“ปุ๋ยแห่งชาติ” บริษัทที่หายไป เพราะ วิกฤติต้มยำกุ้ง

“ปุ๋ยแห่งชาติ” บริษัทที่หายไป เพราะ วิกฤติต้มยำกุ้ง

“ปุ๋ยแห่งชาติ” บริษัทที่หายไป เพราะ วิกฤติต้มยำกุ้ง /โดย ลงทุนแมน
ประเทศไทยมีเกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ
แต่รู้ไหมว่า เรายังคงต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีในสัดส่วนสูงถึง 90% ของปุ๋ยเคมีที่ใช้ทั้งหมด
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เราก็เคยมี “บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ” ซึ่งสามารถผลิตปุ๋ยเคมีด้วยตนเองได้
แล้ว บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ หายไปไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
บริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ภายใต้โครงการปุ๋ยแห่งชาติของรัฐบาลในสมัยนั้น ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถผลิตปุ๋ยเคมีเองได้
โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลและเอกชน
มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กระทรวงการคลัง และกลุ่ม ปตท.
ในช่วงแรก บริษัททำหน้าที่เป็นตัวแทนนำเข้าปุ๋ยเคมี
จากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศ
จนเมื่อกิจการเริ่มเติบโต จึงได้มีการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย เป็นของตัวเองขึ้นในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
เมื่อ พ.ศ. 2540 ที่ประเทศไทยเรา ได้เจอเข้ากับวิกฤติต้มยำกุ้ง
ซึ่งหลายบริษัทที่มีเงินกู้จำนวนมาก อยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ ต่างได้รับผลกระทบจากการลอยตัวค่าเงิน
แน่นอนว่า บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ เองก็เป็นหนึ่งในนั้น
ซึ่งบริษัทต้องเผชิญกับภาระหนี้สิน และต้นทุนวัตถุดิบจากการนำเข้า เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว
ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง และมีการขาดทุนติดต่อกันหลายปี
จนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ
เป็นเหตุให้ บริษัทถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ และหยุดทำการซื้อขายนับตั้งแต่ พ.ศ. 2546
หากให้เปรียบเทียบง่าย ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทปุ๋ยแห่งชาติ ในเวลานั้น ก็คงคล้ายกับการบินไทย
ที่ปัจจุบัน ถูกหยุดทำการซื้อขายหุ้น และอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการนั่นเอง
โดยสถานการณ์ในตอนนั้น บีบบังคับให้บริษัทต้องเพิ่มทุน เพื่อนำเงินมาชำระหนี้
แต่ทางรัฐบาล ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในตอนนั้น
ไม่ได้ทำการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
ส่งผลให้ รัฐบาลต้องสูญเสียสัดส่วนความเป็นเจ้าของไป
และบริษัทได้ถูกแปลงสภาพเป็นบริษัทเอกชนไปโดยปริยาย
ในเวลาเดียวกันนี้ บริษัทก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
“บริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน)”
แม้ว่าบริษัทจะทำการปรับโครงสร้างหนี้ และโครงสร้างทุน จนสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่ มองว่าทางบริษัทสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน ในธุรกิจผลิตปุ๋ยไปแล้ว
เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง อย่างเช่น
โรงงานของบริษัทในตอนนั้น มีสภาพทรุดโทรม และไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ บริษัทจึงตัดสินใจหยุดทำธุรกิจผลิตปุ๋ยเคมี แล้วเบนเข็มเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
โดยบริษัทได้ทำการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่
ด้วยการควบรวมกิจการกับบริษัท เคมีคัลส์ แอนด์ อาโรเมติก (ประเทศไทย) จำกัด
หลังจากดีลนี้สำเร็จแล้ว ใน พ.ศ. 2560 บริษัทจึงได้ทำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “บริษัท เอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน)”
โดยหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังดีลนี้
ก็คือ คุณณัฐภพ รัตนสุวรรณทวี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 บริษัท
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจเริ่มมีคำถามกันแล้วว่า
คุณณัฐภพ เห็นอะไร จึงได้ทำการควบรวมกิจการ ?
ก็ต้องบอกว่า แต่เดิมคุณณัฐภพ ประกอบธุรกิจ ขนส่งปิโตรเคมีให้กับผู้ค้าน้ำมันหลายรายอยู่แล้ว
เช่น เอสโซ่, เชลล์ และ ปตท.
ซึ่งการเข้ามาลงทุนในบริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี ก็ถือเป็นการต่อยอดธุรกิจขนส่งปิโตรเคมี
เพราะบริษัทแห่งนี้มีท่าเรือในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่หลังท่าเรือประมาณ 500 ไร่
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ คุณณัฐภพ ต้องการใช้สินทรัพย์ของบริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจหลักของเขานั่นเอง
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ ที่ได้เลือนหายไป พร้อมกับความหวังของประเทศ ที่จะผลิตปุ๋ยเคมีได้ด้วยตัวเอง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.nfc.co.th/aboutus
-http://library1.nida.ac.th/termpaper5/sd/2530/6954ab.pdf
-https://www.botlc.or.th/item/article/02000034466
-https://www.prachachat.net/economy/news-925714
-รายงานประจำปีของบริษัท NFC ปี 2564
© 2024 Longtunman. All rights reserved. Privacy Policy.
Blockdit Icon