“Google” จากโปรเจกต์นักศึกษา 1 ล้าน สู่ธุรกิจ 1,000,000 ล้าน

“Google” จากโปรเจกต์นักศึกษา 1 ล้าน สู่ธุรกิจ 1,000,000 ล้าน

“Google” จากโปรเจกต์นักศึกษา 1 ล้าน สู่ธุรกิจ 1,000,000 ล้าน /โดย ลงทุนแมน
ทุกวันนี้ Google ผูกขาดตลาด Search Engine เป็นกิจการ มูลค่า 1.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 56 ล้านล้านบาท
เป็นกิจการมูลค่ามากสุดอันดับ 4 ในโลก มีเพียง 3 บริษัทเท่านั้น ที่ใหญ่กว่า ได้แก่ Apple, Microsoft และ Saudi Aramco
จริง ๆ แล้ว โลกของเรา มีเจ้าตลาด Search Engine อยู่แล้ว ชื่อว่า Yahoo เราต้องจำชื่อนี้ไว้ให้ดี ๆ เพราะบริษัทแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของ Google
แล้วเรื่องราวของทั้งคู่ เป็นอย่างไร ?
ปัจจุบัน Yahoo หายไปไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อ 25 ปีที่แล้ว เจ้าตลาด Search Engine ในตอนนั้น คือ Yahoo ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
Yahoo ก่อตั้งโดยสองศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในปี 1994
ในอีก 2 ปีถัดไป Larry Page, Sergey Brin และ Scott Hassan ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก ทำโปรเจกต์หนึ่งที่ชื่อว่า BackRub
โดยโปรเจกต์นี้เอง เรียกได้ว่า เป็นตัวจุดไอเดียของ Google
ทั้งสามคนต้องการสร้างเว็บไซต์ค้นหา ที่แตกต่างจากรายอื่น โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า PageRank หรือก็คือ การจัดเรียงเพจตามความสำคัญของแต่ละเว็บไซต์
พูดให้เห็นภาพ ก็คือ ถ้าเราใช้คำค้นหาคำหนึ่ง หน้าเว็บไซต์ที่แสดงผล จะเป็นเว็บไซต์ที่จัดอันดับตามจำนวนคนดู และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เรียงลำดับจากมากไปน้อย
ในขณะที่ Search Engine รายอื่น รวมทั้ง Yahoo ไม่ได้ให้ความสำคัญ กับระบบแสดงผลการค้นหามากนัก โดยจะแสดงผลจากจำนวนคำที่ใช้ค้นหา ว่ามีมากแค่ไหนในเว็บไซต์นั้น ๆ
แต่หลังจากพัฒนา BackRub ไปสักพัก นักศึกษาทั้งสามคน ก็ได้เข้าไปขายโปรเจกต์นี้ ให้กับ Yahoo ในราคาเพียง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินปัจจุบัน ราว 64 ล้านบาท..
แต่ Yahoo กลับปฏิเสธทั้งสามคน เพราะคิดว่าการจัดอันดับเว็บไซต์ ไม่ได้สำคัญมากกับผู้ใช้งาน
หลังจากนั้น ในช่วงปี 1998 Larry Page และ Sergey Brin จึงออกมาก่อตั้งบริษัท Google และหันมาพัฒนาระบบแสดงผลการค้นหา หรือ Search Engine Optimization เพื่อมาประมวลผล ในการจัดอันดับเว็บไซต์ให้แม่นยำ ตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากขึ้น
จนในที่สุด เพียงแค่ 2 ปี Google มียอดการค้นหาบนเว็บไซต์มากถึง 18 ล้านครั้ง
ในขณะที่เว็บไซต์ค้นหารายอื่น มีการใช้งานลดลง โดยเฉพาะ Yahoo ที่เป็นเจ้าตลาดมาก่อน
ถึงตรงนี้แล้ว เมื่อ Google ประสบความสำเร็จในการขยายฐานผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง จึงเริ่มสร้างรายได้ด้วย Google Adwords ให้เว็บไซต์จ่ายเงินโปรโมตตัวเองได้ และออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ภายใต้แบรนด์ของตัวเองอย่างต่อเนื่อง เช่น Google Maps, Google Docs, Google Meet
แต่ยังไม่หมดเพียงแค่นี้ เพราะในปี 2006 หลังจาก YouTube เปิดตัวได้แค่ปีเดียว Google ตัดสินใจทุ่มเงินกว่า 57,000 ล้านบาท เพื่อซื้อกิจการเข้ามา
แม้จะเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่ดูได้ฟรีในตอนแรก แต่ Google ก็เข้าไปเปลี่ยน YouTube ให้กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรผลิตเงิน ด้วยการแทรกโฆษณาเข้าไปคั่นระหว่างดูคลิป
ซึ่งในปัจจุบัน Google และ YouTube อยู่ภายใต้บริษัทแม่อย่าง Alphabet ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 เพื่อบริหารกิจการในเครือ
โดยหากไปดูรายได้ของ Alphabet ในช่วงที่ผ่านมา
จะพบว่า
- ปี 2020 รายได้ 6.25 ล้านล้านบาท
- ปี 2021 รายได้ 8.83 ล้านล้านบาท
- ปี 2022 รายได้ 9.69 ล้านล้านบาท
โดยกว่า 80% ของรายได้ของ Alphabet
เป็นรายได้จากโฆษณา
ซึ่งในปีที่ผ่านมา รายได้จากโฆษณาก้อนนี้ แบ่งเป็น
- รายได้จากการค้นหาบน Google, Gmail, Google Maps, Google Play 72%
- รายได้จากโฆษณาผ่าน YouTube 13%
- รายได้จาก Google Ads เครื่องมือจัดการโฆษณา 15%
รายได้อีก 20% ที่เหลือมาจาก Google Cloud และ Google Other
และด้วยโมเดลธุรกิจแบบ Google ที่จะลงทุนในโครงสร้างระบบการค้นหา บวกกับมีรายได้เติบโต ตามผู้ใช้งานที่เข้ามายิงโฆษณา
นั่นเท่ากับว่า ยิ่งมีคนแห่เข้ามายิงโฆษณามากเท่าไร
กำไรก็จะยิ่งเติบโตขึ้นเท่านั้น
ทำให้ Google ที่ผูกขาดตลาดนี้ไปแล้ว มีกำไรมหาศาล ระดับ 2 ล้านล้านบาทต่อปี
จุดนี้เอง จึงกลายมาเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้มูลค่าของบริษัท Google เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยปัจจุบัน มีมูลค่า 56 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทใหญ่สุด อันดับ 4 ของโลก นั่นเอง..
ถึงตรงนี้ เราคงเห็นแล้วว่า แม้จะเริ่มทำธุรกิจที่มีเจ้าตลาดครองอยู่แล้ว ก็ไม่ได้แย่เสมอไป หากเราสามารถสร้างความแตกต่าง และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้
เหมือนกับ Google ที่แม้จะเริ่มต้นทีหลัง Yahoo
แต่สามารถสร้างความแตกต่างให้ตลาด Search Engine จนสามารถครองตลาดได้เกือบทั่วโลก
จุดเปลี่ยนอีกอย่างคือ การตัดสินใจที่แตกต่างกัน คือ ความเฉียบแหลมในการลงทุน
Google ตัดสินใจ จ่ายเงินจำนวนมหาศาล เพื่อซื้อ YouTube ทั้งที่ในตอนนั้นเพิ่งเปิดตัวได้เพียงปีเดียว และยังไม่มีช่องทางการหารายได้อะไรเลย แต่คงเห็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในบริษัทแห่งนี้
ซึ่งสิ่งที่ Google ได้ลงทุนไว้ ก็เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ เพราะปัจจุบัน YouTube กลายมาเป็นอีกธุรกิจ ที่สร้างรายได้จากโฆษณาเข้าบริษัท ระดับ 1 ล้านล้านบาทต่อปี
ในขณะที่ Yahoo ได้ปฏิเสธโปรเจกต์ BackRub เพราะเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
ซึ่งก็น่าคิดเหมือนกันว่า หากสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน
คือ Yahoo ตอบรับการเสนอขายกิจการ
ในวันนี้ Search Engine อันดับ 1 ของโลกอย่าง
Google ก็อาจจะไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นมา
และเราก็ยังจะใช้ Yahoo กันอยู่ ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://abc.xyz/assets/86/99/68122c444c4a93d2228e21ecc16b/20230426-alphabet-10q.pdf
-https://abc.xyz/assets/d4/4f/a48b94d548d0b2fdc029a95e8c63/2022-alphabet-annual-report.pdf
-https://bettermarketing.pub/how-yahoo-missed-out-on-hundreds-of-billions-again-and-again-905f3bc86413
-https://www.theverge.com/2019/12/4/20994361/google-alphabet-larry-page-sergey-brin-sundar-pichai-co-founders-ceo-timeline
-https://www.internetlivestats.com/google-search-statistics/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Google
-https://en.wikipedia.org/wiki/PageRank
-https://en.wikipedia.org/wiki/Google_Ads

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

SPONSORED
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon