ถ้าเราใช้โบรก ที่โดนหุ้น MORE ต้องทำอย่างไร ?
ถ้าเราใช้โบรก ที่โดนหุ้น MORE ต้องทำอย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
จากเรื่องราวของหุ้น MORE ที่ได้ทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์ไทยหลายแห่ง ได้รับผลกระทบความเสียหาย ตามที่รายงานในข่าวกันตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้บริษัทหลักทรัพย์หลายรายมีปัญหา หรือบางรายอาจถึงขั้นปิดกิจการ ซึ่งรายละเอียดลงทุนแมนได้เล่าให้ฟังไว้ใน https://www.blockdit.com/posts/63711271dbc759a184c69e9a
จากเรื่องราวของหุ้น MORE ที่ได้ทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์ไทยหลายแห่ง ได้รับผลกระทบความเสียหาย ตามที่รายงานในข่าวกันตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้บริษัทหลักทรัพย์หลายรายมีปัญหา หรือบางรายอาจถึงขั้นปิดกิจการ ซึ่งรายละเอียดลงทุนแมนได้เล่าให้ฟังไว้ใน https://www.blockdit.com/posts/63711271dbc759a184c69e9a
เช้านี้ตลาดหลักทรัพย์ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ได้แถลงข่าว สรุปใจความรวมคือ ยังเปิดเผยเรื่องนี้โดยละเอียดไม่ได้ เพราะกำลังสืบสวน ขอให้มั่นใจว่าเรื่องนี้ไม่กระทบต่อตลาดหลักทรัพย์โดยรวม และจะยกให้เคสนี้เป็นกรณีศึกษา
ทีนี้คำถามที่หลายคนอาจสงสัยก็คือ
แล้วหากเรา มีเงินอยู่ในหลักทรัพย์เหล่านี้ เราต้องทำอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าบริษัทหลักทรัพย์ หรือ ที่เราเรียกกันว่าโบรเกอร์ จะทำหน้าที่หลักคือเป็นนายหน้า ที่คอยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายหุ้นให้เรา ทั้งการโอนเงินเข้า การโอนเงินออก การใช้ระบบซื้อขาย รวมไปถึงการกู้เงินจากบริษัทหลักทรัพย์
แล้วหากเรา มีเงินอยู่ในหลักทรัพย์เหล่านี้ เราต้องทำอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าบริษัทหลักทรัพย์ หรือ ที่เราเรียกกันว่าโบรเกอร์ จะทำหน้าที่หลักคือเป็นนายหน้า ที่คอยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายหุ้นให้เรา ทั้งการโอนเงินเข้า การโอนเงินออก การใช้ระบบซื้อขาย รวมไปถึงการกู้เงินจากบริษัทหลักทรัพย์
โดยทรัพย์สินของเรา กับโบรเกอร์แบบเบื้องต้น ก็จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ก็คือ หุ้นที่เราซื้อเก็บไว้ในพอร์ต และ เงินสดที่เราฝากไว้อยู่กับโบรเกอร์
-สำหรับพอร์ตหุ้นของเรา ไม่ต้องกังวล เพราะประเทศไทยใช้ระบบการฝากหุ้นไว้กับตัวกลาง หุ้นนี้จะไม่ได้ถูกเก็บไว้อยู่ในโบรเกอร์ แต่จะฝากอยู่กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือ TSD ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกทีหนึ่ง
ทั้งเงินปันผล ดอกเบี้ย สิทธิ อื่น ๆ ที่เราได้รับเป็นตัวเงินจากการถือหุ้น ก็จะมี TSD เป็นผู้ให้บริการ
โดยเราสามารถไล่ดูบริการต่าง ๆ เช่น ตรวจสอบข้อมูล หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหลักทรัพย์ ได้ที่ https://www.set.or.th/th/tsd/overview
โดยเราสามารถไล่ดูบริการต่าง ๆ เช่น ตรวจสอบข้อมูล หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหลักทรัพย์ ได้ที่ https://www.set.or.th/th/tsd/overview
-แต่เงินสดของเราที่ฝากไว้อยู่กับบัญชีโบรเกอร์ ก็จะมีเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ ที่โบรเกอร์ต้องปฏิบัติตาม แยกเงินฝากของลูกค้าออกมา และต้องดำรงเงินทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องไม่ให้ต่ำกว่าที่เกณฑ์กำหนด
และโบรเกอร์ก็จะมีกองทุนคุ้มครองเช่นกัน แต่ถูกจำกัดสูงสุดไว้ที่ 1 ล้านบาท ซึ่งความคุ้มครองจะคล้าย ๆ กับความคุ้มครองเงินฝากในธนาคาร ต่างกันตรงที่หลักทรัพย์ จะเป็นกองทุนความคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ หรือ SIPF
อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่าเป็นไปได้ไหมที่เงินสดของเราในโบรเกอร์จะหายไป ก็ต้องตอบว่า “ก็เป็นไปได้” ถ้าบริษัทหลักทรัพย์เหล่านั้น ไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ผู้กำกับดูแลกำหนด หรือ เงินสำรองที่บริษัทหลักทรัพย์มีอยู่ได้ลดหายไปจากเหตุการณ์พิเศษ
ดังนั้น เราก็ต้องดูความมั่นคงของโบรเกอร์นั้น ประกอบกัน ถ้าโบรเกอร์นั้นเป็นของเครือธนาคารใหญ่ หรือเป็นของสถาบันการเงินชั้นนำต่างประเทศ ถ้าความเสียหายไม่มาก ก็น่าจะมีเงินเพิ่มทุนมาเติมให้สถานะบริษัทแข็งแกร่งขึ้นได้ไม่ยาก (ระดับพันล้านบาทของหุ้น MORE ถือว่ามาก แต่ไม่น่าจะกระทบทั้งวงการถึงขั้นวิกฤติ)
แต่ถ้าโบรเกอร์นั้นเป็นโบรเกอร์ที่ไม่ได้มีฐานทุนมาก และไปเกี่ยวข้องกับหุ้น MORE ในจำนวนเงินที่มาก ก็น่าจะต้องกังวลเช่นกัน..
สำหรับคนที่สงสงสัยว่าเงื่อนไขความคุ้มครองแบบละเอียดเป็นอย่างไร
การเกณฑ์การให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ จะแยกออกเป็น 2 จำนวน
-ไม่เกินร้อยละ 20 ของทรัพย์สินของกองทุน เมื่อโบรกเกอร์ไม่คืนทรัพย์สินแก่ผู้ลงทุนตามคำชี้ขาดของศาล
-ไม่เกินร้อยละ 80 ของทรัพย์สินของกองทุน เมื่อโบรกเกอร์ไม่คืนทรัพย์สินแก่ผู้ลงทุนเพราะถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามกฎหมายล้มละลาย
-ไม่เกินร้อยละ 80 ของทรัพย์สินของกองทุน เมื่อโบรกเกอร์ไม่คืนทรัพย์สินแก่ผู้ลงทุนเพราะถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามกฎหมายล้มละลาย
โดยผู้ลงทุน มีสิทธิได้รับเงินชดเชย ไม่เกินจำนวนความเสียหายจริงที่ผู้ลงทุนได้รับ หรือ ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท อยู่ที่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า ก็จะยึดตามจำนวนนั้น
ซึ่งผู้เสียหาย ก็จะต้องยื่นคำขอ และ เอกสารหลักฐาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็คือ
-สัญญาแต่งตั้งนายหน้า หรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์
-สำเนาคำชี้ขาดของศาล ที่ชี้ขาดให้โบรกเกอร์คืนทรัพย์สิน หรือจ่ายเงินชดเชย
-สำเนาคำชี้ขาดของศาล ที่ชี้ขาดให้โบรกเกอร์คืนทรัพย์สิน หรือจ่ายเงินชดเชย
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวที่เกี่ยวกับ กรณีโบรเกอร์มีปัญหา สามารถเซฟโพสต์นี้เก็บไว้ได้เผื่อเรามีปัญหากับโบรเกอร์ของเราในอนาคต..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
Reference
-เอกสารระเบียบการให้ความค้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/@longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
Reference
-เอกสารระเบียบการให้ความค้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย