สรุปงานสัมมนา Epson ทำธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืนอย่างมั่งคั่ง
สรุปงานสัมมนา Epson
ทำธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืนอย่างมั่งคั่ง
Epson x ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมกะเทรนด์การดำเนินธุรกิจในยุคถัดไป คือ การทำธุรกิจด้วยความยั่งยืน
ทำธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืนอย่างมั่งคั่ง
Epson x ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมกะเทรนด์การดำเนินธุรกิจในยุคถัดไป คือ การทำธุรกิจด้วยความยั่งยืน
โดยหนึ่งในจุดหมายปลายทางขององค์กรทั้งโลก ก็คือการเข้าสู่สังคมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวทางของสหประชาชาติ ภายในปี 2050 หรืออีกเพียง 28 ปี นับจากวันนี้
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Epson หนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพิมพ์ และโปรเจกเตอร์ระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดความยั่งยืน ก็ได้มีการจัดสัมมนา “Day One with Sustainability” หรือ “ก้าวแรกธุรกิจด้วยความยั่งยืน” ขึ้น เพื่อแชร์มุมมองธุรกิจที่สามารถสร้างการเติบโตได้จากแนวคิดความยั่งยืน ซึ่งก็มีแบรนด์ไทยต่าง ๆ มาเล่าเรื่องราวให้ฟัง เพื่อเป็นไอเดียให้นักศึกษาที่เตรียมตัวเป็นเจ้าของกิจการในอนาคต ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
แล้ว Epson มีแนวทางการทำธุรกิจยั่งยืนอย่างไร และแต่ละแบรนด์ที่มาร่วมแชร์ไอเดียธุรกิจยั่งยืน มีใครบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
“เราใช้ทรัพยากรอะไรในวันนี้ อย่าไปรบกวนคนรุ่นหน้า” เป็นมุมมองความยั่งยืนของคุณยรรยง มุนีมงคลทร
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Epson
โดยโจทย์สำคัญของธุรกิจยุคต่อ ๆ ไป นอกจากจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ได้เท่าไรแล้ว
อีกข้อก็คือ จะทำอย่างไรให้การดำเนินกิจการ สร้างผลกระทบต่อโลกให้น้อยที่สุด
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Epson
โดยโจทย์สำคัญของธุรกิจยุคต่อ ๆ ไป นอกจากจะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ได้เท่าไรแล้ว
อีกข้อก็คือ จะทำอย่างไรให้การดำเนินกิจการ สร้างผลกระทบต่อโลกให้น้อยที่สุด
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Epson ได้ใช้หลักความยั่งยืนในการทำธุรกิจมาอย่างยาวนาน
โดยตัวบริษัทเอง ประสบความสำเร็จในการกำจัดก๊าซเรือนกระจก ออกจากกระบวนการผลิตทั้งหมดได้ในปี 1993 หรือตั้งแต่ 29 ปีก่อน
นอกจากนี้ Epson ก็ยังมีแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทก็ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2050
ทั้งยังจะหยุดการใช้พลังงานใต้พิภพ และนำพลังงานหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ
โดยตัวบริษัทเอง ประสบความสำเร็จในการกำจัดก๊าซเรือนกระจก ออกจากกระบวนการผลิตทั้งหมดได้ในปี 1993 หรือตั้งแต่ 29 ปีก่อน
นอกจากนี้ Epson ก็ยังมีแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทก็ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2050
ทั้งยังจะหยุดการใช้พลังงานใต้พิภพ และนำพลังงานหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ
