กรุงศรีเดินหน้าสนับสนุนทุกธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน นำโซลูชันการเงินหลากหลายตอบโจทย์ธุรกิจ พร้อมส่งทีม EFD ช่วยลูกค้าเตรียมพร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนอย่างแข็งแกร่ง
ข่าวประชาสัมพันธ์..
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ประกาศความมุ่งมั่นในการสนับสนุนทุกภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ด้วยแนวคิดและโซลูชันการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ที่หลากหลายและเหมาะกับธุรกิจทุกขนาด พร้อมจัดตั้งหน่วยงาน ESG Finance Department (EFD) สนับสนุนลูกค้าธุรกิจให้เข้าใจถึง Sustainable Finance และช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ประกาศความมุ่งมั่นในการสนับสนุนทุกภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ด้วยแนวคิดและโซลูชันการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance) ที่หลากหลายและเหมาะกับธุรกิจทุกขนาด พร้อมจัดตั้งหน่วยงาน ESG Finance Department (EFD) สนับสนุนลูกค้าธุรกิจให้เข้าใจถึง Sustainable Finance และช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
นายประกอบ เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และวาณิชธนกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า กรุงศรีให้ความสำคัญในเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าที่คาด และในฐานะสถาบันการเงิน เรามีหน้าที่เป็น Enabler หรือ ตัวกลางในการช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับลูกค้า เพื่อให้สามารถเปลี่ยนผ่านและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน กรุงศรีเชื่อว่า เรื่องของ Sustainable Finance เป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกภาคส่วน ต้องก้าวไปด้วยกัน ในฐานะที่กรุงศรีเป็นส่วนหนึ่งของ MUFG หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง Sustainable Finance ด้วยมาตรฐานระดับโลก เราจึงทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาและต่อยอดเป็นโซลูชั่นทางการเงิน รวมไปถึงทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ สนับสนุน และส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืนได้
นางสาวดวงกมล ลิมป์พวงทิพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรุงศรีเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เราพร้อมทำหน้าที่ในการสนับสนุนลูกค้า SME ให้สามารถเปลี่ยนผ่าน และเติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเส้นทางของความยั่งยืน กรุงศรีสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME ได้นำแนวคิด ESG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจโดยตลอด ทุกโครงการที่เราทำ ทั้งในแง่ของการให้ความรู้ การมอบรางวัลต่างๆ อาทิ โครงการ Krungsri Academy และการมอบรางวัล Krungsri ESG Award ล้วนเป็นแนวทางในการส่งเสริมในเรื่อง ESG ทั้งด้าน Awareness และ Readiness ให้กับผู้ประกอบการ SME ในเรื่อง Sustainable Finance และพร้อมช่วยเหลือให้ทุกๆธุรกิจมีความพร้อมและเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนไปด้วยกัน
จัดตั้งหน่วยงาน EFD เพื่อสนับสนุนลูกค้าธุรกิจให้เข้าถึงโซลูชั่นการเงินเพื่อความยั่งยืน
ในปีที่ผ่านมา กรุงศรีได้จัดตั้งหน่วยงาน ESG Finance Department (EFD) เพื่อสนับสนุนลูกค้าธุรกิจให้เข้าใจถึง Sustainable Finance และช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน หน่วยงานนี้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ MUFG และทำหน้าที่เป็น Center of Excellence รวบรวมข้อมูลในเรื่อง Sustainable Finance ทั้งในระดับ Global และ Local พร้อมสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ของธนาคารในการบูรณาการหลักการด้าน ESG เข้าไปในการดำเนินงาน
ยิ่งไปกว่านั้น กรุงศรียังได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืน หรือ โซลูชั่นSustainable Finance ที่มีความหลากหลายนำเสนอแก่ธุรกิจทุกขนาด ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับจาก MUFG และความเข้าใจตลาดและความต้องการลูกค้าในประเทศไทย ทำให้กรุงศรีก้าวขึ้นสู่ความผู้นำในเรื่อง Sustainable Financing ในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์สำคัญที่กรุงศรีได้นำเสนอได้แก่
• สินเชื่อส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan หรือ SLL)
• ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond หรือ SLB)
• ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)
• สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Loan)
• ตราสารหนี้เพื่อสังคม (Social Bond)
• สินเชื่อเพื่อสังคม (Social Loan)
• ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)
• สินเชื่อเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Loan)
• ตราสารหนี้ที่ระดมทุนเพื่อนำมาใช้กับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางทะเล (Green & Blue Bond)
• เงินฝากเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Deposit)
• ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond หรือ SLB)
• ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)
• สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Loan)
• ตราสารหนี้เพื่อสังคม (Social Bond)
• สินเชื่อเพื่อสังคม (Social Loan)
• ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)
• สินเชื่อเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Loan)
• ตราสารหนี้ที่ระดมทุนเพื่อนำมาใช้กับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางทะเล (Green & Blue Bond)
• เงินฝากเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Deposit)
สำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME กรุงศรีเน้นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME ตระหนักถึงความสำคัญและนำแนวคิด ESG ไปปรับใช้และต่อยอดความยั่งยืนให้กับธุรกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืน อาทิ สินเชื่อ Transition Loan สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป และสินเชื่อเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีสตรีเป็นเจ้าของกิจการ เป็นต้น
กรุงศรีพร้อมยืนหนึ่งผู้นำธนาคารเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาค
ในปีที่ผ่านมา กรุงศรีได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและมีส่วนช่วยให้กลุ่มลูกค้าธุรกิจประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนมากมาย อาทิ การเป็นผู้จัดการเงินกู้ร่วมและผู้ประสานงานด้านดัชนีความยั่งยืนให้กับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป การให้คำปรึกษาทางด้านสินเชื่อสีเขียวให้กับบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) และการจัดจำหน่ายพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนให้กับหลายองค์กรสำคัญ
ยิ่งไปกว่านั้น กรุงศรียังได้รับรางวัลต่างๆ มากมายซึ่งเป็นเครื่องยืนยันและพิสูจน์ว่า กรุงศรีเป็นสถาบันการเงินที่เชี่ยวชาญด้าน Sustainable Finance อย่างแท้จริง อาทิ "Best Bank for Sustainable Finance" จาก The Asset ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และรางวัล "Best Sustainable Bank" จาก FinanceAsia รวมทั้งรางวัลยอดเยี่ยมด้านบริการที่ปรึกษาทางธุรกิจอีกมากมาย
คุณประกอบ เพียรเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรุงศรีสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนจำนวนกว่า 76,000 ล้านบาท (ตัวเลข ณ เดือนมิถุนายน 2024 จากปีฐาน 2021) และยังเป็นธนาคารแห่งแรกในประเทศไทยที่ออก Green Bond ควบคู่ Blue Bond ด้วยมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (*ประมาณ 14,236 ล้านบาท) นอกจากนี้ กรุงศรียังเป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายตราสารหนี้ ESG (ESG Bond) ด้วยส่วนแบ่งตลาด สูงถึง 20% โดยเรามีเป้าหมายในการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนเพิ่มขึ้นอีก 100,000 ล้านบาทภายในปี 2030 (จากปี 2021) ด้วยความสำเร็จและเป้าหมายที่ชัดเจนเหล่านี้ แสดงถึงศักยภาพที่โดดเด่นของกรุงศรีที่พร้อมเดินหน้าไปสู่ “ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเพื่อความยั่งยืน” อย่างเต็มภาคภูมิ