บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ไทยหมื่นล้าน SPCG
บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ไทยหมื่นล้าน SPCG / โดย ลงทุนแมน
เมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาลทาลีส (Thales) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกค้นพบไฟฟ้าจากการนำแท่งอำพันถูกับผ้าขนสัตว์ ก่อนจะพบว่ามันมีอำนาจดูดสิ่งของต่าง ๆ ที่เบา ได้ เช่น เส้นผมเศษกระดาษ เศษผง
เมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาลทาลีส (Thales) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกค้นพบไฟฟ้าจากการนำแท่งอำพันถูกับผ้าขนสัตว์ ก่อนจะพบว่ามันมีอำนาจดูดสิ่งของต่าง ๆ ที่เบา ได้ เช่น เส้นผมเศษกระดาษ เศษผง
เขาจึงให้ชื่ออำนาจนี้ว่า ไฟฟ้า หรือ อิเล็กตรอน (Electron) ซึ่งมาจาก ภาษา กรีกว่า อีเล็กตร้า (Elektra)
2500 ปีต่อมา นิโคลา เทสลา และ โทมัส อัลวา เอดิสัน ก็ได้แนะนำให้คนทั่วโลกได้รู้จักการใช้ประโยชน์ของกระแสไฟฟ้า และเปลี่ยนโลกให้ไม่เหมือนเดิมไปตลอดกาล นั่นคือ โลกที่มีแสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน
แต่เดิมการผลิตไฟฟ้าต้องใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ไอน้ำ เพื่อนำแรงดันไปหมุนตัวกำเนิดไฟฟ้า
แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ได้เปลี่ยนไปอีกครั้ง เมื่อมีการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยตรง
และในประเทศไทยมีเรื่องน่าสนใจอยู่บริษัทหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้
บริษัทนั้นคือ SPCG หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ของประเทศไทย
บริษัทนี้ทำอะไรกับพลังงานแสงอาทิตย์ ทำไมมีมูลค่าเป็นหมื่นล้าน
SPCG เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทยและอาเซียนซึ่งเริ่มต้นในปี 2553
ก่อตั้งโดยคุณวันดี กุญชรยาคง (จุลเจริญ) ในวัย 50 ปี ซึ่งมองเห็นโอกาสตรงนี้
ก่อตั้งโดยคุณวันดี กุญชรยาคง (จุลเจริญ) ในวัย 50 ปี ซึ่งมองเห็นโอกาสตรงนี้
แล้วทำไมต้องแสงอาทิตย์
เพราะเป็นพลังงานที่ไม่มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิง และไม่มีหมดสิ้น เกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด และเป็นพลังงานสะอาดก่อเกิดมลพิษในกระบวนการผลิตน้อยมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่น
แต่ด้วยเทคโนโลยี และต้นทุนการผลิตที่สูง จึงทำให้ในตอนนั้นการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนยังเป็นที่ไม่นิยมมากนัก
ในตอนแรกเริ่มนั้นจึงแทบไม่ใครเชื่อว่าการผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์จะประสบความสำเร็จ
คุณวันดีเสนอแผนธุรกิจให้กับธนาคารหลายแห่ง แต่ก็ไม่มีใครให้กู้ ซึ่งนั่นก็ไม่ได้ทำให้คุณวันดียอมแพ้แต่อย่างไร
คุณวันดีเสนอแผนธุรกิจให้กับธนาคารหลายแห่ง แต่ก็ไม่มีใครให้กู้ ซึ่งนั่นก็ไม่ได้ทำให้คุณวันดียอมแพ้แต่อย่างไร
“ยิ่งคนบอกว่าทำไม่ได้ เรายิ่งอยากเห็น อย่างมากก็ไม่สำเร็จ คงไม่มีใครสนใจ คนที่ไม่ประสบความสำเร็จบนโลกนี้มีอยู่มากมาย เราอาจเป็นแค่หนึ่งในคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าขาดทุนติดหนี้ เราก็จะใช้หนี้ให้ครบ”
จนกระทั่งลงเอยกับธนาคารกสิกรไทย แต่ก็ด้วยเงื่อนไขหนักหนาสาหัส เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีธุรกิจแบบนี้ในไทยเลย
จากธุรกิจที่เริ่มต้นจากไม่มีอะไร ตอนนี้บริษัท SPCG มีมูลค่ามากถึง 22,500 ล้านบาท
ปัจจุบันรายได้หลักของ SPCG มาจาก 3 ช่องทางด้วยกัน
1. ธุรกิจ Solar Farm สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 78.7%
2. ธุรกิจ Solar Roof สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 15.8%
3. ธุรกิจหลังคาเหล็ก และโครงสร้าง สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 3.8 %
1. ธุรกิจ Solar Farm สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 78.7%
2. ธุรกิจ Solar Roof สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 15.8%
3. ธุรกิจหลังคาเหล็ก และโครงสร้าง สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 3.8 %
จะเห็นว่ารายได้หลักของ SPCG นั้นมาจาก Solar farm ซึ่งมีทั้งหมด 36 แต่ละแห่งทำรายได้เฉลี่ย 100-120 ล้านบาท ซึ่งเป็นเจ้าแรกที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ที่ 8 บาท เป็นเวลา 10 ปี
ดังนั้น จุดเด่นของ SPCG ก็คือ การมี Adder สูงสุด 8 บาทต่อหน่วย ซึ่งบริษัทรายใหม่ๆไม่ได้สิทธิประโยชน์ขนาดนี้
นอกจากนี้ที่ดินทั้งหมดเป็นของบริษัทเองจึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนพัฒนาที่ดินไปในตัวด้วย
นอกจากนี้ที่ดินทั้งหมดเป็นของบริษัทเองจึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนพัฒนาที่ดินไปในตัวด้วย
แต่ก็เป็นที่น่าสนใจว่า Adder ที่กำลังจะทยอยหมดสัญญาลงตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งคาดการณ์ว่าจะทำให้กำไรของ Solar Farm แต่ละแห่งลดลงจะส่งผลอย่างไรกับความคิดของนักลงทุน
ในส่วนของ Solar Roof ก็ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะตลาด Solar Roof ในโลกนี้ใหญ่กว่า Solar Farm ประมาณ 3 เท่า แต่ในประเทศเรากลับยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
ซึ่งนี่อาจเป็นโอกาสเติบโตของ SPCG ในอนาคต ถึงแม้ว่าอัตราผลตอบแทนจะไม่ได้สูงเท่า Solar farm ก็ตาม
แล้วตอนนี้ผลประกอบการของ SPCG เป็นอย่างไร
ปี 2558 รายได้รวม 5,057.64 ล้านบาท กำไร 2,190.16 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 5,544.30 ล้านบาท กำไร 2,314.21 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้รวม 6,122.26 ล้านบาท กำไร 2,524.32 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 5,057.64 ล้านบาท กำไร 2,190.16 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 5,544.30 ล้านบาท กำไร 2,314.21 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้รวม 6,122.26 ล้านบาท กำไร 2,524.32 ล้านบาท
เรื่องนี้น่าจะเป็นตัวอย่างของคนที่มองเห็นโอกาส
คุณวันดีมองเห็นโอกาสจากพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ บวกกับ เห็นช่องว่างของการส่งเสริมเรื่อง Adder ของภาครัฐ ทำให้เป็นเจ้าแรกในประเทศไทยที่ริเริ่มโครงการขึ้นมา
แม้แต่ธนาคารเองก็ยังไม่กล้าปล่อยกู้ให้คุณวันดี เพราะยังเป็นโครงการใหม่ที่ไม่เคยมีมาในประเทศไทย แต่คุณวันดีก็พิสูจน์ให้เห็นว่า การเริ่มทำเป็นคนแรก อาจจะไม่ใช่เป็นความเสี่ยงเสมอไป
จริงอยู่ว่าโครงการเหล่านี้อาจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เมื่อเราคิดดีแล้ว ทำการบ้านมาดีแล้ว ก็ไม่น่าจะต้องกังวลอะไร เพราะ สิ่งที่เสี่ยงที่สุด อาจจะเป็นการไม่ลงมือทำอะไรเลย..
ปล. บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง ศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
----------------------
<ad> สิ่งที่เสี่ยงกว่าการไม่ทำอะไรเลย คือ การไม่ซื้อหนังสือลงทุนแมน
หนังสือลงทุนแมน 2.0
วางขายวันที่ 8 มีนาคม ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
----------------------
----------------------
<ad> สิ่งที่เสี่ยงกว่าการไม่ทำอะไรเลย คือ การไม่ซื้อหนังสือลงทุนแมน
หนังสือลงทุนแมน 2.0
วางขายวันที่ 8 มีนาคม ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
----------------------