จีน ประเทศแห่งกาแฟ ทั้งที่คนจีน เคยนิยมดื่มแต่ชา
จีน ประเทศแห่งกาแฟ ทั้งที่คนจีน เคยนิยมดื่มแต่ชา /โดย ลงทุนแมน
ภาพจำที่เคยเห็นคนจีน นิยมดื่มชาร้อน ๆ สมัยก่อน กำลังจะเปลี่ยนไป
ภาพจำที่เคยเห็นคนจีน นิยมดื่มชาร้อน ๆ สมัยก่อน กำลังจะเปลี่ยนไป
เพราะปัจจุบัน คนจีนหันมานิยมดื่มกาแฟ จนตอนนี้ จีนกลายเป็นประเทศ ที่มีร้านกาแฟมากสุดในโลก แซงหน้าสหรัฐฯ ไปแล้ว
กาแฟเข้ามาตีตลาดคนจีน ที่เคยดื่มกันแต่ชา ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ชากับคนจีน เป็นของคู่กันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ซึ่งการดื่มชา ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวจีนมายาวนาน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ชากับคนจีน เป็นของคู่กันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ซึ่งการดื่มชา ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวจีนมายาวนาน
- เป็นเครื่องดื่มต้อนรับแขกที่มาเยือน
- ดื่มตอนพิธีการสำคัญ เช่น งานแต่ง หรือเป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้า และบรรพบุรุษ
- ดื่มตอนเวลาว่าง หรือตอนทำงาน
- ดื่มตอนพิธีการสำคัญ เช่น งานแต่ง หรือเป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้า และบรรพบุรุษ
- ดื่มตอนเวลาว่าง หรือตอนทำงาน
เรียกได้ว่า ตั้งแต่เช้าจนค่ำ คนจีนดื่มชาเกือบตลอดทุกวันและเวลา
จนกระทั่งการมาของชาวยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 คนจีนก็เริ่มรู้จักกาแฟเป็นครั้งแรก โดยเป็นชาวโปรตุเกส ที่เริ่มเอากาแฟมาปลูกที่มณฑลยูนนาน เพราะมีสภาพอากาศและแหล่งน้ำที่เหมาะกับการปลูกกาแฟ
แต่ก็ต้องบอกว่า ช่วงแรกคนจีนก็แค่รู้จักกาแฟ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม จนดื่มกันอย่างแพร่หลาย
เพราะชาแทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจีน อย่างเหนียวแน่น มาตั้งแต่อดีต
เพราะชาแทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจีน อย่างเหนียวแน่น มาตั้งแต่อดีต
กระทั่งปี ค.ศ. 1988 ประวัติศาสตร์กาแฟในจีน ก็เริ่มเปลี่ยนไป..
ในปีนั้น รัฐบาลจีนร่วมมือกับธนาคารโลกและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เพื่อปลูกกาแฟที่มณฑลยูนนานอย่างจริงจังมากขึ้น
ซึ่งเมื่อผลผลิตออกมาจำนวนมาก บริษัทระดับโลก อย่าง Nestlé ก็ได้เข้ามารับซื้อกาแฟ
จนทำให้ยูนนาน กลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงของจีน
จนทำให้ยูนนาน กลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงของจีน
แม้จะปลูกกาแฟมากขึ้น แต่กาแฟก็ยังไม่เป็นที่นิยมของคนจีน ที่ชอบดื่มชาอยู่ดี
แล้วคนจีน เปลี่ยนมาดื่มกาแฟมากขึ้นตอนไหน ?
เรื่องราวแรกเลย คือ
“การเข้ามาตีตลาดของ สตาร์บัคส์”
“การเข้ามาตีตลาดของ สตาร์บัคส์”
สตาร์บัคส์ เข้ามาตีตลาดจีนครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999
ทั้งที่ตอนนั้น คนจีนยังนิยมดื่มชากันอยู่เลย
ทั้งที่ตอนนั้น คนจีนยังนิยมดื่มชากันอยู่เลย
แต่สตาร์บัคส์ก็ตั้งใจเอาชนะใจคนจีน แม้ต้องขาดทุนนานกว่า 9 ปีเต็ม
จนสุดท้าย ก็เข้าใจและเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะใจคนจีน ให้หันมาดื่มกาแฟ
จนสุดท้าย ก็เข้าใจและเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะใจคนจีน ให้หันมาดื่มกาแฟ
ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มเมนูชาเข้ามาในร้าน เพื่อให้คนจีนเปิดใจเข้าร้านมากขึ้น
การออกแบบร้านใหญ่กว่าประเทศอื่น ให้คล้ายกับโรงน้ำชา เพื่อเป็นสถานที่พบปะของคนจีน
การออกแบบร้านใหญ่กว่าประเทศอื่น ให้คล้ายกับโรงน้ำชา เพื่อเป็นสถานที่พบปะของคนจีน
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการใช้วัตถุดิบอย่างกาแฟจากในประเทศจีน ซึ่งทำให้สตาร์บัคส์ มีเรื่องราวเชื่อมโยงกับชาวไร่ท้องถิ่นมากขึ้น
ในที่สุด สตาร์บัคส์ที่เคยถูกมองว่าแพง ก็ค่อย ๆ เข้าไปอยู่ในใจของคนจีน
จากร้านแห่งเดียวในปี ค.ศ. 1999 ปัจจุบันสตาร์บัคส์มีสาขาในจีนกว่า 6,500 สาขา และกลายเป็นหนึ่งในประเทศหลัก ที่สร้างรายได้ให้สตาร์บัคส์ถึงทุกวันนี้
ซึ่งไม่ใช่แค่สตาร์บัคส์ที่ได้ประโยชน์เท่านั้น แต่คนจีนก็เริ่มเปิดใจกับวัฒนธรรมกาแฟ และเริ่มหันมาดื่มแทนชา ที่เป็นวัฒนธรรมของคนจีนมานานกว่า 4,000 ปีอีกด้วย
เรียกได้ว่า สตาร์บัคส์ทำให้คนจีน เปิดใจกับการดื่มกาแฟ ก็คงไม่ผิดนัก
เรื่องราวต่อมา คือ
“คน Gen Z นิยมดื่มกาแฟมากขึ้น”
“คน Gen Z นิยมดื่มกาแฟมากขึ้น”
ปัจจุบันคนจีนมีประชากร Gen Z ที่เกิดหลังปี
ค.ศ. 1996 เป็นต้นมา กำลังนิยมดื่มกาแฟ เพราะวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นความเร่งรีบมากขึ้น
บวกกับความเครียดจากการทำงาน
ทำให้กาแฟ กลายเป็นเครื่องดื่มที่ตอบโจทย์เป็นอย่างดี
ค.ศ. 1996 เป็นต้นมา กำลังนิยมดื่มกาแฟ เพราะวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นความเร่งรีบมากขึ้น
บวกกับความเครียดจากการทำงาน
ทำให้กาแฟ กลายเป็นเครื่องดื่มที่ตอบโจทย์เป็นอย่างดี
ซึ่งตอนนี้คนจีน Gen Z มีประมาณ 17% ของประเทศ
ตัวเลขอาจจะดูไม่เยอะก็จริง แต่อย่าลืมว่าคนจีนมีทั้งหมด 1,400 ล้านคน
ตัวเลขอาจจะดูไม่เยอะก็จริง แต่อย่าลืมว่าคนจีนมีทั้งหมด 1,400 ล้านคน
เท่ากับว่า ฐานลูกค้าที่ดื่มกาแฟ ที่มาจากคน Gen Z ในจีน มีมากกว่า 240 ล้านคนเลยทีเดียว
ตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับคนอเมริกัน ที่ดื่มกาแฟทุกวัน คิดเป็นจำนวน 249 ล้านคน
แต่ก็ต้องบอกว่า หากวัดในแง่ปริมาณการบริโภค คนอเมริกันยังดื่มกาแฟมากกว่า
เพราะปัจจุบันคนอเมริกัน 1 คน ดื่มกาแฟเฉลี่ย 4.7 กิโลกรัมต่อปี
ส่วนคนจีน 1 คน ดื่มกาแฟเฉลี่ย 0.1 กิโลกรัมต่อปีเท่านั้น
เพราะปัจจุบันคนอเมริกัน 1 คน ดื่มกาแฟเฉลี่ย 4.7 กิโลกรัมต่อปี
ส่วนคนจีน 1 คน ดื่มกาแฟเฉลี่ย 0.1 กิโลกรัมต่อปีเท่านั้น
และอีกเรื่องราวสำคัญ ที่เป็นจุดเปลี่ยนของตลาดกาแฟในจีน คือ “การเติบโตของกาแฟแบรนด์ท้องถิ่น”
- Luckin Coffee ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2017
ปัจจุบันมีกว่า 20,000 สาขา
- Cotti Coffee ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2022
ปัจจุบันมีกว่า 7,000 สาขา
ปัจจุบันมีกว่า 20,000 สาขา
- Cotti Coffee ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2022
ปัจจุบันมีกว่า 7,000 สาขา
สองแบรนด์นี้คือตัวอย่างกาแฟท้องถิ่นจีน ที่กำลังตีตลาดจีนและตลาดทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
โดยชูจุดเด่นเรื่องราคาถูก และมีเมนูให้เลือกที่หลากหลายกว่าร้านกาแฟอื่น ซึ่งแลกมาด้วยการทำร้านให้มีขนาดไม่ใหญ่มาก เพื่อลดต้นทุนของร้านและค่าเช่าลง
บวกกับโมเดลแฟรนไชส์ ที่สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิด Economies of scale ต้นทุนต่อหน่วยของวัตถุดิบลดลงมากขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งการมีเมนูทางเลือกที่หลากหลาย เช่น กาแฟมะพร้าวของ Luckin Coffee, กาแฟกะทิของ Cotti Coffee ทำให้คนจีนเปิดใจกับกาแฟมากขึ้นไปอีก
นอกจากแบรนด์ดังที่ขยายสาขาไปทั่วประเทศแล้ว ตลาดกาแฟ Specialty และสไตล์การดื่มกาแฟแบบจริงจัง ที่เน้นความพิถีพิถันและความพรีเมียมของกาแฟ ก็ได้รับความนิยมอย่างมากในจีนเช่นกัน
ทั้งหมดนี้ ทำให้ประเทศจีน กำลังมีร้านกาแฟในประเทศกว่า 49,000 ร้าน มากกว่าสหรัฐฯ ที่มีร้านกาแฟในประเทศเพียง 40,000 ร้านเท่านั้น
ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีร้านกาแฟมากสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก
และก็ไม่แน่ว่าในอนาคต แบรนด์จีนอาจกลายเป็น เจ้าแห่งร้านกาแฟโลก ขึ้นมาเทียบเคียงสตาร์บัคส์ได้
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริง ก็คงแปลกอยู่ไม่น้อยว่า
ครั้งหนึ่งประเทศจีน ที่เป็นต้นกำเนิดของชาในประวัติศาสตร์โลก
จะกลายมาเป็นเจ้าแห่งกาแฟได้ โดยใช้เวลาไม่ถึงชั่วอายุคน..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.worldcoffeeportal.com/Latest/InsightAnalysis/2024/March/China-1-4-billion-reasons-to-sell-coffee
-https://www.horshamcoffeeroaster.co.uk/pages/chinese-coffee
-https://www.china-briefing.com/news/chinas-coffee-market-production-consumption-and-investor-prospects/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Coffee_production_in_China
-https://www.dekuple.com/china/2024/01/09/brewing-up-success-the-rise-of-coffee-in-china/
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_tea
-https://intelligence.coffee/2023/01/gen-z-changing-chinas-tea-drinking/
จะกลายมาเป็นเจ้าแห่งกาแฟได้ โดยใช้เวลาไม่ถึงชั่วอายุคน..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.worldcoffeeportal.com/Latest/InsightAnalysis/2024/March/China-1-4-billion-reasons-to-sell-coffee
-https://www.horshamcoffeeroaster.co.uk/pages/chinese-coffee
-https://www.china-briefing.com/news/chinas-coffee-market-production-consumption-and-investor-prospects/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Coffee_production_in_China
-https://www.dekuple.com/china/2024/01/09/brewing-up-success-the-rise-of-coffee-in-china/
-https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_tea
-https://intelligence.coffee/2023/01/gen-z-changing-chinas-tea-drinking/