TGM แบรนด์ไส้กรอกพันล้าน ผู้ผลิตเบคอนให้บาร์บีคิวพลาซ่า
รู้หรือไม่ว่า เบคอนในร้านบาร์บีคิวพลาซ่า และไส้กรอก หรือแฮม ตราหมูสองตัวที่ขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต มีเจ้าของเดียวกัน ชื่อว่า TGM
บริษัทแห่งนี้ แม้จะเริ่มจากห้องแถวเล็ก ๆ แต่ก็ได้เติบโตจนเป็นบริษัท ที่ทำเงินได้ปีละ 2,600 ล้านบาท
เรื่องราวของ TGM เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เรื่องราวของ TGM เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของไส้กรอก TGM เกิดขึ้นโดย คุณรัตน์ คล้ายมงคล
คุณรัตน์เคยทำงานเป็นเชฟในโรงงานไส้กรอกของนายห้างฝรั่ง ที่ชื่อว่าบางกอกซอสเซจ หรือก็คือ ไส้กรอกตราหมูตัวเดียว นั่นเอง
ต่อมาคุณรัตน์อยากขยับขยายมาทำโรงงานไส้กรอกของตัวเอง
เลยออกมาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยซอสเซส ในปี 2506 โดยใช้ชื่อว่า หมูสองตัว
โรงงานไส้กรอกหมูสองตัวของคุณรัตน์ เริ่มต้นจากห้องแถวห้องเดียว แถวสาทรใต้ ใกล้ ๆ กับโรงงานไส้กรอกหมูตัวเดียว
ช่วงเริ่มต้น ไส้กรอกตราหมูสองตัว มีสินค้า 7 อย่าง และมีพนักงานแค่ 4 คน คือ
- คุณรัตน์ เป็นคนปรุงไส้กรอกเองทั้งหมด
- ภรรยาของคุณรัตน์ เป็นคนขายที่หน้าร้าน
- คุณอารี ศรีสยาม ลูกสาวของคุณรัตน์ เป็นคนช่วยเตรียมวัตถุดิบ
- คุณบุญส่ง ศรีสยาม ลูกเขยของคุณรัตน์ เป็นคนนั่งรถเมล์ไปส่งของให้ลูกค้า
- ภรรยาของคุณรัตน์ เป็นคนขายที่หน้าร้าน
- คุณอารี ศรีสยาม ลูกสาวของคุณรัตน์ เป็นคนช่วยเตรียมวัตถุดิบ
- คุณบุญส่ง ศรีสยาม ลูกเขยของคุณรัตน์ เป็นคนนั่งรถเมล์ไปส่งของให้ลูกค้า
หลังจากก่อตั้งโรงงานได้ 1 ปี คุณรัตน์ก็ได้ออกเมนูใหม่ ที่กลายเป็นเมนูยอดฮิตของคนไทยจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ “บาโลน่าพริกหมู”
ไส้กรอกหมูสองตัว ของคุณรัตน์เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี 2515 ได้ขยายโรงงานไปแถวสาธุประดิษฐ์ ช่วงเดียวกับถนนสาทรที่ขอเวนคืนพื้นที่ทำทางด่วน
และในปี 2517 บริษัทได้นำไส้กรอกหมูสองตัวเข้าไปวางขายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งถือเป็นอาหารแปรรูปเจ้าแรก ๆ ที่นำเข้าไปขายในซูเปอร์มาร์เก็ต
อีกจุดเปลี่ยนสำคัญของไส้กรอกหมูสองตัว เกิดขึ้นในช่วงทายาทยุคที่ 2 คือ คุณอารีและคุณบุญส่ง ลูกสาวและลูกเขยของคุณรัตน์
ตอนนั้น คุณบุญส่งไปดูเครื่องจักรที่เยอรมนี และได้เจอกับ คุณรอล์ฟ เชเฟอร์ เจ้าของร้านไส้กรอกที่เยอรมนี ที่หลังจากนั้นกลายมาเป็นเพื่อนกัน
ตอนนั้น คุณบุญส่งไปดูเครื่องจักรที่เยอรมนี และได้เจอกับ คุณรอล์ฟ เชเฟอร์ เจ้าของร้านไส้กรอกที่เยอรมนี ที่หลังจากนั้นกลายมาเป็นเพื่อนกัน
เวลาผ่านไป คุณเชเฟอร์ที่วางมือจากร้านไส้กรอกที่เยอรมนี เดินทางมาไทย และมาช่วยถ่ายทอดสูตรไส้กรอกเยอรมนี รวมถึงช่วยดูโรงงาน เป็นเวลาสิบ ๆ ปี โดยไม่รับเงินสักบาท
และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของไส้กรอกแบบเยอรมนี ที่รสชาติเข้ากับคนไทย
ต่อมาในปี 2536 คุณบุญส่งได้ร่วมทุนกับ Schäfer Fleischwaren GmbH of Mannheim บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อสัตว์แปรรูปจากเยอรมนี ก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่
นั่นคือ บริษัท ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักท์ จำกัด และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของไส้กรอกแบบพรีเมียมแบรนด์ TGM ที่มาจากชื่อย่อของบริษัท
ส่วนไส้กรอกหมูสองตัวก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน นั่นทำให้บริษัทมีไส้กรอก 2 แบรนด์หลัก ๆ คือ
- ผลิตภัณฑ์สแตนดาร์ด ใช้แบรนด์ดั้งเดิม คือ หมูสองตัว
- ผลิตภัณฑ์พรีเมียม สวมมงกุฎ ใช้แบรนด์ TGM โดยมีทั้ง TGM, TGM Eurola และ Schafer
- ผลิตภัณฑ์พรีเมียม สวมมงกุฎ ใช้แบรนด์ TGM โดยมีทั้ง TGM, TGM Eurola และ Schafer
แต่เราจะเรียกรวม ๆ ว่า TGM ตามชื่อบริษัท
ทุกวันนี้ TGM อยู่ภายใต้การดูแลของทายาทรุ่นที่ 3 คือ คุณจันทนา พัวพัฒนขจร ลูกสาวของคุณบุญส่ง และหลานสาวของคุณรัตน์
