ผู้ประกอบการควรปรับตัวอย่างไร เมื่อโลกกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game ?

ผู้ประกอบการควรปรับตัวอย่างไร เมื่อโลกกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game ?

ผู้ประกอบการควรปรับตัวอย่างไร เมื่อโลกกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game ?
KBank x ลงทุนแมน
ตัวชี้วัดมูลค่าของธุรกิจมีมิติมุมมองที่หลากหลาย และเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องประเมินอยู่เสมอ เพื่อจะปรับตัวให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
โดยเฉพาะในปัจจุบัน โลกของเรากำลังเผชิญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้กำลังส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลก ไม่ว่าจะเป็น ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และความมั่นคง

หากดูปัญหาด้านสุขภาพอย่างปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ที่หลาย ๆ ประเทศกำลังเผชิญ รวมถึงประเทศไทย ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ แต่ยังคร่าชีวิตคน ก่อนวัยอันควรกว่า 7 ล้านคน

เมื่อดูผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อเศรษฐกิจ ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจทั้งโลก

แต่รู้หรือไม่ว่า ? วิกฤติโรคระบาดที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจโลกคิดเป็น 3% ของ GDP โลก
และถ้าปัญหาเหล่านี้ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ภายในปี 2593 หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไปถึง 3.2 องศาจริง เราอาจจะได้เห็นตัวเลขความเสียหายของเศรษฐกิจโลกมูลค่ากว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 18% ของ GDP โลก

เปรียบเทียบแบบนี้แล้ว เห็นภาพชัดว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบรุนแรงกว่าที่คิด

ที่สำคัญคือ จากการคาดการณ์ ประเทศไทยอาจจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Risk) ด้วยกฎระเบียบทางการค้าที่ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีนจะทยอยบังคับใช้เพิ่มขึ้น

พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธนาคารกสิกรไทย มองว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกำลังมาเปลี่ยนสมการธุรกิจในยุคปัจจุบัน และกำลังสะท้อนให้เห็นว่า โลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค “Climate Game” ที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ

ความน่าสนใจของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

คุณพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เริ่มต้นด้วยเรื่องของการประชุม COP 28 ที่ผ่านมา ที่ประชาคมโลกได้บรรลุข้อตกลงที่จะเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังทำให้ภาคธุรกิจในวงกว้างเกิดแรงกดดันมากยิ่งขึ้น

และประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้อีกด้วย
เพราะทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน จะทยอยบังคับใช้กฎระเบียบทางการค้าเพิ่มขึ้น
ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินค้าส่งออกไทยราว 40-45% เลยทีเดียว

นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. … ของไทยที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็น

- การกำหนดให้ภาคธุรกิจต้องวัดผลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การจำกัดสิทธิผู้ประกอบการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้าภาคอุตสาหกรรม
- การผลักดันธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต

แน่นอนว่า มาตรการทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบธุรกิจในวงกว้าง แต่ยังทำให้ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนต้องรีบปรับตัว เพื่อรับมือกับมาตรการต่าง ๆ และอยู่รอดใน Climate Game นี้ให้ได้

จากเรื่องราวนี้ ทำให้ธนาคารกสิกรไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจในการปรับตัวรับมือ ด้วยประสบการณ์ ผลิตภัณฑ์รวมทั้งองค์ความรู้ที่ธนาคารกสิกรไทยและพันธมิตรมี จึงได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมา

โดยธนาคารมีการดำเนินการผ่าน 4 กลยุทธ์หลัก ดังต่อไปนี้
1. Green Operation หรือการลดก๊าซเรือนกระจกเริ่มต้นที่ตัวเอง

ธนาคารจะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานของตัวเอง
เพื่อมุ่งเข้าสู่เป้าหมายคือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินการของธนาคารให้เป็น Net Zero

ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารมีการพัฒนาระบบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
และดำเนินการเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตตั้งแต่ปี 2555 หรือคิดเป็นระยะเวลา 12 ปี

จากเรื่องนี้จึงทำให้ธนาคารเกิดการสั่งสมประสบการณ์มากมาย โดยมีผลงานที่น่าสนใจ ได้แก่

- ธนาคารติดตั้ง Solar Rooftop ที่อาคารหลักของธนาคาร 7 แห่งครบ 100% และติดตั้งที่สาขาด้วย ซึ่งจะมีจำนวนถึง 78 สาขา ภายในเดือน มิ.ย. 2567

- เปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้ในธุรกิจธนาคารจากรถยนต์สันดาป เป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด 183 คัน

ผลลัพธ์ที่เกิดจากกลยุทธ์นี้คือ ธนาคารสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 สามารถลดได้ 12.74% เมื่อเทียบกับปี 2563

และมีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลางทางคาร์บอนมาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง รวมถึงตั้งเป้าหมายเป็น Net Zero ภายในปี 2573 หรืออีก 6 ปีข้างหน้าอีกด้วย
2. Green Finance หรือการช่วยลูกค้าด้วยการเงินสีเขียว

ธนาคารจะใช้จุดแข็งของตัวเอง ด้านสินเชื่อและเงินลงทุน
เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น

- การให้สินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม และการให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจในการเปลี่ยนผ่าน

- การจัดสรรเงินลงทุนในธุรกิจและสตาร์ตอัปที่สร้างผลกระทบเชิงบวก

- การนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุน ทั้งของธนาคารและพันธมิตรระดับโลก เพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนไปสนับสนุนธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ESG

รู้หรือไม่ว่า ? ในช่วงปี 2565-2566 ธนาคารปล่อยสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้วถึง 73,397 ล้านบาท

ซึ่งภายในปี 2567 คาดว่าตัวเลขนี้จะกลายเป็น 100,000 ล้านบาท
และภายในปี 2573 จะเพิ่มเป็นเท่าตัว หรือ 200,000 ล้านบาท เลยทีเดียว

ที่สำคัญคือ KBank ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงอุตสาหกรรมใน Portfolio เพื่อจัดอันดับอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในการควบคุมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด

โดยธนาคารได้จัดทำแผนกลยุทธ์การลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) ร่วมกับลูกค้าในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมไปแล้ว 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ

- อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมถ่านหิน
- อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ
- อุตสาหกรรมซีเมนต์
- อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม
3. Climate Solutions หรือการส่งมอบโซลูชันและบริการที่มากกว่าการเป็นธนาคาร

โดยเป็นโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ที่อาศัยความร่วมมือจากพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย

- โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ

- การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้า ทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ โดยบริการที่มีการทดลองนำร่องแล้ว ได้แก่

WATT’S UP แพลตฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รวมถึงบริการสลับแบตเตอรี่ผ่านจุดบริการ

ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 367 ราย โดยในปีนี้คาดว่าจะมีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้บริการมากถึง 10 รุ่น และมีการขยายตู้สลับแบตเตอรี่กว่า 70 สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

และยังมี “ปันไฟ” แอปพลิเคชันที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและ กฟผ.

โดยเป็นแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทย
ที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ และรองรับการใช้งานทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ ธนาคารยังนำประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการวัด Carbon Footprint ของธนาคาร

เตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น การวัดผล รายงาน จนไปถึงตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล อีกด้วย

ล่าสุด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการตอบโจทย์การให้บริการแก่ลูกค้า และพาลูกค้าทุกคนปรับตัวไปพร้อมกันได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม ธนาคารกสิกรไทยจึงได้มีกลยุทธ์เสริมในด้านต่อไปนี้
4. Carbon Ecosystem หรือการสร้างระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต

โดยธนาคารจะเตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem
สำหรับการพัฒนาบริการไปอีกขั้น ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต

รวมถึงมีการศึกษาและดำเนินการซื้อคาร์บอนเครดิต สำหรับการชดเชยทางคาร์บอนของธนาคาร
เพื่อสนับสนุนคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพ และผลักดันให้ตลาดคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม ขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และ Innopower

ทำให้ประชาชน และธุรกิจขนาดย่อม-กลางที่ติดตั้ง Solar Rooftop สะดวกในการขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC ได้

รวมถึงธนาคารได้ศึกษาและเตรียมแนวทางในมิติอื่น ๆ ของระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต
เช่น การเป็นตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต และการออกโทเคนคาร์บอนเครดิตอีกด้วย
ซึ่งก็ต้องบอกว่า เหตุผลที่ธนาคารกสิกรไทยให้ความสำคัญกับการส่งมอบโซลูชัน เพราะว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธนาคารส่วนใหญ่นั้น เกิดจากพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร

โดยคิดเป็น 480 เท่าของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินการโดยตรงของธนาคาร

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมธนาคารจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ และเร่งสร้างเครื่องมือที่ช่วยด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับภาคธุรกิจต่าง ๆ นั่นเอง

จากเรื่องราวทั้งหมดจะเห็นได้ว่า เรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ธนาคารกสิกรไทยไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง ต้องอาศัยทุกฝ่ายจับมือไปด้วยกัน ถึงจะสามารถช่วยลดปัญหานี้ได้อย่างแท้จริง

ก็น่าติดตามเหมือนกันว่าโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมจาก KBank ที่จะทยอยออกมาเพิ่มขึ้นในอนาคต จะเป็นอย่างไร และจะสามารถเข้าถึงและยกระดับศักยภาพของธุรกิจได้มากแค่ไหน

แต่ที่แน่ ๆ คือคนที่ได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นคนไทยทุกคน นั่นเอง..

References
-ข่าวประชาสัมพันธ์ KBank Climate Strategy 2024
-https://www.unep.org/interactives/air-pollution-note
-https://www.weforum.org/agenda/2021/06/impact-climate-change-global-gdp/
-https://www.mnre.go.th/th/index
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon