นโยบายยื่นสมัครรอบ Admission ฟรี ช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาอย่างไร ?
นโยบายยื่นสมัครรอบ Admission ฟรี ช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาอย่างไร ?
กระทรวง อว. x ลงทุนแมน
กระทรวง อว. x ลงทุนแมน
หนึ่งในสาเหตุของความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาคือ ความพร้อมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น
- การเรียนกวดวิชา เพื่อเพิ่มโอกาสในการสอบได้คะแนนที่มากกว่า
- โรงเรียนที่ดีบางแห่ง อาจจะมีค่าเรียนค่อนข้างสูง
- การเรียนกวดวิชา เพื่อเพิ่มโอกาสในการสอบได้คะแนนที่มากกว่า
- โรงเรียนที่ดีบางแห่ง อาจจะมีค่าเรียนค่อนข้างสูง
ดังนั้น ระบบการศึกษาที่ดี จึงควรลดปัจจัยเหล่านี้ให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้
แถมที่ผ่านมา ระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยของไทย กลับเพิ่มความเหลื่อมล้ำ ด้วยการคิดค่ายื่นสมัครเพิ่มขึ้นตามอันดับที่เลือก
แต่ล่าสุด สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้คือ การยื่นคะแนน Admission สําหรับเด็กปี 2567 นี้ไม่มีค่าใช้จ่าย
เพราะกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง
เพราะกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ามาสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง
ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบเดิม ๆ มีปัญหาอย่างไร ?
แล้วนโยบายการสอบ Admission ฟรี สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้แค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
แล้วนโยบายการสอบ Admission ฟรี สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้แค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
TCAS คือ ระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ที่เริ่มใช้ในปี 2561
โดยรูปแบบการคัดเลือกของ TCAS จะมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่
โดยรูปแบบการคัดเลือกของ TCAS จะมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่
- รอบ 1 เป็นการแข่งขันด้าน Portfolio สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
- รอบ 2 เป็นโควตาให้กับนักเรียนในแต่ละพื้นที่ หรือโครงการพิเศษ
- รอบ 3 เป็น Admission ที่มีนักเรียนจากทั่วประเทศเข้ามาแข่งขันกัน โดยสามารถนำผลสอบยื่นเลือกสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยได้สูงสุด 10 อันดับ
- รอบ 4 เป็นการรับตรง ซึ่งเปิดรับนักเรียนจากทั่วประเทศเช่นกัน
- รอบ 2 เป็นโควตาให้กับนักเรียนในแต่ละพื้นที่ หรือโครงการพิเศษ
- รอบ 3 เป็น Admission ที่มีนักเรียนจากทั่วประเทศเข้ามาแข่งขันกัน โดยสามารถนำผลสอบยื่นเลือกสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยได้สูงสุด 10 อันดับ
- รอบ 4 เป็นการรับตรง ซึ่งเปิดรับนักเรียนจากทั่วประเทศเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า รอบ 3 และรอบ 4 นี่เองที่นักเรียนทุกคนสามารถสอบได้
แต่รูปแบบการคัดเลือกที่เป็นประเด็นมากที่สุดคือ รอบ 3 การสอบ Admission เพราะเป็นรอบแข่งขันที่เด็ก ๆ เข้าถึงได้ง่ายที่สุด แต่กลับมีการคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนอันดับที่เลือก เช่น
สมัคร 1 อันดับ เสียค่าสมัคร 150 บาท
สมัคร 2 อันดับ เสียค่าสมัคร 200 บาท
สมัคร 3 อันดับ เสียค่าสมัคร 250 บาท
สมัคร 4 อันดับ เสียค่าสมัคร 300 บาท
สมัคร 5 อันดับ เสียค่าสมัคร 400 บาท
สมัคร 6 อันดับ เสียค่าสมัคร 500 บาท
สมัคร 7 อันดับ เสียค่าสมัคร 600 บาท
สมัคร 8 อันดับ เสียค่าสมัคร 700 บาท
สมัคร 9 อันดับ เสียค่าสมัคร 800 บาท
สมัคร 10 อันดับ เสียค่าสมัคร 900 บาท
สมัคร 2 อันดับ เสียค่าสมัคร 200 บาท
สมัคร 3 อันดับ เสียค่าสมัคร 250 บาท
สมัคร 4 อันดับ เสียค่าสมัคร 300 บาท
สมัคร 5 อันดับ เสียค่าสมัคร 400 บาท
สมัคร 6 อันดับ เสียค่าสมัคร 500 บาท
สมัคร 7 อันดับ เสียค่าสมัคร 600 บาท
สมัคร 8 อันดับ เสียค่าสมัคร 700 บาท
สมัคร 9 อันดับ เสียค่าสมัคร 800 บาท
สมัคร 10 อันดับ เสียค่าสมัคร 900 บาท
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาอย่างหนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
เพราะยิ่งหากเลือกอันดับไว้มาก ๆ จะต้องยิ่งเสียเงินมากขึ้นตาม ทำให้เด็กที่ครอบครัวมีรายได้น้อยถูกจำกัดตัวเลือก
แล้วค่าสมัคร 900 บาท ส่งผลกระทบให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาแค่ไหน ?
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีเด็กในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานจํานวน 13,000,000 คน
โดย 1,170,000 คน อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย เฉลี่ย 1,021 บาทต่อเดือน
และ 730,000 คน อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้ เฉลี่ย 1,358-2,700 บาทต่อเดือน
โดย 1,170,000 คน อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย เฉลี่ย 1,021 บาทต่อเดือน
และ 730,000 คน อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้ เฉลี่ย 1,358-2,700 บาทต่อเดือน
พูดง่าย ๆ ว่าค่าสมัคร 10 อันดับคิดเป็น 90% ของรายได้บางครอบครัวเลยทีเดียว
และต่อให้ลดลงมาเลือกสัก 5 อันดับ ก็ยังนับว่าเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่ดี
และต่อให้ลดลงมาเลือกสัก 5 อันดับ ก็ยังนับว่าเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่ดี
ดังนั้น เด็กที่อยู่ในครอบครัวรายได้น้อย จึงต้องประหยัด ทำให้มีตัวเลือกน้อยกว่าเด็กฐานะดีที่สามารถเลือกสมัครสูงสุด 10 อันดับ โดยไม่ต้องกังวลเลย กลายมาเป็นต้นตอของความเหลื่อมล้ำในท้ายที่สุด
และถ้าคิดตามแล้วก็ดูจะตลกร้ายอยู่ไม่น้อย..
หากเด็กคนนั้น อาจเป็นคนเดียวของบ้านที่จะได้เรียนมหาวิทยาลัย และมีโอกาสยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวให้ดีขึ้นได้ แต่กลับถูกระบบการศึกษากีดกันด้วยเรื่องเงิน
จากสถิติระหว่างปี 2552-2562 พบว่า “นักเรียนกลุ่มฐานะดี” 10% แรกของกลุ่มสำรวจ มีโอกาสเรียนต่อมากกว่าถึง 10 เท่าของ “นักเรียนกลุ่มครอบครัวรายได้น้อย” 10% ท้ายของกลุ่มสำรวจ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันปัญหาตรงนี้ได้คลี่คลายลง เพราะกระทรวง อว. ได้ออกนโยบายให้นักเรียนทุกคนสามารถสมัครยื่นเลือกอันดับในมหาวิทยาลัยได้สูงสุด 10 อันดับ แบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกต่อไป
โดยเริ่มนโยบายตั้งแต่ TCAS67 ในต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ซึ่งนโยบายนี้ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดกว่า 100 ล้านบาท
และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองและนักเรียนอย่างต่ำ 130,000 ครอบครัวต่อปี
และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองและนักเรียนอย่างต่ำ 130,000 ครอบครัวต่อปี
ขณะเดียวกันก็เกิดความเท่าเทียมทางการศึกษา ลองนึกภาพย้อนตามง่าย ๆ ในสมัยที่เรากำลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย
เรามักจะมี 1 คณะในใจที่อยากเรียนสุด ๆ และอีก 1 คณะที่คิดว่าน่าจะพอไปต่อได้
รวมถึงมี 1-2 มหาวิทยาลัยที่เป็นตัวเลือกเบอร์ต้น ๆ ในใจ
รวมถึงมี 1-2 มหาวิทยาลัยที่เป็นตัวเลือกเบอร์ต้น ๆ ในใจ
ทีนี้ให้เราคิดตามว่า ถ้าตัวเองมีทุนจำกัด สามารถเลือกสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยที่อยากเรียนได้แค่ 4 อันดับ หลายคนก็คงคิดหนัก
แต่พอตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออกไป ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาก็ลดลง เพราะเด็กอยากยื่นกี่อันดับก็ได้ ช่วยเพิ่มทั้งโอกาสเลือกคณะที่ตรงใจมากขึ้น และโอกาสที่จะได้เรียนต่อด้วย
สุดท้ายแล้ว เมื่อเด็กไทยได้เรียนมหาวิทยาลัย ก็จะมีโอกาสหางานที่ดีได้มากยิ่งขึ้น ช่วยยกระดับชีวิตของครอบครัว
และยังมีข้อดีตามมาอีกอย่างที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้
นั่นคือ จิตใจของเด็ก ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินในการเลือกอันดับอีกแล้ว
นั่นคือ จิตใจของเด็ก ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินในการเลือกอันดับอีกแล้ว
สรุปแล้ว นโยบายสอบ Admission ฟรี ถือเป็นก้าวแรกที่ดีในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่ยังไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
เพราะการสร้างระบบการศึกษาที่เป็นธรรมและเท่าเทียมสำหรับทุกคน ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
เพื่อร่วมกันผลักดันให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาส และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย..