“เคเรตสึ” กลุ่มทุนใหญ่ ที่ครอบงำ เศรษฐกิจญี่ปุ่น
“เคเรตสึ” กลุ่มทุนใหญ่ ที่ครอบงำ เศรษฐกิจญี่ปุ่น /โดย ลงทุนแมน
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมประเทศญี่ปุ่น ที่เคยโดนโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ถึง 2 ลูก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมประเทศญี่ปุ่น ที่เคยโดนโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ถึง 2 ลูก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
จนสามารถก้าวขึ้นมา เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของโลก
หลายคนอาจมีคำตอบในใจว่า สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ปลุกให้ญี่ปุ่น ฟื้นคืนชีพ
แต่นั่นอาจเป็นข้อเท็จจริงเพียงด้านเดียว ของประวัติศาสตร์เท่านั้น..
แต่นั่นอาจเป็นข้อเท็จจริงเพียงด้านเดียว ของประวัติศาสตร์เท่านั้น..
เพราะในความเป็นจริงแล้ว ยังมี “ตัวละครลับ”
ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของญี่ปุ่น
ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของญี่ปุ่น
แล้วตัวละครลับที่ว่า เป็นใครบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
เปิดบัญชีแล้วเทรดวันนี้ มีสิทธิ์รับ e-Coupon มูลค่ารวมสูงสุด 800 บาท จาก บล. Zcom อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/4b0dF2b
╚═══════════╝
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
เปิดบัญชีแล้วเทรดวันนี้ มีสิทธิ์รับ e-Coupon มูลค่ารวมสูงสุด 800 บาท จาก บล. Zcom อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/4b0dF2b
╚═══════════╝
เริ่มกันที่ “ตระกูล Mitsui” และ “ตระกูล Sumitomo”
ซึ่งปัจจุบัน ได้ควบรวมกิจการธนาคารกันแล้ว กลายเป็นธนาคาร Sumitomo Mitsui
ซึ่งปัจจุบัน ได้ควบรวมกิจการธนาคารกันแล้ว กลายเป็นธนาคาร Sumitomo Mitsui
ทั้ง 2 ตระกูลมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและการเมืองของญี่ปุ่น มาตั้งแต่สมัยยุคโชกุนโทกูงาวะ
โดยตระกูล Mitsui ทำธุรกิจค้าผ้าไหม และเป็นตัวแทนเก็บภาษีอากร
ส่วนตระกูล Sumitomo ทำธุรกิจเหมือง และส่งแร่เหล็กให้รัฐบาลนำไปผลิตอาวุธ
โดยตระกูล Mitsui ทำธุรกิจค้าผ้าไหม และเป็นตัวแทนเก็บภาษีอากร
ส่วนตระกูล Sumitomo ทำธุรกิจเหมือง และส่งแร่เหล็กให้รัฐบาลนำไปผลิตอาวุธ
ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น จากระบบโชกุนสู่ยุคการปฏิวัติเมจิ
ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น เพื่อให้มีความเจริญทัดเทียมกับชาติตะวันตก ตั้งแต่ระบบการศึกษา ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น เพื่อให้มีความเจริญทัดเทียมกับชาติตะวันตก ตั้งแต่ระบบการศึกษา ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจ
มีการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ การรถไฟ และการต่อเรือ แต่รัฐบาลไม่สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้าย จึงต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้เอกชนเข้ามาดูแลธุรกิจเหล่านี้แทน
สุดท้าย จึงต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้เอกชนเข้ามาดูแลธุรกิจเหล่านี้แทน
เรื่องนี้กลับมีความน่าสนใจตรงที่ว่า
กลุ่มทุนของเอกชนที่มีความพร้อม ทั้งในแง่เงินทุนและประสบการณ์ ยังคงเป็น 2 ตระกูลเดิมอย่าง Mitsui และ Sumitomo ที่เคยมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต
กลุ่มทุนของเอกชนที่มีความพร้อม ทั้งในแง่เงินทุนและประสบการณ์ ยังคงเป็น 2 ตระกูลเดิมอย่าง Mitsui และ Sumitomo ที่เคยมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต
แต่จะมีอีก 2 ตระกูล เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคนี้คือ “ตระกูล Mitsubishi” และ “ตระกูล Yasuda”
ซึ่ง 4 ตระกูลที่ว่านี้ ต่างก็เข้ามาซื้อกิจการที่เคยเป็นของรัฐ จนกลายเป็น 4 ตระกูลที่ทรงอิทธิพลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นก่อนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่ากลุ่ม “ไซบัตสึ”
แม้ว่าตระกูลเหล่านี้จะร่ำรวยมากแค่ไหน
แต่ก็ยังมีเงินทุนไม่เพียงพอ ที่จะครอบครองธุรกิจทั้งหมดได้
อีกทั้งการหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกก็ยังมีข้อจำกัด
แต่ก็ยังมีเงินทุนไม่เพียงพอ ที่จะครอบครองธุรกิจทั้งหมดได้
อีกทั้งการหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกก็ยังมีข้อจำกัด
กลุ่มไซบัตสึ จึงเลือกบริหารในลักษณะพีระมิด
โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทแม่ขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทลูก ในสัดส่วนที่พอจะมีอำนาจควบคุมเท่านั้น ซึ่งจะไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทลูก 100%
โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทแม่ขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทลูก ในสัดส่วนที่พอจะมีอำนาจควบคุมเท่านั้น ซึ่งจะไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทลูก 100%
ทำให้กลุ่มไซบัตสึ สามารถระดมทุนได้มากขึ้น เพื่อครอบครองธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
นอกจากนี้ กลุ่มไซบัตสึยังเป็นกำลังสนับสนุนหลัก ให้กองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย
เช่น กลุ่ม Mitsubishi ก็เคยเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบซีโร่ เครื่องบินขับไล่ชั้นยอดของญี่ปุ่นในสมัยนั้น
เช่น กลุ่ม Mitsubishi ก็เคยเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบซีโร่ เครื่องบินขับไล่ชั้นยอดของญี่ปุ่นในสมัยนั้น
ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
สหรัฐอเมริกาต้องการจำกัดอิทธิพลของกลุ่มทุน ที่ให้การสนับสนุนกองทัพญี่ปุ่น
โดยการยึดทรัพย์สิน ปรับโครงสร้างองค์กร และแยกธุรกิจลูกบางแห่งออกมา
สหรัฐอเมริกาต้องการจำกัดอิทธิพลของกลุ่มทุน ที่ให้การสนับสนุนกองทัพญี่ปุ่น
โดยการยึดทรัพย์สิน ปรับโครงสร้างองค์กร และแยกธุรกิจลูกบางแห่งออกมา
แต่ว่าสหรัฐอเมริกา สามารถจำกัดอิทธิพลของไซบัตสึได้แค่บางส่วนเท่านั้น
เพราะอีกฝั่งหนึ่ง สหรัฐอเมริกาก็ต้องต่อสู้กับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์
เพราะอีกฝั่งหนึ่ง สหรัฐอเมริกาก็ต้องต่อสู้กับภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์
สหรัฐอเมริกาจึงเลือกที่จะวางหมากให้ญี่ปุ่นเป็นกำลังหลัก เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเอเชีย
โดยการสร้างอุตสาหกรรมหนัก เพื่อพัฒนาประเทศ และสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ชาวญี่ปุ่น
ซึ่งผู้เล่นสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ก็เป็นใครไปไม่ได้ นอกจากกลุ่มไซบัตสึ..
โดยการสร้างอุตสาหกรรมหนัก เพื่อพัฒนาประเทศ และสร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่ชาวญี่ปุ่น
ซึ่งผู้เล่นสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ก็เป็นใครไปไม่ได้ นอกจากกลุ่มไซบัตสึ..
ในเวลาต่อมา กลุ่มทุนใหม่ก็ได้เกิดขึ้น มารวมตัวกับกลุ่มทุนใหญ่ที่เหลือรอด
รวมกันเรียกว่า “เคเรตสึ”
รวมกันเรียกว่า “เคเรตสึ”
ซึ่งประกอบไปด้วยตระกูล Mitsui, Sumitomo และ Mitsubishi
และตระกูลใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ Fuyo, Sanwa และ Dai-Ichi Kangyo
และตระกูลใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ Fuyo, Sanwa และ Dai-Ichi Kangyo
พอมายุคนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทแม่ และบริษัทลูกได้เปลี่ยนไป
โดยบริษัทต่าง ๆ เริ่มมีการถือหุ้นระหว่างกันลดน้อยลง
แต่มีความสัมพันธ์กันแบบ การทำธุรกิจร่วมกันแทน เช่น การปล่อยเงินกู้ การรับซื้อสินค้าไปขายต่อ หรือแม้แต่การสนับสนุนเทคโนโลยีระหว่างกัน
โดยบริษัทต่าง ๆ เริ่มมีการถือหุ้นระหว่างกันลดน้อยลง
แต่มีความสัมพันธ์กันแบบ การทำธุรกิจร่วมกันแทน เช่น การปล่อยเงินกู้ การรับซื้อสินค้าไปขายต่อ หรือแม้แต่การสนับสนุนเทคโนโลยีระหว่างกัน
ซึ่งการร่วมมือกันภายในกลุ่มเคเรตสึ ในยุคสงครามเย็น ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น สามารถฟื้นตัวหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อย่างรวดเร็ว
จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Japanese Economic Miracle”
จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Japanese Economic Miracle”
ถึงตรงนี้ เรื่องราวของเคเรตสึก็นับเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
บางครั้งการรวมกลุ่มกันของธุรกิจจนมีขนาดใหญ่ ก็อาจทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม และการผูกขาดในบางธุรกิจ
บางครั้งการรวมกลุ่มกันของธุรกิจจนมีขนาดใหญ่ ก็อาจทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม และการผูกขาดในบางธุรกิจ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง หากสถานการณ์จำเป็น
กลุ่มทุนใหญ่เหล่านี้ ก็อาจเป็นเครื่องยนต์ที่สามารถช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศ เติบโตได้แบบที่รัฐบาลทำเองไม่ได้ เหมือนกรณี เคเรตสึ ของญี่ปุ่น นั่นเอง..
กลุ่มทุนใหญ่เหล่านี้ ก็อาจเป็นเครื่องยนต์ที่สามารถช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศ เติบโตได้แบบที่รัฐบาลทำเองไม่ได้ เหมือนกรณี เคเรตสึ ของญี่ปุ่น นั่นเอง..
╔═══════════╗
เปิดบัญชีแล้วเทรดวันนี้ มีสิทธิ์รับ e-Coupon มูลค่ารวมสูงสุด 800 บาท
กับแคมเปญ Zuper คุ้ม ยิ่งเทรด ยิ่งได้ จาก บล. Zcom
เปิดบัญชีแล้วเทรดวันนี้ มีสิทธิ์รับ e-Coupon มูลค่ารวมสูงสุด 800 บาท
กับแคมเปญ Zuper คุ้ม ยิ่งเทรด ยิ่งได้ จาก บล. Zcom
ห้ามพลาดโปรดี ๆ ตั้งแต่วันนี้ถึงกรกฎาคมนี้เท่านั้น!!
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/4b0dF2b
หรือเปิดบัญชีคลิกเลย https://bit.ly/3U5qgez
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/4b0dF2b
หรือเปิดบัญชีคลิกเลย https://bit.ly/3U5qgez
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
Facebook : https://www.facebook.com/trade.z.com.th
Line: @zcomsecurities (http://bit.ly/2TJtaIC)
#zcomsecurities
╚═══════════╝
Line: @zcomsecurities (http://bit.ly/2TJtaIC)
#zcomsecurities
╚═══════════╝
References:
-https://www.britannica.com/biography/Asano-Soichiro
-https://www.newworldencyclopedia.org/entry/Zaibatsu
-https://corporate.findlaw.com/corporate-governance/zaibatsu-and-keiretsu-
-https://www.investopedia.com/articles/economics/09/japanese-keiretsu.asp
-https://www.smithsonianmag.com/innovation/how-eight-conglomerates-dominate
-https://wkuwire.org/bitstream/20.500.12540/500/1/wku_etd001_cbpm01_000460.pdf
-https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/strategy/keiretsu/
-https://www.academia.edu/49580304/
-https://www.britannica.com/biography/Asano-Soichiro
-https://www.newworldencyclopedia.org/entry/Zaibatsu
-https://corporate.findlaw.com/corporate-governance/zaibatsu-and-keiretsu-
-https://www.investopedia.com/articles/economics/09/japanese-keiretsu.asp
-https://www.smithsonianmag.com/innovation/how-eight-conglomerates-dominate
-https://wkuwire.org/bitstream/20.500.12540/500/1/wku_etd001_cbpm01_000460.pdf
-https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/strategy/keiretsu/
-https://www.academia.edu/49580304/