กองทุนตราสารหนี้ ที่มีหุ้นกู้ EA กำลังเจอปัญหา

กองทุนตราสารหนี้ ที่มีหุ้นกู้ EA กำลังเจอปัญหา

กองทุนตราสารหนี้ ที่มีหุ้นกู้ EA กำลังเจอปัญหา /โดย ลงทุนแมน
เห็นรูปนี้แล้วอย่าเพิ่งตกใจ ทำไมกองทุนที่ถือหุ้นกู้ EA -8% ในวันเดียว แล้วทำไมจริง ๆ ถึงไม่ได้ลบขนาดนั้น ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในวันนี้ เราได้เริ่มเห็นกองทุนตราสารหนี้บางกองที่ถือหุ้นกู้ EA ได้รับผลกระทบ
ซึ่งกองทุนตราสารหนี้มีแนวทางจัดการที่รับมือเหตุการณ์อยู่หลายวิธี ซึ่งจะแตกต่างกันตามแต่ละบริษัทจัดการกองทุน
หนึ่งในวิธีที่หลายบริษัทจัดการกองทุนใช้คือ การ Set Aside หรือ Side Pocket
โดยกองทุนจะแยกส่วนการลงทุนในหุ้นกู้ EA ออกจากทรัพย์สิน
ซึ่งการ Set Aside นี้ บริษัทจัดการกองทุนจะเลือกได้ 2 แบบ คือ
1. ปิดกองทุนไปเลย แล้วรอค่อย ๆ ขายทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อให้ราคาเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหน่วยลงทุน
การเลือกวิธีนี้มีข้อดีคือ กองทุนจะไม่ต้องเร่งขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ทันทีตามแรงขายของผู้ถือหน่วยลงทุน
แต่มีข้อเสียอยู่บ้างก็คือ ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับเงินสดทันที จะต้องรอผู้จัดการกองทุนค่อย ๆ ขายสินทรัพย์จนหมดก่อน หรือบางกองทุนก็อาจจะรอการถือหุ้นกู้จนครบกำหนด เพื่อได้รับเงินต้นคืนจากผู้ออกหุ้นกู้ แทนที่จะเร่งขายในตลาดแล้วเสียราคา
การปิดกองทุนเลย จะทำให้ NAV ของกองทุนไม่แสดงอีกต่อไป และไม่มีตัวเลข NAV ที่ปรับตัวลดลงมาทำให้นักลงทุนตกใจ นักลงทุนจะรู้อีกทีว่าได้เงินคืนครบตามจำนวนหรือไม่
2. ยังคงให้กองทุนซื้อขายได้ต่อไป โดยแยกส่วนของ Set Aside ออกมา
วิธีนี้ส่วนของหุ้นกู้ EA จะไม่นำมารวมคำนวณใน NAV ของกองทุน
ซึ่งการแยกทรัพย์สินออกมานี้ จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า NAV ของกองทุน หลังจากวันที่ Set Aside จะลดลงตามสัดส่วนทรัพย์สินของหุ้นกู้ EA ที่ถือครองในกองทุนนั้น
เช่น ถ้า NAV ของกองทุนคือ 10 และถือครองหุ้นกู้ EA สัดส่วน 10%
การ Set Aside หุ้นกู้ EA ออกมา ก็จะทำให้ในวันต่อมา NAV ของกองทุนลดลงเหลือ 9 ได้
การลดลงของ NAV นี้ไม่ได้แปลว่าผู้ถือหน่วยจะขาดทุน 10% ในวันนั้นซะทีเดียว เพราะว่าถ้าในอนาคต กองทุนสามารถขายหุ้นกู้ EA หรือได้รับคืนเงินต้นจาก EA ก็จะมาคืนเงินสดให้แก่ผู้ถือหน่วยได้
ส่วนผู้ซื้อหน่วยลงทุนในวันต่อมา ก็จะไม่ได้มีส่วนร่วมในหุ้นกู้ EA ทำให้วิธีนี้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ที่จะซื้อหน่วยลงทุนหลังจากการเกิดปัญหาของหุ้นกู้ EA
จริง ๆ แล้ว การ Set Aside ไม่ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรก
แต่เกิดขึ้นเรื่อยมาในทุกวิกฤติในอดีต เช่นตอนล็อกดาวน์ก็มีการ Set Aside เกิดขึ้นกับบางบริษัทจัดการกองทุน
อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องจับตลาดหุ้นกู้ให้ดี
เพราะถ้าวิกฤติลุกลาม ก็อาจจะทำให้เกิดโดมิโนตามไปกระทบหุ้นกู้ของบริษัทที่ไม่เกิดปัญหาได้
เช่น ถ้าผู้ถือหน่วยยังไม่มั่นใจในกองทุนที่มีหุ้นกู้ EA หรือ บางกองทุนยังไม่ทำการ Set Aside ออกมา ทำให้แห่กันขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อต้องการรับเงินสด
เมื่อได้รับคำสั่งขายหน่วยลงทุนจากลูกค้าทำให้ ผู้จัดการกองทุนต้องเร่งขายทรัพย์สินออกมา ซึ่งอาจจะรวมไปถึงหุ้นกู้ที่ไม่ใช่ EA ที่มีอยู่ในกองทุนเพื่อนำเงินสดมาคืนให้ลูกค้า
ด้วยสภาพคล่องตราสารหนี้ที่มีไม่ค่อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่กองทุนตั้งใจจะถือจนครบกำหนดอยู่แล้ว ทำให้การเร่งขายอาจไปกดดันราคาตลาดตราสารหนี้ในภาพรวมได้
ดังนั้นสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนตราสารหนี้ที่มีหุ้นกู้ EA อาจจะต้องติดตามให้ดีว่า
กองทุนที่เราถือมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร
ถ้าถูก Set Aside เราก็อาจจะได้รับเงินสดคืนช้า
แต่ถ้าไม่ถูก Set Aside กองทุนนั้นมีแรงขายคืนหน่วยลงทุนออกมา และจะกระทบกับทั้งกองทุนหรือไม่..
เราได้รวบรวมข้อมูลบางส่วนของบริษัทจัดการกองทุนต่าง ๆ ที่ถือหุ้น EA มาไว้ในใต้คอมเมนต์แล้ว ใครสงสัยว่ากองทุนที่เราถืออยู่ได้รับผลกระทบหรือไม่ สามารถกดดูรายละเอียดได้เลย..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon