“อว.FAIR” จุดประกายไอเดีย เพื่อเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทย

“อว.FAIR” จุดประกายไอเดีย เพื่อเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทย

“อว.FAIR” จุดประกายไอเดีย เพื่อเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทย
อว. X ลงทุนแมน
ช่วงที่ผ่านมาได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงถดถอย
หลายคนอาจตั้งคำถามด้วยว่า มูลค่าเศรษฐกิจที่หายไป จะเรียกกลับคืนมาด้วยวิธีไหน
หนึ่งในปัญหาหลัก ๆ ที่ฝังรากลึกแอบซ่อนอยู่นั้นคือ ปัญหาด้าน “โครงสร้างของประเทศ”
เมื่อวันนี้.. ประเทศไทย อาจไม่ได้ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป
เมื่อวันนี้.. เราอาจไม่ได้ใช้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมากพอ ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า
เมื่อวันนี้.. ระบบการศึกษา ยังคงอยู่ในกรอบเดิม ๆ
ถ้าเปรียบเป็นบริษัทสักแห่ง
ดูเหมือนว่า ประเทศไทย คงถึงเวลา Disruption เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ทั้งด้านการผลิตสารพัดสินค้า ไปจนถึงคุณภาพประชากร
หนึ่งในองค์กรที่มองเห็นปัญหาเรื่องนี้ก็คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อว.
ล่าสุดได้จัดนิทรรศการขนาดใหญ่ชื่อว่า อว.FAIR : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “อว.FAIR”
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 22-28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
นิทรรศการ อว.FAIR จะเป็นจิกซอว์ชิ้นเล็ก ๆ ที่จุดประกายไอเดีย
และ Passion ให้ผู้ประกอบการ นักศึกษา และคนทั่วไป เปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
อว.FAIR ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่เลยทีเดียว ด้วยพื้นที่กว่า 23,000 ตารางเมตร ในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่แบ่งเป็น 6 โซนหลัก พร้อมกว่า 170 บูธหน่วยงานวิจัย
ลองมาดูกันว่า งานใหญ่ครั้งนี้ มีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง..
1. Inspired by SCIENCE วิทย์บันดาลใจ
ถ้าถามว่า ระบบการศึกษา ต้องปรับแก้ตรงไหนบ้าง
คำตอบก็คือ ตั้งแต่เริ่มต้นของการเรียนรู้จนถึงคำว่า ไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้บูธนี้ใช้เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
เช่น การสอนเด็กเขียน Code โปรแกรมต่าง ๆ ผ่านเกมสนุก ๆ จนถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ผ่านเทคโนโลยี AR/VR กระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กไทยมีไอเดียใหม่ ๆ สู่การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
2. SCIENCE for Exponential Growth วิทย์เสริมแกร่งธุรกิจไทย
ถ้าถามว่าในอดีต ประเทศไทยมีสินค้าอะไรที่โดดเด่นในตลาดโลก คำตอบคือ สินค้าภาคการเกษตร
เพียงแต่ที่ผ่านมา เราเน้นแต่ส่งออกและขายในประเทศที่เป็น “ผลผลิต” ไม่ค่อยมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่า หรือสร้างสินค้าเกษตรที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ
บูธนี้จึงแสดง ผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีผสมไอเดียเจ๋ง ๆ มาช่วยปรับกลยุทธ์ให้สินค้าเกษตรและอาหารหลุดจากกรอบเดิม ๆ
เช่น ลำไยแปรรูปเป็นของทานหลากหลายชนิดแล้วนั้น ยังใช้นวัตกรรมแปรรูปเป็น ยาทาถูนวด บรรเทาอาการอักเสบข้อเข่า
หรือมะเขือเทศและพริกพันธุ์ใหม่ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดโลก และมีผลผลิตเพียงพอต่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ
3. SCIENCE for All Well Be-ing วิทย์เพื่อชีวิตผาสุก
บูธนี้ใช้เทคโนโลยีล้ำ ๆ เพื่อสร้างสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค ซึ่งก็มีสินค้ามากมายที่น่าสนใจ
4. S.R.I. Startup LaunchPad วิทยาศาสตร์ เพื่อ Startup และผู้ประกอบการรุ่นใหม่
โครงการ STARTUP THAILAND LEAGUE ผลักดันให้สถาบันการศึกษาผันตัวเองไปสู่ “มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ”
พร้อมร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เพื่อสอนให้นักศึกษาทุกระดับปริญญาเป็นผู้ประกอบการและเป็น Startup ตัวจริง
โดยในเวลา 7 ปี ก่อตั้งโครงการไปแล้ว 45 สถาบัน
มีนักศึกษาร่วมโครงการ 67,857 คน กว่า 3,400 ทีม
แน่นอนว่าบูธนี้ เราจะเห็นตัวอย่างธุรกิจ Startup ที่มีไอเดียสดใหม่ที่มาจากโครงการดังกล่าว
พร้อมนักลงทุน VC และ CVC ที่จะเข้ามา Pitch ในรูปแบบการแข่งขันธุรกิจ Startup ที่จะทำให้นักศึกษารู้ว่าจุดอ่อน และโอกาสทางธุรกิจที่สร้างการเติบโตในอนาคต
5. SCIENCE for Lifelong Learning เรียนรู้ตลอดชีวิทย์
โซนนี้จะมีการจัดแสดงงานวิจัยและนวัตกรรมที่มาจากฝึมือคนไทย พร้อมถ่ายทอดในเชิงธุรกิจ
เช่น การไลฟ์สดขายสินค้า, การแสดงเครื่องจักรจากฝีมือคนไทย, การขายอาหารของไทยที่ใช้ AI ช่วยให้มีกลิ่นและรสของอาหาร, เทคโนโลยีที่เป็น Soft Power
6. SCIENCE for FUTURE THAILAND วิทย์เพื่ออนาคตประเทศไทย
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ กำลังใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแข่งขันกันในเชิงเศรษฐกิจ
หากใครที่ตกขบวนหรือล้าหลัง จะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบในทันที
ทำให้ในบูธนี้แสดงว่า ประเทศไทย เองก็มีเทคโนโลยีล้ำ ๆ ที่คาดไม่ถึง
เช่น ขบวนรถไฟแห่งอนาคต, รถโดยสารไฟฟ้าที่ใช้ในมหาวิทยาลัย, ต้นแบบ Module ดาวเทียมสัญชาติไทย ที่กําลังพัฒนาก่อนปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศ เป็นต้น
สุดท้ายนี้ ถ้าถามว่าเราได้อะไรจากการเดินทัวร์ 1 วันเต็ม ๆ ในงาน “อว.FAIR” ?
จริง ๆ แล้วประเทศไทยเราเอง ก็มีเทคโนโลยี และความคิดธุรกิจที่ล้ำสมัยไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ
เพียงแต่ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ หลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่อยู่ใน Ecosystem
เช่น ผู้ประกอบการ, หน่วยงานรัฐ, บริษัทเอกชน, นักลงทุน อาจจะไม่ได้จับมือ และเดินไปพร้อมกัน
ทำให้หลายนวัตกรรมที่เกิดขึ้น ไม่สามารถสร้าง Impact ต่อการเปลี่ยนแปลงได้
โดยลึก ๆ แล้ว หากทุกฝ่ายจับมือและเดินหน้าไปพร้อมกัน ประเทศไทยน่าจะมีสินค้าที่มีนวัตกรรมจนถึงเทคโนโลยีที่แข่งขันในตลาดโลกได้
โดยมีประชากรไทยที่มีคุณภาพที่มีทักษะที่ดีต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นฟันเฟืองชิ้นใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน
Reference
- เอกสารข้อมูลงาน SCI POWER FOR FUTURE THAILAND
#อว #อวFair #futureThailand #SciPower ​
#กระทรวงอว #MHESI #อวforall #อวแฟร์​ #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon