7 เช็กลิสต์ลงทุนกองทุนรวม ที่ควรรู้ก่อนลงทุน
การซื้อกองทุนรวม หรือลงทุนในกองทุนรวม จัดว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนมือใหม่ที่ยังมีประสบการณ์การลงทุนน้อย รวมไปถึงนักลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสาร และข้อมูลการลงทุนตลอดเวลา นั่นจึงทำให้ “กองทุนรวม” กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ จะเลือกลงทุนเป็นอันดับแรกก่อนเสมอ
ถึงแม้ว่า “กองทุนรวม” จะเป็นเครื่องมือการเงินที่น่าสนใจ แต่คำถามยอดฮิตที่มักจะเจอ คือ เลือกซื้อกองทุนรวมธนาคารไหนดี? หรือกองทุนรวมที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ และกองทุนที่เราจะซื้อเนี่ยมีความเสี่ยงอยู่ในระดับไหน ดังนั้นก่อนเราจะเริ่มต้นก้าวสู่สนามการลงทุน วันนี้เราจะพาทุกคนไปดู 7 เช็กลิสต์ง่าย ๆ มาให้พิจรณาก่อนตัดสินใจลงทุนกองทุนรวมไปดูพร้อม ๆ กันเลย
ก่อนลงทุนในกองทุนรวม เราต้องรู้อะไรบ้าง?
1. สำรวจตัวเองก่อนว่าจะซื้อกองทุนประเภทไหน
สำหรับมือใหม่ที่อยากลงทุนสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจก่อนเป็นอันแรก คือ การสำรวจตัวเองว่าเราจะซื้อกองทุนอะไร จากนั้นค่อยไปพิจารณากองทุนที่เราจะซื้อมีนโยบายการลงทุน หรือมีกรอบการลงทุนแบบไหน เพื่อในอนาคตเราจะได้มองเห็นภาพมากขึ้นว่าควรปรับพอร์ตไปในทิศทางไหน
ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายลงทุนเราคือเพื่อเกษียณอายุ มีระยะเวลาการลงทุนมากพอ 5-10 ปีขึ้นไป นั่นแปลว่าเราสามารถลงทุนในระยะยาวในเภทสินทรัพย์ที่มีความกลางไปถึงความเสี่ยงมากขึ้นได้ อย่างการเลือกลงทุนในกองทุนหุ้น หรือกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในหุ้นได้ แต่ถ้าหากคุณเป็นมีเป้าหมายที่อยากใช้เงินก้อนนี้ในอนาคตอันใกล้นี้ คุณอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ที่สามารถทำได้ในออนไลน์ หรือสามารถผูกกับบัญชีเงินเดือนได้เพื่อทยอยลงทุนทุก ๆ เดือน
2. ระดับความเสี่ยงตามประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน
สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน จากระดับความเสี่ยงของกองทุนทั้ง 8 ระดับ เพื่อที่จะกลับมาเช็กได้ว่าเรารับไหวกับความเสี่ยงที่ต้องเจอระหว่างการลงทุน โดยเราจะไปเริ่มกันที่ความเสี่ยงระดับ 1 มีความเสี่ยงต่ำ และความเสี่ยงระดับ 8 จะมีความเสี่ยงสูงมาก ตัวอย่างเช่น หากระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้อยู่ที่ระดับ 4 แสดงว่าสามารถลงทุนในกองทุนที่มีระดับคะแนนตั้งแต่ 1 - 4 แต่ถ้าอยากลงทุนในความเสี่ยงระดับ 5 ขึ้นไป นั่นหมายความว่าลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงเกินกว่าความเสี่ยงที่เราจะรับไหวนั่นเอง
สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่าเรารับความเสี่ยงได้แค่ไหน จากระดับความเสี่ยงของกองทุนทั้ง 8 ระดับ เพื่อที่จะกลับมาเช็กได้ว่าเรารับไหวกับความเสี่ยงที่ต้องเจอระหว่างการลงทุน โดยเราจะไปเริ่มกันที่ความเสี่ยงระดับ 1 มีความเสี่ยงต่ำ และความเสี่ยงระดับ 8 จะมีความเสี่ยงสูงมาก ตัวอย่างเช่น หากระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้อยู่ที่ระดับ 4 แสดงว่าสามารถลงทุนในกองทุนที่มีระดับคะแนนตั้งแต่ 1 - 4 แต่ถ้าอยากลงทุนในความเสี่ยงระดับ 5 ขึ้นไป นั่นหมายความว่าลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงเกินกว่าความเสี่ยงที่เราจะรับไหวนั่นเอง
3. ผลการตอบแทนย้อนหลังของกองทุน
เมื่อเราทราบถึงระดับความเสี่ยงคร่าว ๆ แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่จะไม่ดูไม่ได้เลยคือ ผลการดำเนินงานซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
• ผลการดำเนินงาน และดัชนีชี้วัดย้อนหลัง 5 ปีปฏิทิน (% ต่อปี) วิธีการดู คือจะดูตั้งแต่เดือน มกราคม - ธันวาคม แบบย้อนหลังไปอีก 5 ปี
• ผลการดำเนินงานย้อนหลังปักหมุด (% ต่อปี) วิธีการดู ตัวอย่างเช่น ข้อมูลสิ้นสุดที่เดือนกันยายน 2565 โดยที่จะดูตัวเลขที่ 3 ปี ย้อนหลังกลับไป
• ผลการดำเนินงานย้อนหลังปักหมุด (% ต่อปี) วิธีการดู ตัวอย่างเช่น ข้อมูลสิ้นสุดที่เดือนกันยายน 2565 โดยที่จะดูตัวเลขที่ 3 ปี ย้อนหลังกลับไป
โดยทริคง่าย ๆ สำหรับการพิจารณาผลตอบแทนของกองทุน สามารถดูได้จากการที่ผลตอบแทนกองทุนสูงกว่าดัชนีอ้างอิง และสูงกว่าผลตอบแทนในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะถือว่ากองทุนนั้นเป็นกองทุนที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามผลประกอบในอดีตไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าได้ว่าผลประกอบในปัจจุบัน และอนาคตจะเป็นกองทุนที่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องดูปัจจัยอื่น ๆ รวมถึงติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ การลงทุนควบคู่ไปด้วยนั่นเอง
4. ดูรายละเอียดต่าง ๆ จากข้อมูลเชิงสถิติในหนังสือชี้ชวน (Fund Fact Sheet)
นักลงทุนมือใหม่ที่กำลังคิดจะลงทุนในกองทุนรวม หรือกองทุนอื่น ๆ ควรที่จะศึกษาข้อมูลของ Fund Fact Sheet ให้เข้าใจก่อน จาก 6 ข้อหลักดังนี้
• Maximum Drawdown คือ การวัดความเสี่ยงของกองทุน ในกรณีที่กองทุนตกลงสูงสุดในรอบ 5 ปี โดยวัดได้จาก NAV กองทุนรวมจากจุดสูงสุด (historical peak) ไปยังจุดต่ำสุด (historical trough)
• Recovering Period คือ ช่วงเวลาฟื้นตัว หรือช่วงเวลาตั้งแต่หน่วยราคาติดลบ การที่จะกลับมาที่ต้นทุนเดิมใช้เวลานานเท่าไหร่
• FX Hedging คือ การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคต หากเกิดการผันผวนของค่าเงินผู้ดูแลกองทุนจะดูแลในส่วนนี้ให้ตามนโยบายของธนาคารนั้น ๆ ที่เราไปซื้อกองทุนด้วย
• อัตราส่วนการหมุนเวียนการลงทุน คือ ปริมาณการซื้อขายทรัพย์สินของกองทุน ซึ่งอัตราส่วนนี้หากมีค่าสูง ก็ยิ่งแสดงถึงการเคลื่อนไหวของการซื้อขาย สะท้อนถึงกลยุทธ์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนได้ดียิ่งขึ้น
• อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ คือ ระยะเวลาการจ่ายคืนเงินเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินในแต่ละงวด หรืออาจเปรียบเสมือนกับอายุคงเหลือของตราสารหนี้นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น อายุเฉลี่ยตราสารหนี้ 1 ปี และในปีนั้นธนาคารกลางปรับดอกเบี้ยขึ้น 1% นั่นหมายความว่า ตราสารหนี้อายุ 1 ปี ก็จะติดลบ 1% ซึ่งอายุเฉลี่ยมีผลสำคัญที่จะไปเกี่ยวโยงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด และในเศรษฐกิจด้วย
• Yield to Maturity คือ อัตราผลตอบตราสารหนี้ที่อยู่ในกองทุนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ ที่ได้จากการคำนวณหาอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่ได้รับจากตราสารหนี้เท่ากับราคาตลาดบวกกับดอกเบี้ยค้างรับ
5. ทรัพย์สินที่ลงทุน
• Recovering Period คือ ช่วงเวลาฟื้นตัว หรือช่วงเวลาตั้งแต่หน่วยราคาติดลบ การที่จะกลับมาที่ต้นทุนเดิมใช้เวลานานเท่าไหร่
• FX Hedging คือ การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคต หากเกิดการผันผวนของค่าเงินผู้ดูแลกองทุนจะดูแลในส่วนนี้ให้ตามนโยบายของธนาคารนั้น ๆ ที่เราไปซื้อกองทุนด้วย
• อัตราส่วนการหมุนเวียนการลงทุน คือ ปริมาณการซื้อขายทรัพย์สินของกองทุน ซึ่งอัตราส่วนนี้หากมีค่าสูง ก็ยิ่งแสดงถึงการเคลื่อนไหวของการซื้อขาย สะท้อนถึงกลยุทธ์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนได้ดียิ่งขึ้น
• อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ คือ ระยะเวลาการจ่ายคืนเงินเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยกระแสเงินในแต่ละงวด หรืออาจเปรียบเสมือนกับอายุคงเหลือของตราสารหนี้นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น อายุเฉลี่ยตราสารหนี้ 1 ปี และในปีนั้นธนาคารกลางปรับดอกเบี้ยขึ้น 1% นั่นหมายความว่า ตราสารหนี้อายุ 1 ปี ก็จะติดลบ 1% ซึ่งอายุเฉลี่ยมีผลสำคัญที่จะไปเกี่ยวโยงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด และในเศรษฐกิจด้วย
• Yield to Maturity คือ อัตราผลตอบตราสารหนี้ที่อยู่ในกองทุนเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ ที่ได้จากการคำนวณหาอัตราคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่ได้รับจากตราสารหนี้เท่ากับราคาตลาดบวกกับดอกเบี้ยค้างรับ
5. ทรัพย์สินที่ลงทุน
การที่เรานำเงินไปลงทุนซื้อในกองทุนตราสารหนี้ เราจะได้สถานะทางกฎหมายเป็นเจ้าหนี้ โดยเมื่อเราเป็นหนี้เจ้าทางกฎหมายแล้ว เรามีสิทธิที่จะเข้าไปดูหน้าตาลูกหนี้ของเรา โดยทาง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) และวิเคราะห์ความเสี่ยงภาพรวมของอุตสาหกรรม หรือธุรกิจของบริษัท และสถานภาพทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ เพื่อประเมินให้เราทราบว่าลูกหนี้ของเรามีศักยภาพมากพอต่อการชำระหนี้ครบ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตรงตามเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาได้มากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Investment Grade (กลุ่มระดับลงทุน) ที่อยู่ในอันดับ AAA มีความน่าเชื่อถือสูง และมีความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ต่ำสุด หากเราให้ยืมคนในกลุ่มนี้ยืมเงิน 20 บาท เขาจะสามารถคืนหนี้แน่นอน 20 บาทพร้อมดอกเบี้ยให้เราแน่นอน ซึ่งต่างจากกลุ่มกลุ่ม Non-Investment Grade (กลุ่มต่ำกว่าระดับลงทุน) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Speculative Grade (กลุ่มที่ลงทุนเพื่อการเก็งกำไร) เป็นตราสารหนี้ที่จะให้ผลตอบแทนสูงซึ่งจะมีเรทติ้งตั้งแต่ BB ลงมา ถือเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำลง มีความเสี่ี่ยงสูงขึ้นที่จะผิดชำระหนี้ได้ตามกำหนด
ตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Investment Grade (กลุ่มระดับลงทุน) ที่อยู่ในอันดับ AAA มีความน่าเชื่อถือสูง และมีความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ต่ำสุด หากเราให้ยืมคนในกลุ่มนี้ยืมเงิน 20 บาท เขาจะสามารถคืนหนี้แน่นอน 20 บาทพร้อมดอกเบี้ยให้เราแน่นอน ซึ่งต่างจากกลุ่มกลุ่ม Non-Investment Grade (กลุ่มต่ำกว่าระดับลงทุน) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Speculative Grade (กลุ่มที่ลงทุนเพื่อการเก็งกำไร) เป็นตราสารหนี้ที่จะให้ผลตอบแทนสูงซึ่งจะมีเรทติ้งตั้งแต่ BB ลงมา ถือเป็นตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำลง มีความเสี่ี่ยงสูงขึ้นที่จะผิดชำระหนี้ได้ตามกำหนด
แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ซึ่งการที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จัดเกรดเพื่อแค่บอกได้ว่าลูกหนี้เรามีโอกาสสูงที่จะคืนเงินต้น และจ่ายดอกเบี้ยเราเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาความเสี่ยง รวมถึงติดตามข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจให้รอบด้านประกอบก่อนตัดสินใจลงทุน
6. มีค่าธรรมเนียมอย่างไรบ้าง
ค่าธรรมเนียมก่อนทำการซื้อขาย เป็นตัวเลขที่เราจะถูกหักออกจากผลตอบแทนที่เราได้รับ โดยค่าธรรมเนียมที่กองทุนเรียกเก็บจากผู้ลงทุนโดยตรงจะมีค่าธรรมเนียมหลัก ๆ อยู่สองประเภท ดังนี้
ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักลงทุนโดยตรง
• ค่าธรรมเนียมในส่วนของ Front-End หรือ ค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมที่เก็บตอนกองทุนขายหน่วยลงทุนให้กับเรา
• ค่าธรรมเนียมในส่วนของ Back-End หรือ ค่าธรรมเนียมการซื้อคืน คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บเมื่อเวลาเราขายกองทุน กองทุนจะซื้อหน่วยลงทุนของเราคืนไปนั่นเอง
• ค่าธรรมเนียมในส่วนของ Back-End หรือ ค่าธรรมเนียมการซื้อคืน คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บเมื่อเวลาเราขายกองทุน กองทุนจะซื้อหน่วยลงทุนของเราคืนไปนั่นเอง
ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม
ค่าธรรมเนียมที่กองทุนรวมเรียกเก็บจาก Net Asset Value: NAV หรือทรัพย์สินสุทธิ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีซึ่งจะหักจากของกองทุนรวมในทุกวัน ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการกองทุน และดูแลผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่เจ้าของกองทุน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรต้องตรวจสอบในหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียด เพราะกองทุนแต่ละประเภทจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนนี้ไม่เท่ากัน
ค่าธรรมเนียมที่กองทุนรวมเรียกเก็บจาก Net Asset Value: NAV หรือทรัพย์สินสุทธิ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีซึ่งจะหักจากของกองทุนรวมในทุกวัน ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการกองทุน และดูแลผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่เจ้าของกองทุน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรต้องตรวจสอบในหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียด เพราะกองทุนแต่ละประเภทจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนนี้ไม่เท่ากัน
7. การซื้อหน่วยลงทุน
การที่เราจะซื้อ-ขาย หน่วยลงทุนเราจำเป็นที่จะต้องรู้เวลาการทำรายการต่างๆ ของกองทุนด้วย
เพราะถ้าหากเรามีความจำเป็นต้องรีบใช้เงินก้อนนั้น แต่กองทุนของเราปิดตอน 15.30 น. เราอาจจะต้องรีบส่งคำซื้อ-ขาย ให้กับทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เพื่อจัดการเรื่องทำการขายกองทุนคืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องกลับไปดูระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืนของกองทุนของเราด้วยว่าเป็นแบบไหน เช่น (T+1) ถ้าเราส่งคำสั่งขายวันนี้ เขาจะส่งเงินคืนให้เราในวันถัดไป แต่ถ้าเป็นอีกกรณีหนึ่ง คือแบบ T+3 หรือ T+5 สมมุติว่าเราส่งคำสั่งขายวันนี้ เราจะได้รับเงินคืนใน 3 หรือ 5 วันนับจากวันทำรายการ โดยที่จะไม่รวมเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษ
เพราะถ้าหากเรามีความจำเป็นต้องรีบใช้เงินก้อนนั้น แต่กองทุนของเราปิดตอน 15.30 น. เราอาจจะต้องรีบส่งคำซื้อ-ขาย ให้กับทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เพื่อจัดการเรื่องทำการขายกองทุนคืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องกลับไปดูระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืนของกองทุนของเราด้วยว่าเป็นแบบไหน เช่น (T+1) ถ้าเราส่งคำสั่งขายวันนี้ เขาจะส่งเงินคืนให้เราในวันถัดไป แต่ถ้าเป็นอีกกรณีหนึ่ง คือแบบ T+3 หรือ T+5 สมมุติว่าเราส่งคำสั่งขายวันนี้ เราจะได้รับเงินคืนใน 3 หรือ 5 วันนับจากวันทำรายการ โดยที่จะไม่รวมเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษ
กล่าวโดยสรุป เมื่อตัดสินใจก้าวสู่สนามการลงทุนแล้ว ทุกการลงทุนนั้นย่อมมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันผลประโยชน์ของเราอย่าลืมนำ 7 เช็กลิสต์ดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อ ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับพอร์ตของเรากันนะทุกคน และจงพึงระวังอยู่เสมอว่าควรใช้เวลาศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนทุกครั้งที่จะนำเงินไปลงทุน ไปว่าจะเป็นกองทุนประเภทไหนก็ตาม