Tokopedia ธุรกิจที่โดนสบประมาท แต่วันนี้ชนะ Lazada และไล่บี้ Shopee ในอินโดนีเซีย
Tokopedia ธุรกิจที่โดนสบประมาท แต่วันนี้ชนะ Lazada และไล่บี้ Shopee ในอินโดนีเซีย /โดย ลงทุนแมน
คนไทยคงชินกับการใช้ Shopee, Lazada และ TikTok Shop เพื่อสั่งของออนไลน์
คนไทยคงชินกับการใช้ Shopee, Lazada และ TikTok Shop เพื่อสั่งของออนไลน์
แต่ถ้าไปถามคนอินโดนีเซีย จะได้คำตอบที่แตกต่างออกไป เพราะตามส่วนแบ่งตลาด แอปซื้อของออนไลน์ยอดนิยม 3 อันดับแรกของประเทศนี้ ได้แก่
- อันดับ 1 Shopee 36%
- อันดับ 2 Tokopedia 35%
- อันดับ 3 Lazada 10%
- อันดับ 2 Tokopedia 35%
- อันดับ 3 Lazada 10%
พออ่านแล้ว เราคงสะดุดชื่อแอปอันดับ 2 และเกิดคำถามว่า Tokopedia เป็นใครมาจากไหน
และมีดีอะไร ถึงกลายมาเป็นแอปยอดนิยมของคนอินโดนีเซียได้ ?
และมีดีอะไร ถึงกลายมาเป็นแอปยอดนิยมของคนอินโดนีเซียได้ ?
Tokopedia ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ที่ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
Tokopedia มาจากคำ 2 คำ คือ “Toko” ซึ่งเป็นภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ร้านค้า และ “Encyclopedia” ที่แปลว่า สารานุกรม แล้วตัดคำว่า Encyclo ออก
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
Tokopedia มาจากคำ 2 คำ คือ “Toko” ซึ่งเป็นภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ร้านค้า และ “Encyclopedia” ที่แปลว่า สารานุกรม แล้วตัดคำว่า Encyclo ออก
ซึ่งถ้าแปลตรงตัว ก็หมายถึง ร้านค้าที่ขายหนังสือ
เพราะคนก่อตั้งบริษัทนี้คือ เด็กชนบทชาวอินโดนีเซีย ที่ได้โอกาสเข้ามาเรียนหนังสือในจาการ์ตา แล้วเห็นว่า คนอินโดนีเซียยังเข้าถึงหนังสือน้อยมาก จึงเกิดไอเดียสร้างแพลตฟอร์มช่วยสั่งหนังสือผ่านระบบออนไลน์ขึ้นมา
พอเป็นแบบนี้ คุณ William Tanuwijaya และคุณ Leontinus Alpha Edison ก็ได้ก่อตั้งเว็บไซต์ Tokopedia ขึ้นมาในปี 2009 เพื่อให้คนทั่วไปสามารถซื้อหนังสือออนไลน์ได้ง่ายขึ้น
ก่อนที่จะขยายไปยังสินค้าชนิดอื่น เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ และอีกมากมาย
จุดเริ่มต้นตรงนี้ คล้ายกับเว็บไซต์ Amazon ของคุณเจฟฟ์ เบโซส ที่เริ่มต้นแพลตฟอร์มด้วยการขายหนังสือก่อน เพราะเป็นสินค้าที่คนคุ้นเคย และไม่คิดเยอะเวลาสั่งออนไลน์
จากนั้นก็ค่อย ๆ ขยายประเภทสินค้าที่ขายบนแพลตฟอร์ม ให้ครอบคลุมสารพัดสิ่ง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก Tokopedia เริ่มต้นได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะการถูกปฏิเสธจากนักลงทุน ที่สบประมาทว่าคุณ William ไม่น่าจะทำให้ธุรกิจนี้สำเร็จได้
ซึ่งแม้นักลงทุน จะเห็นด้วยกับโอกาสเติบโตของธุรกิจ E-commerce ในอินโดนีเซีย แต่ก็มองว่าคนพิเศษเท่านั้นที่จะสามารถทำได้ และคนคนนั้นก็ไม่ใช่คุณ William..
แต่ทั้งคู่เองก็ไม่ได้ยอมแพ้ เดินหน้าสร้างธุรกิจต่อ และอาศัยกลยุทธ์การตลาดแบบบอกต่อ เพื่อดึงให้คนเข้ามาใช้บริการ พร้อมทั้งพยายามดึงร้านค้าขนาดเล็กต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์ม
จนกระทั่งมีนิตยสารช็อปปิง เริ่มลงข่าวเกี่ยวกับ Tokopedia และปรากฏว่าผลตอบรับออกมาค่อนข้างดี
ทำให้ Tokopedia ตัดสินใจลองทุ่มงบโฆษณาในโรงภาพยนตร์ เพื่อโปรโมตแอปให้เข้าถึงคนได้มากขึ้น
ทำให้ Tokopedia ตัดสินใจลองทุ่มงบโฆษณาในโรงภาพยนตร์ เพื่อโปรโมตแอปให้เข้าถึงคนได้มากขึ้น
เพราะต้องบอกว่า ช่องทางออนไลน์ในสมัยนั้น ยังเข้าถึงได้เฉพาะคนบางกลุ่ม โรงภาพยนตร์จึงกลายเป็นหนึ่งในช่องทางหลัก ที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้
และหลังจากผ่านไป 5 ปี Tokopedia ก็พิสูจน์ตัวเองได้สำเร็จ และกำลังใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนได้เงินทุนจาก SoftBank และ Sequoia Capital กว่า 3,600 ล้านบาท ก่อนที่บริษัท Alibaba ของคุณแจ็ก หม่า จะเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในปี 2017
แล้วปัจจุบัน Tokopedia ประสบความสำเร็จมากแค่ไหน ?
หากเราไปดูส่วนแบ่งการตลาด แพลตฟอร์ม E-commerce ในอินโดนีเซีย ที่วัดจากยอดขายสินค้าทั้งหมดหรือ GMV จะพบว่า
- อันดับ 1 Shopee 36%
- อันดับ 2 Tokopedia 35%
- อันดับ 3 Lazada 10%
- อันดับ 2 Tokopedia 35%
- อันดับ 3 Lazada 10%
จะเห็นได้ว่า Tokopedia สามารถเอาชนะ Lazada และไล่บี้ Shopee ได้แบบหายใจรดต้นคอเลยทีเดียว..
ซึ่งองค์ประกอบที่ทำให้ Tokopedia มาถึงจุดนี้ได้ ก็เพราะ
1) Tokopedia ไม่ได้มีแค่บริการซื้อของออนไลน์
แต่ยังมีบริการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการทางการเงิน ที่ให้คนอินโดนีเซีย จ่ายบิลค่าไฟ ค่าประกัน หรือการกู้ยืมได้ ซึ่งถูกออกแบบให้ตรงตามหลักปฏิบัติของคนมุสลิม ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีฟีเชอร์เปรียบเทียบดีลคุ้มค่า และซื้อคูปอง Voucher จากร้านค้าหรือร้านอาหารต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มอีกด้วย
ทำให้คนอินโดนีเซีย มีทางเลือกอื่นนอกจาก Shopee หรือ Lazada จากสินค้าและบริการอันหลากหลายบนแพลตฟอร์ม แถมบริการยังได้รับการออกแบบมาให้ถูกจริตคนท้องถิ่นอีกด้วย
2) บริการโลจิสติกส์ที่ครอบคลุม
ต้องบอกว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศแห่งหมู่เกาะ มากถึง 17,000 เกาะ ทำให้การขนส่งยากลำบากมาก ซึ่ง Tokopedia เอง ก็เข้าใจปัญหาตรงนี้เป็นอย่างดี
และพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ของตัวเองที่ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในช่วงแรก จึงมีการใช้ระบบ Google Maps เข้ามาช่วยระบุตำแหน่งในการจัดส่งตามบ้าน จากนั้นจึงค่อยตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องของที่อยู่อีกครั้ง
ทำให้ Tokopedia มีระบบข้อมูลหลังบ้านที่สะสมมายาวนาน ที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในด้านต่าง ๆ ทั้งเพื่อทำให้การจัดส่งมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และยังสร้างคลังสินค้าตามจุดต่าง ๆ ไว้ให้ร้านค้าเช่า เพื่อสามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าได้เยอะขึ้นอีกด้วย
ซึ่งก็เป็นผลดีกับ Tokopedia เองเช่นกัน เพราะสามารถลดต้นทุนค่าขนส่งได้มหาศาล จากการส่งของจำนวนมากในแต่ละรอบได้
นอกจากนี้ ในปี 2021 ที่ผ่านมา Tokopedia ไปควบรวมกิจการกับ Gojek ที่มีบริการคล้ายกับ GrabBike ทำให้เกิดการ Synergy ระหว่างธุรกิจ ที่ Tokopedia สามารถส่งสินค้าถึงลูกค้าในเกาะหนึ่ง ภายในวันเดียวได้
ซึ่งแน่นอนว่า Shopee ที่เข้ามาทำตลาดในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2015 ก็มีขนส่งของตัวเองเช่นกัน ชื่อว่า Shopee Xpress
แต่สิ่งหนึ่งที่ Tokopedia ได้เปรียบมากกว่า นั่นคือ การโฟกัสเพียงตลาดอินโดนีเซีย แค่ตลาดเดียว ในขณะที่ Shopee เอง ต้องดูแลตลาดมากถึง 8 ประเทศ..
3) การสร้าง Community กับร้านค้ารายย่อย
Tokopedia มีการสร้างคอร์สฝึกอบรมหรือ Academy มาตั้งแต่ตอนเริ่มธุรกิจ เพื่อให้ร้านค้าที่เข้าร่วม มีความเข้าใจและเชื่อใจแพลตฟอร์มมากขึ้น
แถมยังเกิดเป็น Community ที่ช่วยให้เกิดการตลาดแบบบอกต่อไปยังร้านค้ารายย่อยอื่น ๆ ให้เข้ามาขายบนแพลตฟอร์ม Tokopedia มากขึ้น
เมื่อแพลตฟอร์มสามารถดึงร้านค้าเข้ามาได้มากเท่าไร ก็จะกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้ใช้งาน หรือลูกค้าผู้ซื้อสินค้า เข้ามาตาม ๆ กันด้วย เป็น Network Effect เสริมกันนั่นเอง
ซึ่งนอกจากเรื่องนี้แล้ว Tokopedia ยังสามารถให้บริการกับร้านค้ารายย่อยต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มช่องทางหารายได้เข้าบริษัทได้อีกทางหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า แม้ Tokopedia เติบโตจนเป็นผู้นำในตลาดแล้ว แต่เรื่องความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ยังคงน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะหลังจากควบรวมกับ Gojek เป็น GoTo Group
เพราะหากไปดูผลประกอบการช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า
- ปี 2020
รายได้ 7,640 ล้านบาท ขาดทุน 38,431 ล้านบาท
รายได้ 7,640 ล้านบาท ขาดทุน 38,431 ล้านบาท
- ปี 2021
รายได้ 10,414 ล้านบาท ขาดทุน 49,121 ล้านบาท
รายได้ 10,414 ล้านบาท ขาดทุน 49,121 ล้านบาท
- ปี 2022
รายได้ 26,062 ล้านบาท ขาดทุน 88,577 ล้านบาท
รายได้ 26,062 ล้านบาท ขาดทุน 88,577 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า GoTo บริษัทแม่ของ Tokopedia และ Gojek เองยังขาดทุนมหาศาล เพราะยังต้องอัดค่าโฆษณาและโปรโมชันจำนวนมาก เพื่อสร้างและรักษาฐานลูกค้า นั่นเอง
โดยเฉพาะผลประกอบการ ปี 2022 ซึ่งหลังเกิดการควบรวมกิจการกันแล้ว ที่แม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ขาดทุนเพิ่มเป็นเท่าตัวเช่นกัน
เนื่องจากต้องแบกรับต้นทุนจาก 2 ขา ทั้งฝั่งธุรกิจ E-commerce และธุรกิจ Ride-sharing ซึ่งเป็นตลาดทะเลเลือดทั้งคู่..
ดังนั้น แม้ Tokopedia เองจะชนะ Lazada และไล่บี้ Shopee ได้ในตอนนี้ แต่การแข่งขันที่ดุเดือด และต้องแลกมาด้วยต้นทุนการดึงดูดลูกค้ามหาศาล
สุดท้ายแล้ว การจะเป็นผู้เหลือรอดที่แท้จริงได้ ก็คงต้องวัดกันว่า ธุรกิจไหนจะมีเงินสดมาให้เผาต่อไป มากกว่าและนานกว่ากันแทน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
GoTo ได้ขายหุ้น Tokopedia ในสัดส่วน 75% ให้กับ TikTok ด้วยมูลค่าราว 54,000 ล้านบาท เมื่อปลายปีที่แล้ว หลังจากรัฐบาลอินโดนีเซีย สั่งแบน TikTok Shop
โดย GoTo ยังคงถือหุ้น Tokopedia อยู่ 25%
เท่ากับว่าตอนนี้ Tokopedia มีแหล่งเงินทุนให้ถลุงเพิ่ม จาก GoTo ที่เพิ่งได้เงินทุนจากการขายหุ้นออกไป
รวมถึง TikTok ที่มีพี่ใหญ่จากจีนอย่าง ByteDance เป็นเจ้าของอยู่..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://business-indonesia.org/news/indonesia-s-e-commerce-revenue-reaches-us-51-9-bn-highest-in-southeast-asia
-https://mikalkhoso.medium.com/tokopedia-indonesian-ecommerce-giant-fdf8ffe9f692
-https://www.campaignasia.com/article/how-will-the-tiktok-tokopedia-alliance-disrupt-the-indonesian-e-commerce-space/493923
-https://cloud.google.com/customers/tokopedia-maps-platform
-https://emerhub.com/indonesia/e-commerce-in-indonesia-how-to-be-a-successful-marketplace-seller/
-https://golocad.com/blog/guide-to-indonesia-e-commerce-industry/
-https://www.thinkwithgoogle.com/intl/en-apac/future-of-marketing/management-and-culture/tokopedia-democratizing-e-commerce/
-https://www.techinasia.com/tokopedia
-https://www.moengage.com/blog/industry-study-ecommerce-in-indonesia-and-how-tokopedia-boosts-first-time-conversions/
-https://thelowdown.momentum.asia/a-marketing-battle-shopee-vs-tokopedia/
-https://medium.com/life-at-tokopedia/the-story-behind-tokopedias-10-year-journey-75eecfa89372
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tokopedia
-https://finance.yahoo.com/quote/GOTO.JK/financials
-https://ecommercedb.com/ranking/marketplaces/th/all?page=1&pagesize=50&marketplaceType=all¤cy=USD
รวมถึง TikTok ที่มีพี่ใหญ่จากจีนอย่าง ByteDance เป็นเจ้าของอยู่..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://business-indonesia.org/news/indonesia-s-e-commerce-revenue-reaches-us-51-9-bn-highest-in-southeast-asia
-https://mikalkhoso.medium.com/tokopedia-indonesian-ecommerce-giant-fdf8ffe9f692
-https://www.campaignasia.com/article/how-will-the-tiktok-tokopedia-alliance-disrupt-the-indonesian-e-commerce-space/493923
-https://cloud.google.com/customers/tokopedia-maps-platform
-https://emerhub.com/indonesia/e-commerce-in-indonesia-how-to-be-a-successful-marketplace-seller/
-https://golocad.com/blog/guide-to-indonesia-e-commerce-industry/
-https://www.thinkwithgoogle.com/intl/en-apac/future-of-marketing/management-and-culture/tokopedia-democratizing-e-commerce/
-https://www.techinasia.com/tokopedia
-https://www.moengage.com/blog/industry-study-ecommerce-in-indonesia-and-how-tokopedia-boosts-first-time-conversions/
-https://thelowdown.momentum.asia/a-marketing-battle-shopee-vs-tokopedia/
-https://medium.com/life-at-tokopedia/the-story-behind-tokopedias-10-year-journey-75eecfa89372
-https://en.wikipedia.org/wiki/Tokopedia
-https://finance.yahoo.com/quote/GOTO.JK/financials
-https://ecommercedb.com/ranking/marketplaces/th/all?page=1&pagesize=50&marketplaceType=all¤cy=USD
Tag: Tokopedia