
วิธีรับมือเมื่อโดนไล่ออกจากงานกะทันหัน และสิ่งที่ลูกจ้างต้องรู้
ข่าวประชาสัมพันธ์..
โดนไล่ออกจากงานกะทันหัน ลูกจ้างต้องรับมือยังไงบ้าง
โดนไล่ออกจากงานกะทันหัน ลูกจ้างต้องรับมือยังไงบ้าง
การโดนไล่ออกจากงานกะทันหันไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม มักสร้างความเครียด และความกังวลใจให้กับลูกจ้างหลายๆ คนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงินที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ต้องสูญเสียรายได้หลักไปแบบไม่ทันได้ตั้งตัว หรือไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้าเลย คนที่มีภาระผ่อนหนี้ผ่อนสินในแต่ละเดือน อาจต้องการเงินด่วน เพื่อไม่ให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือป้องกันปัญหาค้างชำระหนี้ มาดูกันว่าจะมีวิธีรับมือยังไงบ้างถ้าโดนไล่ออกจากงาน
วิธีรับมือเมื่อโดนไล่ออกจากงานกะทันหัน
เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งสำคัญที่ลูกจ้างทุกคนต้องทำคือ พยายามสงบสติอารมณ์ วางแผนรับมือกับปัญหาการเงิน และใช้ชีวิตต่ออย่างมีสติ ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับให้ครบถ้วน ในระหว่างที่กำลังหางานใหม่ ทั้งค่าชดเชยจากนายจ้างตามกฎหมาย และการลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินทดแทนรายได้ระหว่างการว่างงานจากประกันสังคม ดังนี้
ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชยจากนายจ้าง


เมื่อโดนไล่ออกจากงานกะทันหัน ถูกเลิกจ้างโดยที่เราไม่มีความผิด นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยอัตราค่าชดเชยจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำงานของลูกจ้าง ดังนี้
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
• ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
ดังนั้น เมื่อโดนไล่ออกจากงานกะทันหัน ลูกจ้างต้องตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของตัวเองให้ดี ว่าครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไหม ถ้าไม่ได้รับ หรือได้รับไม่ครบ ให้รีบทวงถามจากนายจ้างโดยเร็วที่สุด ซึ่งเงินส่วนนี้จะเป็นเงินก้อนที่ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินของลูกจ้างได้ในระดับหนึ่ง ก่อนที่จะได้งานใหม่
แจ้งลงทะเบียนผู้ว่างงานกับประกันสังคม


นอกจากจะได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างแล้ว สิ่งสำคัญที่ลูกจ้างไม่ควรลืมคือ การลงทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคม สามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน คุณจะได้รับเงินชดเชยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 30 วันสุดท้ายก่อนว่างงาน สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แต่มีเงื่อนไขว่า ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง จึงจะได้รับเงินชดเชยประกันสังคมนี้
ปัจจุบันผู้ที่ต้องการรับเงินชดเชยการว่างงาน ไม่จำเป็นต้องไปติดต่อด้วยตัวเอง แต่สามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคมได้เลย เพื่ออำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ว่างงานไม่ยุ่งยาก และได้รับเงินเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระหว่างที่กำลังหางานใหม่
ปัจจุบันผู้ที่ต้องการรับเงินชดเชยการว่างงาน ไม่จำเป็นต้องไปติดต่อด้วยตัวเอง แต่สามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคมได้เลย เพื่ออำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ว่างงานไม่ยุ่งยาก และได้รับเงินเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระหว่างที่กำลังหางานใหม่
สรุป วางแผนชีวิตให้ดี ถ้าโดนไล่ออกจากงานกะทันหัน
การโดนไล่ออกจากงานกะทันหัน เป็นเรื่องที่ใครก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ในโลกของการทำงานยุคนี้ ที่มีความไม่แน่นอน และมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะโดนเลิกจ้างเมื่อไหร่ สิ่งที่ช่วยป้องกันได้ดีที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมรับมือไว้ตั้งแต่วันนี้ วางแผนการเงินอย่างรอบคอบ เก็บออมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินด้วย และที่สำคัญคือ พยายามไม่สร้างภาระหนี้สินมากเกินความจำเป็น เพราะเมื่อรายได้หายไปแบบกะทันหัน หนี้สินเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ได้