SF Cinema มาจากคำว่า สมานฟิล์ม
SF Cinema มาจากคำว่า สมานฟิล์ม / โดย ลงทุนแมน
หลายคนคงสงสัยว่าเจ้าของ SF Cinema คือใคร
เป็นเจ้าของเดียวกับ EGV หรือ MAJOR หรือเปล่า
แล้วโรงหนังทั้งหมดนี้มีรายได้มากน้อยแค่ไหน
เรื่องราวของ SF Cinema โรงภาพยนตร์เบอร์ต้นๆ ของไทย
ก็มีความสนุกสนาน ราวกับเรื่องในภาพยนตร์เลยทีเดียว
วันนี้ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
เป็นเจ้าของเดียวกับ EGV หรือ MAJOR หรือเปล่า
แล้วโรงหนังทั้งหมดนี้มีรายได้มากน้อยแค่ไหน
เรื่องราวของ SF Cinema โรงภาพยนตร์เบอร์ต้นๆ ของไทย
ก็มีความสนุกสนาน ราวกับเรื่องในภาพยนตร์เลยทีเดียว
วันนี้ลงทุนแมนจะมาเล่าให้ฟัง
เรื่องเริ่มต้นจาก คุณสมาน ทองร่มโพธิ์ ที่ลาออกจากราชการ
และพาครอบครัวย้ายจากกรุงเทพฯ มาตั้งถิ่นฐาน ที่จังหวัดตราดเมื่อปีพ.ศ. 2512
และพาครอบครัวย้ายจากกรุงเทพฯ มาตั้งถิ่นฐาน ที่จังหวัดตราดเมื่อปีพ.ศ. 2512
คุณสมาน เป็นคนที่รักภาพยนตร์มาก ประกอบกับจังหวัดตราดช่วงนั้น ยังไม่มีโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัย
คุณสมานมองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจนี้ที่ยังไม่มีคู่แข่ง จึงสร้างโรงภาพยนตร์แห่งแรกของจังหวัดตราดที่ทันสมัยขึ้น มีชื่อว่าศรีตราดราม่า โดยมีลักษณะเป็นโรงภาพยนตร์แบบ Stand alone หรือโรงหนังเดี่ยว มักจะมี 1 โรงภาพยนตร์ ต่อ หนึ่งจังหวัด
จุดสังเกตคือ โรงภาพยนตร์ประเภทนี้จะมีคำว่า รามาหรือราม่า ต่อท้าย
อย่างไรก็ตาม คุณสมาน ก็มาเสียชีวิตหลังจากเปิดศรีตราดราม่าได้ 13 ปี ทำให้ลูกชายคนโต คือ คุณสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 17 ปี ต้องขึ้นมาดูแลกิจการครอบครัวต่อจากคุณพ่อ
ด้วยคุณสุวัฒน์ ที่ต้องการสานต่อกิจการที่คุณพ่อรัก รวมทั้งดูแลพนักงานที่ทำงานอยู่
บวกกับความผูกพันกับโรงหนังที่มีมาตลอดทำให้คุณสุวัฒน์ดำเนินธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม
สามารถขยายสาขาให้ครอบคลุมทั้งภาคตะวันออกตั้งแต่ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ในปีพ.ศ. 2537 ธุรกิจโรงหนังในกรุงเทพฯ เริ่มคึกคัก ด้วยการเข้ามาร่วมวงของ อีจีวี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นโรงมัลติเพล็กซ์
ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นโรงมัลติเพล็กซ์
โรงมัลติเพล็กซ์หมายถึงโรงภาพยนตร์เต็มรูปแบบ ที่มีมากกว่า 10 โรงขึ้นไปต่อหนึ่งแห่ง มีองค์ประกอบการฉายภาพยนตร์ครบครันทั้งพื้นที่ที่กว้างขวาง ภาพ เสียงคมชัด
โรงพวกนี้มักตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้า ขึ้นอยู่กับว่าใครจะได้พื้นที่ตรงนั้นไป
จนปี พ.ศ. 2542 คุณสุวัฒน์ก็หวนกลับเข้ากรุงเทพฯ โดยการรุกเข้าธุรกิจโรงมัลติเพล็กซ์ครั้งแรก โดยลงทุนกว่า 600 ล้านบาท เปิดโรงภาพยนตร์ที่ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง ชั้น 7 ภายใต้แนวคิด "One Floor Entertainment" และใช้ชื่อโรงภาพยนตร์ใหม่ว่า "SF Cinema"
ซึ่งชื่อ SF มาจาก สมานฟิล์ม ชื่อคุณพ่อของคุณสุวัฒน์ นั่นเอง
และหลังจากนั้นกิจการของ SF Cinema ก็ขยายสาขาออกไปมากมาย โดยใช้การเข้าไปช่วงชิงพื้นที่เปิด ในห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อเสียง
ปัจจุบันคุณสุวัฒน์ ไม่ได้ประกอบธุรกิจแค่โรงภาพยนตร์เท่านั้น
แต่ได้ลงทุนสร้างห้างสรรพสินค้าหรูใจกลางเมืองเชียงใหม่ งบประมาณลงทุนกว่า 3000 ล้านบาท
ที่มีชื่อว่า "เมญ่าเชียงใหม่" ซึ่งเปิดบริการเมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2557
แต่ได้ลงทุนสร้างห้างสรรพสินค้าหรูใจกลางเมืองเชียงใหม่ งบประมาณลงทุนกว่า 3000 ล้านบาท
ที่มีชื่อว่า "เมญ่าเชียงใหม่" ซึ่งเปิดบริการเมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2557
