มหากาพย์สุเอซ คลองแสนล้าน ที่แพงสุดในโลก

มหากาพย์สุเอซ คลองแสนล้าน ที่แพงสุดในโลก

มหากาพย์สุเอซ คลองแสนล้าน ที่แพงสุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
193 กิโลเมตร คือระยะทางจากกรุงเทพฯ ไปหัวหิน
แต่ระยะทางเทียบเท่านี้ กลับสร้างรายได้กว่า 250,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ให้กับรัฐบาลอียิปต์
เรากำลังพูดถึง “คลองสุเอซ” ที่กว้างเพียง 300 เมตร น้อยกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาในบางช่วงเสียอีก
เรียกได้ว่า เป็นคลอง ที่มีราคาแพงสุดในโลกเลยก็ว่าได้
สุเอซ กลายเป็นคลองที่แพงสุดในโลกได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
“คนขุดไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ขุด” เป็นคำนิยามให้กับคลองสุเอซได้เป็นอย่างดี
คลองนี้เกิดขึ้นจาก Suez Canal Company บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ที่รับจ้างขุดคลองและบริหารจัดการให้กับรัฐบาลอียิปต์ ในช่วงปี ค.ศ. 1859
จนในที่สุดก็ขุดและก่อสร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1869 ทำให้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เชื่อมต่อกับทะเลแดง
จากเมื่อก่อน เรือสินค้าต้องเดินทางอ้อมไปแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา ก่อนเดินทางต่อมายังเอเชีย พอมีคลองสุเอซ ที่ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางไปถึง 8-10 วัน ทำให้เรือสินค้าเลือกเดินทางผ่านเส้นทางนี้ และทำให้ Suez Canal Company เก็บค่าผ่านทางได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ผลประโยชน์ที่มหาศาล แถมยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกา เอเชีย และยุโรป ทำให้อังกฤษเริ่มสนใจคลองสุเอซ
อังกฤษค่อย ๆ ไล่ซื้อหุ้น Suez Canal Company จนกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ด้วยสัดส่วน 44%
แม้จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แล้ว แต่อังกฤษก็ยังอยากเป็นเจ้าของคลองนี้อย่างสมบูรณ์อยู่ดี..
จนในที่สุดโอกาสก็มาถึง เมื่ออียิปต์เกิดความวุ่นวายในประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 1882 อังกฤษเลยตัดสินใจเข้าแทรกแซง และยึดครองอียิปต์ รวมถึงคลองสุเอซ มาเป็นของตัวเองทันที..