โดยความคืบหน้าล่าสุด ก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Heat-Free ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมา ช่วยในเรื่องการพิมพ์ในสำนักงานให้ปราศจากการใช้ความร้อน
ซึ่งสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้มากเกือบเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ โดยนวัตกรรมดังกล่าว สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ได้มากถึง 85%
นอกจากในมุมความยั่งยืนขององค์กรเองแล้ว Epson ก็ยังได้มีการจัดงานสัมมนา “Day One with Sustainability”
โดยนำ 3 แบรนด์ไทยที่ประสบความสำเร็จในการนับหนึ่งธุรกิจของตัวเอง โดยใช้ความยั่งยืนเป็นสารตั้งต้นธุรกิจตั้งแต่วันแรก
โดยนำ 3 แบรนด์ไทยที่ประสบความสำเร็จในการนับหนึ่งธุรกิจของตัวเอง โดยใช้ความยั่งยืนเป็นสารตั้งต้นธุรกิจตั้งแต่วันแรก
เริ่มต้นจาก “SHE KNOWS”
SHE KNOWS เป็นแบรนด์สัญชาติไทย ที่มองว่าเสื้อผ้ารักษ์โลก หรือ Green Fashion กำลังเป็นเทรนด์ของโลก
โดยผู้ก่อตั้งอย่าง คุณปานไพลิน พิพัฒนสกุล และคุณธัญญรัตน์ ตรีสุรมงคลโชติ มองว่ากลุ่มธุรกิจเสื้อผ้า Fast Fashion เปลี่ยนไปไว
ผู้บริโภคใส่ไม่กี่ครั้งก็ทิ้ง ท้ายที่สุดเสื้อผ้าเหล่านี้จะกลายเป็นขยะของโลก
โดยผู้ก่อตั้งอย่าง คุณปานไพลิน พิพัฒนสกุล และคุณธัญญรัตน์ ตรีสุรมงคลโชติ มองว่ากลุ่มธุรกิจเสื้อผ้า Fast Fashion เปลี่ยนไปไว
ผู้บริโภคใส่ไม่กี่ครั้งก็ทิ้ง ท้ายที่สุดเสื้อผ้าเหล่านี้จะกลายเป็นขยะของโลก
SHE KNOWS จึงได้เริ่มวางแนวทางปรับการดำเนินธุรกิจ แบ่งออกเป็น
- สิ่งแวดล้อม โดยจะหันมาใช้ผ้าออร์แกนิกคอตตอน และวัตถุดิบที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด
- คนงาน โดยเลือกที่จะให้ค่าแรงสอดคล้องกับค่าครองชีพของพนักงาน โดยเน้นไปที่การจ้างงานแรงงานคุณภาพดี เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพดี ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งให้แตกต่างจากแบรนด์เสื้อผ้าทั่วไป
- ลูกค้า ในมุมนี้ก็คือการนำเสนอราคาสินค้ารักษ์โลกในราคาที่ไม่แพง แต่ก็ยังต้องมีคุณภาพดี เพื่อเป็นการส่งเสริมเทรนด์อนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม และทำให้ภาพของแบรนด์ชัดต่อลูกค้า เพื่อให้เกิดการบอกต่อ ๆ กันไป
- สิ่งแวดล้อม โดยจะหันมาใช้ผ้าออร์แกนิกคอตตอน และวัตถุดิบที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด
- คนงาน โดยเลือกที่จะให้ค่าแรงสอดคล้องกับค่าครองชีพของพนักงาน โดยเน้นไปที่การจ้างงานแรงงานคุณภาพดี เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพดี ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งให้แตกต่างจากแบรนด์เสื้อผ้าทั่วไป
- ลูกค้า ในมุมนี้ก็คือการนำเสนอราคาสินค้ารักษ์โลกในราคาที่ไม่แพง แต่ก็ยังต้องมีคุณภาพดี เพื่อเป็นการส่งเสริมเทรนด์อนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม และทำให้ภาพของแบรนด์ชัดต่อลูกค้า เพื่อให้เกิดการบอกต่อ ๆ กันไป
แบรนด์ถัดมา ก็คือ “Maddy Hopper” แบรนด์รองเท้าผ้าใบรักษ์โลก
นำโดยผู้ก่อตั้ง คือคุณชาญ สิทธิญาวณิชย์ และคุณภาคิน โรจนเวคิน ที่ได้มองว่าเทรนด์ของความยั่งยืนเกิดขึ้นแล้ว และหลายแบรนด์เริ่มหันมาโฟกัสในจุดนี้
Maddy Hopper จึงวางตนเอง เป็นแบรนด์ที่ต้องการนำเสนอว่า แม้การทำธุรกิจแบรนด์รักษ์โลกจะมีต้นทุนวัตถุดิบ ที่แพง แต่อย่างน้อยก็ยังสามารถสร้างกำไรไปพร้อมกันกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้
Maddy Hopper จึงวางตนเอง เป็นแบรนด์ที่ต้องการนำเสนอว่า แม้การทำธุรกิจแบรนด์รักษ์โลกจะมีต้นทุนวัตถุดิบ ที่แพง แต่อย่างน้อยก็ยังสามารถสร้างกำไรไปพร้อมกันกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้
ในขณะที่แบรนด์สุดท้าย ก็คือ “Qualy” แบรนด์สินค้าตกแต่งบ้านที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลสัญชาติไทยที่เริ่มต้นทำธุรกิจโดยยึดหลักความยั่งยืนมาตั้งแต่วันแรก
ปัจจุบัน Qualy ได้มีการส่งออกไปขายใน 66 ประเทศทั่วโลก โดยได้รับความนิยมสูง จากกลุ่มลูกค้าที่ชอบตกแต่งบ้าน และใส่ใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งคุณทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของบริษัท มองว่าการทำธุรกิจยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องหาจุดสมดุลระหว่าง
- ธุรกิจของเราเอง ก็ต้องเติบโตอย่างยั่งยืนได้
- ผลิตภัณฑ์ของเรา ก็ต้องยั่งยืนด้วย
- ธุรกิจของเราเอง ก็ต้องเติบโตอย่างยั่งยืนได้
- ผลิตภัณฑ์ของเรา ก็ต้องยั่งยืนด้วย
สำหรับ Qualy เอง พยายามที่จะทำให้สินค้านี้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ มีราคาจับต้องได้ และสามารถเข้าถึงคนได้ จำนวนมาก เพื่อที่บริษัทจะได้มีฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ให้มาชดเชยกับต้นทุนวัตถุดิบที่สูง เมื่อเทียบกับการทำธุรกิจทั่ว ๆ ไป
สรุปกุญแจสำคัญจากงานสัมมนาของ Epson ในหัวข้อ Day One with Sustainability ก็คือการเริ่มต้นธุรกิจ โดยยึดหลักความยั่งยืน จะมีความท้าทายกว่าการทำธุรกิจทั่วไป ตรงที่ค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบนั้น มีราคาแพงกว่ามาก
สิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังศึกษาเรื่องการผลิตสินค้ารักษ์โลก จึงเป็นการรักษาสมดุลให้ทั้งกิจการของเราเอง สร้างผลตอบแทนได้พร้อม ๆ กันกับการเลือกสรรวัตถุดิบที่มีราคาสูง ซึ่งก็ต้องมาพร้อมกับการวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดี เพื่อให้แน่ใจว่าในภาพรวม เราจะยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว
ถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่าไอเดียการทำธุรกิจยั่งยืนของแบรนด์ต่าง ๆ จากงาน Day One with Sustainablity ก็เรียกได้ว่ามีหลักคิด และมุมมองที่น่าสนใจ
ซึ่งมันก็มีโอกาส ที่จะช่วยให้นักธุรกิจรุ่นถัดไป สามารถนำประสบการณ์ และไอเดียมาปรับใช้สร้างธุรกิจหรือสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตต่อไปได้ พร้อม ๆ กันกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในขณะที่ Epson เอง นอกจากจะเป็นผู้ที่ดำเนินธุรกิจยั่งยืนด้วยตัวเองมาอย่างยาวนานแล้ว การจัดงานสัมมนาในลักษณะนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกกระบอกเสียงให้สังคม ชุมชน และผู้ประกอบการทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ ได้ตระหนักว่า เทรนด์ความยั่งยืน ไม่ใช่แค่ไอเดียเพื่อแคมเปญ CSR และมันใกล้ตัวเรามากขึ้นในทุก ๆ วัน..
Tag: Epson