงินไปแลกกับทรัพย์สิน
- อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโดฯ จะได้ผลตอบแทนเยอะหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในอนาคตของอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนั้น ซึ่งบางชิ้นก็อาจมีมูลค่าที่ลดลง บางชิ้นก็อาจมีมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต
รวมถึงหากนำอสังหาฯ ไปปล่อยเช่า อัตราผลตอบแทนจากค่าเช่า มีช่วงค่อนข้างกว้างมาก เช่น 2% ถึง 7% ต่อปี หรืออาจปล่อยเช่าไม่ได้เลยก็มี
- หุ้น (ตราสารทุน) ของบริษัทต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่นเดียวกันธุรกิจบนโลกนี้มีทั้งรุ่งเรือง และล่มสลาย การที่เราเข้าไปถือหุ้นก็เปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น ควรดูดี ๆ ว่าสิ่งที่เราเข้าไปถือหุ้น เป็นกิจการที่จะมีกำไรเพิ่มขึ้นในอนาคตหรือไม่
ซึ่งเราจะได้รับผลตอบแทนจากหุ้น ในรูปของส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล
- กองทุนรวม จะเป็นการที่เราเอาเงินไปให้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพดูแล ซึ่งก็แล้วแต่นโยบายของกองทุนรวมนั้น ว่าจะนำเงินของเราไปแลกกับทรัพย์สินอะไร มีทั้งตราสารหนี้ และหุ้น (ตราสารทุน) เสี่ยงน้อยที่สุดก็คือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
17. ประเด็นทั้งหมดมันอยู่ที่จะพูดต่อจากนี้
ถือเงินสด มูลค่าด้อยลงแน่นอน 2% ต่อปี เพราะเงินเฟ้อ
ให้เงินคนอื่นยืม ได้ดอกเบี้ยชัดเจน
ถ้าเป็นเงินฝากระยะสั้น มูลค่าก็จะด้อยลงอยู่ดี
แต่ถ้าเป็นเงินฝากระยะยาว ก็จะด้อยค่าไม่มาก
ถ้าเอาเงินไปแลกกับทรัพย์สินลงทุน
จะมีความเสี่ยงเฉพาะตัว
เลือกได้ดี มูลค่าก็เพิ่ม
เลือกได้ไม่ดี มูลค่าอาจด้อยมากกว่าการถือเงินสดเสียอีก..
18. แล้วเราควรเอาเงินสดไปวางไว้ตรงไหนดี ?
ถ้าคำถามคือ การบริหารจัดการเงินสดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
คำตอบที่ควรจะเป็น ก็คือ
ควรถือเงินสดให้น้อย เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันจะด้อยค่าโดยไม่ได้ดอกเบี้ย
ที่ข่าวบอกว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถือเงินสดเยอะมากสุดเป็นประวัติการณ์ แต่จริง ๆ แล้ววอร์เรน บัฟเฟตต์ เอาเงินไปวางไว้ที่ตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ได้รับดอกเบี้ย
เราควรมีเงินฝากที่ได้รับดอกเบี้ย โดยสามารถแลกกลับเป็นเงินสดได้ทันที อย่างน้อยในระดับที่เราพอใช้จ่ายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ถ้าเราจะใช้เดือนละ 20,000 บาท การมีเงินฝากอย่างน้อยสัก 200,000 บาท อาจจะไม่ได้ผิดอะไร
19. แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ เงินก้อนใหญ่ในชีวิต ที่เป็นส่วนเกินจากเงินฝาก เราควรนำไปกระจายแลกกับทรัพย์สินที่เราคิดว่ามันไม่ด้อยค่าลง และน่าจะมีความน่าเชื่อถือสูงที่จะเพิ่มมูลค่าในอนาคต
20. การกระจายการลงทุนไปยังทรัพย์สิน ถ้าเราไม่มีความรู้ในทรัพย์สินนั้น ก็อาจใช้มืออาชีพมาช่วย เช่นกองทุนรวม
ถ้าเรายังไม่อยากเสี่ยงมาก ก็อาจเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น ตอนนี้ให้ผลตอบแทนประมาณ 2% ต่อปี
ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนเพิ่ม เราก็ควรกล้าเสี่ยงเพิ่มขึ้น และต้องศึกษาหาความรู้มากขึ้น เพื่อบริหารความเสี่ยงในการลงทุน
21. บางทีเราก็ไม่รู้แน่ชัดหรอกว่าอันไหนจะดี หรือไม่ดี แต่ในระยะยาวแล้ว การกระจายไปในทรัพย์สินที่ดี ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนมากกว่าการให้คนอื่นยืมเงิน
22. สรุปแล้ว ถ้าถามว่า เงินสด คือทรัพย์สิน หรือหนี้สิน คำตอบแบบตรงไปตรงมา ตามหลักบัญชี การลงทุน การเงิน หลักอะไรก็แล้วแต่ในโลกนี้ เงินสด = ทรัพย์สิน เพราะถ้าเราครอบครองสิ่งนั้นโดยไม่มีภาระ สิ่งนั้นถือเป็นทรัพย์สินของเรา
ซึ่งเราเอาทรัพย์สินที่เป็นเงินสดนี้ ไปแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นได้อีกด้วย
23. แต่ถ้าเราตีความว่า หนี้ = ภาระ มันก็อาจแปลทางอ้อมได้ว่า เงินสดที่เป็นทรัพย์สินของเรา มีภาระการด้อยค่า ที่รอชดใช้อยู่ไปเรื่อย ๆ
24. ผู้ใช้คำว่า Cash = Debt อยู่เป็นประจำคือ Robert Kiyosaki ผู้เขียนหนังสือชื่อดังอย่าง Rich Dad Poor Dad ซึ่งเขาจงใจบิดความหมายให้เป็นไปในทางอ้อม เพื่อกระตุกให้ผู้อ่านได้รับรู้คือ การที่ถือเงินสดโดยไม่มีการลงทุน จะทำให้ความมั่งคั่งลดลง และเป็นหนี้ให้กับการด้อยค่าของเงิน นั่นเอง..
.
ถ้าอยากรู้เรื่องการเงินให้มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมไม่ให้เงินด้อยค่าลง
ลงทุนแมน กำลังจะจัด “The Money Forum” งานรวมความรู้ การเงิน การลงทุน สำหรับทุกคน 30 พ.ย. นี้
อัดแน่นไปด้วย ความรู้เรื่องการเงิน เข้าใจได้ง่าย คนที่ไม่มีพื้นฐานเข้าใจทันที
The Money Forum จะมีทั้งการบรรยายบนเวที และ Workshop จากนักธุรกิจ นักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญ และ Speakers มากประสบการณ์ มาเล่าให้ฟัง จองบัตรได้แล้ว พร้อมกับบทความนี้
ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายบนเวที เช่น
- The Investment Superpower
พลังมหัศจรรย์การลงทุน - ลงทุนแมน
- First Payslip in hand, First Retirement in mind
เริ่มมีรายได้ เริ่มวางแผนเกษียณ - คุณเฟิร์น ศิรัถยา Wealth Me Up
- Work vs Invest Mindset
ชำแหละกรอบความคิด ทำงาน vs ลงทุน - คุณดิว วีรวัฒน์ และคุณซีเค Fastwork
- The Intelligent Investor
นักลงทุนผู้ชาญฉลาด - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และคุณกวี ชูกิจเกษม
นอกจากนั้น The Money Forum ก็ยังมีห้อง Workshop ที่สอนเรื่องการเงิน และการลงทุน แบบจับมือทำ เช่น
- คลาสอ่านงบการเงินม้วนเดียวจบ กลับบ้านใช้ได้ทันที
- วางแผนมีเงิน 10 ล้าน ในกระดาษแผ่นเดียว
พิเศษ ทุกที่นั่งจะสามารถรับชม Rerun Online ย้อนหลัง ทั้ง Main Stage และ Workshop
ใครที่อยากรู้เรื่องเงิน ๆ มากขึ้น
เพื่อให้เราสามารถจัดการเงินในกระเป๋าของตัวเองได้ดีกว่าเดิม
และช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น..
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon