จากน้ำมัน สู่ชิป อัญมณีแห่งศตวรรษ ที่หลายประเทศ อยากครอบครอง
จากน้ำมัน สู่ชิป อัญมณีแห่งศตวรรษ ที่หลายประเทศ อยากครอบครอง /โดย ลงทุนแมน
ถ้าย้อนกลับไปสัก 30 ปีก่อน คงไม่มีใครเชื่อว่า ชิปอันเล็ก ๆ ที่ไว้ประมวลผลในสมาร์ตโฟน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะล้ำค่ากว่าน้ำมัน และทองคำ
ถ้าย้อนกลับไปสัก 30 ปีก่อน คงไม่มีใครเชื่อว่า ชิปอันเล็ก ๆ ที่ไว้ประมวลผลในสมาร์ตโฟน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะล้ำค่ากว่าน้ำมัน และทองคำ
ตอนนั้นหลายคนคงมองไม่เห็นภาพอนาคตของชิป ที่กำลังสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ตอนนี้ ถ้าเราลองเทียบกันแล้ว
- น้ำมันดิบ 1 บาร์เรล ราคาประมาณ 3,000 บาท
- ทองคำ 1 ออนซ์ ราคาประมาณ 85,000 บาท
- ชิป 1 อันของ Nvidia ราคาประมาณ 1,400,000 บาท
- น้ำมันดิบ 1 บาร์เรล ราคาประมาณ 3,000 บาท
- ทองคำ 1 ออนซ์ ราคาประมาณ 85,000 บาท
- ชิป 1 อันของ Nvidia ราคาประมาณ 1,400,000 บาท
น่าตกใจมากว่า ทำไมชิปอันเล็ก ๆ อันเดียว มีราคาสูงมากขนาดนั้น
แถมปัจจุบัน แต่ละประเทศชั้นนำของโลก ต่างกระโดดเข้ามาในสนามแข่งขันนี้ จนเกิดเป็นสงครามครั้งใหม่ที่เรียกว่า “สงครามชิป” หรือ Chip War กันไปทั่วโลก
ซึ่งก็ไม่ต่างจากในอดีต ที่ประเทศมหาอำนาจต่างแย่งชิงน้ำมันกัน
แล้วสงครามชิปแข่งกันดุเดือดแค่ไหน
ทำไมถึงเปลี่ยนจากแย่งน้ำมัน เป็นแย่งชิปกันแทน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ทำไมถึงเปลี่ยนจากแย่งน้ำมัน เป็นแย่งชิปกันแทน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนไปในศตวรรษที่ 19 หรือประมาณ 100 กว่าปีก่อน น้ำมันเป็นเหมือนกับเครื่องยนต์ ที่อยู่เบื้องหลังให้เศรษฐกิจโลกเติบโตมาถึงทุกวันนี้
เพราะน้ำมันถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่รถยนต์ เครื่องบิน อาวุธสงคราม เดินเรือ ขนส่ง ไปจนถึงการผลิตสินค้าใช้ในชีวิตประจำวัน
ทำให้น้ำมัน กลายเป็นสินค้าที่ประเทศต่าง ๆ อยากมีอำนาจควบคุม และก็เป็นสหรัฐฯ ที่เข้ามาควบคุมการค้าขายน้ำมัน ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้
พร้อมกับพยายามเข้าไปแสวงหาแหล่งน้ำมันเพิ่มเติมในประเทศแถบตะวันออกกลาง จนเป็นชนวนความขัดแย้งสำคัญที่ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
ก็มีสินค้าหนึ่ง ที่กำลังเติบโตอย่างเงียบ ๆ แต่ไม่ค่อยถูกพูดถึงกันนัก นั่นคือ ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์
ก็มีสินค้าหนึ่ง ที่กำลังเติบโตอย่างเงียบ ๆ แต่ไม่ค่อยถูกพูดถึงกันนัก นั่นคือ ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์
จนกระทั่งช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ชิปถูกพูดถึงมากขึ้น เพราะโรงงานผลิตชิปหลายแห่งถูกปิดเพื่อควบคุมการระบาด จนกระทบกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก
เพราะชิป เป็นส่วนประกอบสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
โดยจะคอยทำงานเหมือนกับสมองคน ที่ไว้ประมวลผล เก็บข้อมูล และส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ ไปทั่วร่างกาย แต่ชิปจะเป็นสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทน
ซึ่งก็ไม่ใช่เฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องพึ่งพาชิปด้วย เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ทางการแพทย์
ทำให้ในปี 2023 มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมชิปนั้นสูงถึง 19.6 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้ใหญ่กว่ามูลค่า GDP ของประเทศไทยเสียอีก
และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไปจนถึงการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็ยิ่งทำให้ความต้องการชิปนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2033 มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมชิปนั้น จะเติบโตไปถึง 41 ล้านล้านบาท เติบโตกว่าเท่าตัวจากวันนี้อีกด้วย
พอเป็นแบบนี้ ทำให้หลายประเทศ อยากมีอำนาจในการครอบครองอุตสาหกรรมชิป เพื่อกุมความได้เปรียบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
และยังเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ เพราะชิปเป็นสมองสำคัญที่ใช้กับการทหาร โดยเฉพาะขีปนาวุธและระบบป้องกันทางอากาศต่าง ๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การมีอำนาจควบคุมอุตสาหกรรมชิป
ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น โดยปัจจุบันมี 4 ประเทศที่ครองส่วนแบ่งตลาดการผลิตชิปมากสุดในโลก นั่นคือ
ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น โดยปัจจุบันมี 4 ประเทศที่ครองส่วนแบ่งตลาดการผลิตชิปมากสุดในโลก นั่นคือ
- ไต้หวัน 68%
- เกาหลีใต้ 12%
- สหรัฐอเมริกา 12%
- จีน 8%
- เกาหลีใต้ 12%
- สหรัฐอเมริกา 12%
- จีน 8%
ซึ่งถ้าดูตามนี้ จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตชิปส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย เพราะไต้หวันและเกาหลีใต้ เป็นผู้รับจ้างผลิตชิปมานานตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา
ทำให้ทั้งคู่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิปอย่างต่อเนื่อง จนสามารถลงทุนวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตชิปที่มีความซับซ้อนได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมชิปยังถูกแบ่งงานอย่างชัดเจน โดยทวีปอเมริกา จะเป็นผู้ออกแบบชิป ส่วนทวีปเอเชีย ก็จะรับจ้างผลิตชิปตามสั่งอีกทอดหนึ่ง
ซึ่งปัจจุบัน แต่ละประเทศพยายามทำลายห่วงโซ่ที่ถูกแบ่งมาอย่างชัดเจน ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมชิปของตัวเอง ให้สามารถพึ่งพาในประเทศได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น
- สหรัฐอเมริกา ผ่านกฎหมาย CHIPS and Science Act เพื่อสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตและวิจัยชิปในประเทศ มูลค่ารวม 1.9 ล้านล้านบาท
- สหภาพยุโรป ที่ประกาศ “ร่างกฎหมาย European Chips Act” เพื่อวิจัย ออกแบบ และผลิตชิปภายในประเทศ สร้างความมั่นคงในสายพานการผลิต จนลดการพึ่งพาบริษัทต่างชาติได้
- จีน ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมชิปของตนเองมากขึ้น เพราะต้องการลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น
ทำให้ในปี 2023 มีการนำเข้าเครื่องจักรผลิตชิป มูลค่าทั้งหมดถึง 1.4 ล้านล้านบาท
ซึ่งเมื่อจีนเริ่มขยับตัวมากขึ้น ทำให้สหรัฐฯ ก็เริ่มหันมาเตะตัดขาจีนอีกครั้ง จนกลายเป็นสงครามชิป หรือที่เรียกกันว่า Chip War ในช่วงที่ผ่านมา
โดยสหรัฐฯ เลือกจับมือกับชาติพันธมิตร เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ เพื่อกีดกันการส่งออกชิปคุณภาพสูง หรือเครื่องจักรผลิตชิปไปยังจีน
เพื่อทำให้จีนพัฒนาอุตสาหกรรมชิปของตัวเองได้ช้าลง จนยากที่จะไล่ตามหรือแซงหน้าสหรัฐฯ ที่ยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรมชิปได้ทันในไม่กี่ปี
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะพอเข้าใจแล้วว่า ทำไมเซมิคอนดักเตอร์หรือชิป ถึงกลายเป็นอัญมณีแห่งศตวรรษ ที่แต่ละประเทศอยากมีอำนาจควบคุม
ซึ่งในอดีต ประเทศที่ควบคุมน้ำมันได้ ก็จะมีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศอย่างมหาศาล
มาวันนี้ แม้น้ำมันยังเป็นสิ่งจำเป็น แต่ชิปกลายเป็นของจำเป็นกว่า ที่แต่ละประเทศคงไม่มีใครยอมใคร ให้มีอำนาจครอบครองอยู่ฝ่ายเดียว
โดยเฉพาะจีน และสหรัฐฯ ที่ยังคงวิ่งแข่ง พร้อมกับเตะตัดขากัน ไปอีกหลายปีต่อจากนี้ อย่างแน่นอน..
╔═══════════╗
ต่อยอดความมั่งคั่ง พร้อมการเดินทางเหนือระดับ
รับฟรี ของขวัญสุดพิเศษ มูลค่าสูงสุดกว่า 80,000 บาท เพียงมียอดลงทุน และ/หรือ ฝากเงินตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ภายในวันที่ 17 มิ.ย. - 31 ส.ค. 67
╔═══════════╗
ต่อยอดความมั่งคั่ง พร้อมการเดินทางเหนือระดับ
รับฟรี ของขวัญสุดพิเศษ มูลค่าสูงสุดกว่า 80,000 บาท เพียงมียอดลงทุน และ/หรือ ฝากเงินตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ภายในวันที่ 17 มิ.ย. - 31 ส.ค. 67
??รายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติม https://www.ttbbank.com/link/fb/mftdbooster
ลงทุนง่าย ๆ ผ่านแอป ttb touch คลิก https://www.ttbbank.com//ttb/touch/mf
ลงทุนง่าย ๆ ผ่านแอป ttb touch คลิก https://www.ttbbank.com//ttb/touch/mf
? สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ โทร.1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
╚═══════════╝
╚═══════════╝