ทำไมธุรกิจ E-commerce ไม่มีเจ้าตลาด ที่ครองได้ทั่วโลก
ทำไมธุรกิจ E-commerce ไม่มีเจ้าตลาด ที่ครองได้ทั่วโลก /โดย ลงทุนแมน
หากเราลองดูเจ้าตลาด E-commerce ในแต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ เช่น
- Shopee และ Lazada ที่ครองตลาดในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Amazon ที่ครองตลาดอเมริกาเหนือและยุโรป
- Alibaba และ JD ที่ครองตลาดในจีน
- Coupang ที่ครองตลาดในเกาหลีใต้
หากเราลองดูเจ้าตลาด E-commerce ในแต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ เช่น
- Shopee และ Lazada ที่ครองตลาดในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Amazon ที่ครองตลาดอเมริกาเหนือและยุโรป
- Alibaba และ JD ที่ครองตลาดในจีน
- Coupang ที่ครองตลาดในเกาหลีใต้
ซึ่งเราจะเห็นว่า แม้ธุรกิจ E-commerce จะสามารถครองตลาดในระดับประเทศหรือภูมิภาคได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่กลับไม่มีเจ้าไหนเลย ที่ยึดครองส่วนแบ่งในระดับโลกได้
ทำไมธุรกิจ E-commerce ที่เป็นธุรกิจดาวรุ่งในยุคนี้ ถึงไม่มีเจ้าตลาดโลก ?
แล้วเหตุผลเบื้องหลังเรื่องนี้ เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ธุรกิจค้าขายออนไลน์ หรือ E-commerce ผงาดขึ้นพร้อม ๆ กับสิ่งหนึ่ง ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในธุรกิจนี้ นั่นก็คือ “อินเทอร์เน็ต” ที่ช่วยเชื่อมผู้ซื้อกับผู้ขายเข้าหากัน แม้ไม่ต้องเจอหน้ากันโดยตรง จึงทำให้สามารถเกิดธุรกรรมซื้อขายกันได้ทุกที่ ทุกเวลา
แล้วเหตุผลเบื้องหลังเรื่องนี้ เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ธุรกิจค้าขายออนไลน์ หรือ E-commerce ผงาดขึ้นพร้อม ๆ กับสิ่งหนึ่ง ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในธุรกิจนี้ นั่นก็คือ “อินเทอร์เน็ต” ที่ช่วยเชื่อมผู้ซื้อกับผู้ขายเข้าหากัน แม้ไม่ต้องเจอหน้ากันโดยตรง จึงทำให้สามารถเกิดธุรกรรมซื้อขายกันได้ทุกที่ ทุกเวลา
โดยในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ที่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างสูง ทำให้เกิดธุรกิจ E-commerce ขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น
- Amazon ที่ก่อตั้งโดยเจฟฟ์ เบโซส ที่สหรัฐอเมริกา ในปี 1994
- Alibaba ที่ก่อตั้งโดยแจ็ก หม่า ที่ประเทศจีน ในปี 1999
- Alibaba ที่ก่อตั้งโดยแจ็ก หม่า ที่ประเทศจีน ในปี 1999
โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้ธุรกิจ E-commerce เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงขยายฐานลูกค้าและผู้ใช้งานได้อย่างก้าวกระโดด
แล้วอะไรทำให้ธุรกิจ E-commerce เจ้าใดเจ้าหนึ่ง ไม่สามารถเจาะตลาดทั่วโลกได้ เหมือนกับธุรกิจแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Facebook, YouTube, TikTok, Netflix
เหตุผลแรกเลยก็คือ
“ระบบหลังบ้านของ E-commerce ไม่ได้มีเพียงอินเทอร์เน็ตเท่านั้น”
“ระบบหลังบ้านของ E-commerce ไม่ได้มีเพียงอินเทอร์เน็ตเท่านั้น”
แม้แพลตฟอร์มสั่งของออนไลน์ จะใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ผ่านปลายนิ้ว
แต่ธุรกิจนี้ ยังต้องพึ่งพาระบบหลังบ้านอีกมากมาย เช่น คลังสินค้า และการขนส่ง
ซึ่งการที่บรรดาแพลตฟอร์มออนไลน์ สามารถส่งของให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ก็มาจากการลงทุนอย่างหนัก ในระบบหลังบ้านเหล่านี้นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น Amazon ที่มีค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง รวมถึงคลังสินค้า ในปี 2023 มากถึง 3.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 16% ของรายได้ทั้งหมดเลยทีเดียว
พอเป็นแบบนี้ หากธุรกิจ E-commerce จะสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้น การลงทุนในคลังสินค้าและระบบขนส่งของตัวเอง ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การขยายธุรกิจไปทั่วโลก ทำได้ยากมาก เพราะต้องไปลงทุนระบบคลังสินค้าและการขนส่งในประเทศต่าง ๆ อย่างมหาศาล
ยิ่งขยาย ก็ต้องยิ่งลงทุนเพิ่ม และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นด้วย เป็นเงาตามตัวนั่นเอง
ดังนั้น การที่บริษัทหนึ่ง ๆ จะมีทุนและทรัพยากรมากพอที่จะขยายกิจการไปทั่วโลก จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก
เหตุผลต่อมา คือ
“การแข่งขันที่ดุเดือดในแต่ละประเทศ”
“การแข่งขันที่ดุเดือดในแต่ละประเทศ”
ต้องบอกว่า ธุรกิจ E-commerce มักจะไม่มีกำไรในช่วงแรก เพราะต้องอัดโปรโมชันหนัก ๆ เพื่อเพิ่มฐานผู้ใช้งาน เข้ามาใช้บริการ
ซึ่งทำให้เจ้าของบรรดาแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Amazon, Alibaba, Shopee ต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าที่จะพลิกกลับมามีกำไรได้
และทำให้ธุรกิจ E-commerce สามารถครองตลาดได้เพียงแค่ในพื้นที่ของตัวเอง แต่หากออกไปแข่งขันนอกพื้นที่ของตัวเอง ก็มักเจอกับการขาดทุนอย่างหนักหน่วงเข้ามาซ้ำเติมอีก
ตัวอย่างเช่น Amazon ที่แม้จะสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานในภูมิภาคอเมริกาเหนือได้ แต่ในพื้นที่อื่น ๆ กลับขาดทุนรวมกันสูงถึง 95,000 ล้านบาท ในปี 2023
ส่วน Alibaba จากจีน ก็เจอปัญหาเดียวกับ Amazon เพราะแม้จะมีกำไรในบ้านตัวเอง แต่กลับขาดทุนจากธุรกิจ E-commerce ในต่างประเทศ สูงถึง 42,000 ล้านบาท ในปี 2023
ซึ่งก็มาจากการที่ต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งในพื้นที่อื่น ๆ ที่ต่างก็พยายามรักษาตลาดของตัวเอง และทำให้ต้องอัดโปรโมชัน เพื่อแย่งลูกค้ากันอยู่ตลอดนั่นเอง
โดย Amazon แม้จะครองส่วนแบ่งในญี่ปุ่นได้มากที่สุด แต่ก็แข่งขันอย่างดุเดือดกับ Rakuten ที่มีส่วนแบ่งตลาดเบอร์ 2
ในขณะที่ Alibaba เจ้าของ Lazada ก็ต้องแย่งตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับ Sea Group เจ้าของ Shopee และยังไม่มีท่าทีว่าสงครามนี้จะจบลงเมื่อไร
ทำให้สุดท้ายแล้ว การที่ธุรกิจ E-commerce จะครองตลาดได้ทั่วโลก ก็ต้องเจอกับคู่แข่งที่มาพร้อมการแข่งขันที่ดุเดือด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าถิ่นเดิมที่ทำตลาดมาก่อนแล้ว จึงมีความได้เปรียบมากกว่า และทำให้ไม่มีใครเป็นผู้ชนะระดับโลก ในเกมนี้เลย
ลองนึกภาพ Amazon เข้ามาตีตลาดบ้านเรา แข่งกับ Lazada, Shopee
หรือกลับกัน Lazada, Shopee เข้าไปบุกตลาดสหรัฐฯ ชิงลูกค้าจาก Amazon ซึ่งก็คงสู้ลำบาก..
หรือกลับกัน Lazada, Shopee เข้าไปบุกตลาดสหรัฐฯ ชิงลูกค้าจาก Amazon ซึ่งก็คงสู้ลำบาก..
มาถึงเหตุผลสุดท้าย คือ
“การเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ”
“การเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศนั้น ๆ”
ธุรกิจ E-commerce คือธุรกิจที่ต้องเข้าใจผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การค้นหา การเลือกสินค้า การตัดสินใจจ่ายเงิน การเข้ามาซื้อซ้ำ ไปจนถึงประสบการณ์ของลูกค้า
ซึ่งแม้บริษัทจะสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้มาได้ จากในแพลตฟอร์มก็ตาม แต่การตีความข้อมูลเหล่านี้ และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคจริง ๆ กลายเป็นหัวใจหลักของความสำเร็จ
เช่น Coupang ในเกาหลีใต้ ที่สังเกตว่า ลูกค้ามักจะสั่งซื้อสินค้าตอนกลางคืน จึงเพิ่มบริการพิเศษ คือถ้าลูกค้ายืนยันคำสั่งซื้อก่อนเที่ยงคืน ก็จะได้รับสินค้าก่อน 7 โมงเช้า ในวันถัดมา
ซึ่งกลยุทธ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Coupang ประสบความสำเร็จอย่างมากในเกาหลีใต้ โดยที่คู่แข่งจากนอกประเทศ เข้ามาแข่งขันได้ยาก
มาถึงตรงนี้ ทุกคนก็คงพอเข้าใจแล้วว่า ทำไมธุรกิจ E-commerce ไม่มีเจ้าใดเจ้าหนึ่ง ครองส่วนแบ่งในระดับโลกได้สำเร็จเลย
จะมีก็แต่เป็นผู้ชนะในระดับประเทศหรือภูมิภาค แต่กลับไม่สามารถรุกตลาดอื่น ๆ ที่มีเจ้าตลาดอยู่แล้วมาครองได้
ต่างจากธุรกิจแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย, สตรีมมิง ที่สามารถมีฐานผู้ใช้งานอยู่ทั่วโลกได้ เพราะระบบหลังบ้าน ไม่จำเป็นต้องลงทุนคลังสินค้าอะไรเลย..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ir.aboutamazon.com/quarterly-results/default.aspx
-https://www.alibabagroup.com/en-US/ir-financial-reports-quarterly-results
-https://www.sea.com/investor/quarterlyresults
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://ir.aboutamazon.com/quarterly-results/default.aspx
-https://www.alibabagroup.com/en-US/ir-financial-reports-quarterly-results
-https://www.sea.com/investor/quarterlyresults
Tag: ธุรกิจ E-commerce