คุณจันทนา เริ่มเข้ามาในธุรกิจนี้ด้วยการซื้อไส้กรอก TGM ของคุณพ่อบุญส่งไปขาย โดยพกติดรถไว้ตลอด
เวลาผ่านโรงแรม ร้านค้า หรือร้านอาหาร คุณจันทนาก็จะนำสินค้าไปเสนอขาย และเริ่มได้กำไรมากขึ้นเรื่อย ๆ
หลังจากนั้นคุณจันทนา ก็เข้ามาเป็นฝ่ายขายของไส้กรอก TGM โดยเปิดเป็นบริษัท ไทยซอสเซส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ส่วนคุณพ่อบุญส่ง ก็วางมือจากการขายไปดูด้านการผลิตอย่างเดียว
คุณจันทนา เริ่มขนของไปออกบูทในห้าง และเป็นเจ้าแรกที่นำไส้กรอกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ลูกค้าชิม ซึ่งมักจะปิดการขายได้ตลอด หลังลูกค้าชิม
ตอนนี้บริษัท TGM มีอายุ 60 ปี มีสินค้ากว่า 200 ชนิด ขายในห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่
นอกจากนี้ TGM ยังเป็นพาร์ตเนอร์กับโรงแรม ร้านเบเกอรี และร้านอาหารหลายร้าน
ร้านหนึ่งที่เกือบทุกคนน่าจะรู้จัก และเคยกินผลิตภัณฑ์ของ TGM ก็คือ ร้านบาร์บีคิวพลาซ่า
โดย บาร์บีคิวพลาซ่า ใช้เบคอนของ TGM และยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันคือ เยอรมันเบคอน เบคอนชิ้นใหญ่
ทีนี้เรามาดูผลประกอบการของ TGM กัน
บริษัท ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักท์ จำกัด ที่ดูแลในส่วนของการผลิต
ปี 2563 รายได้ 1,112 ล้านบาท กำไร 16 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,211 ล้านบาท กำไร 17 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,425 ล้านบาท กำไร 19 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,211 ล้านบาท กำไร 17 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,425 ล้านบาท กำไร 19 ล้านบาท
บริษัท ไทยซอสเซส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ที่ดูแลในส่วนของการจัดจำหน่าย
ปี 2563 รายได้ 990 ล้านบาท กำไร 7 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,040 ล้านบาท กำไร 9 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,180 ล้านบาท กำไร 8 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 1,040 ล้านบาท กำไร 9 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,180 ล้านบาท กำไร 8 ล้านบาท
เราจะเห็นว่า TGM แบรนด์ไส้กรอกอายุ 60 ปี มีการพัฒนาอยู่เสมอในทุกครั้ง ที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นนับตั้งแต่
- การก่อตั้งโรงงานจากห้องแถวเล็ก ๆ 1 คูหา
- การนำสินค้าเข้าไปวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต
- การพัฒนาสูตรแบบเยอรมนี
- การเป็นหนึ่งในเมนูขายดีของร้านบาร์บีคิวพลาซ่า
- การนำสินค้าเข้าไปวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ต
- การพัฒนาสูตรแบบเยอรมนี
- การเป็นหนึ่งในเมนูขายดีของร้านบาร์บีคิวพลาซ่า
จนมาถึงวันนี้ TGM กลายมาเป็นอาณาจักรไส้กรอก เบคอน และแฮม ที่ทำเงินได้ถึงปีละ 2,600 ล้านบาท เลยทีเดียว..
References
-https://www.tgm.co.th/about.php
-https://readthecloud.co/thai-german-meat/
-https://www.posttoday.com/lifestyle/80791
-https://www.jobthai.com/en/company/158692
-https://www.jobthai.com/th/company/103473
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5bn1kAXhNZY4phwUHIAXuzDJ82cB5WVOuJNPMGrJ04jrLJuuZsuBn4HcKjW2TKGp
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/dJg-ngZkADV3KAKA44idbN43Tf8bSl3BlQTfstd0MPjnD7kcJwZ2dXuxw7F-OA4W
-https://www.tgm.co.th/about.php
-https://readthecloud.co/thai-german-meat/
-https://www.posttoday.com/lifestyle/80791
-https://www.jobthai.com/en/company/158692
-https://www.jobthai.com/th/company/103473
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5bn1kAXhNZY4phwUHIAXuzDJ82cB5WVOuJNPMGrJ04jrLJuuZsuBn4HcKjW2TKGp
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/dJg-ngZkADV3KAKA44idbN43Tf8bSl3BlQTfstd0MPjnD7kcJwZ2dXuxw7F-OA4W