คุณสุวัฒน์เผยว่า การตัดสินใจซื้อที่ดินเกือบ 10 ไร่ ตรงนี้ ซึ่งมีมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ต่อจากคุณตัน ภาสกรนที โดยใช้ระยะเวลาตัดสินใจเพียง 5 นาที
โดยให้เหตุผลว่าตนมีความสนใจในพื้นที่เชียงใหม่มากเป็นพิเศษอยู่แล้ว ประกอบกับ พื้นที่ตรงนี้มีความสวยงามในเชิงธุรกิจมาก เมื่อทำเล มันดีอยู่แล้ว ทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้ง่ายมาก
มาดูรายได้ของบริษัทในเครือเอส เอฟ ซีเนมา
บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจการฉายภาพยนตร์
ปี 2557 รายได้รวม 117 ล้านบาท กำไรสุทธิ 15 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 3,580 ล้านบาท กำไรสุทธิ 441 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 3,520 ล้านบาท กำไรสุทธิ 125 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 3,580 ล้านบาท กำไรสุทธิ 441 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 3,520 ล้านบาท กำไรสุทธิ 125 ล้านบาท
บริษัท เอส เอฟ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ภาพยนตร์
ปี 2557 รายได้รวม 314 ล้านบาท กำไรสุทธิ 58 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 300 ล้านบาท กำไรสุทธิ 48 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 295 ล้านบาท กำไรสุทธิ 48 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 300 ล้านบาท กำไรสุทธิ 48 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 295 ล้านบาท กำไรสุทธิ 48 ล้านบาท
บริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัทที่บริหารห้างสรรพสินค้า เมญ่า เชียงใหม่
ปี 2557 รายได้รวม 280 ล้านบาท ขาดทุน 64 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 318 ล้านบาท ขาดทุน 14 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 359 ล้านบาท กำไรสุทธิ 18 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 318 ล้านบาท ขาดทุน 14 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 359 ล้านบาท กำไรสุทธิ 18 ล้านบาท
รายได้ปี 2558 ที่ก้าวกระโดดขึ้นมา เกิดจากการควบรวมกิจการและแปรสภาพบริษัทในเครือ เอส เอฟ
ทำให้บริษัท มีชื่อต่อท้ายว่า มหาชน
ทำให้บริษัท มีชื่อต่อท้ายว่า มหาชน
หลายคนเข้าใจผิดว่า บริษัทเอสเอฟ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ก็มีบริษัทที่มีชื่อย่อว่า SF
จริงๆ แล้ว SF ในตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับเครือ เอส เอฟ ซีนีม่า ของคุณ สุวัฒน์ แต่ดันไปเกี่ยวข้องกับบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ที่ใช้ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า SF
จนทำให้มีคนสับสนว่า ทั้ง เอส เอฟ และ เมเจอร์ เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งคำตอบคือไม่ใช่ ทั้งคู่เป็นคู่แข่งกันในทางธุรกิจ
บริษัทสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ เป็นเจ้าของ ศูนย์การค้าหลายแห่ง เช่น ลาวิลล่า ดิเอสพละนาด และ เมกาบางนา
ส่วนรายได้ของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด มหาชน
ปี 2557 รายได้รวม 9,054 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,086 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 9,202 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,171 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 9,580 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,188 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้รวม 9,202 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,171 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้รวม 9,580 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,188 ล้านบาท
แล้วใครมีโรงภาพยนตร์มากกว่ากัน?
ข้อมูลสิ้นปี 2559
เครือเมเจอร์ มีสาขารวมทั้งสิ้น 113 สาขา 678 โรงภาพยนตร์
เครือเอส เอฟ มีสาขารวมทั้งสิ้น 52 สาขา 360 โรงภาพยนตร์
เครือเมเจอร์ มีสาขารวมทั้งสิ้น 113 สาขา 678 โรงภาพยนตร์
เครือเอส เอฟ มีสาขารวมทั้งสิ้น 52 สาขา 360 โรงภาพยนตร์
สรุปง่ายๆ เครือเอส เอฟ มีสาขาน้อยกว่า เครือเมเจอร์ อยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง
แต่ด้วยยอดขายและรายได้ของทั้ง เอส เอฟ และเมเจอร์ ทำให้ทั้งคู่
ครองส่วนแบ่งการตลาดโรงภาพยนตร์กว่า 80% ของไทย
ครองส่วนแบ่งการตลาดโรงภาพยนตร์กว่า 80% ของไทย
ถ้าธุรกิจโรงภาพยนตร์เอส เอฟ เปรียบได้กับโรงหนัง
ชีวิตของคุณสุวัฒน์ ก็เปรียบได้กับ หนังชีวิตดีๆ เรื่องนึง
ที่นำเสนอเรื่องราวของชายที่สืบทอดธุรกิจของครอบครัวตั้งแต่อายุ 17 ปี
ดำเนินธุรกิจที่ตัวเอง เชี่ยวชาญ ในพื้นที่ที่ตัวเองคุ้นเคย และขยับขยายมาสู่เมืองหลวง
โดยมองเห็นโอกาสและการเติบโต จะเห็นได้ว่าคุณสุวัฒน์เติบโตมาตั้งแต่สมัยโรงภาพยนตร์
ยังใช้แผ่นฟิล์ม พัฒนามาเป็นระบบ ดิจิทัล 3D 4DX
ยังใช้แผ่นฟิล์ม พัฒนามาเป็นระบบ ดิจิทัล 3D 4DX
สิ่งสำคัญที่สุด คือการเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่นิยมดูภาพยนตร์กันในห้างสรรพสินค้า มากกว่าที่เป็นแบบ Stand alone
ย้อนกลับไปดูกรณีศึกษาเรื่อง "ลิโด้" และ "สกาล่า" ที่ประสบกับปัญหาอยู่ในขณะนี้
เราก็น่าจะได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากเรื่องที่เกิดขึ้น
ในธุรกิจเดียวกัน
จะมีบริษัทอยู่ 2 ประเภท
จะมีบริษัทอยู่ 2 ประเภท
ประเภทแรกคือ บริษัทที่ปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคได้ และสามารถแข่งขันได้
ประเภทที่สอง ก็คงเป็นบริษัทที่ก้าวตามไม่ทันคนอื่น ซึ่งน่าเห็นใจ แต่คนที่แพ้ ก็คงต้องดูแลตัวเอง..
----------------------
ถ้าชอบเรื่องแบบนี้ ให้ติดตามได้ที่แอปพลิเคชัน ลงทุนแมน
ลงทุนแมนมี "แอป" แล้ว โหลดฟรีที่ longtunman.com/app
ทั้ง iOS และ android
ต่อไปในแอป จะมีเรื่องนอกเหนือจากที่ลงในเฟซบุ๊กด้วย
----------------------
----------------------
ถ้าชอบเรื่องแบบนี้ ให้ติดตามได้ที่แอปพลิเคชัน ลงทุนแมน
ลงทุนแมนมี "แอป" แล้ว โหลดฟรีที่ longtunman.com/app
ทั้ง iOS และ android
ต่อไปในแอป จะมีเรื่องนอกเหนือจากที่ลงในเฟซบุ๊กด้วย
----------------------