ซึ่งในช่วงแรก ฝรั่งเศส ก็มีบทบาทในการสนับสนุนให้อังกฤษเข้าแทรกแซงอียิปต์
แต่สุดท้าย เสือสองตัวก็อยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ อังกฤษและฝรั่งเศส กลับมาทะเลาะกันเรื่องผลประโยชน์แทน จนต้องมาทำสัญญาให้คลองสุเอซใช้ได้ทุกฝ่าย โดยกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร และเปิดให้เรือทุกลำผ่านได้อย่างอิสระในยามสงครามและสันติภาพ
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่อียิปต์จัดการกับความวุ่นวายในประเทศได้ และได้รับเอกราชแล้ว ก็ประกาศยึดคลองสุเอซ กลับมาเป็นของรัฐแทน
โดยให้เหตุผลว่า อังกฤษและฝรั่งเศส ไม่ให้เงินทุนสร้างเขื่อนอัสวานที่อียิปต์ขอไป เลยอยากได้เงินจากค่าผ่านทางของคลองสุเอซแทน
ซึ่งแต่ก่อน รายได้ตรงนี้เข้า Suez Canal Company บริษัทรับขุดคลองตั้งแต่แรก เพราะรัฐบาลอียิปต์ได้ให้สัมปทานตรงนี้ไปแล้ว
หลังจากได้คลองสุเอซกลับมาครอบครองแล้ว คลองสุเอซ ก็กลายเป็นเครื่องจักรผลิตเงินสดให้กับรัฐบาลอียิปต์ มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ภายใต้หน่วยงาน Suez Canal Authority หรือ SCA
ในช่วงที่ผ่านมา SCA สามารถทำรายได้หลักแสนล้านบาท จากค่าผ่านทางและการบริหารคลองสุเอซ
- ปีงบประมาณ 2022/2023 รายได้ 329,000 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ 2023/2024 รายได้ 252,000 ล้านบาท
ซึ่งสาเหตุที่รายได้ลดลง ก็มาจากปัญหากบฏฮูตีบริเวณทะเลแดง ทำให้เรือสินค้าส่วนใหญ่ เลี่ยงไปใช้เส้นทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกาแทน
ส่วน Suez Canal Company ที่เคยขุดคลองสุเอซให้ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Suez SA ก่อนหันไปทำธุรกิจรับจัดการน้ำและขยะ จนมีรายได้หลักแสนล้านบาทเช่นกัน
แล้วคลองสุเอซ สำคัญกับเศรษฐกิจและการค้าโลกอย่างไร ?
บนโลกนี้ มีสองคลองซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญของโลก ที่เรือสินค้าส่วนใหญ่ จำเป็นต้องใช้กัน นั่นคือ คลองสุเอซ และคลองปานามา
ปีที่ผ่านมา คลองสุเอซ มีรายได้ 250,000 ล้านบาท มากกว่าคลองปานามา ที่มีรายได้ 177,250 ล้านบาท
นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ ที่ขนส่งทางทะเลทั่วโลก ต้องผ่านคลองสุเอซแทบทั้งสิ้น
โดยปัจจุบัน สินค้าทั่วโลกจะถูกส่งผ่านทางทะเลถึง 80% เท่ากับว่า คลองสุเอซสำคัญต่อการนำเข้าและส่งออกสินค้าของทุกประเทศบนโลกนี้
ซึ่งถ้าเมื่อไรที่คลองตรงนี้มีปัญหา ผลกระทบและความเสียหาย ก็คงตามมาอย่างมหาศาล..
เช่น ในปี ค.ศ. 2021 เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ Evergreen ขวางคลองสุเอซแค่ 1 สัปดาห์
มีการประเมินว่า ได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งค่าเสียโอกาสของการขนส่งสินค้า ค่าเสียหายทางการค้า ค่าใช้จ่ายในการกู้เรือ และผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กว่า 3.5 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว..
ก็ไม่น่าเชื่อว่า คลองที่มีระยะทางแค่กรุงเทพฯ ไปหัวหิน กลับเป็นคลองที่แพงและสำคัญสุดในโลก
และคนที่ได้ประโยชน์ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือรัฐบาลอียิปต์ ที่ทำตัวเหมือนพ่อค้าเก็บส่วยจากเรือสินค้าทั่วโลก ที่อยากผ่านคลองสุเอซ
แม้ตัวเอง จะไม่ได้เป็นคนลงทุนขุดคลองนี้เอง ตั้งแต่แรกก็ตาม..
—-----------------------------------------
ต่อยอดความมั่งคั่ง พร้อมการเดินทางเหนือระดับ
รับฟรี ของขวัญสุดพิเศษมูลค่าสูงสุด 29,900 บาท เพียงมียอดลงทุนในกองทุนรวมที่ร่วมรายการ และ/หรือ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป และ/หรือ Structured Fund ตามยอดรวมที่ธนาคารกำหนด
รับเพิ่ม ตั๋วเครื่องบินชั้น Business Class ของการบินไทย ไป-กลับ กรุงเทพ-ฮ่องกง สูงสุด 2 ที่นั่ง มูลค่าสูงสุดกว่า 80,000 บาท เมื่อมียอดลงทุนในกองทุนรวมที่ร่วมรายการ และ/หรือ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป และ/หรือ Structured Fund ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และ ฝากเงินเพิ่มกับบัญชี ทีทีบี เงินฝากประจำพลัส 12 เดือน ตั้งแต่ 80 ล้านบาทขึ้นไป รับของขวัญและตั๋วเครื่องบินตามยอดรวมที่ธนาคารกำหนด ภายในวันที่ 17 มิ.ย.– 31 ส.ค. 67
?? ดูรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม คลิก https://www.ttbbank.com/link/fb/mftdbooster
✨พิเศษ รับสิทธิ์สมัครบัตรเครดิต ttb reserve เมื่อมียอดรวมผลิตภัณฑ์เงินฝาก เงินลงทุน ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป พร้อมรับฟรี คะแนนสะสมประจำปีสูงสุด 180,000 คะแนน เมื่อมียอดรวมทุกผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด
ใช้เท่าที่จำเป็น และชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7% - 16% ต่อปี
ลงทุนง่าย ๆ ผ่านแอป ttb touch คลิก https://www.ttbbank.com//ttb/touch/mf
? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร.1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
—-----------------------------------------
References -https://en.wikipedia.org/wiki/Suez_Canal -https://en.wikipedia.org/wiki/Suez_Canal_Authority -https://www.suezcanal.gov.eg/English/About/Pages/WhySuezCanal.aspx -https://unctad.org/publication/navigating-troubled-waters-impact-global-trade-disruption-shipping-routes-red-sea-black -https://www.ditp.go.th/contents_attach/731460/731460.pdf -https://www.reuters.com/business/autos-transportation/suez-canal-revenue-drops-some-shippers-shun-red-sea-2024-07-18/
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon